ดอกเตอร์สุปรีดา อดุลยานนท์

  • กราบเรียนท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้ทรงเกียรติที่เคารพทุกท่าน เวลาประมาณ ๔ ชั่วโมงที่ท่านผู้มีเกียรติ ๓๐ ท่านได้กรุณาลุกขึ้นอภิปรายให้ข้อมูล ให้ข้อเสนอแนะ ทาง สสส. รู้สึกเป็นเกียรติและขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง เราได้บันทึกทุกถ้อยคำทุกประเด็นสำคัญ ทั้งหมดเพื่อจะนำไปทบทวน ไปวิเคราะห์แล้วก็จะใช้พัฒนาปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้นต่อไป บางส่วนก็อาจจะเป็นคำถาม ซึ่งเมื่อสักครู่ท่านประธานขอว่าอย่าตอบยาวเกินไปนะครับ เลยขออนุญาตว่าจะขอตอบในส่วนของคำถามเชิงแนวคิดใหญ่ ๆ แล้วก็ส่วนประเด็นย่อย รายละเอียดเราอาจจะส่งคำตอบตรงไปถึงท่านต่อไปนะครับ แล้วก็อย่างไรก็ตามทุกประเด็น จะขอน้อมรับไว้ทั้งหมดนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • ในส่วนที่อาจจะยังมีคำถามอยู่ถึงการทำงานของ สสส. เองก็คือบทบาท สสส. เราทำอะไร เราทำงานซ้ำซ้อนกับกระทรวงต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้วหรือเปล่า อย่างที่โดยชื่อของ กองทุนบอกว่าสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ฉะนั้นบทชัดเจนของเราคือเราเป็นกองทุน แล้วก็เป็นผู้สนับสนุน หลายท่านใช้คำว่า น้ำมันหล่อลื่น ซึ่งก็สอดคล้องกับความเป็นจริง ไม่ใช่น้ำมันเชื้อเพลิงที่จะขับเคลื่อนได้ เหตุเพราะว่าด้วยภาษีสรรพสามิตที่เก็บเพิ่ม ไม่ได้ไป แบ่งนะครับ เก็บเพิ่มจากทั้งสองอุตสาหกรรมและการนำเข้านี่ วงเงินที่หลายท่านอาจจะว่าสูง แต่จริง ๆ แล้วมันเท่ากับประมาณ ๐.๗ เปอร์เซ็นต์ของค่าใช้จ่ายภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับ สุขภาพ ๐.๗ นะครับคือไม่ถึง ๑ เปอร์เซ็นต์ ฉะนั้นถ้าเอาเม็ดเงินนี้เองลงไปให้บริการ เหมือนกับค่าใช้จ่ายภาครัฐที่เขาให้บริการต่าง ๆ นี่มันก็จะเป็นเหมือนหยดน้ำในตุ่มที่คงไม่ไม่ เปลี่ยนแปลงระดับน้ำอะไรเลยนะครับ ฉะนั้นสิ่งที่หยดน้ำเดียวในตุ่มใหญ่ ๆ พยายามทำคือ เป็น Catalyst เป็นน้ำมันหล่อลื่นหนุนกลไกต่าง ๆ ที่มีในสังคมให้เคลื่อนนะครับ แล้วก็ถ้า เทียบงบประมาณแผ่นดินก็ประมาณ ๐.๑ เปอร์เซ็นต์นะครับ ในส่วนนี้เองการสร้างเสริม สุขภาพในทางวิชาการมี สส. ท่านหนึ่งได้กรุณายก Ottawa Charter ขึ้นมาชี้ ซึ่งเป็น ๆ Bible ของ Health Promotion นะครับ เป็นเรื่องของหัวใจของการสร้างเสริมสุขภาพ ทั้ง ๕ ประการจริง ๆ ตรงนั้นช่วยย้ำอีกทีนะครับว่าสิ่งที่ สสส. สนับสนุนให้เกิดการขับเคลื่อน การสร้างสุขภาพไม่ใช่แค่การสื่อสาร ไม่ใช่แค่การ PR นะครับ แต่มีทั้งการผลักนโยบาย การปรับเปลี่ยนบริบทและสิ่งแวดล้อมของเรื่อง การสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ยกตัวอย่าง อย่างองค์การบริหารส่วนตำบล ๓,๒๐๐ กว่าแห่ง อยู่ในรายงานเล่มนี้ของการขับเคลื่อน หรือการกระตุ้นการรอบรู้ด้านสุขภาพ อันนี้เป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสารครับ แต่เป็นส่วนหนึ่ง เท่านั้นเอง แล้วก็สุดท้ายคือการปรับเปลี่ยนระบบบริการให้สร้างนำซ่อม หลายท่านยกปัญหา NCDs ซึ่งได้ใส่ไว้ในสถานการณ์ แล้วก็อาจจะมีคำถามว่า ทำไม NCDs หรือโรคไม่ติดต่อ เรื้อรังเหล่านี้มีแนวโน้มของการเพิ่มทวีขึ้น สสส. ทำไมไม่ตั้งเป้าลดโรคเป็นหลักนะครับ ก็ขอเรียนว่าจริง ๆ โรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นปัญหาใหญ่ของโลกเลยครับ UN เขาก็ตั้งเป็น Agenda ของเขาเลย โรคเหล่านี้ไม่ใช่ลดลงง่าย ๆ เพราะว่ามันเป็นโรคเรื้อรัง แล้วก็ใช้เวลา เป็นทศวรรษเหมือนกัน แล้วก็สาเหตุของ ๕ โรคหลักของ NCDs ที่ไล่มาตั้งแต่มะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจ ระบบทางเดินหายใจ เบาหวานต่าง ๆ เหล่านี้ โรคสุขภาพจิตด้วยนี่ เวลาแก้ปัญหาเราแก้ที่ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคเหล่านี้ในการป้องกันไม่ให้โรคเหล่านี้เพิ่ม ลำพังไปรักษาหายนี่มันเรื้อรังมาก แล้วบางคนก็ต้องรักษากันตลอดชีวิต ฉะนั้นในปัจจัยเสี่ยง ๕ ตัวหลักที่องค์การอนามัยโลกก็บอกเหมือนกันว่าจะช่วยลดโรคเหล่านี้ก็อยู่ในตัวหลัก ๆ ในแผนที่ สสส. ใส่ทั้งนั้นเลยครับ บุหรี่หรือยาสูบ แอลกอฮอล์ อาหาร การออกกำลังกาย มลพิษทางอากาศ ทั้ง ๕ ตัวนี้จะส่งผลประมาณ ๗๐-๘๐ เปอร์เซ็นต์ ของการเกิด NCDs เหล่านี้ ยกตัวอย่าง แอลกอฮอล์ปัจจัยเสี่ยงเดียวจะสัมพันธ์กับโรค ๒๐๐ กว่าโรค บุหรี่ไม่แพ้กัน ฉะนั้นในการสร้างเสริมสุขภาพที่ไม่ใช่การรักษาโรคจึงมุ่งไปที่ปัจจัยเสี่ยง ต้นเหตุ ซึ่ง สสส. เองก็ได้จัดออกมาเป็น ๗ เป้าหมายหลักตามที่ท่านเห็นในรายงาน แล้วก็ฉะนั้น สสส. พยายามโฟกัสตรงนี้ครับ และนั่นคือฐานในการวางแผนทำงาน แล้วก็ออกมาเป็นรายงานเล่มนี้ใน ๓,๐๐๐ กว่าโครงการ เราไม่ได้ทำไปทั่วแล้วก็ กระจัดกระจายโดยไม่มีการโฟกัสหรือว่าไม่มีธงหลัก เรากำหนด ๗ ธงหลักในปัจจัยเสี่ยงตัว หลัก ๆ ของ NCDs ในการทำงานทุกปีของเรานะครับ ในตัวหลัก ๆ ที่มีคำถาม จากท่านเยอะนิดหนึ่งก็ขอใช้เวลาจากท่านประธานอธิบายนิดเดียวนะครับ ผมลองพูด ๒-๓ ตัวแรกก่อน เดี๋ยวจะฝากทางท่านรองและผู้ช่วยช่วยอธิบายเพิ่มนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • ในเรื่องของยาสูบ โดยรวมเราต้องบอกว่าประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศ ที่มีการลดการสูบบุหรี่ลงเป็นประเทศแนวหน้าของโลก ปกติเวลาเราดูสถิติเราจะใช้ การดูอัตราเสียมากกว่าดูจำนวนคนสูบธรรมดา เพราะว่าในเวลา ๒๐ กว่าปีที่ดูสถิติเหล่านี้ มีเรื่องของการเพิ่มประชากรมาเกี่ยวข้อง ประเทศไทยมีประชากรเพิ่มมาตลอด เพิ่งมาลด เมื่อปีที่แล้วนี้เอง ฉะนั้นในอัตราจากปีแรกที่ตั้ง สสส. อัตราสูบบุหรี่ประมาณ ๒๕.๕ เปอร์เซ็นต์ และจนมาถึงปีที่แล้วปี ๒๕๖๔ ที่ลดเหลือ ๑๗.๔ เปอร์เซ็นต์นั้นเฉลี่ยลดลงประมาณถึง ๐.๘ เปอร์เซ็นต์ต่อปีเชียวนะครับ ซึ่งอัตรานี้อยู่ในแนวหน้าของโลกที่สามารถลดตั้งแต่ ๐.๖ เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป ฉะนั้นโดยสถิติเราลด และถ้ามีการคำนวณว่าอัตราไม่ลดลงในแนวโน้ม ของ ๒๐ ปีที่ผ่านมานั้นเราจะมีคนสูบบุหรี่มากกว่าตอนนี้ซึ่งมีอยู่ ๙.๙ ล้านคน จะมีเพิ่มอีก ๘ ล้านกว่าคนที่จะสูบบุหรี่มากกว่านี้ถ้าการควบคุมยาสูบไม่ได้ผลนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • ส่วนบุหรี่ไฟฟ้าเองเพิ่งเข้ามาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ที่บริษัทยาสูบเองก็ออกมา เป็น New S Curve ของเขาอะไรก็ตาม เมืองไทยเราจะบอกว่าอัตราเพิ่ม เพราะว่ามันเพิ่ง เข้ามา แต่อย่างไรก็ตามคนสูบรวมจากการสำรวจก็ยังอยู่ประมาณ ๘๐,๐๐๐ คนเท่านั้นเอง หรือว่าหลายคนก็ประเมินสูงกว่านั้นหน่อยก็เป็นหลักแสนคนถือว่าเพิ่งเริ่มต้นครับ และเราก็มี มาตรการต่าง ๆ มากมายในรายงานเล่มนี้ที่พยายามจะผลักดันซึ่งก็มีข้อโต้เถียงกัน หลายท่านก็ชี้ว่าทำไมไม่ยอมให้มันเข้ามาแล้วก็ดูแลมันเหมือนสินค้าถูกกฎหมายทั่วไป ตรงนี้มีข้อ Debate กันเยอะแยะในโลก แต่โดยรวมแล้วประเทศในโลกนี้เองซึ่งอาจจะยอม ให้มีการขายบุหรี่ไฟฟ้าได้ทยอยเพิ่มขึ้นมาเรื่อย ๆ จากปี ๒๕๕๖ ที่มีประมาณ ๑๔ ประเทศ ตอนนี้เพิ่มขึ้นมาเป็น ๓๕ ประเทศแล้วที่ห้ามการสูบบุหรี่ไฟฟ้าเป็นของถูกกฎหมาย เมื่อเดือนที่แล้วนี้เองประธานของ FCTC Framework Convention on Tobacco Control หรือกรอบอนุสัญญาควบคุมยาสูบโลก เดินทางมาประเมินงานประเทศไทย และท่าน ก็กล่าวสนับสนุนต่อรัฐบาลให้ประเทศไทยยังคงมาตรการห้ามบุหรี่ไฟฟ้าอยู่ ทั้งนี้ก็เป็น คำแนะนำจากงานวิชาการที่ต้องบอกว่ามีนับหมื่นชิ้นที่ยังถกเถียงกันอยู่ แต่ว่าโดยรวมยังไม่มี ใครยืนยันว่าบุหรี่ไฟฟ้าจะไปลดการสูบบุหรี่มวนหรืออะไรต่าง ๆ เหล่านี้ แต่ที่ชัดเจน ในประเทศที่เปิดแล้วก็คือเยาวชนเพิ่มจำนวนการเป็นนักสูบหน้าใหม่สูงขึ้นมากจากการสูบ บุหรี่ไฟฟ้า

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องของแอลกอฮอล์ สถิติที่อาจจะพูดถึงบ่อย ๆ ก็คือว่ามีแนวโน้มคงที่ หรือลดลงเล็กน้อย ตรงนั้นคืออัตราการดื่มครับ จริง ๆ ดัชนีชี้วัดก็คือบอกว่าในรอบ ๑๒ เดือนที่ผ่านมาท่านดื่มแอลกอฮอล์บ้างหรือไม่ ซึ่งเป็นดัชนีที่ Sensitive มากเลยนะครับ ในรอบปีถ้าดื่มแก้วสองแก้วนับแล้ว ติ๊กแล้ว ฉะนั้นดัชนีนี้ค่อนข้างจะไม่ Sensitive ต่อการลด อะไรง่าย แต่ในตัวเลขที่ท่านดูประกอบด้วยจะมีภาพของการดื่มในระดับอันตราย ซึ่งส่วนนี้ ลดลงชัดเจนเลยครับ จากร้อยละ ๙.๑ ในปี ๒๕๔๖ ลงมาเหลือร้อยละ ๗.๓ ในปี ๒๕๕๒ เหลือร้อยละ ๓.๗ ในปี ๒๕๕๖ แล้วก็ร้อยละ ๐.๕ ในปี ๒๕๖๒ คือคนระดับดื่มหนัก ฉะนั้นความสำเร็จของแอลกอฮอล์ที่ผ่านมาคือลดคนที่ดื่มระดับอันตรายสูงลงมาได้ตามลำดับ แต่คนดื่มระดับทั่ว ๆ ไปยังถือว่าทรง ๆ แล้วก็ในคนรุ่นใหม่เองก็มีแนวโน้มที่อาจจะมี วัฒนธรรมตะวันตกหรือเกาหลีประกอบก็ดื่มบ้าง ยังไม่ลด แต่ก็เป็นส่วนที่เราก็ลด ความรุนแรงลงนะครับ ผมจะขอให้ทางดอกเตอร์ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการ ช่วยพูดถึงปัจจัยเสี่ยงสำคัญอีก ๒ ตัวที่ท่านพูดถึงกันเยอะคือเรื่องของอาหาร แล้วก็ เรื่องการออกกำลังกายครับ

    อ่านในการประชุม

  • ขอเสริมเรื่องการสื่อสารนิดแล้วกันนะครับ มีคำถามเกี่ยวกับการสื่อสาร พอประมาณ ในภาพรวม สสส. เองไม่ได้ใช้งบมหาศาลในการสื่อสารอย่างที่หลายท่านพูดถึง งบสื่อสารการตลาด Main หลักใช้งบประมาณเพียง ๒-๓ เปอร์เซ็นต์ของการลงทุนของ สสส. เท่านั้นเองนะครับ แต่ว่าการดำเนินงานเราไม่ได้ทำงานเชิงพาณิชย์เป็นหลัก ใช้ลักษณะ ของการมีส่วนร่วมกับคนในวงการสื่อ แล้วก็สื่อต่าง ๆ มีการประเมินมูลค่าการตลาดของสื่อ สสส. ว่า สสส. เองจ่ายเพียง ๑๕ เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าการตลาดของสื่อที่เราใช้ แล้วปัจจุบัน เองเราก็ได้ปรับโทนของสื่อสารมวลชนมาสู่สื่อสังคมที่สูงขึ้นนะครับ ในสื่อสังคมตอนนี้ เรามีอยู่ครบทุก Platform แล้วก็ได้ประเมินล่าสุดว่าเข้าถึงคนมากกว่า ๒๐ ล้านคน ด้วยผู้ประเมินที่ทำการสำรวจตลาด แล้วก็ บริษัท อันเดอร์ดั๊ก เองก็ได้วิจัยตลาด ยกตัวอย่าง ที่หลายท่านพูดถึง Campaign ของเรานี่เราก็มีการทดสอบตลาดอยู่ตลอดนะครับ อย่างเช่น ให้เหล้าเท่ากับแช่ง ยังมีการยอมรับของผู้คนในการสุ่มตัวอย่างนะครับ ที่มีการสุ่มตัวอย่าง ๑,๒๐๐ กว่าคน ถึง ๔.๔๗ จาก ๕ นะครับ

    อ่านในการประชุม

  • ส่วนประเด็นอื่น ๆ ผมอยากจะเสริมตอนท้ายหน่อยจากที่ทุกท่านได้ฝาก มาว่าเรายังมีเรื่องที่ขอรับมาต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าการที่จะผลักดันให้คนรุ่นใหม่เข้ามาร่วม เป็นกรรมการ ร่วมทำงานต่าง ๆ เรื่องของการที่ให้ภาคประชาสังคมเข้าร่วมขบวนการ วัฒนธรรมการอ่านของปฐมวัย คำแนะนำที่เกี่ยวข้องกับการยกระดับงานจ้างงาน ของผู้พิการ โจทย์ของเรื่องไฟป่าหรือควันต่าง ๆ ที่เราจะต้องพัฒนาวิชาการที่ตกผลึกในพื้นที่ เข้าใจว่าเราจะไม่ได้ทำงานวิชาการเชิงเดี่ยวโดยไม่เข้าใจพื้นที่ปฏิบัติการครับ เรื่องของ การเพิ่มน้ำหนักของกระท่อม กัญชา ยาบ้า ยาเสพติด ที่หลายท่านเป็นห่วงว่าเราควรจะต้อง เพิ่มขึ้นนะครับ แต่เดิมยาเสพติดที่ผิดกฎหมายอาจจะยังไม่ใช่บทของเรานัก แต่เราก็เข้าใจดี ว่าจากปัญหาเราจะเพิ่มปัญหามากขึ้น เรื่องของ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่หลายเรื่อง ต้องใช้วิธีพิเศษ เรื่องของมัสยิดปลอดบุหรี่ต่าง ๆ ที่ท่านถาม ตอนนี้ยังเดินหน้าอยู่ครับ เมื่อเดือนที่แล้วเองท่านผู้แทนจุฬาราชมนตรีก็ได้ไปร่วมลงนามทำงานด้วยกันเพิ่มที่ภาคใต้ เรื่องของการบูรณาการงานทางม้าลายให้ยั่งยืนมากขึ้น การแก้ปัญหาเด็กติดจอ เรื่องของ การเปิดรับการร่วมทุนกับองค์กรอื่น สสส. เองมีพี่เลี้ยงในจังหวัดต่าง ๆ ที่จะทำให้การเขียน ข้อเสนอโครงการทำได้ง่ายขึ้น คือเราเพิ่มพี่เลี้ยงในหลายปีที่ผ่านมา แล้วก็การไปร่วมทุน กับทุนในพื้นที่ สสส. ไม่ลดเงินที่เราลงทุนในที่นั้นลงไปเลยครับ เพียงแต่ไปชักชวนกองทุน ที่บางทีเราก็ทราบว่าเขาเหลือนะครับ เช่นกองทุนสุขภาพตำบลของท้องถิ่นกับ สปสช. เราใช้ Knowhow ของเราในการจะช่วยพัฒนาองค์การ แล้วให้เงินเหล่านั้นมาสนับสนุนเพิ่ม ซึ่งจะทำให้การขยายมากขึ้นนะครับ เรื่องหมวกกันน็อกใน กทม. นี่ สสส. ไม่ได้แจก แต่เรา ไปดึงภาคเอกชนมาช่วยแจกนะครับ แต่ว่าปัญหาเรื่องคุณภาพหมวกเราจะขอไปประสาน ติดตามกับทางมูลนิธิเมาไม่ขับนะครับ ที่เหลือนอกจากนั้นขอน้อมรับไว้ทั้งหมด มีอีกส่วนหนึ่งที่หลายท่านถามพอประมาณเกี่ยวข้องกับการประเมินผล ผมจะขอให้ดอกเตอร์ ประกาศิต กายะสิทธิ์ รองผู้จัดการช่วยตอบ ขอเวลาท่านประธานไม่เกิน ๕ นาที แล้วก็จะยุติ การชี้แจงครับ

    อ่านในการประชุม

  • ขอบคุณครับ ขออภัยผมเมื่อสักครู่ไม่ได้เก็บประเด็นที่จะตอบนะครับ จริง ๆ ที่ ท่านเอกราชเอ่ยถึงศูนย์สร้างสุข หรือเราใช้คำว่า สุข Enterprise จะเป็นองค์กรภายใน สสส. ไม่ใช่องค์กรที่แยกออกไป ไม่ได้เป็นนิติบุคคลต่างหากครับ จะเรียกกันว่าเป็นหน่วยงาน ภายในเล็ก ๆ ก็ได้นะครับ ผมเมื่อครั้งอภิปรายครั้งแรกอาจจะพูดถึงตัวเลข ๘,๐๐๐ ล้านบาท นั้นไม่จริงเลยมีงบประมาณที่หมุนเวียนอยู่ประมาณ ๑๐ กว่าล้านบาทเท่านั้น หัวใจก็คือว่า เราพบว่าหลายงานของ สสส. เอง พอทำงานเป็นเชิง Project แล้วการจะขยายผลออกไป เรียกว่า สื่อสารสังคมก็ดี หรือการเผยแพร่จากนัก Social Worker ก็ดีมีความจำกัด เราคิดว่า ทำอย่างไรเราจะใช้ความแข็งแรงของระบบธุรกิจเข้ามา ยกตัวอย่างหนังสือของเราแทนที่จะ แจกกันในหมู่คนที่จะถึงทำให้เกิดการ Publishing เป็นเล่ม แล้วก็เข้าสู่วงจรตลาด คนที่ซื้อ หนังสือไปก็จะอ่านอย่างนี้เป็นต้นนะครับ ฉะนั้นสุข Enterprise จึงตั้งขึ้นมาเพื่อให้สามารถ จะมีความคล่องตัวในการที่จะดึงเอา ผลิตภัณฑ์ก็ดี บริการก็ดีที่ สสส. ได้สร้าง ได้ผลิตไว้ ของภาคีจำนวนมากเข้าไปเผยแพร่ให้ถึงคนในวงกว้างขึ้น โดยมีการพึ่งพางบประมาณ จาก สสส. ต่ำสุด แต่จะให้การตลาดทำงานครับ

    อ่านในการประชุม