พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง

  • กราบเรียนท่านประธาน ที่เคารพครับ ผม พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาชาติ ขอเสนอนายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน พรรคเพื่อไทย เป็นรองประธานสภา คนที่สอง ขอผู้รับรองด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธาน ที่เคารพครับ ผม พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาชาติ ไหน ๆ ก็มีคำถาม อยากจะถามคำถามสุดท้าย คือเราเคยมีความหวังว่า เมื่อเราได้ประมวลยาเสพติดที่ออกไปเมื่อปี ๒๕๖๔ แล้วปัญหายาเสพติดเราจะแก้ได้ แต่ว่า ประมวลยาเสพติดเป็นประมวลที่จะต้องมีกฎหมายระดับรองเพื่อไปบูรณาการจำนวนมาก ถ้าจำไม่ผิดเราจะมีกฎหมายระดับรองอยู่ประมาณเกือบ ๓๐ ฉบับกระมังในหน่วยงานต่าง ๆ ถ้ากฎหมายระดับรองไม่เสร็จ อย่าหวังเลยจะแก้ปัญหายาเสพติด พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ตอนอภิปรายไม่ไว้วางใจมารับสารภาพต่อหน้าสภานี้ว่ากฎหมายระดับรองยังออกได้ ไม่มากนัก จึงถามว่าวันนี้ผ่านมาสัก ๑ ปีแล้วกฎหมายระดับรองปัจจุบันออกครบหรือยังครับ อยากให้ตัวแทน ป.ป.ส. ได้ตอบด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธาน ที่เคารพครับ ผม พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาชาติ ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณท่านประธานนะครับ ที่เรื่องรับทราบในครั้งนี้ ยังให้หน่วยงานได้มาสรุปชี้แจง ๕ นาที เพราะเรื่องรับทราบทั้งหมดเกิดจากกฎหมาย แต่สิ่งที่อยากจะให้มีประสิทธิภาพมากกว่านี้ ท่านประธานครับเป็นไปได้หรือไม่เรื่องรับทราบ แต่ละเรื่องนี่ ท่านประธานให้คนในองค์กรสภา เช่น สำนักวิชาการ ถ้าอะไรเป็นเรื่องกองทุน เรื่องงบประมาณก็ให้สำนักงบประมาณสภาช่วยดูและช่วยกลั่นกรอง อย่างน้อยที่สุดรายงาน ที่ส่งมาเป็นไปตามกฎหมายไหม มีการใช้เงินใช้ทองอย่างไร หรืออย่างเช่นกรรมการสิทธิ มนุษยชนแห่งชาติอย่างนี้ ดูว่าเป็นไปตามมาตรฐานรัฐธรรมนูญไหม คณะกรรมการสิทธิ มนุษยชนแห่งชาติปกป้องสิทธิของรัฐมากกว่าปกป้องสิทธิของประชาชน ทำไมประชาชน ทั้งประเทศยังไม่ได้รับการปกป้องคุ้มครองสิทธิในลักษณะอย่างนี้ สมาชิก ๕๐๐ คน บางคน ไม่ได้อ่าน จะได้มีเวลาอ่านจากเจ้าหน้าที่สภา ซึ่งเราก็มีงบประมาณสภาค่อนข้างเยอะ อันนี้อยากจะฝากเพิ่มเติมจาก ๕ นาที ให้ท่านกรุณาพิจารณาให้คนในสภาหรือองค์กร ในสภาได้ช่วยย่อยรายงานแล้วสรุปมาให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรด้วยจะเป็นสิ่งที่ดีครับ ขอบพระคุณมากครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธาน ที่เคารพครับ ผม พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาชาติ ก่อนอื่นก็ต้องขอสวัสดีแล้วก็ยินดีกับท่านคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติชุดนี้ตัวผมเองก็มีความคาดหวังว่าประเทศไทยน่าจะ มีการปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของคนไทย แต่ถ้าท่านดูงบประมาณประเทศที่มี การละเมิดสิทธิสูงอันดับต้น ๆ ของโลก อย่างเช่นประเทศไทยนี่ก็พบว่าท่านมีงบประมาณ ปีละ ๒๕๐ ล้านบาทเอง อะไรที่มันเป็นเรื่องสิทธิของประชาชนกับการจัดงบประมาณ มันช่างน้อยนิดเหลือเกินนะครับ แล้วก็การจะแก้เรื่องสิทธิมันก็แก้ยาก คณะกรรมการ สิทธิมนุษยชนแห่งชาติเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญซึ่งมีอยู่ใน ๕ องค์กรที่เรารู้ดีคือ กกต. มีผู้ตรวจการแผ่นดิน มีคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน สตง. แล้วก็มีกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มี ป.ป.ช. คราวนี้ผมอยากให้ท่านกรรมการก็รู้ดี แต่ผมอยากให้ประชาชนได้คิดตามไปด้วย คนที่อยู่ในองค์กรอิสระนี่เขามีหลักที่สำคัญ ผมถือว่าเป็นปรัชญาของท่าน และเป็นเรื่องที่ ถ้าท่านขาดความรับผิดชอบในปรัชญาข้อนี้ความรับผิดชอบมีความสำคัญต่อประเทศ ประเทศใดถ้าผู้มีความรับผิดชอบขาดความรับผิดชอบความวิบัติก็จะตามมา หน้าที่ของ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเขาบอกว่าท่านต้องปฏิบัติหน้าที่และการใช้อำนาจของ องค์กรอิสระอยู่ ๔ ประการ

    อ่านในการประชุม

  • ประการที่ ๑ ต้องโดยสุจริต

    อ่านในการประชุม

  • ประการที่ ๒ โดยเที่ยงธรรม

    อ่านในการประชุม

  • ประการที่ ๓ โดยกล้าหาญ

    อ่านในการประชุม

  • ประการที่ ๔ ท่านต้องปราศจากอคติทั้งปวงในการใช้ดุลยพินิจ

    อ่านในการประชุม

  • ผมอยากให้ความสำคัญของความว่ากล้าหาญ ความกล้าหาญกับการขี้ขลาด มันจะตรงกันข้ามกัน ความกล้าหาญกับความธุระไม่ใช่ ไม่อยากเข้าไปยุ่ง อันนี้ไม่ใช่ ความกล้าหาญ ในประเทศที่มีการละเมิดสิทธิมาก ๆ ผู้รับผิดชอบ ผู้บังคับใช้กฎหมาย กับคนชั่วที่แข็งแกร่งจะใช้ผู้ปกป้องคุ้มครองสิทธิที่อ่อนแอ ท่านซื่อสัตย์แต่ท่านอ่อนแอ ไม่มีความกล้าหาญ ท่านซื่อสัตย์อาจจะไม่เข้มแข็ง อันนี้เป็นสิ่งสำคัญ ก็ต้องยอมรับอย่างที่ ท่านอาจารย์ชูศักดิ์ได้พูดว่ารัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๖๐ เขาเจตนาจะให้คณะกรรมการ สิทธิมนุษยชนแห่งชาติเป็นคนมาแก้ตัวให้กับรัฐบาล ท่านดูได้จากมาตรา ๒๔๗ ที่อำนาจ หน้าที่ของกรรมการสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะใน (๔) ก็คือท่านต้องชี้แจงและรายงาน ข้อเท็จจริงที่ถูกต้องโดยไม่ชักช้า ซึ่งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในอดีตนั้นเขามี หน้าที่ในการตรวจสอบการละเลยการละเมิดสิทธิมนุษยชนให้เป็นไปตามพันธกรณีของ ระหว่างประเทศ สิทธิมันใหญ่ แล้วเวลาจะรายงานนี่ก็ให้รายงานต่อสภา แต่ท่านก็ไปรายงาน ต่อรัฐบาล อันนี้จึงเป็นปัญหา ในรัฐธรรมนูญที่ผ่านมานี้กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีมาก ถ้าเรื่องที่ เกี่ยวกับศาลรัฐธรรมนูญ ถ้าเห็นว่าบทบัญญัติขัดรัฐธรรมนูญท่านก็ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ ถ้าเรื่องที่ขัดแย้งกับศาลปกครอง หรือใช้คำสั่งทางการปกครองมิชอบ ท่านก็ส่งไปที่ ศาลปกครองได้ หรือถ้าเห็นว่าผู้เสียหายได้รับผลกระทบเป็นคนยากไร้ ท่านก็ฟ้องแทนได้ ในศาลยุติธรรม แต่อำนาจนั้นเนื่องจากเขากลัวท่านจึงไม่ได้ให้อำนาจ อันนี้ก็ถือว่าท่านได้ทำ หน้าที่วันนี้ก็ค่อนข้างที่จะในระดับหนึ่ง ท่านกรรมการครับ ท่านประธาน เพื่อให้เข้าเนื้อหา สักนิดหนึ่ง จริง ๆ มันมีหลายเนื้อหา ผมอยากให้ท่านดูในหน้า ๗๙ อันนี้ผมถือว่าเป็น สิทธิมนุษยชนที่สำคัญ สิทธิเรื่องการศึกษา ท่านทราบไหมว่าท่านเขียนไว้เรื่อง กยศ. กยศ. อยากให้เอา Slide ขึ้นมาดูสักนิดหนึ่ง

    อ่านในการประชุม

  • กยศ. ในอดีต ก่อนปี ๒๕๖๖ คนยากไร้ คนที่ไม่มีเงินจะไปเรียนหนังสือ กฎหมายเก่า พลเอก ประยุทธ์ ได้แก้เมื่อปี ๒๕๖๐ ให้มีดอกเบี้ย ๗.๕ เปอร์เซ็นต์ ให้มีเบี้ยปรับ ๑๘ เปอร์เซ็นต์ รวมดอกเบี้ย กับเบี้ยปรับ ๒๕ เปอร์เซ็นต์ ร้อยละ ๒๕ คนทำธุรกิจกำไรร้อยละ ๒๕ ยังน้อย เวลาคิด เวลาไปใช้หนี้ก็ให้ไปใช้เบี้ยปรับ แล้วก็ให้ดอกเบี้ยและเงินต้น ดังนั้นเราจึงเห็นว่าก่อนที่จะ มาแก้ปี ๒๕๖๐ คนใช้หนี้กู้มา ๓๐๐,๐๐๐ บาท ใช้หนี้ไป ๓๐๐,๐๐๐ บาท ยังเหลือหนี้ อยู่ประมาณ ๖๐๐,๐๐๐ บาท เพราะเวลาใช้หนี้ ลำดับการใช้หนี้ก็ไปใช้หนี้เบี้ยปรับ แล้วค่อย ไปใช้ดอกเบี้ยกับใช้เงินต้น แต่เมื่อมีการแก้ไข พ.ร.บ. กยศ. ไปราวเดือนมีนาคม เราให้ยกเลิก มาตรา ๔๔ การคิดดอกเบี้ยอันนี้ แล้วเปลี่ยนใหม่ว่าต่อไปถ้าจะมีดอกเบี้ยก็ไม่ให้เกิน ๑ เปอร์เซ็นต์ ถ้าจะมีเบี้ยปรับก็ไม่ให้เกิน ๐.๕ เปอร์เซ็นต์ สรุปจาก ๒๕ เปอร์เซ็นต์ ดอกเบี้ย และเบี้ยปรับนั้นไม่เกิน ๑.๕ เปอร์เซ็นต์ ท่านประธานครับ ผมขออีกสักนาทีครึ่งนะครับ ปรากฏว่าที่สำคัญที่สุดเราต้องการที่จะให้มีผลย้อนหลังไปผู้กู้ทั้งหมดไม่ว่าจะบังคับคดี ไม่ว่าจะถูกยึดทรัพย์ ไม่ว่าจะถูกดำเนินการ โดยไปเขียนไว้ในมาตรา ๒๗ ให้เอาไปใช้กับหนี้ ที่อยู่บังคับคดีถ้าถูกยึดทรัพย์ แล้วหลักเกณฑ์การหักก็ให้ไปใช้กับทุกคน คือสรุปแล้ว กยศ. ไม่ขาดทุนแต่กำไรน้อย เพราะวันนี้กำไรประมาณ ๘๐ เปอร์เซ็นต์สำหรับคนกู้ คนยากไร้ คนไม่มีเงิน แต่ปรากฏว่าตั้งแต่เดือนมีนาคมมาถึงปัจจุบัน ซึ่งบังคับ กยศ. ต้องไปใช้เกณฑ์นี้ วันนี้ยังไม่แก้ปัญหาให้กับลูกหนี้ จะรอรัฐบาลใหม่หรืออย่างไร ทั้ง ๆ ที่ท่านละเว้นมาตลอด เพราะกฎหมายบอกว่าให้ยกเลิกมาตรา ๔๔ เดิม แล้วให้มาใช้ใหม่ ท่านก็ไปใช้กฎเกณฑ์เดิม ลักษณะเช่นนี้ ท่านเขียนเรื่องการศึกษาว่าจะเป็นหน้าที่ท่านคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน แห่งชาติต้องไปดู คน ๖ ล้านกว่าคน คนที่ถูกได้รับผลกระทบมากมาย นี่คือตัวอย่างนะครับ หลาย ๆ อย่างไม่ได้พูดถึงครับ ผมอยากให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเป็นที่พึ่ง และเป็นที่หวังของประชาชน หลาย ๆ เรื่องท่านก็พยายามจะทำถึงแม้ว่าการให้งบประมาณ ท่านน้อยนิด ดังนั้นจึงขอให้กำลังใจนะครับ แต่ขอเอาเรื่องนี้ไปช่วยติดตามให้หน่อยครับ ขอบพระคุณมากครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธาน ที่เคารพครับ กระผม พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาชาติ ท่านคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้ตอบ ๒ คน แต่เฉี่ยวไปนิดหนึ่ง คือกรณีสิทธิในกระบวนการยุติธรรมที่เราเขียนไว้ในมาตรา ๒๙ ว่า ในคดีอาญาให้สันนิษฐาน ไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่ได้กระทำผิดก่อน และก่อนที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด แสดงว่าบุคคลนั้นเป็นผู้กระทำผิดไม่ได้นะครับ และจะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนผู้กระทำผิด มิได้ คำว่า และจะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนผู้กระทำผิดมิได้ มันมีอย่างนี้ครับ วันนี้เหมือนเรา เห็นความผิด การไม่ปฏิบัติก็คือวันนี้เรามีผู้ต้องขังในเรือนจำอยู่ ถ้าตัวเลขเมื่อวานนี้ ก็ ๒๖๕,๙๙๙ คน ในจำนวนนี้เป็นผู้ต้องหาเด็ดขาด คือศาลได้ตัดสินถึงที่สุด ๒๑๓,๒๕๐ คน อันนี้คือผู้ต้องหาเด็ดขาด แต่เป็นผู้ต้องขังระหว่าง ก็คือว่าเขายังไม่ได้เป็นผู้กระทำผิดอยู่ ๕๒,๗๓๖ คน หรือ ๒๐ เปอร์เซ็นต์ ปัญหาวันนี้คือที่ชัดเจนก็คือผู้ไม่ได้กระทำผิดขังรวมกับ ผู้กระทำผิดทุกเรือนจำ แม้ว่าเวลาไปถามก็ไม่รู้จะบอกอย่างไร ก็บอกว่าเวลาเยี่ยมหรือเวลานั่น ให้แยกกันเล็กน้อย แต่ในทางปฏิบัตินี่คืออยู่ด้วยกัน วันนี้เราปล่อยให้การกระทำผิด รัฐธรรมนูญอยู่ตลอด คราวนี้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ไหน ๆ จะเข้าไปดูในกระบวนการยุติธรรม ลองเข้าไป คือถ้าท่านไปศึกษาท่านอาจจะแก้ไม่ได้ แต่รายงานของท่าน มันจะเป็นเกราะ สำหรับข้าราชการดี ๆ ที่อยากจะปฏิบัติ เพราะว่าบางคนเวลาถูกจับเรื่องเช็คเรื่องคนรวย ทะเลาะกัน พอเข้าไปข้างในก็ต้องไปอยู่เป็นนักโทษ อันนี้ฝากให้เป็นการบ้านไปด้วยครับ ที่ท่านบอกว่าจะเข้าไปดู แต่ไม่ได้พูดข้อนี้ครับ ขอบพระคุณมากครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธาน ที่เคารพครับ ผม พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาชาติ ต้องขอบคุณท่านประธานและขอสวัสดีทางผู้แทน กสศ. กสศ. นี่เราต้อง มาทบทวนกันนิดหนึ่งว่าท่านเกิดมาจากรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๖๐ เพื่อจะปฏิรูปการศึกษา ในหมวดปฏิรูป มาตรา ๒๖๑ ให้มีคณะกรรมการ กสศ. รัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๖๐ เขียนขึ้น โดยคนจำนวนหนึ่งที่ถูกมองว่าเป็นคนดี การเป็นคนดีกับการที่สังคมดีผมจะชอบคนในสังคมดี เพราะคนในสังคมดีนั้น มันจะทำให้สังคมมีความสมานฉันท์ ด้วยการเกิดขึ้นก็มีชิงออก พระราชบัญญัติขึ้นมา โดยพระราชบัญญัติดังกล่าวก็ออกก่อนที่จะมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร วัตถุประสงค์จริง ๆ ก็คือจะมาแก้ปัญหารัฐธรรมนูญ มาตรา ๔๕ คือในกรณีผู้ยากไร้ หรือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ในสังคมไทยจะต้องได้เรียนทุกคน เราก็ไปสู่ในทฤษฎีว่าต่อไปนี้ คนไทยทุกคนจะต้องอ้างเหตุไม่เรียนหนังสือเพราะไม่มีเงินไม่ได้ การอ้างเหตุไม่เรียนหนังสือ เพราะไม่มีเงินจะขัดต่อรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะมาตรา ๕๔ ในมาตรา ๕๔ ในวรรคสี่ วรรคท้าย บอกว่าให้จัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการ ศึกษา คือเป็นกองทุนฟรีก็เป็นกองทุน กสศ. ในการมารายงานของ กสศ. กสศ. นี่ไม่ได้อยู่ใน ระบบการศึกษาเลย กสศ. เป็นองค์กรนอกกระทรวงศึกษาธิการ กสศ. เป็นองค์กรพิเศษ ที่เกิดเพราะรัฐธรรมนูญ คือถ้าในวงการกระทรวงศึกษาธิการก็บอกว่าดีเหมือนกันจะได้ดิ้น หลุดพ้นจากระบบราชการ จากระบบกระทรวงศึกษาธิการที่มันเทอะทะ เดินหลุดออกมา แต่ในจำนวนหนึ่งก็บอกว่า กสศ. ไม่ต้องรับผิดชอบถ้าเกิดความบกพร่อง ความดีก็รับเอาไว้ แต่ถ้าเกิดความด้อยคุณภาพการศึกษาก็ไปโทษกระทรวงศึกษาธิการ โทษระบบการศึกษา ประการสำคัญคือที่ผมรู้สึกว่าเสียใจนิด ๆ กับการรายงานของปี ๒๕๖๕ เพราะผมได้พูดเสมอเลยว่า ในรายงานที่ผ่านมาวัตถุประสงค์ของท่าน ๗ ข้อ ซึ่งท่านรับภารกิจตามกฎหมายนั้น ท่านเคยทำ มาให้เห็น เช่นในปี ๒๕๖๓ ผมยังจำได้ว่าท่านมารายงานว่ากองทุนได้ใช้เงินไปกับพวกที่มีวุฒิ ในระดับก่อนประถมศึกษาถึง ๙๐ กว่าเปอร์เซ็นต์ แต่ในระดับมัธยมปลาย ปวส. ท่านใช้ไป แค่ ๔,๐๐๐ กว่าคน นี่ปี ๒๕๖๓ คือ ๑.๓ เปอร์เซ็นต์ ทั้งที่เป็นวัตถุประสงค์หนึ่งของการที่ ท่านต้องไปช่วย คือสรุปท่านต้องยอมรับว่าเรามีการศึกษาภาคบังคับ วันนี้การศึกษาภาคบังคับเด็ก ทุกคนจะต้องได้รับเงินถ้าไปเรียนโรงเรียนของรัฐ หรือโรงเรียนของท้องถิ่นจะได้ ๓๘,๐๐๐-๔๐,๐๐๐ บาทต่อหัวต่อคนต่อปี ถ้าเด็กโดยเฉพาะเด็กที่ชายขอบหรือเด็ก ที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เขาต้องเรียนตามอัตลักษณ์มีเรียนศาสนาด้วย รัฐก็จะให้แค่ ๑๕,๐๐๐-๑๖,๐๐๐ บาทต่อหัวต่อคน แล้วให้โรงเรียนไปจัดการ แต่เราก็พบว่ามีเด็กจำนวน มากที่ขาดแคลนทุนทรัพย์และต้องการจะเรียนหนังสือ แต่ว่าเขาไม่ได้เรียนเพราะเขาไม่มีเงิน ก็คือเด็กที่เรียนจบมัธยมศึกษาจะเข้าอุดมศึกษา จะต้องไปกู้เงิน กยศ. การกู้เงิน กยศ. ก่อนปี ๒๕๖๖ ก็มีดอกเบี้ยและเบี้ยปรับจำนวนร้อยละ ๒๕.๕ แม้จะลดแล้วแต่พอไปฟ้องศาล ก็จะร้อยละ ๒๕.๕ เราก็ได้มาแก้ไขถึงจะแก้ไขว่าจะไม่ให้มีดอกเบี้ยและเบี้ยปรับก็เหลือ ร้อยละ ๑.๕ แต่เวลาคิดดอกเบี้ย เวลาเราไปจ่ายคืนต้องไปจ่ายเบี้ยปรับก่อน แล้วไปจ่าย ดอกเบี้ย ลูกหนี้ กยศ. จำนวนมากเป็นล้าน ๆ ไปจ่ายเงินเท่าไรเงินต้นก็เท่าเดิม การแก้ครั้งนั้น ก็เป็นการแก้เพื่อให้ได้ทั้งระบบ ถ้าใครยังมีหนี้อยู่ถ้าไปใช้หนี้ก็ให้เปลี่ยนวิธี คือถ้าไปจ่าย ให้ไปจ่ายเงินต้นก่อน ให้คิดเงินต้นก่อนแล้วไปคิดดอกเบี้ยและเบี้ยปรับ ซึ่งวันนี้กฎหมายนี้ มีผลใช้บังคับทันทีเพราะเราไปยกเลิกกฎหมายเก่า แต่ กยศ. ก็ยังไม่ใช้ สังคมไทยเราจึงเป็น หนี้ที่เกิดจากการขยันเรียน การแก้ กยศ. ครั้งดังกล่าวเป็นหนี้ต้องใช้หนี้ แต่ กยศ. ได้กำไร น้อยลงเท่านั้น จากเคยได้กำไร ๘๐ กว่าเปอร์เซ็นต์กลับมาได้กำไรแค่เสมอตัว คราวนี้กองทุน ของท่านพอท่านไม่รายงานมาอย่างนี้เราก็ไม่รู้ว่าระบบคัดกรองเป็นอย่างไร สิ่งที่ผมได้รับ การร้องเรียนมากที่สุดคือกลุ่มโรงเรียนเอกชนในภาคใต้ โดยเฉพาะโรงเรียนเอกชนสอนศาสนา มีประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ กว่าคนเด็กไม่สามารถเข้าถึงบริการของท่าน เพราะท่านไปเขียนให้ สพฐ. ตชด. แม้จะตอนหลังพอผมอภิปรายไปท่านก็ไปมีข้อกำหนดแต่ก็เข้าไม่ถึง อันนี้เป็น กองทุนไม่เสมอภาคทางการศึกษา ท่านไปสร้างความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ผมคิดว่า ท่านต้องเปลี่ยนวิธีคิด ผมอยากให้ท่านทำข้อ ๖ ข้อ ๗ ไปทำการศึกษาวิจัย ไปทำการพัฒนา ท่านไม่มีความรู้ในท้องถิ่นเท่ากับท้องถิ่นหรอกครับ ท่านกระจายอำนาจไปเหมือนประเทศ ที่เจริญแล้วเรื่องการศึกษา กยศ. ก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่เป็นการจัดองค์กรแบบอำนาจนิยม ต้องเอาอำนาจมาส่วนกลาง ผมจึงอยากให้ท่านรวมกองทุน กสศ. กับ กยศ. ด้วยกัน แล้วก็ มาสร้างการเรียนฟรีเพื่อมีคุณภาพไปสู่รัฐสวัสดิการได้แล้วครับ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานที่เคารพครับ ผม พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง ขออนุญาตนิดนะครับ ก่อนจะเข้ากระบวนการอภิปราย เรื่องรายงาน ซึ่งทราบว่ามีประมาณ ๓๐ กว่าคนแล้ว

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานที่เคารพครับ ผม พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาชาติ ท่านประธานครับ ต้องขอบคุณท่านรัฐมนตรีที่ท่านรัฐมนตรีสรุปเมื่อสักครู่ประมาณสัก ๕ นาที มันมีประเด็นก็คือว่า หมวดการปฏิรูปประเทศหมวดที่ ๑๖ นี่ ไปเขียนในบทเฉพาะกาล มาตรา ๒๗๐ ที่เป็นภาระของพวกเราทุกวันนี้ว่าต้องมารายงานกับสภาทุก ๓ เดือน เมื่อสักครู่ท่านพูดว่าในระยะ ๕ ปี ท่านบอกว่าแผนปฏิรูปประเทศสำเร็จตามที่ท่านพูด จึงอยากให้ท่านผู้มาชี้แจงได้ชี้แจงว่า ต่อไปนี้หน้าที่ของ สว. ตามมาตรา ๒๗๐ ที่มีหน้าที่ ในการติดตามเสนอแนะ เร่งรัดปฏิรูปประเทศตามหมวด ๑๖ ยังมีอีกหรือไม่ แล้วแผนปฏิรูป ประเทศที่ต้องรายงานทุก ๓ เดือนจะมีอีกหรือไม่ เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญไปโยงกับ มาตรา ๒๗๒ ที่เป็นคำถามพ่วงว่า สว. จะมาเลือกนายกรัฐมนตรี เพราะจะมาขับเคลื่อน ปฏิรูปประเทศ ดังนั้นก่อนที่จะไปสู่การอภิปรายรายละเอียดของแผน อยากจะขอให้ท่านรัฐมนตรี หรือเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ตอบว่าวันนี้หน้าที่ของวุฒิสภาในการติดตามและเสนอแนะการปฏิรูปประเทศตามหมวด ๑๖ ยังทำหรือไม่ และการรายงานทุก ๓ เดือนยังมีอีกหรือไม่ ขอบพระคุณมากครับ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานครับ นิดเดียวครับ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานที่เคารพครับ อันนี้เป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะในหมวดปฏิรูปประเทศเราไปเขียนบทเฉพาะกาล ในมาตรา ๒๗๐ ว่าให้วุฒิสภามีหน้าที่ติดตาม แล้วยังไปอยู่ในคำถามพ่วงที่ทำประชามติ รัฐธรรมนูญว่าการที่เขียนมาตรา ๒๗๒ ขึ้นมานั้น เพราะต้องการให้ สว. ไปปฏิรูปประเทศ จึงให้มาเลือกนายกรัฐมนตรีในช่วงระหว่าง ๕ ปี คำว่า ระหว่าง นี่ก็คือตั้งแต่ ๑ วันถึง ๕ ปี หรือระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก ดังนั้นอันนี้เป็นสาระสำคัญ ผมยังอยากให้ ท่านลองอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญด้วย เพราะว่าอำนาจ สว. ถ้าหมดหรือไม่ ผมคิดว่าน่าจะควรได้คำตอบในครั้งนี้ อันนี้เป็นเรื่องสำคัญมากครับ เพราะมันจะโยงไปสู่ ระบบต่าง ๆ ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งรัฐธรรมนูญก็อย่างที่เรียนว่าในบทเฉพาะกาลมันเหมือน การรัฐประหารซ้อนขึ้นมา ทำลายระบบรัฐธรรมนูญทั้งหมด ดังนั้นถ้าตามคำตอบของท่าน มาตรา ๒๗๐ ได้หมดสภาพไปตามคำชี้แจงใช่หรือไม่ครับ

    อ่านในการประชุม

  • ขอบพระคุณครับ ท่านประธานถามตรงครับ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานที่เคารพครับ ผม พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง คือท่านเลขาธิการสภาพัฒน์ได้กรุณาตอบนะครับ ท่านบอกว่าคำตอบของท่านยังไม่ใช่ยืนยันว่าถูกต้อง คำถามก็คือว่าหมวดปฏิรูป ตามมาตรา ๒๗๐ คำตอบของท่านอยากจะให้ท่านยืนยันว่าวันนี้ สว. ไม่มีอำนาจ ในการติดตามเสนอแนะเรื่องปฏิรูปประเทศแล้วใช่หรือไม่ แล้วคำตอบของท่านคือตั้งแต่ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๕ ใช่หรือไม่ และท่านก็ไปโยงว่าอำนาจ สว. ตามมาตรา ๒๗๐ ท่านไปโยงว่าอำนาจ สว. จะมีก็คือการปฏิบัติราชการอันนั้นหมายถึงอะไร เพราะว่า ๕ ปี ของการปฏิรูปมันจะโยงไปหลายเรื่อง เรื่องที่ ๑ ก็คือที่เรากำหนดให้ สว. มี ๒๕๐ คน เพราะตามรัฐธรรมนูญเรามีแค่ ๒๐๐ คนมาจากกลุ่มต่าง ๆ ของคนทั้งประเทศ แต่อันนี้ สว. มาจากการแต่งตั้งของ คสช. ๒๕๐ คน เพื่อมาดูเรื่องการปฏิรูปประเทศ แต่ตอนนี้ เขาหมดอำนาจไปแล้วประมาณ ๔-๕ เดือน มันจะโยงไปในเรื่องอื่น ดังนั้นขอให้ท่านยืนยัน อีกครั้งหนึ่งว่าใช่หรือไม่ครับว่า สว. หมดอำนาจแล้ว

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานนิดเดียวครับ

    อ่านในการประชุม

  • คือต้องขอบคุณ ท่านเลขาสภาพัฒน์นะครับ ถ้าตามคำตอบของท่านก็คือหน้าที่ของ สว. ในหมวดการปฏิรูป ประเทศก็คือจบไปแล้ว ที่ท่านเอามาตรา ๑๕๐ มายกก็เป็นหน้าที่ของ สส. สว. ธรรมดา ที่จะกระทู้ถามหรือการปฏิบัติหน้าที่ก็ต้องขอขอบพระคุณนะครับ แต่ถามเติมอีกนิดหนึ่ง หน่วยงานทางกฎหมายที่ท่านอ้างถึงว่าไปถามนั้น ท่านถามกับใครมาครับ อันนี้ต้องขอขอบคุณ ถือว่าเป็นประโยชน์นะครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธาน ที่เคารพครับ ผม พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาชาติ ท่านประธานที่เคารพครับ ในการปฏิรูปประเทศที่มารายงานครั้งนี้ ถือว่าเป็นรายงานฉบับสุดท้าย ผมอยากจะขอทวนว่า ๕ ปีของการปฏิรูปประเทศ เราได้อะไร หรือเราจะต้องเสียเวลากับการสูญเปล่าหรือไม่ จุดเริ่มต้นเกิดจากความขัดแย้ง ทางการเมือง ที่เราจะได้ยินคำว่าต้องปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง เมื่อรัฐบาลที่มาจาก ประชาธิปไตยได้ยุบสภา กระแสปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๑ กระแส ปฏิรูปก่อนการเลือกตั้งก็ยังมีขึ้นจนเป็นเหตุให้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ตัดสินใจ ยึดอำนาจ โดยใช้สิ่งหนึ่งคือต้องการจะปฏิรูปประเทศ โดยในขณะนั้นเสียงเรียกร้องก็คือ ๑. ให้ปฏิรูประบบการเลือกตั้งให้บริสุทธิ์ ๒. ให้ปฏิรูปเรื่องการทุจริตคอร์รัปชัน ๓. ให้ปฏิรูปประชาธิปไตย ให้ฟังเสียงประชาชนให้มากขึ้น ให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น ๔. การปฏิรูปเพื่อความเหลื่อมล้ำ และ ๕. การปฏิรูปตำรวจ เมื่อ คสช. ยึดอำนาจ ก็ตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศขึ้นมา พอปฏิรูปประเทศ จัดทำรัฐธรรมนูญ ก็นำหมวด ปฏิรูปมาอยู่ในหมวด ๑๖ ซึ่งวันนี้ได้ฟังจากเลขาธิการสภาพัฒน์ชี้แจงแล้ว หมวด ๑๖ ได้หมดภารกิจไปแล้ว หมวด ๑๖ ไร้คุณค่าไปแล้ว เพราะปฏิรูปประเทศครบ ๕ ปีแล้ว บางเรื่องบอก ๑ ปี บางเรื่องสูงสุด ๕ ปี และท่านก็ได้มาชี้แจงโดยบอกว่าได้โทรศัพท์หารือกับ เลขาธิการกฤษฎีกา ว่าการปฏิรูปประเทศไปสิ้นสุดเอาวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๕ ในหมวด ปฏิรูปประเทศสร้างกลไกและสร้างอำนาจพิเศษขึ้นมา การสร้างกลไกและสร้างอำนาจพิเศษ ขึ้นมาก็คือได้มีการสร้างให้ สว. เข้ามาปฏิรูปประเทศ การที่ให้ สว. เข้ามาปฏิรูปประเทศ ก็จะเขียนไว้ในมาตรา ๒๗๐ ซึ่งวันนี้ท่านได้ชี้แจงว่าได้หมดอำนาจไปแล้ว ท่านประธาน ที่เคารพครับ ประเด็นการปฏิรูปประเทศไม่จบอยู่เท่านั้น ในการนำรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๖๐ ที่ร่างเสร็จแล้วก็ส่งไปให้ สนช. ในขณะนั้น สนช. ต้องการที่จะให้ สว. ทำการปฏิรูปประเทศ ก็มีคำถามเพิ่มขึ้นมาอีก ๑ คำถาม คำถามที่เพิ่มก็คือใช้คำว่า ท่านเห็นชอบหรือไม่ว่า เพื่อให้การปฏิรูปประเทศเกิดความต่อเนื่องตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ สมควรกำหนด ในบทเฉพาะกาลว่าในระหว่าง ๕ ปีแรก นับแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรกของรัฐธรรมนูญนี้ ให้ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาเป็นผู้พิจารณา ให้ความเห็นชอบบุคคลที่สมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี เพื่ออะไรครับ เพื่อจะปฏิรูป ประเทศในหมวด ๑๖ ก็เลยให้ สว. ซึ่งในรัฐธรรมนูญเก่านะครับ มีแค่ ๒๐๐ คน ก็ให้ สว. ที่จะมาปฏิรูปประเทศมี ๒๕๐ คน มาจากการแต่งตั้งของ คสช. มาทำการปฏิรูปประเทศ เนื่องจากมาตรา ๒๗๒ ไม่ได้เกิดจากการร่างรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๗๒ เกิดจากคำถามพ่วง ที่ให้ความเห็นชอบรัฐธรรมนูญ ในวันที่ ๑๐ ธันวาคมในช่วงการไปขอความเห็นชอบนั้น ในวันที่ ๑๐ ก็พบว่า กกต. ก็บอกว่าคำถามพ่วงดังกล่าวมีเสียงประชามติถึง ๕๘ เปอร์เซ็นต์ ให้ความเห็นชอบ ถือว่ามาจากมติของประชาชน ดังนั้นการร่างมาตรา ๒๗๒ จึงต้องส่งยกร่าง แล้วส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญได้ตรวจ ศาลรัฐธรรมนูญได้ตรวจก็พบว่า ศาลรัฐธรรมนูญ ได้มีคำวินิจฉัยไว้ที่ ๒/๒๕๕๙ ก็คือว่าในระหว่าง ๕ ปีแรกนี่ ปกติการเลือกตั้งนายกต้องมาจากสภา แต่เพื่อให้ทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินในช่วงการเปลี่ยนผ่าน ๕ ปีนับแต่วันเปิดประชุม สภาชุดแรกของรัฐธรรมนูญนี้ เพื่อให้ขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศสำเร็จตามเป้าหมาย การที่ให้ สว. ที่บอกระหว่าง ๕ ปีนี่ ท่านไม่รู้ว่ากี่ปี เพราะตอนยกร่างไปมันไม่ใช้คนละภาษา แต่ว่าในระหว่าง ๕ ปีก็คือช่วงเวลาหนึ่งไปอีกช่วงหนึ่ง เหมือนระหว่างพระอาทิตย์ขึ้น ไปพระอาทิตย์ตก คือระหว่าง ๑ ปี ๒ ปี ๓ ปีที่แผนปฏิรูปประเทศไม่เสร็จในคำวินิจฉัย ก็ให้ สว. มาเลือกนายกรัฐมนตรี รายละเอียดทั้งหมดปรากฏในคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ ๖/๒๕๕๙ ท่านประธานที่เคารพครับ ผมจะขอเวลาอีกสัก ๒ นาที เพื่อจะขยาย ปรากฏว่า เมื่อมีรัฐธรรมนูญออกมาในระหว่างนั้นมีสมาชิกของพรรคฝ่ายค้านเดิมขอแก้รัฐธรรมนูญ โดยจะจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่โดยมี สสร. มีการส่งเรื่องไปให้ศาลวินิจฉัย ศาลรัฐธรรมนูญ บอกว่า การมี สสร. ไม่อาจจะทำได้เพราะรัฐธรรมนูญไม่กำหนด แต่ถ้าจะทำรัฐธรรมนูญใหม่ ทั้งฉบับ ประชาชนผู้ทรงอำนาจอธิปไตย ผู้ทรงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญนี่สามารถที่จะ จัดทำรัฐธรรมนูญได้ แต่ต้องทำประชามติก่อน โดยสรุปก็เหมือนประชามติใหญ่กว่ารัฐธรรมนูญ ถ้านำคำวินิจฉัย ที่ ๔/๒๕๖๔ อันหลังนี้มาใช้ก็คือผลประชามติที่เพื่อให้มีการปฏิรูปประเทศ จึงถือมีความสำคัญ ดังนั้นผมได้ถามเลขาธิการสภาพัฒน์ เมื่อวันนี้ สว. ไม่มีหน้าที่ในการ ปฏิรูปประเทศแล้ว ท่านได้ชี้แจงกลางสภานี้ เมื่อ สว. ไม่มีหน้าที่ในการปฏิรูปประเทศ สว. ก็ต้องตามเจตนารมณ์และคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ผูกพันทุกองค์กร ก็ไม่ควรที่จะ มาเลือกตั้งนายกรัฐมนตรี ก็ควรจะย้อนกลับไปมาตรา ๒๕๙ อันนี้ก็จะเป็นประเด็นที่อยากจะ ให้บันทึกไว้ว่าการปฏิรูปประเทศที่ผ่านมา ที่สำคัญอย่างยิ่งคือไปตัดอำนาจของประชาชน ท่านประธานที่เคารพครับ ส่วนผลของการปฏิรูปประเทศ วันนี้เราอภิปรายไปก็ไม่มีผลแล้ว เขามารายงาน แต่ผม ขอกราบเรียนว่าผลของการปฏิรูปประเทศนี่ถ้าได้ตรวจสอบทั้งหมดมีความล้าหลัง ท่านใช้งบประมาณแผ่นดินในช่วงการปฏิรูปประเทศไปถึง ๑๘ ล้านล้านบาท ถ้ารวม เป็นเงินกู้ด้วยเกือบ ๒๐ ล้านล้านบาท เพราะเวลาของบประมาณก็ต้องทำแผนปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ แต่ท่านทำให้ประเทศถอยหลังจำนวนมาก ดังนั้นผมคิดว่าอันนี้คือ เป็นบทเรียนที่ว่าการไม่ไว้ใจประชาชน การสร้างอำนาจนิยมเพื่อจะมาคิดแทนประชาชน ที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ก็คือการทำลายความเจริญของประเทศ ทำให้ประเทศถอยหลังมา ผมจึงอยากจะฝากไว้ว่าเราควรจะนำรายงานบทสรุปทั้งหมดมาศึกษา แล้วก็อยากให้สภานี้ ตั้งคนศึกษา และบอกว่าความเจริญหรือความเสียหายจากการมีแผนปฏิรูปประเทศ มันเป็นอย่างไรครับ ขอขอบพระคุณมากครับ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานนิดเดียวครับ พาดพิงนิดเดียวเดี๋ยวจะเกิดความเสียหายครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธาน ที่เคารพครับ ผม พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง ถ้าไม่ขยายความอาจจะเกิดความเสียหายนะครับ ที่ผมพูดว่าหมวดปฏิรูปที่ ๑๖ ปฏิรูปประเทศนี่ อันนั้นเป็นความเห็นของผมว่าควรจะหมด สภาพสิ้นสุดแล้ว เพราะผมไปดูในมาตรา ๒๕๙ เขากำหนดให้การปฏิรูปประเทศแต่ละด้าน ให้เริ่ม ๑ ปี ตั้งแต่มีรัฐธรรมนูญ รวมตลอดถึงสัมฤทธิผลว่าจะบรรลุภายใน ๕ ปี คือ ๕ ปีอันนี้ มันจบไปแล้ว แล้วผมก็บอกว่าอำนาจ สว. ที่เราเขียนชัดเจนไว้คือ ๒๗๐ ให้มีหน้าที่ติดตาม เสนอแนะ เร่งรัดการปฏิรูปประเทศ และให้รายงานทุก ๓ เดือน ที่ท่านเลขาธิการสภาพัฒน์ บอกไว้ก็คือมาตรา ๒๗๐ ที่ท่านชี้แจงว่าอันนี้หมดหน้าที่แล้ว คือใน ๓ เดือนข้างหน้า เราคงไม่ได้เห็นรายงานฉบับนี้แล้ว อันนี้ถูกต้อง แล้วก็ที่ท่านตอบว่า สว. มี ๕ ปี การแต่งตั้ง สว. ชุดนี้ ๕ ปีถูกต้องของท่าน ก็คือจะครบในวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๖๗ อยากจะชี้แจง ไว้ตรงนี้ ก็คือโดยสรุปหน้าที่ สว. ในการเร่งรัด ติดตาม ปฏิรูปประเทศในหมวด ๑๖ มันหมดไปแล้ว ส่วนหมวด ๑๖ จะมีสภาพใช้ได้หรือไม่ได้ก็ลองมาพิจารณาดู ซึ่งบางครั้งอาจจะไปตีความใน สว. ชุดใหม่ว่ากฎหมายนี้เป็นกฎหมายปฏิรูปลักษณะทำให้ประเทศดีขึ้น ซึ่งอันนี้อยู่ที่ นายกรัฐมนตรีจะพิจารณา อันนี้อยากจะเรียนให้ทราบครับ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานที่เคารพครับ ผมขออนุญาตนิดหนึ่งครับ

    อ่านในการประชุม

  • ผู้อภิปรายส่วนใหญ่จะมี เนื้อหาที่ดี ๆ ถ้ามีจังหวะสักนิดหนึ่ง ขอให้ผู้ชี้แจงได้ชี้แจงเป็นช่วงหน่อยก็ดีครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธาน ที่เคารพครับ ผม พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาชาติ ผมขอร่วมแสดงทัศนะ ความเห็นเกี่ยวกับรายงานสรุปผลการดำเนินงาน ยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปี ๒๕๖๕ ส่วนสรุปผลการดำเนินการตามแผนปฏิรูปประเทศ ปี ๒๕๖๕ นั้นผมได้อภิปรายไปบางส่วนแล้ว ท่านประธานที่เคารพครับ ผมยังจำคำพูดของ ท่านอาจารย์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่เป็นตัวแทนของพรรคการเมือง เป็นกรรมาธิการ วิสามัญในการศึกษาปัญหาการแก้รัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๖๐ เราพิจารณาไปถึงหมวด ยุทธศาสตร์ชาติ ท่านอาจารย์อภิปรายในที่ประชุมคณะกรรมาธิการว่า ยุทธศาสตร์ชาติ คือทรราชย์กับอนาคต ซึ่งคำพูดของอาจารย์ก็ค่อนข้างจะแรง อย่างไรก็ตามผมคิดว่าถ้าเรา มาพิจารณาในรายงานยุทธศาสตร์ชาติ ก็ต้องให้ความเป็นธรรมกับผู้มารายงานด้วย ยุทธศาสตร์ชาติจะมีความสำคัญอย่างไรนั้น อย่างน้อยที่สุดในรัฐธรรมนูญมาตรา ๒๖๒ เขาบอกคณะรัฐมนตรีจะเข้าบริหารราชการแผ่นดินและแถลงนโยบายจะต้องสอดคล้องกับ หน้าที่ของรัฐ แนวนโยบายของรัฐและยุทธศาสตร์ชาติ นโยบายของพรรคการเมืองต่าง ๆ ที่ไปบอกกับประชาชน ว่าจะให้ประชาชนอยู่ดีมีสุข จะให้ประชาชนอยู่ดีกินดี จะให้ประชาชน ที่ไร้ที่ทำกินให้เกษตรกรต้องมีที่ทำกิน และมีเอกสารสิทธิเป็นของตนเองนั้น จะมี การกระจายอำนาจ จะมีรัฐสวัสดิการ นโยบายต่าง ๆ นั้นจะไม่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แล้วที่สำคัญอย่างยิ่งเราจะเห็นได้ว่าใน พ.ร.บ. ยุทธศาสตร์ชาตินั้นวันนี้โชคดีของ หน่วยราชการ เขาบอกว่าใน พ.ร.บ. นั้นในกรณีที่สภาผู้แทนราษฎร คือพวกเราอยู่ในที่นี้ ได้พิจารณารายงานที่ส่งมานี้ มีเหตุไม่สอดคล้องก็จะส่งเรื่องให้ ป.ป.ช. ไปดำเนินคดีกับ หน่วยงาน อาจจะเบื้องต้นคงจะดำเนินคดีกับเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ นี่คือตัวอย่าง แล้วถ้าท่าน ป.ป.ช. รับแล้วชี้มูล ท่านก็ต้องถูกพัก นี่คือความรุนแรง และท่านดูในเล่มนี้สิครับ รายงานจะไม่บรรลุผลเป็นส่วนใหญ่ถ้าอะไรที่เกี่ยวกับความอยู่ดี มีสุขของประชาชนจะไม่บรรลุผล และที่สำคัญอย่างยิ่งกรรมาธิการ ท่านประธาน เป็นกรรมาธิการงบประมาณทุกครั้ง เวลางบประมาณที่เสนอมาจั่วหัวเบื้องต้น งบประมาณ ที่จัดนี้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ผมไปดูการใช้งบประมาณย้อนไปที่สอดคล้องกับ ยุทธศาสตร์ชาติใช้ไป ๑๘ ล้านล้านบาท แล้วไปกู้มาอีกรวม ๆ ไปแล้วก็ ๒๐ กว่าล้านล้านบาท นี่คืองบประมาณได้เดินตาม ตามยุทธศาสตร์ชาติ เมื่อเดินตามยุทธศาสตร์ชาติ ประเทศไทยจึงเดินทางไปสู่ความเหลื่อมล้ำ ที่สุด ประเทศไทยจึงเป็นประเทศที่คนรวยเป็นจุด ไม่ใช่กระจุกนะครับ กระจุกมันกว้างใหญ่ และมีการจนกระจาย ประเทศไทยเป็นประเทศที่สร้างรัฐรวมศูนย์ ใช้ราชการเป็นใหญ่ ขาดการกระจายอำนาจ เพราะในยุทธศาสตร์ชาติไม่มีเรื่องกระจายอำนาจเลย อย่าว่าแต่ ยุทธศาสตร์ชาติเลยครับ รัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๖๐ ก็ไม่มีคำว่ากระจายอำนาจ คนที่จะรู้ดี ในหมู่บ้าน ชุมชน ในครอบครัว คือพ่อแม่เขา แต่วันนี้รัฐไม่ไว้ใจประชาชน หรือรัฐไม่เห็นหัว ประชาชนจึงตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ ขึ้นมา นี่คือตัวอย่างของยุทธศาสตร์ชาติ แล้วตัวชี้วัด ผมก็อยากจะฝากสภาพัฒน์ครับ ตัวชี้วัดวันนี้เรามีรัฐธรรมนูญที่คิดว่าตัวชี้วัดควรเอามาชี้วัด ในมาตรา ๓ วรรคสอง เขาบอกรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล องค์กรอิสระ หรือหน่วยงานของ รัฐจะต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และหลักนิติธรรม เกณฑ์การชี้วัดเรื่องหลัก นิติธรรมควรจะนำมาใช้ ก็มีอยู่บางส่วนครับ ท่านนำหลักนิติธรรมมาใช้ แต่สิ่งหนึ่งที่ผมเห็น ว่าเมื่อมีการจัด Ranking หลักนิติธรรม เราพบว่าประเทศที่มีหลักนิติธรรมดีที่สุด ของเรานี่ อยู่ในกลุ่มท้าย ๆ นะครับ แล้วก็เป็นประเทศที่ประชาชนมีความสุขที่สุด ๕ อันดับแรก ก็คือ เดนมาร์ก นอร์เวย์ ฟินแลนด์ สวีเดน เนเธอร์แลนด์ รู้สึกอันดับที่ ๖ เยอรมนี ประเทศพวกนี้ มีหลักนิติธรรม ๑-๕-๖ แล้วพอไปดูประชาชนก็มีความสุขที่สุด เพราะประเทศเขา ให้ความสำคัญคนเท่ากับคน เขาให้ความสำคัญในรัฐสวัสดิการ ไม่ใช่การสงเคราะห์ เหมือนแผนยุทธศาสตร์ชาติ การสงเคราะห์คือการทำลายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ อย่างเช่น เมื่อเร็ว ๆ นี้เบี้ยผู้สูงอายุควรจะเป็นสวัสดิการถ้วนหน้า ก็เป็นหลักต้องไปสงเคราะห์ ท่านประธานครับ เวลามันหมดเร็วเหลือเกินนะครับ ผมมี PowerPoint อีกนิดหนึ่ง แต่ผม จะขอใช้เวลาสัก ๑ นาที เพื่อให้เข้าในเนื้อหา เราพบว่าในยุทธศาสตร์ชาติ หน้า ๘๕ ขอ Slide ขึ้นหน่อยนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • หน้า ๘๕ ในเรื่อง ทรัพยากรธรรมชาติ ท่านประธานทราบไหมครับ เราเขียนไว้ในที่นี้ว่าเรามีพื้นที่ป่าอยู่ ๑๐๒ ไร่ พื้นที่ป่า ๑๐๒ ไร่ แต่พื้นที่ป่าตามที่ปรากฏนั้นเรามี ๑๓๕ ไร่ นี่คืออะไรรู้ไหมครับ ป่าตามความเป็นจริงมี ๑๐๒ ไร่ แต่ป่าตามกฎหมายที่ไม่ใช่ป่า หรือป่าเสื่อมโทรม หรือป่าทิพย์อีก ๓๓ ล้านไร่ วันนี้คนประมาณ ๑๕ ล้านกว่าคนต้องอยู่ในที่ดินที่เขาบอกว่า รัฐรุกคนไม่ใช่คนรุกป่า สืบเนื่องเป็นผู้ผิดกฎหมายต่อเนื่องมายาวนาน สภาพัฒน์ ท่านลองไปเอากลุ่มป่าไม้มาดู นิยามคำว่าป่านิยามเดียวก็มีมากมาย ถ้าตามหลักสากลนั้น คือพื้นที่ที่มีต้นไม้ขึ้นแล้วมีติดต่อกัน ๓ เมตร และในเร็ว ๆ นี้เมื่อ EU ออกข้อกีดกันยางพารา ก็ดี สินค้าต่าง ๆ ก็ดี ถ้าจะเข้าประเทศต้องพิสูจน์ว่าไม่ได้มาจากป่า แล้วเขาก็ไปดูรัฐต้นทาง ในเมื่อนิยามกฎหมายเรา ที่ดินที่ไม่มีใน พ.ร.บ. ที่ดินเป็นป่าทั้งหมด อย่างนี้ท่านไม่ปฏิรูป ท่านยังส่งเสริมให้คนไม่มีที่ทำกิน ที่ดินที่เป็นโฉนดก็กระจุกตัวอยู่ในคนเล็กน้อย อันนี้คือ ปัญหาใหญ่ ผมอยากจะฝากท่านลองไปดูอาจจะต้องไปปฏิรูป ถ้าเราปฏิรูปที่ดินไม่ได้ เราปฏิรูปคนไม่ให้มีที่ทำกินไม่ได้ อย่าหวังว่าประเทศจะมีการพัฒนา อย่าหวังว่าประเทศ จะลดความขัดแย้งครับ ขอบพระคุณมากครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธาน ที่เคารพครับ ผม พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาชาติ ก่อนอื่นผมต้องขอขอบคุณทางคณะที่มาชี้แจงครับ แต่เนื่องจาก มีผู้อภิปรายเรื่องนี้เยอะ ผมอยากจะให้มันเป็นสาระในการจะอภิปรายในครั้งต่อไป

    อ่านในการประชุม

  • ประเด็นที่ ๑ ผมมองว่าสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออกหรือ สกพอ. ท่านได้จัดทำรายงานฉบับนี้ยังไม่เป็นไปตามกฎหมาย มาตรา ๑๕ (๕) ที่ให้ท่านจัดทำรายงานการปฏิบัติประจำปีตาม พ.ร.บ. ให้สภาผู้แทนราษฎรทราบ ซึ่งตามกฎหมายของ EEC มีมากมาย โดยเฉพาะในมาตรา ๑๕ อย่างเดียว เช่นท่านกู้เงิน อะไรจากใคร ซึ่งในรูปแบบที่ท่านส่งมาเหมือนว่ายังไม่ครบถ้วน เหตุที่ผมต้องถามเช่นนี้ เพราะวันนี้มีการขายฝันว่าในพื้นที่ยากจน ในพื้นที่ชนบทหลาย ๆ แห่ง รวมทั้งใน ๓ จังหวัด ชายแดนภาคใต้ เราอยากจะเอากฎหมาย EEC ไปพัฒนาเศรษฐกิจใน EEC แต่เท่าที่ผม ได้ตรวจสอบดูรูปแบบโครงสร้างของกฎหมายท่านมันตกอยู่ในรูปแบบของการวิจัยที่พบว่า มีปัญหาในการสร้างความเหลื่อมล้ำ ในการสร้างความยากจน เพราะว่าถ้ากฎหมายเป็นเรื่อง รัฐรวมศูนย์เมื่อใด ถ้ากฎหมายเป็นเรื่องระบบราชการเป็นใหญ่ ถ้ากฎหมายเป็นเรื่องการไป แย่งชิงทรัพยากรของประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ อีกอันหนึ่งถ้ากฎหมายเกิดการให้สัมปทาน คือให้เสือนอนกิน ประชาชนอยู่ลำบาก และอีกประการหนึ่งคือกฎหมายทำให้เกิดการศึกษา ที่ด้อยไป อันนี้ผมก็เห็นเป็นตัวอย่างว่ากฎหมาย EEC เราจะขัดกับหลักการกระจายอำนาจ วันนี้เรามีการปกครองส่วนภูมิภาค การปกครองส่วนท้องถิ่นก็มี อบจ. มี อบต. มีเทศบาล มีการปกครองพิเศษ โดยเฉพาะในเขต EEC ๓ จังหวัดนั้นก็มีพัทยาเป็นเขตพิเศษ ท่านก็เป็น กฎหมายพิเศษที่เข้ามาใช้ครอบหมด ในรายงานของท่านอาจจะบอกว่าดีไปทุกอย่าง ที่สำคัญ ผมเห็นว่าค่อนข้างอันตรายคือคณะกรรมการ EEC ทั้งหมดไม่มีคนใน ๓ จังหวัดอยู่แม้แต่ คนเดียว นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การคลัง อันนี้คือตัวอย่าง ผมมีกฎหมายที่จะให้ท่านเปรียบเทียบ กฎหมายบริหารจังหวัด ชายแดนภาคใต้หรือ ศอ.บต. เรามีคณะกรรมการที่ปรึกษา จะมีตัวแทนขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น มีตัวแทนกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน มีตัวแทนของศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม มีตัวแทน ของการศึกษา มีตัวแทนของผู้ได้รับผลกระทบทุกภาคส่วน แต่เสียดายกฎหมายฉบับนั้นได้ใช้ไป ระยะหนึ่ง พอมีการยึดอำนาจปี ๒๕๕๗ พลเอก ประยุทธ์ก็ไปยกเลิกคณะกรรมการที่ปรึกษา ที่มีตัวแทนจากทุกภาคส่วนแม้กระทั่งพระ คนพวกนี้เขาจะอยู่ในทุกพื้นที่ เขาได้รับผลกระทบ จากการพัฒนา ดังนั้นสิ่งที่ท่านพัฒนาไปคือขยะหรือสิ่งที่เกิดขึ้นตามมา ดังนั้นผมจึงเห็นว่า การที่ท่านมารายงานแล้วข้อมูลไม่ครบ ผมอยากกราบเรียนท่านประธานครับ วันนี้กฎหมาย บังคับให้มารายงานกับสภาจำนวนมาก สภาไม่เคยรู้เลยมีกฎหมายอะไร บางหน่วยงาน ก็ซุกไว้ไม่มารายงาน ทั้งหมดเป็นมาตรา ๑๕๗ สภาน่าจะมีเจ้าหน้าที่ตรวจ Check ว่ามี กฎหมายหน่วยราชการใดต้องรายงานบ้าง เพราะอย่างน้อยที่สุดเขาเอาเงินงบประมาณไป ผมอยากจะให้ดูแค่ที่รายงานหน้า ๑๘-๒๐ ท่านลองดูครับ ท่านพูดถึงรถไฟความเร็วสูงเชื่อม ๓ สนามบิน การเอารถไฟความเร็วสูง เอาพื้นที่ที่แพงที่สุดที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕ ได้เก็บไว้ที่ มักกะสันเอาไปให้เป็นสถานี เป็นที่ที่แพงที่สุดอยู่ใจกลางเมืองหลวง แต่วันนี้จากรายงาน ของท่านจะเลยเวลาแล้วรถไฟเชื่อม ๓ สถานี แล้วจากข้อมูลก็บอกส่งมอบพื้นที่จำนวนมาก ผมเคยได้เข้าไปพบกับผู้ที่อยู่กับรถไฟมีโฉนดที่ดินเขาต้องถูกไล่ออกทั้งคราบน้ำตา แต่วันนี้ เมื่อท่านส่งมอบที่ดินให้ไปแล้ว อยากถามว่าจะมีเวลาอีกเมื่อไรรถไฟความเร็วสูงเชื่อม ๓ สนามบินจะได้ขยับสักทีหนึ่ง อันนี้คือจุดอันที่ ๑ แล้วเรายังมีจุดมากมาย ท่านทราบไหม ในระหว่างพัฒนาท่านมีมาตรา ๓๖ ไปเวนคืน ท่านไปใช้อำนาจเอาที่ดิน ส.ป.ก. ๑๔,๖๑๙ ไร่ มาอ้างว่าจะทำ Smart City ในที่ดินดังกล่าวนี้ พอท่านเอาที่อยู่ใกล้อู่ตะเภามามีคำกล่าวหา ว่าท่านเลขาอาจจะคนเก่าก็ได้ ท่านต้องการเอื้อผลประโยชน์ให้กับคนบางกลุ่ม โดยอ้างว่า จะมีคน ๒๐๐,๐๐๐ คนไปอยู่ เราก็ไปชิงที่ของคนไทยไม่มีที่ทำกิน คนไม่มีที่ทำกินต้องไป อยู่ในที่ ส.ป.ก. ๑๔,๐๐๐ ไร่ EEC ไม่เคยใส่ใจเลย เพราะ EEC ไม่เคยมีคนในจังหวัดชลบุรี ไม่มีคนในจังหวัดระยอง ไม่มีคนในจังหวัดฉะเชิงเทราอยู่สัก ๑ คน ท่านอยู่ในกรุงเทพฯ โดยเฉพาะซ้ำร้ายที่สุดในรายงานของท่านครับ ที่ดินที่ท่านทำงานอยู่ ท่านอยู่กรุงเทพฯ ท่านอยู่ที่เจริญกรุง วัดม่วงแค แล้วท่านจะไปรู้ผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมได้อย่างไร ดังนั้น ผมจึงคิดว่าถึงเวลาที่เราจะมาทบทวนกฎหมายฉบับนี้เสียที เพื่อให้คนในพื้นที่ได้มีโอกาส ร่วมในการพัฒนาครับ ขอบพระคุณมากครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธาน ที่เคารพครับ ผม พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาชาติ ผมขอให้ชี้แจงอาจจะเพิ่มเติมเป็นเอกสารก็ได้ ที่ผมถามว่า EEC ไปใช้อำนาจกฎหมายตามมาตรา ๓๖ โดยไปเอาที่ดิน ส.ป.ก. ๑๔,๖๑๙ ไร่เศษ บอกว่าจะไป ทำศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่อัจฉริยะที่ตั้งอยู่ภายในรัศมี ๓๐ กิโลเมตรรอบสนามบิน อู่ตะเภา ที่ผมอยากเรียนถามคือว่าท่านได้ไปทำหรือยัง เวนคืนไปแล้ว เพราะว่าประชาชน ไม่มีที่ทำกิน ท่านบอกว่าจะเอาอันนี้ไปทำ แล้วก็อยากให้มีรายละเอียดที่ว่าถ้าเกิดท่าน เอาไปแล้วต้องการจะไปให้นายทุนหรือเอาไปทำอะไรก็แล้วแต่ ถ้าเกิดไม่ได้ทำประโยชน์ หรือไม่มีเกิดขึ้น จะสามารถใช้อำนาจท่านคืนให้เกษตรกรได้ไหม เพราะเกษตรกรส่วนใหญ่ เป็นผู้ยากไร้ทั้งนั้น แล้วขอให้ส่งรายละเอียดเป็นเอกสารมาด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธาน ที่เคารพครับ ผม พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาชาติ ผมอาจต้องขอมีการแลกเปลี่ยน แล้วก็ประการสำคัญอยากจะให้มีการวาง บรรทัดฐานในเรื่องการตรวจสอบ เนื่องจากตามกฎหมายมาตรา ๕๒ เพื่อเป็นการตรวจสอบ และควบคุมให้ผู้ชมและผู้ฟังรายการได้รับบริการที่มีคุณภาพ มีประสิทธิภาพ แสดงถึง ความเป็นกลางขององค์กร ให้องค์กรทำรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีเสนอต่อคณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาใน ๖ เดือนนับแต่วันสิ้นสุดบัญชี และให้เผยแพร่ผู้ชมโดยที่ให้ รายงานอย่างน้อย

    อ่านในการประชุม

  • ข้อ ๑ ผลงานขององค์กรในปีที่ผ่านมาเมื่อเปรียบเทียบกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ ผมก็พยายามอ่านว่ามันมีตอบคำถามข้อนี้ไหม

    อ่านในการประชุม

  • ข้อ ๒ โครงการแผนงานและแผนงบประมาณสำหรับปีถัดไป อันนี้ก็จะไม่มี

    อ่านในการประชุม

  • ข้อ ๓ ผังรายการปีที่ผ่านมาแล้วผังรายการที่จะเปลี่ยนแปลงผังรายการ สำหรับปีถัดไป

    อ่านในการประชุม

  • ข้อ ๔ งบการเงินและรายการของผู้สอบบัญชี รายการตรวจสอบภายใน และในการประเมิน

    อ่านในการประชุม

  • อันนี้ก็มีหลายข้อ ทั้งหมด ๘ ข้อ ซึ่งอย่างน้อยคิดว่าผมอาจจะฝากไปยัง ท่านประธานครับ วันนี้สภาเรามีรายงานจำนวนมาก แล้วเวลาเราร่างกฎหมายขึ้นมา ฉบับหนึ่งเราก็ไม่รู้จะให้หน่วยรับงบประมาณมีการยึดโยงกับประชาชนอย่างไร เราก็จะเขียน ให้มารายงานต่อสภา สภาเรามีเจ้าหน้าที่เยอะมาก รับงบประมาณรวม ๆ ก็จำนวนมาก น่าจะพวกตรวจสอบว่าเมื่อสภาเป็นตัวแทนของประชาชนต้องตรวจสอบรายงานของ หน่วยรับงบประมาณต่าง ๆ ดูสิว่าสิ้นปีสิ้นเวลาแล้วทำไมหน่วยงานนั้นจึงไม่มารายงาน อย่างกรณีนี้ก็ถือว่าเป็นการรายงานตรงเวลา แต่อย่างน้อยที่ผมเรียนเมื่อสักครู่นี้ เพราะใน หลายรายงานมีเพื่อนสมาชิกได้พูดไปแล้ว อย่างงบการเงินจริง ๆ ถ้าในวงการไม่ว่าวงการ อะไร งบการเงินแม้แต่วงการบังคับใช้กฎหมายมันคือหน้าต่างที่จะบอกร่องรอยต่าง ๆ คราวนี้งบการเงินที่ส่งมาสิ่งที่เราต้องการจะดูก็ดูหมายเหตุ หมายเหตุข้อนั้นข้อนี้เราจะได้ เจาะลงไป ดังนั้นผมจึงคิดอยากจะกราบเรียนว่าถ้าดูในรายงานนี้เมื่อ สส. เราในชุดที่ ๒๖ เขาบอกว่ารัฐต้องปฏิบัติตามและบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด กฎหมายฉบับนี้ก็เป็น อีกฉบับหนึ่ง ท่านประธานที่เคารพครับ สิ่งที่อยากจะฝากทาง Thai PBS คือเขาบอกว่า ทุก ๑๐ ปี นี่ก็ ๑๕ ปีแล้ว เมื่อถึง ๑๐ ปีก็ให้องค์กรมีการทบทวน ประการหนึ่ง ท่านได้มี การทบทวนแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายนี้บ้างหรือไม่ วันนี้เราใช้มา ๑๕ ปี ใช้งบประมาณ ของประเทศถือว่าเป็นงบประมาณแผ่นดินไป ๓๐,๐๐๐ ล้านบาท ปีหนึ่งประมาณ ๒๐,๐๐๐ ล้านบาท แล้วถ้าเรียนโดยตรงก็คือว่าสื่ออื่น ๆ เขาก็เรียกร้องว่าเขาต้องประมูล คลื่นความถี่ เขาก็ต้องขวนขวาย แต่ว่าสื่อ Thai PBS มันต้องเป็นสื่อที่ให้ประชาชนรู้สึก เป็นเจ้าของ เพราะอย่างน้อยไม่ต้องไปแข่งขันเรื่องหางบประมาณ บางสื่อถ้าเราไปดู สื่อ Online บางอย่างนี้ไม่มีงบประมาณเลย Rating ยังสูงกว่า ซึ่งผมไม่ไปดูตรงนั้น ดังนั้น จึงอยากจะเรียนว่าในรอบที่ผ่านมาคิดว่าจะมีการทบทวนกฎหมายหรือไม่ แล้วอีกประการหนึ่ง ยังมีช่องที่ให้มีการประเมินตรวจสอบเท่าที่ผมอ่านในนี้ ถึงเวลาหรือยังว่าอาจจะต้องให้คน เป็นกลางมีการประเมินผล ผมยังรักษาคงไว้ แล้วผมก็ขอชื่นชมในส่วนผม แต่อันนี้ก็อยาก เป็นภาพที่จะฝากไว้ เพราะว่าผมดูวันนี้สังคมไทยสนใจข่าวการเมือง แหล่งของการเมือง ก็คือสภาผู้แทนราษฎร ไม่ว่าจะเลือกนายกรัฐมนตรี เลือกอะไร ผมไปดู TV และวิทยุรัฐสภา ในปี ๒๕๖๕ เหมือนกัน ได้รับงบประมาณไป ๕๖ ล้านบาท รัฐสภาเราก็ต้องไปดูด้วยว่า เราเอางบประมาณไปสามารถจะเป็นสถานีที่มีจุดแข็งหรือจุดเด่น อย่างน้อยรัฐสภาก็ต้องเป็น ต้นตำรับของผู้ทรงไว้ซึ่งหลักอธิปไตย ประชาธิปไตย อันนี้ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง ดังนั้น ผมอยากจะขอเรียนถามว่ามีความคิดที่จะแก้กฎหมายไหม แล้วก็อยากจะมีการปรับปรุง หรืออาจจะจ้างองค์กรกลาง หรือองค์กรอิสระลองประเมินเพื่อจะพัฒนาให้ดีขึ้น ส่วนตัวผม ก็ยังชื่นชมว่า TV ลักษณะนี้ยังควรจะมีอยู่ครับ ขอขอบพระคุณมากครับ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานครับ ผม พันตำรวจเอก ทวี

    อ่านในการประชุม

  • นิดเดียวครับ ขอบพระคุณ ทางผู้อำนวยการครับ ที่ผมอยากจะให้มันปรากฏในรายงานของแต่ละปี เพราะในข้อกฎหมาย เขาบอกว่าให้มีงบการเงินและรายงานการเงินของผู้สอบบัญชี รายงานการตรวจสอบภายใน และรายงานของคณะกรรมการประเมิน ซึ่งที่บอกว่ารายงานที่มารายงานนี้ถ้ามีหมายเหตุ เช่นหมายเหตุข้อ ๒๑ รายได้จากการบำรุงองค์กร เขาก็จะบอกในเวลาหมายเหตุให้เอาติด มาด้วย เพราะอันนี้มาแค่ ๒ แผ่น ปกติรายงานมันอาจจะมีสัก ๒๐ แผ่น ผมคิดว่าอันนี้ เป็นสภาผู้แทนของประชาชนทั้งประเทศ แล้วก็เป็นเงินของประชาชน จริง ๆ แล้วในรายงาน เนื่องจากทั้ง ๘ ข้อควรจะทำรายงานทั้ง ๘ ข้อ ข้อ ๑ ข้อ ๒ ข้อ ๓ ข้อ ๔ เพราะมัน เป็นกฎหมายจะต้องปฏิบัติ ส่วนประเด็นที่จะทำให้ตื่นเต้น หรือจะทำให้เห็นว่าคุณค่า หรือเอกลักษณ์อะไรก็อาจจะเติมไปตรงนั้น ผมเพียงอยากจะฝากในรายงานครั้งต่อไป ไม่เช่นนั้นสภาผู้แทนราษฎรเหมือนรับรองในสิ่งที่ไม่ครบกฎหมายนะครับ ขอบคุณมากครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียน ท่านประธานที่เคารพครับ ผม พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ต้องขอขอบคุณท่าน สส. ภูมิพัฒน์ พชรทรัพย์ สส. จังหวัดนครพนม ซึ่งมีปัญหา เรื่องการแพร่ระบาดยาเสพติด

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานที่เคารพครับ วันนี้รัฐบาลได้ยกปัญหายาเสพติด เป็นวาระที่จะต้องแก้ไข ให้เห็นผลภายใน ๑ ปี แล้วก็โดยเฉพาะทำครบวงจร ครบวงจรก็คือการไปแก้ไขผู้ติดยา คือผู้เสพเป็นผู้ป่วย รวมถึงไปสกัดผู้ค้า ยึดทรัพย์ และการป้องกัน ท่านประธานที่เคารพครับ เพื่อให้ได้รับทราบข้อมูลที่เป็นสถานการณ์ปัญหาอุปสรรคในปัจจุบันและแนวทางแก้ไข ก็อยากจะกราบเรียนว่าในปัจจุบันยาเสพติดที่เป็นยาบ้าแอมเฟตามีน ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ เขาเรียกว่า Drug Profile ของสำนักงาน ป.ป.ส. เราพบว่ายาบ้าทั้งหมดได้เปลี่ยนพลวัต ไม่มีโรงงานผลิตในประเทศไทยเลย นี่ก็คือตัวเลขจากการตรวจพิสูจน์ซึ่งมันจะสามารถบอก แหล่งที่มาของยาเสพติดได้ ปัญหาก็คือยาบ้าทั้งหมดทุกวันนี้มาจากนอกประเทศ เพื่อไม่ให้กระทบผมใช้คำว่า สามเหลี่ยมทองคำ ผมยกตัวอย่างง่าย ๆ ปี ๒๕๔๖ พบว่า ประเทศไทยเรายึดยาบ้าได้ประมาณ ๗๐ ล้านเม็ดที่เข้ามาในเมืองไทย แต่พอปี ๒๕๖๕ ปีที่แล้วเรามียาบ้าประมาณเกือบ ๖ ล้านเม็ด มันเพิ่มขึ้นประมาณ ๖๐๐ เปอร์เซ็นต์ แล้วก็ปี ๒๕๖๖ ถ้านับรวมถึงวันที่ ๒๗ กันยายน เมื่อ ๒ วันก่อน เมื่อวานก็ ๕๐๒ เม็ด แล้ววันนี้ก็จับอีก ๑๕ ล้านเม็ด หลังจากเสร็จนี่ทางท่าน ผบ.ตร. ก็วานผมเข้าไปรับฟัง ให้กำลังใจ นี่คือสถานการณ์ยาบ้า ปัญหาคือยาบ้าไม่มีผลิตในเมืองไทย ยาบ้าขณะนี้ เป็นการนำเข้ามาจากต่างประเทศ โดยเฉพาะในอดีตนั้นเราต้องสกัดทางภาคเหนือ ขณะนี้เกือบ ๘๙-๙๐ เปอร์เซ็นต์ ขณะนี้ ๕๐ : ๕๐ ก็ไปทางภาคอีสาน เหมือนที่ท่าน สส. พูด มันจึงไปแพร่ระบาดภาคอีสาน เรื่องนี้การแก้ไขเราต้องใช้ความร่วมมือ เราก็มีส่วนที่จะต้อง ทำการแก้ไขก็คือเราหนีไม่พ้นต้องให้ความร่วมมือกับประเทศ เดิมประเทศไทย หลายสิบปีที่ผ่านมาเรายกปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาของชาติ และเมื่อวันที่ ๒๕ ที่ผ่านมา ผมก็ไปประชุมทวิภาคีกับท่านรัฐมนตรีที่คุมเรื่อง ป.ป.ส. ของลาว เพราะว่าทั้งไทยและลาว เรามีปัญหายาเสพติดเหมือนกัน เดี๋ยวผมจะขอให้ดู Clip ที่ประชุมสักนาทีหนึ่ง ขอเชิญครับ

    อ่านในการประชุม

  • จริง ๆ เอา Clip ผิด เดิมจะให้ตัดสั้นกว่านี้ครับ นี่คือคิดว่าถ้าเราจะไม่ให้ยาบ้าเข้าเมืองไทย วันนี้พลวัตในการแก้ปัญหายาเสพติดของ ป.ป.ส. กับผู้เกี่ยวข้องแหล่งผลิตในเมืองไทยไม่มี ยาบ้าที่ผลิตในต่างประเทศก็เม็ดละ ๕๐ สตางค์ แม้ว่าจะขายถูกมาเมืองไทยก็ปาไป ๓๐ บาท ซึ่งกำไรค่อนข้างเยอะ แล้วก็ที่จำนวน ๕ ล้านเม็ดก็คือมาแพร่ระบาดในเมืองไทย ในส่วนที่ จับไม่ได้ก็คือการลำเลียงไปต่างประเทศ ทั้งไทยและลาวมีปัญหาเดียวกัน ดังนั้นการแก้ปัญหา เราต้องยกระดับในการแก้ปัญหาโดยเฉพาะ เราจะยกระดับจะเป็นวาระแห่งชาติยาเสพติด ต้องเป็นวาระแห่งภูมิภาค ยาเสพติดต้องเป็นวาระนานาชาติ ซึ่งทางลาวก็เห็นด้วย แล้วเรา ก็จะเริ่มกับประเทศเพื่อนบ้านที่จะมีมาตรการสกัดกั้นการป้องกัน การสืบสวน การขยายผล การยึดทรัพย์อย่างจริงจัง แต่ต้องเรียนว่าต้องภายใต้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมของ แต่ละประเทศคือภายใต้หลักนิติธรรม ซึ่งในอดีตนั้นบางทีเราก็ได้รับความร่วมมือ แต่ขณะนี้ เมื่อทางลาวมีปัญหาสำคัญเราก็ต้องเร่งจัดการ กรณีผู้ที่กระทำผิดแล้วหลบไป สปป. ลาว ซึ่งเราก็พบเจาะลึกไปว่ามีสัก ๔๕ คนที่เป็นผู้ค้ารายสำคัญระดับนานาชาติเราก็ทำเป็น Most Wanted ว่าเราจะร่วมมือกันจับกุมผู้ค้ารายสำคัญ แล้วในการประชุมเราลงรายละเอียดเชิงลึกนั่งหัวชนกัน เลยว่าใน ๑๒ ข้อ ในการปฏิบัติการนี้ก็คือประเทศลุ่มแม่น้ำโขง ๖ ประเทศบวกประเทศจีน อีกประเทศหนึ่งนะครับ อันนี้เราคิดว่านับแต่นี้ในส่วนของท่านนายกกำหนดนโยบาย ๑ ปี แต่กระทรวงยุติธรรมเราขอใช้เวลาสัก ๑๐๐ วัน สัก ๓ เดือนเพื่อให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม อันนี้คือมาตรการ ส่วนมาตรการในประเทศก็คงจะต้องทำหลายมาตรการ ทั้งผู้ค้ารายย่อย ผู้ค้าคนสำคัญ และมาตรการที่เรานำมาใช้ก็คือมาตรการเรื่องทรัพย์สิน ปกติผู้ค้าจะไม่ แตะต้องยา ปกติผู้ค้าจะไม่มีหลักฐานไปถึง การดำเนินคดีก็จะดำเนินไม่ได้ แต่ผู้ค้ายาเสพติด ผู้หาผลประโยชน์จากยาเสพติดมันคือความโหดร้ายที่มาทำลายเพื่อนมนุษย์ เขาต้องการ ก็คือเงินแล้วก็อีกจำนวนหนึ่งก็จะไปคอยให้มีผู้ค้ำยัน ซึ่งผู้ค้ำยันมีทุกระดับ อาจจะต้องเป็น ผู้มีอิทธิพล ข้าราชการ รวมถึงบุคคลต่าง ๆ ถ้าบางทีผู้มีอิทธิพลไม่ได้ก็แค่ไปถ่ายรูปก็ไปโชว์ได้ ซึ่งครั้งนี้ผมก็จะขอนำมาตรการต่าง ๆ มาใช้แก้ปัญหา คืออยากเรียนว่ารัฐบาลเพิ่งได้ประกาศ เรื่องยาเสพติด เราจะเห็นว่าปัญหายาเสพติดมันรุนแรง ก็คือจากตัวเลขที่เห็นมันแพร่ระบาด จาก ๗๐ ล้านเม็ด เมื่อสมัยพรรคไทยรักไทยเป็นรัฐบาล ตอนนี้มา ๕ ล้านกว่าเม็ด แล้ว ๕ ล้านกว่าเม็ดนี้ไม่ได้ส่งออกนะ มีแพร่ระบาดในพื้นที่ครับอันนี้คือคำตอบที่ ๑ ที่อยากตอบในภาพรวม ๆ ครับ

    อ่านในการประชุม

  • ขอบพระคุณคำถามและคำแนะนำในข้อแรกนะครับ ส่วนคำแนะนำในข้อแรกก็จะรับไป แต่จริง ๆ ในการประชุมร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านเราก็จะยกระดับในการแก้ปัญหา

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานที่เคารพครับ วันนี้ความเป็นจริงในสังคมไทย ข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลจาก การเก็บรวบรวมของ ป.ป.ส. เราพบว่ามีประชาชนที่เกี่ยวข้องกับการเสพยาหรือติดยา ประมาณ ๑,๙๐๐,๐๐๐ คน ซึ่งคิดว่าเป็น ๒.๘๗ ของประชากรทั้งหมด ในจำนวนนี้เราพบว่า ผู้เสพยาเป็นผู้เสพรายใหม่ถึง ๕๗ เปอร์เซ็นต์ ผู้เสพเก่า ๔๓ เปอร์เซ็นต์ แล้วก็ยาที่เข้าไปเสพ เป็นยาบ้า ๘๓ เปอร์เซ็นต์ แล้วจะอยู่อายุระหว่าง ๑๕-๒๙ ปี ๓๗ เปอร์เซ็นต์ แล้วพวกนี้ ก็มีรายได้น้อย ต่ำกว่า ๑๐,๐๐๐ บาท แล้วก็มีการจับกุมมาบำบัดประมาณปีละ ๒๕๐,๐๐๐-๓๐๐,๐๐๐ คน แสดงว่าประมาณอีก ๑,๕๐๐,๐๐๐ คนก็ยังอยู่ในชุมชนยังเป็น ผู้เสพ ต้องกราบเรียนว่าในที่ผ่านมาอดีตเป็นบทเรียน ปัจจุบันและอนาคตเป็น ความรับผิดชอบเราจะไม่ว่ากัน คือเราก็พบว่าในจำนวนผู้เสพบางส่วนก็เป็นผู้ใช้ บางส่วน เป็นผู้เสพธรรมดาที่ยังไม่ก่อเหตุประมาณ ๖๕ เปอร์เซ็นต์ เป็นผู้ติดก็จะใช้วันละประมาณ ๕ เม็ด ถ้าเอา ๓๐ คูณก็จะต้องเสียเงินเท่าไร แล้วพวกนี้ไม่มีรายได้ แล้วก็ยังมีผู้ติดแล้วก็เป็น อาการทางจิต นี่คือปัญหา ปัญหาใหญ่เรื่องนี้ท่านอธิบดีศาลทั้ง ๙ ภาค และผู้พิพากษา เกือบทั้งประเทศได้ให้เกียรติผมเข้าไปเพื่อจะแก้ปัญหา เพราะเรามาแก้กฎหมาย ผู้เสพคือ ผู้ป่วย อันนี้เป็นหลักตามสหประชาชาติ แต่ผู้เสพคือผู้ป่วย เราก็พบว่าผู้เสพที่สมัครใจบำบัด ก็เข้าไปของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเราก็พบว่าที่ผ่านมาแม้แต่กระทรวงสาธารณสุข เราก็ใช้โรงพยาบาล ซึ่งมีทั้งหมด ๑,๐๗๘ โรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข และศูนย์คัดกรอง ต่าง ๆ ปัญหาอันหนึ่งก็คือเราออกประมวลมาแล้วแต่ยังไม่ออกกฎหมายอนุบัญญัติ ออกมาตั้งแต่ปี ๒๕๖๔ อนุบัญญัติว่ากี่เม็ดคือผู้เสพ ถ้า ๑ เม็ดผู้เสพนักโทษจะล้นคุก ถ้า ๕ เม็ด หรือ ๗ เม็ด ผู้เสพ ตอนนี้ยังไม่ได้บัญญัติ ซึ่งถ้าเราไม่บัญญัติกฎหมายก็คือ กระดาษที่ว่างเปล่าอาจจะไปใช้กฎหมายเก่าก็ไม่มีใครกล้าปฏิบัติเพราะเปลี่ยน อันนี้ก็เป็น เรื่องใหญ่ที่ต้องรับผิดชอบก็จะทำให้เร็วที่สุด

    อ่านในการประชุม

  • ประการสำคัญก็คือวันนี้พบว่าในจำนวน ๓๐๐,๐๐๐ คน ผมไปดูที่คุมประพฤติ เฉพาะคุมประพฤติอย่างเดียวนะครับ ก็พบว่าศาลสั่งให้คุมประพฤติ แต่ไม่มีคำสั่งศาล ให้ไปบำบัด แล้วบางแห่งศาลก็รอลงอาญา ผมก็ได้กราบเรียน ซึ่งผมคิดว่าหลังจาก มีท่านประธานศาลฎีกาคนใหม่เราก็จะยกคณะไปคุย เพราะถ้ามีคำสั่งศาลให้บำบัด และคุมประพฤติด้วย คุมประพฤติโดยการบำบัดด้วยมันจะเป็นการแก้ไข ส่วนที่อยู่นอก ที่จะต้องพึ่งกระทรวงสาธารณสุขที่เป็นศูนย์บำบัด แล้วก็ยังมีศูนย์ฟื้นฟูอีก ศูนย์ฟื้นฟู ส่วนใหญ่จะเป็นเอกชน ผมก็จะขออนุญาตนัดกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ก็ขอคุยเชิงลึก วันนี้ให้คณะทำงานย่อยอันนี้คือการแก้ไข ผมคิดว่าวันนี้เรื่องที่สำคัญที่สุด ผมจะต้องประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ส. ในกฎหมาย ป.ป.ส. ที่เพื่อนสมาชิกร่างไปนั้น มีมาตราที่สำคัญคือมาตรา ๕ (๑๐) เราสามารถประกาศเป็นพื้นที่ต้องแก้ปัญหายาเสพติด ที่สูงสุดก็ได้ เช่นจะยกระดับ วันนี้เราทราบว่ายาเสพติดมีการโจมตีมาทางเชียงราย เชียงใหม่ มีการโจมตีมาทางนครพนม หรือในจังหวัดที่ท่าน สส. ได้ถามเราอาจจะต้องยกระดับ ทำโครงสร้างเพื่อแก้ปัญหาถ้าเราสกัดกั้นยาได้ มันไม่เคยมีการใช้มาก่อน ครั้งนี้เราจะกล้าใช้ กฎหมาย ป.ป.ส. ที่ยกระดับพื้นที่ยาเสพติดเป็นระดับสูงสุด ต้องใช้งบประมาณ ใช้โครงสร้างอย่างไร

    อ่านในการประชุม

  • สำหรับพื้นที่ที่เป็นการแพร่ระบาด เช่น ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ เราก็อาจจะยกระดับพื้นที่ที่มาฟื้นฟูบำบัดตามกฎหมาย ป.ป.ส. ที่เพื่อนสมาชิกได้แก้ไป อันนี้ก็อยากจะกราบเรียนว่าเรามีเครื่องมือหลายเครื่องมือ แต่ยังไม่ได้ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ส. ซึ่งจะประชุมเร็ว ๆ นี้ครับ นี่คือแนวทาง แล้วผมคิดว่ากรณีผู้เสพ คือเราจะจับยาบ้า วันนี้ ๑๕ ล้านเม็ดอย่างไรก็ตาม แต่เมื่อหมู่บ้าน ชุมชน ออกมาจากบ้านก็คือผู้ติดยา ออกมา จากบ้านผู้เสพยา วันนี้เราต้องกล้ากระจายอำนาจไปให้ท้องถิ่น ให้ชุมชนเข้ามามีส่วนแก้ไข แล้วงบประมาณก็ควรจะไปสู่ครอบครัว ชุมชน เพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติด อันนี้ก็เป็น แนวทางที่จะแก้ไขครับ แล้วก็เป็นเรื่องที่ท้าทาย จะจับยาเท่าไรถ้าผู้เสพยังไม่ได้รับการแก้ไข ก็อย่าหวังว่าความรู้สึกของประชาชนจะเชื่อมั่น จึงเป็นวาระที่สำคัญที่สุดในการแก้ปัญหาผู้เสพครับ

    อ่านในการประชุม

  • ขอบคุณ ท่านประธานและเพื่อนสมาชิกทุกท่านครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียน ท่านประธานที่เคารพครับ ผม พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ก่อนจะตอบคำถามข้อแรก เพื่อให้เพื่อนสมาชิกแล้วก็ทางพี่น้องประชาชนได้เข้าใจ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม กยศ. ฉบับที่ ๒ ได้เปลี่ยนโครงสร้างและสาระสำคัญ ในการแก้ปัญหาลูกหนี้หลายประการ

    อ่านในการประชุม

  • ประการที่ได้รับคำถามข้อแรกก็คือว่า มาตรา ๔๔ เดิม เราคิดดอกเบี้ย ตามกฎหมายไม่เกินร้อยละ ๗.๕ ต่อปี คิดเบี้ยปรับไม่เกินร้อยละ ๑๘ เปอร์เซ็นต์ต่อปี รวมกัน ก็คือ ๒๕ เปอร์เซ็นต์ต่อปี แก้ไขใหม่เป็นคิดดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ ๑ ต่อปี ไม่เกินร้อยละ ๑ ที่สภาเราอภิปรายคือ ๐ ก็ได้ถึง ๑ คิดเบี้ยปรับไม่เกินร้อยละ ๐.๕ ต่อปี รวมกันไม่เกิน ๑.๕ ต่อปี สาระสำคัญที่เป็นนวัตกรรมแก้ปัญหามากก็คือการคิดเงินที่ส่งไปนี่เดิมเงินที่ส่งไป จะต้องไปหักเป็นเบี้ยปรับ ๑๘ เปอร์เซ็นต์ หักเป็นดอกเบี้ยจึงมาหักเงินต้น แต่ปรากฏว่า สาระที่แก้ใหม่ก็คือ เงินที่ไปหักต้องไปหักเงินต้นก่อนแล้วจึงจะมาเป็นดอกเบี้ย แล้วเป็นเบี้ยปรับ แล้วก็จะหักได้ ถ้าใจดำที่สุดก็ร้อยละ ๑.๕ ต่อปี กฎหมายดังกล่าวได้มีผลต่อกรมบังคับคดี แล้วกันนะครับ ในส่วนของกระทรวงยุติธรรมก็คือเขาเขียนให้ไปใช้ถึงกรมบังคับคดีด้วย ก็คือในการลดหย่อนหนี้ การปรับโครงสร้างหนี้ การเปลี่ยนหนี้ หรือการชำระหนี้กองทุน แม้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว หรืออยู่ระหว่างบังคับคดีก็ใช้ด้วย คือสรุปว่าหนี้ กยศ. ทั้งหมด ต้องมาใช้ด้วยถ้ายังใช้ไม่หมด

    อ่านในการประชุม

  • ประการที่ ๒ คือมาตรา ๑๙ ที่ไปแก้ไขมาตรา ๔๔ เพิ่มมาตรา ๔๔/๑ ก็คือ ในการชำระ ในอดีตคือเราชำระไปแล้ว ก็ให้ไปคิดใหม่ให้เป็นชำระหักเงินต้น แล้วมา หักดอกเบี้ยและประโยชน์อื่นใดคือเบี้ยปรับ แล้วอีกมาตราหนึ่งคือมาตรา ๒๗ มาเขียนว่า ให้นำบังคับใช้แก่ผู้กู้และผู้ค้ำก่อนพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ก็คือมีบทเฉพาะกาลให้ย้อนไป ที่สำคัญที่ท่าน สส. กมลศักดิ์สอบถามก็คือ ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ หรือหลักเกณฑ์ วิธีการที่เป็นเงื่อนไขของกฎหมายใหม่ที่เป็นคุณ กฎหมายเขียนว่า ต้อง ไม่ใช่ เพื่อจะ ต้องนำไปใช้กับผู้ค้ำ ผู้กู้ แม้จะมีคำพิพากษาถึงที่สุดและอยู่ในชั้นบังคับคดีได้ อันนี้ก็คือ สาระสำคัญ ขณะนี้เราพบว่ามี กยศ. อยากให้ขึ้นภาพด้วยครับ Slide ที่พูดไปเมื่อสักครู่

    อ่านในการประชุม

  • วันนี้ เราพบว่าคนกู้ยืม กยศ. มีทั้งหมด ๖,๗๐๐,๐๐๐ คน ข้อมูลที่ได้เมื่อก่อนจะเข้าที่ประชุม มีผู้กู้ ๓.๙ ล้านราย มีผู้ค้ำอยู่ ๒.๘ ล้านราย ในกฎหมายดังกล่าวนี้นับแต่วันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๖ ทุกคนใน ๖,๗๐๐,๐๐๐ ราย จะต้องได้รับความเป็นธรรมและปฏิบัติตามกฎหมาย ทั้งนี้การที่กระทรวงการคลัง หรือคณะกรรมการ กยศ. ไม่ออกระเบียบกฎเกณฑ์ เรามีรัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายสูงสุด คือรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๕ วรรคสอง เขาบอกว่า สิทธิหรือเสรีภาพใดที่รัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามกฎหมายบัญญัติ หรือให้เป็นไปตาม หลักเกณฑ์วิธีการที่กฎหมายบัญญัติแม้ไม่มีกฎหมายตราขึ้นใช้บังคับบุคคลและชุมชน สามารถใช้สิทธิเสรีภาพตามเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญได้ นี่คือประเด็นที่เป็นปัญหาว่า วันนี้เป็นเวลา ๘ เดือนยังไม่ได้ออกกฎเกณฑ์มา อยากให้ดู Slide ให้ดูว่าวิธีคิดที่อยู่ ในชั้นบังคับคดี ขอไป Slide ที่ ๒ ครับ อันที่ ๒ หนี้นี้ผมให้ดูตัวอย่างหนึ่งในกรมบังคับคดี ผู้กู้กู้ไป ๒๖๐,๐๐๐ บาทเศษ วันนี้จ่ายไปแล้ว ๗๑๐,๐๐๐ บาทเศษ เกินกว่า ๓ เท่าตัว แต่ยังเหลือหนี้อยู่จากคำพิพากษาอยู่ ๑๕๐,๐๐๐ บาท ถ้าเป็นกฎหมายใหม่ ถ้ามีผลใช้บังคับ คนนี้ไม่ต้องใช้หนี้แล้ว นี่คือประเด็นปัญหาที่อยากจะกราบเรียนว่า ทำไมกรมบังคับคดีที่ต้องมารับ เพราะขณะนี้มีเรื่องที่อยู่ในกรมบังคับคดี ๒๐๐,๐๐๐ กว่าเรื่อง แล้วเราได้ตั้งเรื่อง ที่ทำการอายัดทรัพย์ ทำการยึดทรัพย์ อยู่ ๔๖๐,๐๐๐ เรื่อง เป็นเงิน ๖,๖๓๓ ล้านบาทเศษ หนี้คือเงินของผู้ที่เรียนหนังสือ ผู้ค้ำ ดังนั้นเมื่อกรมบังคับคดีความจริงไม่ต้องรอคณะกรรมการ กยศ. เพราะกฎหมายมันมีผลบังคับในวันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๖ แล้ว การที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย หรือแม้แต่กรมบังคับคดีไม่ปฏิบัติตามกฎหมายนั้น เพราะกรมบังคับคดีทำอย่างอื่นไม่ได้ เนื่องจากว่าตัวอย่างเมื่อสักครู่ที่มีเงินของลูกหนี้รายหนึ่งที่ส่งไป ๗๐๐,๐๐๐ กว่าบาท ทั้งที่มีหนี้อยู่ ๒๖๐,๐๐๐ กว่าบาท อย่างกรณีดังกล่าวนั้น ถ้าตามกฎหมายลูกหนี้คนดังกล่าว ไม่ต้องใช้หนี้แล้ว เราจำเป็นต้องเอาหลักเกณฑ์และการคิดเงินจากคณะกรรมการ กยศ. มา ซึ่งก็อาจจะเป็นคำถามต่อว่าหลังจากที่ผมไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญกระทบต่อคน ๒.๙ ล้านคนก็ว่าได้ แล้วก็ครอบครัวอีกจำนวนมาก และได้รับผลกระทบ เพราะตั้งใจเรียน เพราะขยันเรียน เพราะต้องการเป็นอนาคตของชาติที่ดี กลับต้องเป็นหนี้ และหนี้ดังกล่าวบางคนอาจจะบอกไม่มีวินัยการเงินการคลัง แต่จริง ๆ ที่อยู่ภายใต้หนี้ก็คือการคิดดอกเบี้ยและเบี้ยปรับที่ไม่เป็นธรรม เราถึงได้แก้กฎหมายไปครับ คำถามข้อแรกขอตอบตรงนี้ครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนประธานที่เคารพและขอบคุณมากครับ คือกฎหมายเก่าถูกยกเลิก ประกาศ กฎเกณฑ์ก็ต้องถูกยกเลิก เพราะมีกฎหมายใหม่แล้วประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๖๖ ให้มีผลวันที่ ๒๐ ดังนั้นการใช้กฎหมายเดิมหรือประกาศเดิมมาใช้กับ ลูกหนี้หรือใช้กับประชาชน ก็คือเป็นการใช้ที่ส่อไปในทางที่อาจจะไม่ชอบ เพราะมัน ถูกยกเลิกไปแล้ว แล้วก็รัฐธรรมนูญก็รองรับว่าถ้าถูกยกเลิกให้ไปออกประกาศหรือกฎเกณฑ์ หรือกฎหมายลูก ไม่ไปออก เขาก็บอกให้ใช้รัฐธรรมนูญนี่ รัฐธรรมนูญมันเขียนเป็นกฎหมาย อยู่แล้ว เพราะกฎหมายเขาเขียนโดยเฉพาะคนที่ไปใช้ เดิมเราไปจ่ายเป็นเบี้ยปรับ กับเงินดอกเบี้ยมันไม่ถึงเงินต้นเสียที เขาก็ให้เอาเงินก็นำไปใช้เป็นเงินต้น ซึ่งผมเชื่อว่าในจำนวน ที่อยู่ชั้นบังคับคดีอาจจะจำนวนมาก อาจจะส่งเหลือไม่เท่าไร หรืออาจจะหลุดไปเลยก็ได้ อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาพอผมได้เข้าเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ท่านผู้จัดการ กยศ. กับคนที่เกี่ยวข้องมา แล้วก็ได้ทำงานร่วมกับกรมบังคับคดี เพราะกรมบังคับคดี ต้องหยุดบังคับคดี คือกฎหมายเราเขียนว่ารัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด กฎหมาย กฎ หรือการกระทำใดจะขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้ ถ้าขัดแย้งเขาบอกให้กฎหมาย หรือการกระทำ รัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๖๐ คือการกระทำการไปยึดทรัพย์ถือว่ามิชอบ ดังนั้นเมื่อเจ้าหน้าที่ กรมบังคับคดีก็ได้เข้าใจแล้ว ได้รู้เรื่อง ได้คุยกัน แล้วผมก็ทราบว่า กยศ. จะมีการประชุม ในวันที่ ๓๑ ตุลาคมแบบที่ท่านกมลศักดิ์ได้พูด แล้ว กยศ. ก็เตรียม กรณีที่อยู่ชั้นบังคับคดี ๒๐๐,๐๐๐ รายก็จะเตรียมงดบังคับคดี งดการขายทอดตลาดไว้ แต่ลูกหนี้คงจะต้อง ไปปรับโครงสร้างหนี้ว่า ลูกหนี้เมื่อปรับโครงสร้างหนี้แล้ว กยศ. อ้างว่าตอนนี้ไปให้หน่วยงานหนึ่ง ไปคิดตัวเลข คิดโปรแกรมที่จะหักเงินอย่างไร แล้ว กยศ. ก็บอกว่า หลังจากประชุม Board ซึ่งปลัดกระทรวงการคลังคนใหม่จะต้องนั่งเป็นประธาน Board เมื่อวานผมได้โทรหาปลัด บอกขอให้มาชี้แจงหน่อย ท่านปลัดก็ได้กรุณาบอกว่าเดี๋ยวจะให้ผู้จัดการ กยศ. มา แล้วผมได้ถาม ก็จะให้ลูกหนี้สามารถปรับโครงสร้างหนี้ ก็คือจะเปิด Website เข้าไปทุกวัน แล้วก็ที่สำคัญก็คือในชั้นบังคับคดีที่ท่านกมลศักดิ์ถาม ไม่ว่าจะเป็นการยึดทรัพย์ การขาย ทอดตลาด หรือทรัพย์ทั้งหมดต้องหยุดบังคับคดี เพราะเป็นไปตามกฎหมาย กฎหมาย ที่ออกมากรมบังคับคดีตอนแรกจะหนักใจ เพราะเมื่อมีคำพิพากษาจะต้องปฏิบัติ ตามคำพิพากษา แต่เมื่อกฎหมายเราถือสถานะใหญ่กว่าคำพิพากษา เพราะเรามีรัฐธรรมนูญ รองรับ เดิมนั้นถ้า กยศ. ยังไม่ทำมา กรมบังคับคดีเพื่อจะให้เป็นการป้องกันตนเอง ก็จะรวบรวมข้อเท็จจริงเสนอศาลว่าจะหยุดบังคับคดี แต่ขณะนี้ทางกระทรวงการคลัง โดยคณะกรรมการ กยศ. ได้ประสานมาว่า ในวันที่ ๓๑ ตุลาคมนี้ ก็เหลืออีกไม่กี่วัน จะทำหนังสือมาที่กรมบังคับคดีจะขอให้หยุดการบังคับคดี อันนี้คือสิ่งที่อยากจะเรียน ให้ทราบครับ

    อ่านในการประชุม

  • ขอบคุณมากครับ ผมขอขยายให้ชัดเจนนะครับ ที่ผ่านมาเรามีบังคับคดีทุกจังหวัด และในกรุงเทพฯ แต่อยากจะเรียนว่าหลังจากผมชี้แจง แล้วก็กรมบังคับคดีก็คือตอนนี้ การงดบังคับคดีเราได้ให้ทางกรมบังคับคดีได้ชี้แจงไปยังกรมบังคับคดีทุกจังหวัดว่า ตอนนี้ให้มีการงดบังคับคดี การงดบังคับคดีรวมถึงเรื่องยึดทรัพย์ การอายัดทรัพย์ และการขายทอดตลาด เพราะว่าที่สำคัญก็คือที่ผ่านมาอาจจะมีการประสานงานกับทาง กยศ. ไม่ชัดเจน กยศ. ได้ทำหนังสือมาให้กรมบังคับคดี แต่ต้องเข้าใจว่าโดยปกติกฎหมายฉบับนี้ เป็นกฎหมายแรกที่มีนวัตกรรมการแก้หนี้ ซึ่งต่อไปจะต้องไปสู่การแก้หนี้ทั้งหมด ก็คือเมื่อเกิดขึ้นมาแล้วก็ให้กวาดไปถึงเก่าทั้งหมดสำหรับคนที่ยังส่งไม่หมดยังมีบัญชีอยู่ จะได้รับประโยชน์หมด และผู้ค้ำประกัน ๒,๘๐๐,๐๐๐ ครบหมด ทีนี้มันมีประเด็นที่มีปัญหา ที่ต้องขอความกรุณาลูกหนี้ เนื่องจากว่ากรณีที่ของดบังคับคดีไว้โดยปกติกฎหมายไปเขียนว่า จะต้องให้ลูกหนี้ยินยอมด้วย อันนี้พอเข้าใจนะครับ คือจริง ๆ ลูกหนี้ได้ประโยชน์ แต่กฎหมายก็ยังเขียนแตะไว้หน่อยก็ต้องให้ลูกหนี้ยินยอม ดังนั้นกรมบังคับคดีก็จะเปิดรับ แล้วก็ที่สำคัญจะมี Website ที่เข้าใจง่ายก็ให้เป็นไปตามกฎหมาย ดังนั้นปัญหาทั้งหมด ที่พูดมาไม่ว่าจะเป็นการยึดทรัพย์ การอายัดทรัพย์สิน การขายทอดตลาดจะหยุดไว้ก่อน รอให้ กยศ. มาคิดเงินที่ผมบอกนะครับ วันนี้จำนวนเงิน ๖,๖๓๓ ล้านบาทของลูกหนี้ เฉพาะในส่วนที่มีการอายัดทรัพย์ ยึดทรัพย์ พอไปคิดใหม่บางครั้งลูกหนี้อาจจะไม่ต้องจ่ายเลย อย่างตัวอย่างที่ผมยกให้ดูเมื่อสักครู่ กู้ ๒๐๐,๐๐๐ กว่าบาท จ่ายไป ๗๐๐,๐๐๐ บาทแล้ว อย่างนี้ไม่ต้องจ่าย แต่เงินใช้จ่ายเกินไปสัก ๕๐๐,๐๐๐ บาทไม่ได้รับคืนนะครับ กฎหมายไม่ได้เขียนเยียวยาถึงขนาดนั้น กฎหมายเขียนเฉพาะบัญชีที่เหลืออยู่ ไม่ทราบว่า หมดคำถามหรือยัง ถ้ายังไม่หมดอาจจะขยายต่อก็ได้ เชิญครับ

    อ่านในการประชุม

  • ขอบคุณ ท่านประธานครับ ขอบคุณท่านกมลศักดิ์ ผมขอเรียนชี้แจงสรุปอีกครั้งหนึ่งนะครับ วันนี้กระบวนการบังคับคดีเกี่ยวกับ กยศ. จะหยุดการบังคับทั้งหมดจนกว่า กยศ. จะปรับปรุงยอดหนี้ กฎหมายมี แต่ว่าเราต้องให้เขาปรับปรุงยอดหนี้ของลูกหนี้แต่ละราย ตามกฎหมายใหม่จึงจะไม่ทำให้มีผลกระทบใด ๆ และในอนาคตก็อยากจะเรียนว่า กยศ. ก็ใจกว้าง ท่านบอกว่าสำหรับลำดับการชำระหนี้ที่บอกว่าเงินที่ส่งไปทั้งหมด กยศ. ตอนนี้ยังไม่คิดดอกเบี้ยกับเบี้ยปรับ จะคิดยอดเงินทั้งหมดที่ส่งไปไปตัดเป็นเงินต้น ซึ่งต่อไปนี้เงินทั้งหมดก็มาคิดเร็ว ๆ ขณะที่ยังไม่ออกระเบียบ คราวนี้ปัญหาที่มีมาก็อยากจะ เรียนว่าผมยังส่งสัญญาณว่าต้องหยุดไกล่เกลี่ยหนี้ กยศ. ถ้าไปไกล่เกลี่ยหนี้ กยศ. ก็จะไปซ้ำเติม เพราะกระทรวงยุติธรรมได้ทำตัวเลข ตัวเลขที่ไกล่เกลี่ยหนี้ กยศ. ถ้ายังไม่ได้คิดตัวเลขใหม่เราพบว่าคดีที่ไกล่เกลี่ยพอไปไกล่เกลี่ยมีสัดส่วนดอกเบี้ย กับเบี้ยปรับถึง ๘๐ กว่าเปอร์เซ็นต์ ลูกหนี้กู้ไป ๑๐๐ บาททำให้ลูกหนี้ต้องจ่าย ๑๘๐ กว่าบาท อันนี้ไม่ใช่เป็นการไกล่เกลี่ยแล้วเป็นการบังคับ แล้วการไกล่เกลี่ยลักษณะนี้น่าจะเป็น การผิดกฎหมาย การไกล่เกลี่ยในอนาคตที่จะเกิดขึ้นโดยกระทรวงยุติธรรมจะต้อง ยึดกฎหมายก็ทำตัวเลขมา อย่างน้อยในกฎหมายนี้ให้ยกเลิกเลยยังได้ แต่ว่าให้เขาได้จ่าย ตามความเป็นจริง แล้วก็ในชั้นบังคับคดีที่เห็นว่าเมื่อตัดแต่ละรายแล้ว ตอนนี้ที่ไม่ตัด แต่ละรายเลยที่ส่งไปแล้วพบว่าเงินที่อยู่ในชั้นบังคับคดีสูงกว่าเงินต้นไป ๗๕ เปอร์เซ็นต์ คือ ๑๐๐ บาทก็เป็น ๑๗๕ บาทที่อยู่ในบังคับคดี แต่เราพบว่าถ้าเอาเงินที่ส่งไปแล้ว และที่ กยศ. เอามาดู ไปตัดเงินต้น ลูกหนี้หรือผู้ค้ำนี้หลุดไปแล้ว ลูกหนี้ก็จะรู้ว่ามีอนาคต ไม่เช่นนั้นเขาก็จะไม่มีอนาคตส่งเท่าไรก็ไม่หมด แล้วก็การไกล่เกลี่ยผมก็ยังมองว่า ถ้าไกล่เกลี่ยว่า ๓ ปี เหลือหนี้ ๒๐๐,๐๐๐ บาท ส่งเดือนละ ๑,๐๐๐ บาท แล้วไปบังคับให้ส่ง ก้อนสุดท้ายหมดอย่างนี้ ค้างเก่ามา ๑๕ ปีเขายังส่งไม่ได้ เราจึงต้องใช้ พ.ร.บ. กยศ. อย่างมีหลักนิติธรรม นี่คือหลักนิติธรรม หลักนิติธรรมก็คือกฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด หรือมีศักดิ์สูงสุด กฎหมาย กฎ ระเบียบที่ไปขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมาย อันนั้นไม่ใช่หลักนิติธรรม วันนี้กระทรวงยุติธรรมทำง่าย ๆ คือทำให้กฎหมายรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายสูงสุด มีความศักดิ์สิทธิ์ที่สุด ก็คือกฎ ระเบียบที่ไปขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ อย่างเช่น ระเบียบ กยศ. เขาบอกให้ยกเลิกไปแล้วตั้งแต่วันที่ ๒๐ ยังเอาระเบียบเก่ามาใช้ ซึ่งก็คุยกับ กยศ. เข้าใจ คุยกับทางคณะกรรมการเข้าใจแล้วก็ขอให้ดูผล แล้วอันนี้ ก็เป็นหนึ่งในการให้ความเป็นธรรมกับประชาชน แล้วที่สำคัญไม่ควรให้ประชาชนเดินมาหา ขอความเป็นธรรม ความเป็นธรรมต้องพุ่งเข้าไปหาประชาชน เราต้องไปบอกเขา ผมไปภาคใต้ครั้งนี้ก็ยังบอกกรมบังคับคดีมี ๑,๐๐๐ กว่าคนคุณต้องไปบอกสิทธิเขา ไม่ใช่ให้เขาวิ่งมาหา เพราะค่ารถเข้ามาแต่ละทีเขาต้องรวบรวมเงิน บางทีทำงานเกือบเดือน ถึงจะเดินทางมาหาข้าราชการได้ อันนี้ก็อยากจะเรียนให้ทราบครับ ขอบพระคุณมากครับ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงยุติธรรม ได้รับมอบหมายจากท่านนายกรัฐมนตรีเมื่อเช้าให้มาเป็นผู้ตอบ กระทู้ถามสด อยากจะเรียนกับเพื่อนสมาชิกในคณะรัฐมนตรีเรามีจำนวน ๓๕ คน รวมนายกรัฐมนตรีด้วย เป็น ๓๖ คน และในมาตรา ๑๕๘ เขียนหน้าที่ของรัฐมนตรีว่ามีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน ตามหลักความรับผิดชอบร่วมกัน ก็คือท่านเป็นรัฐมนตรีทุกคนแม้แต่รัฐมนตรีท่านอื่น หรืออาจจะไม่ทราบเชิงลึก แต่ว่ารัฐมนตรีเรามีความรับผิดชอบร่วมกัน ดังนั้นตามที่ ท่านนายกรัฐมนตรีมอบให้ผมมาตอบคำถาม อย่างน้อยผมยังไม่รู้คำถาม แต่ผมในฐานะที่เป็น คณะรัฐมนตรีต้องรับผิดชอบร่วมกัน ผมก็จะชี้แจงตามความเป็นจริงเพื่อให้เพื่อนสมาชิก ได้รับความเข้าใจครับ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานที่เคารพครับ ผมได้รับมอบหมายในกระทู้ถามแรก แล้วผมก็อยากจะยืนยันว่า คณะรัฐมนตรีทุกคนใน ๓๕ คน เรายึดหลักตามรัฐธรรมนูญ คือจะบริหารราชการ โดยรับผิดชอบร่วมกัน ผมเชื่อมั่นว่าถ้าได้ถามมาที่ผม ท่านอาจจะได้รับคำตอบ ที่อาจจะถูกใจท่าน ไม่ถูกใจท่าน แต่ผมจะตอบในข้อมูลที่เป็นไปตามหลักนิติธรรม แล้วก็ถูกต้อง และที่สำคัญอย่างยิ่งจะตอบให้ประชาชนทั้งประเทศได้รับรู้ว่ารัฐบาลนี้ บริหารประเทศโดยคำนึงถึงประชาชน และทำเพื่อประชาชนครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียน ประธานสภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ และเพื่อนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ทรงเกียรติ ทุกท่าน กระผม พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ขอเสนอ ร่างพระราชบัญญัติยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. ๒๕๓๔ ต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร โดยมีหลักการและเหตุผลดังนี้ หลักการร่างกฎหมายฉบับนี้ มีหลักการสำคัญกล่าวคือ เพื่อยกเลิกพระราชบัญญัติอันว่าด้วยความผิดอันอาจเกิดจาก การใช้เช็ค พ.ศ. ๒๕๓๔ เนื่องจากกฎหมายดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ หลักเดิมในการส่งเสริมให้ ใช้เช็คในการทำธุรกรรม โดยกำหนดโทษทางอาญาสำหรับผู้ไม่สามารถชำระเงินตามเช็คได้ เป็นการนำโทษทางอาญามาใช้บังคับกับผู้ผิดนัดทางแพ่ง โดยอาศัยโทษจำคุกตามกฎหมายอาญาเป็นเครื่องมือบีบคั้นกับลูกหนี้ทางแพ่งให้ชำระหนี้ แต่ในปัจจุบันโทษทางอาญาไม่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐตามมาตรา ๗๗ ของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ ที่กำหนดหลักการไว้ว่ารัฐพึงกำหนดโทษทางอาญา เฉพาะความผิดร้ายแรงและยังไม่สอดคล้องกับ ข้อ ๑๑ ของกติการะหว่างประเทศ ว่าด้วย สิทธิพลเมือง สิทธิทางการเมืองที่กำหนดให้บุคคลจะถูกจำคุกเพียงเพราะเหตุไม่สามารถ ปฏิบัติการชำระหนี้ตามสัญญามิได้ จึงควรยกเลิกกฎหมายดังกล่าว โดยกำหนดให้มีผลใช้ บังคับถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป รวมทั้งกำหนดให้ผู้ต้องโทษ หรือผู้อยู่ระหว่างคุมประพฤติ หรือผู้พักโทษ อันเนื่องมาจากการกระทำผิดว่าด้วยการใช้เช็ค ได้รับการปล่อยตัวโดยเร็ว เมื่อกฎหมายมีผลใช้บังคับและกำหนดบทเฉพาะกาลรองรับ ในกฎหมาย ดังนี้

    อ่านในการประชุม

  • เหตุผลและความจำเป็นที่เสนอกฎหมายฉบับนี้

    อ่านในการประชุม

  • ข้อ ๑ เพื่อให้กฎหมายมีความสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และหลักสากล

    อ่านในการประชุม

  • ข้อ ๒ เพื่อแก้ปัญหาผู้ออกเช็คที่ต้องรับผิดทางอาญา แม้ไม่มีเจตนาทุจริต

    อ่านในการประชุม

  • ข้อ ๓ เพื่อแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการเลือกดำเนินคดีอาญาเพื่อบีบคั้นให้ ผู้ออกเช็คชำระหนี้ทางแพ่ง เนื่องจากมีความรวดเร็วและไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล ทำให้ รัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีอาญาในเรื่องที่เป็นเรื่องแพ่งโดยแท้

    อ่านในการประชุม

  • ข้อ ๔ เพื่อแก้ปัญหาการใช้กฎหมายที่ซ้ำซ้อน หากเป็นกรณีที่ออกเช็ค โดยเจตนาทุจริตสามารถที่จะฟ้องร้องคดีอาญาในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาได้ คือความผิดฐานฉ้อโกงและหากเป็นการบังคับให้ชำระหนี้ตามเช็คสามารถที่จะใช้สิทธิฟ้อง ต่อศาลทางแพ่งได้

    อ่านในการประชุม

  • ข้อ ๕ ปัจจุบันระบบชำระเงินของประเทศไทยได้มีการพัฒนาเครื่องมือ หลากหลายสำหรับการทำธุรกรรมที่มีมูลค่าสูง เช่น บัตรเครดิต บัตรเดบิต หรือระบบโอนเงิน ทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ส่งผลให้เช็คไม่ใช่เป็นช่องทางการทำธุรกรรมสำหรับการชำระ มูลค่าสูงเหมือนเช่นในอดีตที่ผ่านมา ยกตัวอย่างในรอบ ๗ เดือนของปัจจุบันมีสัญญาที่ทาง อิเล็กทรอนิกส์ประมาณ ๒๘,๐๐๐ ล้านสัญญาจะมีเกี่ยวกับเช็คประมาณ ๖๐ ล้านกว่าสัญญา หรือประมาณ ๐.๒๐ ของระบบการชำระเงิน

    อ่านในการประชุม

  • ข้อ ๖ กฎหมายฉบับนี้มีการกำหนดบทเฉพาะกาลรองรับกรณีกฎหมายมีผล ใช้บังคับแล้ว อาทิ รองรับสิทธิและหน้าที่ของเจ้าหนี้และลูกหนี้ที่ได้ตกลงผ่อนชำระตามเช็ค รองรับอำนาจศาลที่อยู่ระหว่างการพิจารณาคดีให้พิจารณาคดีพิพากษาในส่วนของแพ่งต่อไป

    อ่านในการประชุม

  • หลังจากมีการสั่งจ่ายคดีในส่วนที่คดีอาญาออกไปแล้ว เร่งรัดให้หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องปล่อยตัวผู้ต้องโทษจำคุกในความผิดตามกฎหมายนี้และอยู่ระหว่างคุมประพฤติ และพักโทษโดยเร็ว และวิธีการคำนวณโทษจำคุกในกรณีที่ผู้ต้องโทษจำคุกตามกฎหมายนี้ และกฎหมายอื่น

    อ่านในการประชุม

  • ข้อ ๗ ซึ่งเป็นข้อสุดท้าย ก็คือกฎหมายฉบับนี้ได้จัดให้มีการรับฟังความเห็น จากประชาชนและผู้ที่มีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องเรียบร้อยแล้ว

    อ่านในการประชุม

  • กระผมในนามของกระทรวงยุติธรรมจึงขอกราบเรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้ร่วมกันพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ ยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. ๒๕๓๔ ที่เสนอมานี้ ขอบพระคุณมากครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณเพื่อนสมาชิกทั้ง ๙ ท่าน ที่ได้อภิปรายนะครับ ถ้าผมจับประเด็นก็คือการอภิปรายของท่านนี้ ท่านก็สนับสนุน แต่มี ข้อห่วงใย ผมอาจจะสรุปสั้น ๆ บางอย่างถึงข้อห่วงใยเดียวกัน

    อ่านในการประชุม

  • กรณีที่ ๑ ท่านกลัวผลกระทบเรื่องความน่าเชื่อถือ อยากจะกราบเรียนว่า ร่างพระราชบัญญัติยกเลิกโทษอาญาของเช็ค พระราชบัญญัติใช้เช็คครั้งนี้เราได้ชี้แจงกับ ธนาคารแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคาร บริษัทข้อมูลบัตรเครดิตให้รับทราบในประเด็น แล้วทั้งหมดก็เห็นชอบตามกฎหมาย โดยจะรับไปพัฒนาระบบการเงินเพื่อให้เหมาะสม ประเด็นที่เพื่อนสมาชิกได้มีการห่วงใย ผมคิดว่าสภาเราเป็นสภาที่เต็มไปด้วยคนปราดเปรื่อง ดังนั้นผมเห็นสมควรว่าคำชี้แจงต่าง ๆ ในชั้นกรรมาธิการก็ควรจะนำเข้าไป เราเปิดพื้นที่กว้างให้ อย่างไรก็ตามอยากจะเรียนว่าการตรวจสอบ การใช้ในระบบปัจจุบันนี้ที่เผยแพร่โดยธนาคาร แห่งประเทศไทยใน Website เราพบว่าปัจจุบันมีการใช้น้อยมากหรือใช้เพียงประมาณ ร้อยละ ๐.๒ เท่านั้น อันนี้ก็อยากจะเรียนให้ทราบ

    อ่านในการประชุม

  • ข้อห่วงใยอีกประการหนึ่ง กฎหมายเมื่อใช้บังคับแล้วเจ้าหนี้ไม่ได้ฟ้องแพ่ง จะขาดอายุความ จะทำอย่างไร อยากเรียนว่ากฎหมายปัจจุบันไม่ได้ปิดกั้นให้เจ้าหนี้ฟ้องแพ่ง และหากไม่ได้ฟ้องก็ถือว่าไม่มีความประสงค์ใช้ฟ้องทางแพ่ง ก็ไม่สมควรที่จะถือเป็น กระบวนการพิจารณาทางอาญามาเป็นเครื่องมือ อยากจะกราบเรียนว่าในอดีตเราใช้เช็ค เพื่อไปดำเนินคดีอาญา แล้วก็จับกุมคนไปอยู่ในห้องขังเพื่อจะบีบให้ยินยอม ผมจะยกตัวอย่าง อย่างในปี ๒๕๖๐ ผู้ใช้เช็คเลือกใช้ทางคดีอาญาประมาณ ๑๑,๖๘๗ คดี แต่เลือกใช้ทางแพ่ง ประมาณ ๑,๐๐๐ คดี ในปี ๒๕๖๑ ปี ๒๕๖๒ ปี ๒๕๖๓ ก็เหมือนกัน โดยเฉลี่ยคือจะใช้เช็ค เป็นเครื่องมือในทางคดีอาญา เพราะว่าเมื่อโดนคดีอาญาผู้ถูกจับก็จะต้องเข้าไปอยู่ในห้องขัง แล้วปรากฏว่าถ้าเงินประกัน ๑ ใน ๓ สมมุติว่า ๓๐ ล้านบาท จะเอาเงิน ๑๐ ล้านบาท มาประกันอย่างไร อันนี้ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง

    อ่านในการประชุม

  • ท่านที่ห่วงใยอีกประการหนึ่งที่มีการห่วงเรื่องเช็ค ก็อยากจะเรียนว่าเช็คนี้ ไม่ได้อยู่ในความหมายข้อมูลเครดิต แล้วก็ไม่ได้อยู่ในความหมายของสินเชื่อ ซึ่งในกรณี พ.ร.บ. ประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต ๒๕๔๕ หากจะมีการแก้ไขก็อยากจะให้ไปแก้ไขตรงนั้น ทุกท่านที่เป็นห่วงว่าแล้วคดีอาญาทำอย่างไร ผมเป็นตำรวจมาก่อนนะครับ ปกติพอมาแจ้ง เช็คก็จะแจ้งฉ้อโกงประกบไปด้วย เราไม่ได้ห้ามในคดีฉ้อโกงที่ใช้เช็คมาฉ้อโกง ซึ่งจะเป็น ความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๔๑ มีหลายท่านเป็นห่วงว่าคดีที่ จำหน่ายออกไปอยากจะให้มีโทษ เรามีหลักการของกฎหมายคือ ป. อาญา มาตรา ๒ ถ้าบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติขึ้นภายหลังการกระทำนั้นไม่เป็นความผิด ต่อไปผู้ที่ได้ กระทำก่อนหน้านั้นเป็นอันพ้นจากการเป็นผู้กระทำผิด และถ้าผู้นั้นมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ ลงโทษก็ให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำผิดนั้น ถ้าลงโทษอยู่ก็ให้สิ้นสุดลง ท่านประธานที่เคารพครับ ก็อยากจะกราบเรียนเพื่อนสมาชิกว่า พ.ร.บ. ยกเลิกเช็คดังกล่าว เรามีเวลาของคณะกรรมาธิการ ซึ่งผมคิดว่าวันนี้พลวัตในการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะระบบ การเงินได้เปลี่ยนไปแล้ว ดังนั้นผมจึงคิดว่าร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ จึงเป็นร่างพระราชบัญญัติ ที่มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ ผมจึงขอชี้แจงครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนประธานที่เคารพครับ ผม พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ยุติธรรม ขอเสนอกรรมาธิการในนามคณะรัฐมนตรี จำนวน ๖ ท่าน ๑. นายจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ ๒. นางอุษา จั่นพลอย บุญเปี่ยม ๓. นายยอดฉัตร ตสาริกา ๔. นางอรพิม ประสงค์ ๕. นางสาวรุ่งอรุณ กมลรัฐ แล้วก็ ๖. นายสฤษฏ์พงษ์ เกี่ยวข้อง ขอผู้รับรอง ด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ กระผม พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ก่อนอื่นก็ต้องขอขอบคุณที่ได้ตั้งคำถามของสังคม ไม่ใช่คำถามที่จะเกิดขึ้นในสภา ผมทราบว่าสังคมก็มีการตั้งคำถาม ก่อนอื่นอยากจะเรียนว่า ท่านอดีตนายกทักษิณท่านเดินทางเข้ามาสู่กระบวนการยุติธรรมเมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๖๖ ขณะนั้นรัฐบาลภายใต้การนำของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นรัฐบาล รัฐบาลของท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ได้เข้ามาแถลงนโยบายต่อสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๖๖ เหตุการณ์ล่วงมาประมาณเกือบ ๒๐ วัน ก็ต้องเรียนว่าในกระบวนการของท่านอดีตนายก ทักษิณก็เป็นกระบวนการแรกที่รัฐบาลนี้ไม่ได้รับรู้ แต่ก็ต้องรับรู้เหมือนประชาชน คือรับรู้ ตามข่าว อยากจะกราบเรียนท่านสมาชิกที่ทรงเกียรติแล้วก็ประชาชน ท่านได้กรุณาเรียนว่า รัฐบาลจะฟื้นฟูหลักนิติธรรม แล้วก็จะยกระดับการบริหารบ้านเมือง จะทำให้หลักนิติธรรม ที่เป็นการยอมรับของนานาชาติ ผมเองเมื่อเข้ามาบริหารกระทรวงยุติธรรม รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงยุติธรรมเป็นผู้รักษาการตาม พ.ร.บ. ราชทัณฑ์ ปี ๒๕๖๐ พ.ร.บ. ราชทัณฑ์ ปี ๒๕๖๐ ก็ไม่ได้เกิดในรัฐบาลของปัจจุบัน ก็เกิดในรัฐบาลที่ผ่านมา รัฐบาลนี้ยืนยันเรื่องหลัก นิติธรรม ถ้าจะให้จับใจความได้ง่าย ๆ หลักนิติธรรมคือหลักที่รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด หรือมีความศักดิ์สิทธิ์ที่สุด กฎหรือกฎหมาย หรือการกระทำที่ขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ ผมคิดว่าจะใช้บังคับไม่ได้แล้วยังเป็นการขัดหลักนิติธรรม

    อ่านในการประชุม

  • ประเด็นที่ ๒ การธำรงไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์ของรัฐธรรมนูญหรือหลักนิติธรรม ก็คือการใช้กฎหมายต้องเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย กฎหมายราชทัณฑ์ ปี ๒๕๖๐ เราเขียนเจตนารมณ์ไว้ชัดเจน ถ้าท่านสมาชิกมีโอกาสเปิด พ.ร.บ. ราชทัณฑ์ อยากให้ไปดู ในหน้าสุดท้าย ปกติการจะดูเจตนารมณ์จะไปดูที่หมายเหตุ เขาจะมีเหตุผลในการแก้ไข พ.ร.บ. ราชทัณฑ์ไว้ชัดเจน ก็คือ พ.ร.บ. ราชทัณฑ์ ปี ๒๔๗๙ ที่ใช้บังคับเป็นเวลานาน และมี บางประการไม่สอดคล้องกับนโยบายอาญาของประเทศ ประกอบกับมีกฎหมาย กฎเกณฑ์ ที่เกี่ยวกับการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง ซึ่งต้องเป็นไปตามหลักสากล ที่สำคัญที่สุดผมได้มาตรวจดู ว่าเหตุผลการออกกฎหมายก็เป็นเรื่องที่เราถูกตราหน้าจากสังคมโลก อย่างท่านที่อภิปราย ก็คือเรามีเรือนจำที่มีนักโทษล้นคุก เรามีเรือนจำที่เปรียบเสมือนการทรมาน แล้วในกฎหมาย ได้เขียนเจตนารมณ์ดังกล่าว เพราะว่าเหตุที่ต้องออกกฎหมาย คือไม่สามารถจะจัดการและ บริหารโทษของผู้ต้องขังเฉพาะรายหรือเฉพาะคดีได้อย่างเหมาะสม เนื่องจากไม่มีบทบัญญัติ ให้อำนาจและไม่สามารถดำเนินการให้มีสถานควบคุม หรือคุมขังประเภทอื่นนอกจากเรือนจำ ซึ่งทำให้ระบบพัฒนาพฤตินิสัยและการบริหารเรือนจำไม่เป็นไปตามที่กำหนดไว้ สมควรที่จะ มีคณะกรรมการราชทัณฑ์ ซึ่งมี ๒๙ คน ๑๖ คนเป็นคนภายนอกหมด เช่น เลขาธิการ สำนักงานศาลยุติธรรม มีผมเป็นประธาน ก็คือเพื่อที่จะให้มีนโยบายในการบริหารงาน ราชทัณฑ์และปรับปรุงกฎหมาย การที่กฎหมายการคุมขังที่ไม่ใช่เรือนจำกฎหมายเขียนไว้ ตั้งแต่ปี ๒๕๖๐ แต่บุคคลที่ไม่ไปออกกฎหมายรองที่เขียนไว้ในมาตรา ๓๓ และระเบียบ ที่เขียนไว้ตามมาตรา ๓๔ จึงทำให้กฎหมายดังกล่าวคือการที่รัฐไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย คือกฎหมายก็สั่งให้เขียนกฎหมายรอง อันนี้ผมคิดว่าเป็นการไม่ธำรงไว้ซึ่งหลักนิติธรรม

    อ่านในการประชุม

  • ประการต่อมาก็ทำให้สถานที่ควบคุมเป็นที่เลวร้าย เป็นที่แออัด นี่คือที่มา อยากจะให้ทุกคนเข้าใจว่าผมในสมัยที่เป็นสมาชิกเราก็อภิปรายเกือบตลอดว่าเรือนจำ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมา ก็คือสถานที่ทรมานของคน ซึ่งศักดิ์ศรีความเป็น มนุษย์สิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาคของปวงชนชาวไทยย่อมได้รับการคุ้มครอง อันนี้คือประเด็นที่อยากจะกราบเรียนให้เข้าใจ ผมได้เข้าไปดูคณะกรรมการราชทัณฑ์ที่ผม บอกไปแล้ว ๑๙ คน พบว่าในปีที่ผ่านมาไม่มีการประชุมเลย กฎหมายออกแบบเพื่อให้ คณะกรรมการกำหนดนโยบาย ผมก็ได้มีการจัดประชุมในเดือนพฤศจิกายน แล้วก็บอกว่า กฎหมายลูกที่ออกระเบียบดังกล่าวก็ให้ตั้งอนุกรรมการขึ้นมาเพื่อออกระเบียบ ซึ่งก็เป็น ระเบียบที่ออกไปข้างต้น คราวนี้กลับมาสู่ประเด็นที่ท่านอดีตนายกทักษิณ เราเรียกร้องให้ ท่านเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ผมก็ไปดูในเรื่องกระบวนการ วันนี้ในหน้าที่ของ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเมื่อมีการรักษาพยาบาลเกินกว่า ๑๒๐ วัน จะต้องมีหนังสือ ความเห็นของอธิบดีกรมราชทัณฑ์ พร้อมความเห็นของแพทย์ อันนี้สำคัญ ผู้ที่รักษาและ หลักฐานที่เกี่ยวข้องรายงานให้รัฐมนตรีทราบ ผมทราบว่าวันนี้เป็นเวลาครบ ๑๒๐ วัน เมื่อวานผมได้ตามกับท่านอธิบดีกรมราชทัณฑ์ เพราะเรื่องนี้ผมจะพูดข้อเท็จจริงก็ต่อเมื่อมี พยานหลักฐาน ข้อเท็จจริงใดที่ไม่มีพยานหลักฐานมันจะถือว่าไม่ใช่ข้อเท็จจริง แล้วมันจะทำ ให้เกิดความสับสนวุ่นวาย ซึ่งผมเองก็รอ ซึ่งทราบจากท่านอธิบดีกรมราชทัณฑ์ว่าน่าจะวันนี้ หรือเมื่อไร แต่ว่าถึงเมื่อวานเอกสารยังไม่มา แต่ส่วนรายงานผมก็พยายาม ถ้าพูดแค่นี้มัน เหมือนศรีธนญชัย คือเป็นรัฐมนตรีรับผิดชอบตามกฎหมายก็ไม่ได้ติดตามหรือ เมื่อสักครู่ มีตัวแทนของโรงพยาบาลตำรวจ คุณหมอ ไม่เอ่ยชื่อแล้วกัน ไปเข้าคณะกรรมาธิการ การตำรวจ ผมก็ถามว่า คุณหมอพบว่าในกฎหมายราชทัณฑ์นี้เราเขียนเรือนจำ หมายถึงที่ใช้ ควบคุมขังและคุมขังผู้ต้องขังกับทั้งสิ่งที่ต่อเนื่อง สิ่งที่ท่านอยู่ในทางกฎหมายก็ถือว่าท่านก็อยู่ ในเรือนจำ ท่านจะออกไปไหนไม่ได้ แล้วก็ถามจากคุณหมอแบบตรง ๆ คุณหมอยังอยู่ข้าง หลังนี้เลย ยืนยันว่าท่านป่วยจริง ท่านมีหลักฐานตามที่ปรากฏจริง แล้วก็ในประเด็นดังกล่าว ก็เป็นเรื่องที่มีการรายงานก็พบว่า ถ้าผมอ่านจากเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์เรือนจำมาก็เป็นเหมือน เรื่องเดิม ก็คือพบว่าผู้ป่วยเป็นหลายโรค มีกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด มีความดันโลหิตสูง ไล่ ๆ มาหมด แล้วก็เป็นความเห็นของแพทย์โรงพยาบาลราชทัณฑ์ เมื่อเช้าผมก็คุยกับแพทย์ ก็เป็นความเห็นของแพทย์ แล้วก็ได้มีการส่งไป อยากจะเรียนว่ากฎหมายราชทัณฑ์แล้วก็ กฎหมายที่เกี่ยวข้องต้องเรียนว่า พ.ร.บ. เกี่ยวกับทางการแพทย์เราไม่สามารถที่จะดูผล ถ้าผู้ป่วยไม่ยินยอม เมื่อสักครู่นี้ผมสรุปหมอ แต่หมอยืนยันว่าในการตรวจนี้ท่านป่วยจริง สำหรับผมถามคำถามวันนี้ ถ้าผมได้รับรายงานจากอธิบดีกรมราชทัณฑ์ที่ผ่านปลัดกระทรวง ในหนังสือดังกล่าวที่จะมาหาผม ผมเพียงแค่ทราบนะครับ หลังจากทราบแล้ว ไม่ใช่ผู้อนุมัติ ผู้อนุมัติคืออธิบดี แต่ผมก็จะได้รับความเห็นของแพทย์และหลักฐานที่เกี่ยวข้อง วันนี้ผมยัง ไม่มีหลักฐานถึงขนาดนี้ แต่กระบวนการตรวจสอบท่านอดีตนายกทักษิณ กระบวนการ ตรวจสอบกรมราชทัณฑ์ และกระทรวงยุติธรรมเยอะมาก เจ้าหน้าที่กรมราชทัณฑ์ต้องมา ชี้แจงกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎร ของวุฒิสภา ตลอดจนสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ก็ได้เข้าไปตรวจเข้าไปดูหมด ซึ่งถ้าองค์กรอย่างนั้น ก็น่าจะยอมรับได้ ถ้าผมมาพูดก็เหมือนผมจะมาแก้ตัวให้ ก็อยากจะให้เรียนว่านี่คือในหนึ่ง กระบวนการ สำหรับคนอื่นที่ป่วยมีอย่างนี้บ้างหรือไม่ ก็มีรายงาน แล้วมีจำนวนมากด้วยครับ ซึ่งในกรณีดังกล่าวก็อยากจะเรียนว่าเป็นเรื่องปกติครับ

    อ่านในการประชุม

  • ประเด็นแรก ก็เท่าที่ได้รับรายงานจากท่านปลัด ท่านอธิบดีนี้เป็นไปตามหลักการตามปกติของท่านอดีต นายกรัฐมนตรี แล้วก็ที่ระบุว่าโรงพยาบาลก็มี เป็นเรือนจำที่ต่อเนื่องก็มีผู้ควบคุมก็ไม่สามารถ จะไปไหนได้ การเยี่ยมคนอื่นก็ไปเยี่ยมไม่ได้ นอกจากมี ๑ ใน ๑๐ คือมีระเบียบปฏิบัติเหมือน เรือนจำทุกอย่าง แล้วก็ในกรณีอย่างนี้ก็มีบุคคลอื่นซึ่งมีเหมือนกัน

    อ่านในการประชุม

  • กรณีที่ถาม คำถามข้อ ๒ ก็คือระเบียบที่ออกมามันต้องมีแนวทางปฏิบัติ คือจะมี ๔ ประเภทหลัก ๆ คือการจำแนกและแยกขังนี้ประมาณ ๑๘,๐๐๐ คน ก็จะเป็น เกณฑ์ปกติ ไม่ใช่เกณฑ์สำหรับท่านทักษิณ แล้วกรณีที่พัฒนาพฤตินิสัยคือเรื่องจิตใจ เรื่องอะไรนี้ ก็มีประมาณ ๑๖,๐๐๐ คน ที่เขาออกระเบียบ คือผู้ป่วยอันนี้ก็ไปอยู่ ก็มีประมาณ หลายพันคน แล้วผู้เตรียมการก่อนปล่อยก็มี ซึ่งระเบียบดังกล่าวยังไม่จบ เพราะจะต้องมี การประชุมคณะกรรมการราชทัณฑ์ซึ่งผมเป็นประธาน คือพอออกระเบียบเสร็จก็ต้องมา เข้าประชุม ผมก็ตั้งใจว่าต้นเดือนมกราคมซึ่งผู้เชี่ยวชาญทั้งนั้น เพราะมีงานวิจัยรองรับ จำนวนมาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก็ไปวิจัยเรื่องการขังนอกพื้นที่ นอกจากนั้นผมยังมีออก กฎกระทรวงกำลังเปิด ก็คือ ๘๙/๑ คดีอยู่ระหว่างสอบสวน แล้วระหว่างการพิจารณานี้ เพื่อให้ออกไปอยู่ข้างนอกเหมือนกัน โดยให้ศาลเป็นผู้ไต่สวนก็ไม่มีอภิสิทธิ์สำหรับใครคนใด คนหนึ่งครับ เป็นการปฏิบัติเพื่อสร้างหลักนิติธรรมจากคะแนนที่ ๐.๒๕ ที่คะแนนเต็ม ๑ เพื่ออยากให้ได้ ๐.๕ เหมือนประเทศอื่น ๆ เขา อันนี้คือสิ่งที่ผมตั้งใจจะทำครับ

    อ่านในการประชุม

  • ก็เรียนว่า ตามรายงานที่ปรากฏมาให้ผมนี้ ชั้น ๑๔ ไม่ใช่เป็นชั้นพิเศษ แต่ว่าวิธีการเรื่องความปลอดภัย ก็มี ผมยังพบเป็นผู้ใหญ่เลยก็ไปเยี่ยมญาติอยู่ชั้น ๑๔ เหมือนกัน แต่ว่าเป็นคนละส่วน แต่ว่าเรื่องระบบการรักษาความปลอดภัยของกรมราชทัณฑ์มี อันนี้คือสิ่งที่ได้รับการยืนยัน จากเอกสาร กรณีที่จะถามว่าหลังจากผมได้รับรายงานจะให้ได้ไหม แต่ผมขอสงวนอยู่อันหนึ่ง มันมีพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติเรื่องอาการป่วยนี้ พระราชบัญญัตินี้แข็งมากก็คือว่า จะต้องเป็นความลับ ผมผิดกฎหมายด้วย และไม่มีกฎหมาย แล้ว พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูล ส่วนบุคคล ปี ๒๕๖๒ มาตรา ๒๗ แต่ว่ารายละเอียดอื่น ๆ จะมอบให้ครับ ขอบพระคุณมากครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียน ท่านประธานที่เคารพครับ ผม พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ก็อยากจะตอบคำถามของท่านณัฐชาที่ได้ถามเมื่อสักครู่นี้ การพักโทษเราจะมีเขียนไว้ ในพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ จริง ๆ การพักโทษน่าจะมีอยู่มาตราเดียวด้วยซ้ำครับ คือราชทัณฑ์ปี ๒๕๖๐ จะเขียนไว้ในมาตรา ๕๒ ซึ่งในมาตรา ๕๒ นี้จะเขียนจั่วไว้ว่า นักโทษเด็ดขาดหรือนักโทษที่ศาลฎีกาตัดสินแล้ว แสดงให้เห็นถึงความประพฤติดี มีความอุตสาหะ ความก้าวหน้าในการศึกษาและการงานเกิดผลดี และมีความชอบ แก่ราชการเป็นการพิเศษอาจจะได้รับดังต่อไปนี้นะครับ แล้วในข้อที่ ๗ ก็คือจะเขียน เรื่องการพักโทษ คือการพักโทษเมื่อเป็นนักโทษเด็ดขาดที่ได้รับมาไม่น้อยกว่า ๖ เดือน หรือ ๑ ใน ๓ โดยกำหนดตามที่ศาลในขณะนั้นแล้วแต่กรณี อะไรมากกว่า ก็เรียนว่าอันนี้คือ เกณฑ์การพักโทษ ซึ่งหลังจากนั้นเราก็ไปออกเป็นกฎกระทรวงเรื่องการพักโทษ ท่านได้กล่าว เมื่อสักครู่ กฎกระทรวงเรื่องการพักโทษก็จะมีอยู่ ๒ ส่วน ส่วนที่เป็นการพักโทษทั่วไป คือถ้าการเข้านิยามตรงนี้ไม่ว่าจะอย่างไรก็ไปอยู่ที่คณะอนุกรรมการพิจารณาพักโทษ ซึ่งมีอยู่ ทั้งหมด ๑๙ คน ในทั้งหมด ๑๙ คน ก็มีทั้งคนของกระทรวงยุติธรรม โดยปลัดกระทรวง ยุติธรรม รองปลัดกระทรวงยุติธรรม อธิบดีกรมราชทัณฑ์ แล้วก็หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่น เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานอัยการ เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม กระทรวง สาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย แล้วก็มีผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน ๒ คน ก็จะต้องพิจารณา การพักโทษ ซึ่งการพิจารณาการพักโทษก็จะพิจารณาเดือนละ ๑ ครั้ง โดยเฉลี่ยการพักโทษ อันนี้เป็นการพักโทษทั่วไป ยังมีการพักโทษที่เขียนว่า มีเหตุพิเศษ จะพิเศษได้ต้องเป็น ความเห็นของอธิบดีกรมราชทัณฑ์ว่า ถ้าท่านเห็นว่าจะมีการพักโทษเป็นกรณีพิเศษ แต่ก็ต้องอยู่ในกฎหมายอันนี้ที่มีเกณฑ์อยู่ในกฎกระทรวง อธิบดีกรมราชทัณฑ์ก็ต้องหยิบเอา รายชื่อส่วนใหญ่ก็คือจากผู้บัญชาการเรือนจำต่าง ๆ เสนอมา แล้วก็ส่งไปให้คณะกรรมการ ๑๙ คน ให้ความเห็นชอบ ซึ่งในคณะกรรมการ ๑๙ คน เมื่อให้ความเห็นชอบแล้ว กรณีพักโทษ กรณีพิเศษหรือพักโทษทั่วไป คณะกรรมการต้องเห็นชอบ แล้วก็จะส่งมาให้รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงยุติธรรมเป็นผู้พิจารณา สำหรับเหตุในการพักโทษพิเศษในอดีตก็มีอยู่ประมาณ ๗-๘ อย่าง แล้วทั้ง ๗ ประเภทนี้ก็ไม่ได้ถูกยกเลิก แต่บางประเภทก็ให้ชะลอไปก่อน เนื่องจากว่าในช่วงโควิดพอเราระบายผู้ต้องขังออกไปก็มีเหตุ คือจำนวนผู้ต้องขังในเรือนจำเราสามารถอยู่ได้ประมาณ ๑๗๐,๐๐๐ คน ตามมาตรฐานสากล วันนี้เราอยู่ ๒๘๐,๐๐๐ คนเศษ เกือบ ๓๐๐,๐๐๐ คน ก็เกินมา ๑๐๐,๐๐๐ คน ซึ่งสภาพ ๑๐๐,๐๐๐ คนนี้ เราใช้การนอนเหมือนว่าให้บิดตัวได้ ถ้าลุกไปก็เสียม้า คนก็จะเข้ามา อันนี้ คือสภาพเรือนจำ เราก็มีกฎหมายเรื่องการพักโทษ การรับโทษก็ยังอยู่ในอำนาจของกฎหมาย อย่างที่กราบเรียนก็คือ กรณีพักโทษที่เข้าเหตุเจ็บป่วยร้ายแรงหรือพิการ หรืออายุ ๗๐ ปีขึ้นไป อันนี้ก็เป็นเรื่องของ ผบ. เรือนจำ อย่างที่ท่านถามก็ ผบ. เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร เสนอขึ้นมา แล้วเข้าไปสู่ท่านอธิบดีก็เป็นผู้นำเสนอเข้าไปในบอร์ด ซึ่งก็ต้องเรียนว่าในการ พิจารณาครั้งนี้มีทั้งหมด ๙๔๕ คน แล้วก็มีพักโทษกรณีพิเศษในกลุ่มต่าง ๆ และในกลุ่มต่าง ๆ เท่าที่ผมได้อ่านเวลารายงานขึ้นมา การพิจารณาการพักโทษ กรรมการไม่ใช่เป็นตรายาง กรรมการก็จะมีวินิจฉัย อย่าง ๙๔๕ คนนี้ ก็วินิจฉัยไม่ให้ ๑๕ คน แล้วก็วินิจฉัยให้ ๙๓๐ คน ซึ่งในเหตุผลของแต่ละคน

    อ่านในการประชุม

  • อย่างกรณีที่ท่านถามก็มีผู้อภิปราย เช่น กระทรวงสาธารณสุขก็ได้ดูหลักฐาน ทางการแพทย์ แล้วเห็นว่าเข้าเหตุพักโทษ สำนักงานอัยการสูงสุดก็อาจจะมีคำถามว่า การอยู่โรงพยาบาลไม่ได้มาเรือนจำจะถือว่าเป็นประเด็นไหม ก็มีการตอบว่า คำว่า เรือนจำ หมายถึง ที่ซึ่งควบคุมกักขังผู้ต้องขัง แล้วเราก็ไปเขียนไว้ในกฎกระทรวงว่า การไปรักษาที่ โรงพยาบาล เราเขียนว่าเป็นที่ควบคุมโดยใช้คำพูดว่าปกติจะไม่ให้ไปอยู่ห้องพิเศษ เว้นแต่ ทางโรงพยาบาลให้อยู่ในห้องควบคุมพิเศษ ไม่ใช่ห้องรักษาพิเศษนะครับ ห้องควบคุมพิเศษ เพื่อโดยพิจารณา ซึ่งการใช้คำว่า ควบคุม ก็จะอยู่ในกฎกระทรวง โดยสรุปก็คือว่าในกรณี การประกาศดังกล่าวเป็นที่ควบคุมอยู่ในกฎกระทรวง ก็อยากจะเรียนว่านี่คือขั้นตอน และการพิจารณาก็ยังมีผู้แทนอัยการ ผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ อันนี้ผมอ่านเฉพาะ ที่รายงานการประชุม ซึ่งก็มีการพิจารณา เพราะว่ามีความกังวลเรื่องสังคมสอบถาม ก็เป็นเหตุปกติ แล้วยังมีข้อมูลพบว่าการพักโทษกรณีดังกล่าวนี้เริ่มมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๖ มาถึงปัจจุบันก็มี ๒,๔๒๐ คน กรณีเจ็บป่วย อายุมาก ซึ่งผมคิดว่าก็เป็นการปฏิบัติ ตามกฎหมายราชทัณฑ์ กฎกระทรวง แล้วก็ผ่านคณะกรรมการพิจารณา อนุกรรมการ พิจารณาพักโทษ แล้วเสนอมาขออนุมัติตามลำดับชั้นครับ คำถามข้อแรกก็ตอบแค่นี้ครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ เดี๋ยวจะเกิดความสับสน คือในเหตุพักโทษกรณี เจ็บป่วยร้ายแรง กฎหมายใช้คำว่า เจ็บป่วยร้ายแรง หรือพิการ หรืออายุ ๗๐ ปีขึ้นไป ที่ช่วยเหลือตัวเองได้เล็กน้อยนะครับ ในเกณฑ์ของการพิจารณาก็จะมีเกณฑ์เจ็บป่วยร้ายแรง เกณฑ์พิการ แล้วก็เกณฑ์อายุ ๗๐ ปีขึ้นไป ซึ่งอายุ ๗๐ ปีขึ้นไป ที่จะได้รับการพักโทษ คือไม่แข็งแรงที่จะช่วยเหลือตัวเอง ก็จะมีเกณฑ์ที่มีมาตรการประเมินของพยาบาลและของ ทางหมอ อย่างน้อยต้องมี ๒ ท่าน ซึ่งในรายงานคือการประเมินคะแนนจะต้องไม่เกิน ๑๑ เขาก็จะมีการทรงตัว มีอะไรอีก เขาจะเขียนไว้เยอะนะครับ แล้วในกรณีดังกล่าวนี้ เนื่องจากว่าอยู่ต่ำกว่าเกณฑ์เลข ๑๑ คราวนี้ประเด็นที่ผมเองก็มีความกังวล เนื่องจากว่า ในพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นพระราชบัญญัติที่แข็งมาก เขาบอกว่า ข้อมูลสุขภาพของบุคคลเป็นความลับส่วนบุคคล ผู้ใดจะนำมาเปิดเผยด้วยประการใด ๆ น่าจะทำให้บุคคลนั้นเสียหายไม่ได้ เว้นแต่จะเปิดเผยเป็นไปตามวัตถุประสงค์โดยตรง ของบุคคลนั้น หรือมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นเฉพาะให้ต้องเปิดเผย แต่ไม่ว่ากรณีใด ๆ ท่านฟังนะครับ ไม่ว่ากรณีใด ๆ ผู้ใดจะอาศัยอำนาจหรือสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูล ข่าวสารของทางราชการหรือกฎหมายอื่น เพื่อขอเอกสารด้านสุขภาพของบุคคลดังกล่าว กระทำไม่ได้ ผมเรียนว่าที่ท่านถามผมก็ดูทุกอย่าง แล้วที่สำคัญก็คือคนที่เข้ามาดูละเอียดคือ คุณหมอจากกระทรวงสาธารณสุข ผมเรียนว่าในกรณีดังกล่าวก็เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ แล้วก็หลักเกณฑ์ทางการแพทย์ มีความชอบธรรมด้วยเหตุผลและชอบธรรมด้วยคุณธรรมครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียน ท่านประธานที่เคารพครับ ก็ขอยืนยันว่าที่ท่านได้สอบถามนี้มีการปฏิบัติครบถ้วน กรณี การประเมินมันจะมีแบบประเมินการช่วยเหลือตัวเองว่า มันมีส่วนหนึ่งคือช่วยเหลือตัวเอง ได้น้อย เขาใช้คำว่า ได้น้อย ซึ่งก็จะมีคะแนนเต็ม ๒๐ ซึ่งอย่างน้อยต้องมีผู้ประเมินคือ เป็นผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาลจำนวน ๒ ท่าน แล้วก็พร้อมกับมีความเห็นของหมอ ก็หมอโรงพยาบาลตำรวจที่ตรวจนะครับ ในการประเมินเราก็พบว่ามีการประเมิน ถ้าสูงกว่า คะแนน ๑๑ ที่หลักเกณฑ์แล้วกัน ถ้าสูงกว่าคะแนน ๑๑ จาก ๒๐ นี้จะไม่อยู่ในเกณฑ์ แต่กรณีดังกล่าวคะแนนต่ำกว่า ๑๑ เล็กน้อย อันนี้มีอยู่ในประเด็น ซึ่งก็เป็นไปตามกฎหมาย เป็นไปตามระเบียบ แล้วนอกจากนั้นก็จะมีผู้ต้องขังอีกท่านหนึ่งที่ได้พักการลงโทษอายุ ๗๐ ปีกว่า ก็ประเมินลักษณะนี้เหมือนกัน ก็เรียนว่าเราได้ดำเนินการตามกฎหมาย

    อ่านในการประชุม

  • แล้วก็อยากเรียนว่าในกรณีดังกล่าวนี้ ในการถามความเห็นทุกครั้งก็จะมีแพทย์ แล้วแพทย์ไม่ใช่คนเดียว มีคณะแพทย์ที่ร่วมกันมีความเห็นด้วย ซึ่งเรื่องข้อมูลส่วนบุคคล เนื่องจากว่ามีใบไม่ยินยอมของผู้ตรวจ คือของบุคคลให้เปิดเผยอาการ นี่ใบไม่ยินยอม อยู่ในมือผม ดังนั้น พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติจึงเป็นกฎหมายที่ ถ้าผู้ป่วยไม่ยินยอมเราก็ เปิดเผยไม่ได้ แต่เรียนว่าแพทย์ก็เป็นแพทย์ที่เป็นกลาง แล้วการวินิจฉัยในคณะกรรมการ ก็ใช้แพทย์ในการวินิจฉัยนะครับ ผมคิดว่าทุกอย่างก็เป็นไปตามหลักเกณฑ์กฎหมายทั้งหมด ผมคิดว่าการตอบเรื่องนี้ก็มีความชัดเจนนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • แล้วก็อยากจะเรียนขยายสักนิดหนึ่งคือ อย่างที่ผมได้เรียนเมื่อสักครู่นี้คือ กฎหมายราชทัณฑ์ใหม่เขาเขียนเพราะต้องการจะให้มี เนื่องจากเรือนจำเรามีความหนาแน่น ไม่สามารถพัฒนาพฤตินิสัย เราก็จะมีขยายกรณีการไปรักษาตัวอยู่นอกโรงพยาบาล แล้วกฎกระทรวงก็เขียนว่าเป็นที่ควบคุม ก็มีสภาพคล้ายเรือนจำ แล้วเร็ว ๆ นี้ก็จะมีการที่ คุมขังอื่นก็มีสภาพคล้าย ๆ เรือนจำ เพื่อจะทำอย่างไรจะให้ยกระดับการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง ให้อยู่บนพื้นฐานของหลักนิติธรรม ผมก็ขอสรุปดังนี้ครับ

    อ่านในการประชุม