นายชูพินิจ เกษมณี

  • ขอบพระคุณครับ ท่านประธาน ก่อนอื่นอยากจะขอขอบพระคุณท่าน สส. หลายท่านที่เข้าใจสถานการณ์ของ พี่น้องชนเผ่าพื้นเมืองอย่างดี ในนามของสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทยที่เราจัดตั้งแล้ว ตั้งแต่ปี ๒๕๕๘ ทีนี้มีประเด็นที่ผมคิดว่าจะต้องคลี่คลายความเข้าใจผิดนะครับ ประการหนึ่ง ก็คือเรื่องของปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิของชนเผ่าพื้นเมือง มาตรา ๔๖ ขออนุญาต อ่านนะครับ มาตรา ๔๖ ของปฏิญญาฉบับนี้บอกว่าไม่มีส่วนใดที่จะให้อำนาจแก่รัฐนะครับ ประชาชน กลุ่มคน หรือบุคคลใดในการกระทำกิจกรรม หรือการกระทำใด ๆ ที่ขัดต่อกฎบัตร แห่งสหประชาชาติ หรือตีความว่าเป็นการให้อำนาจและให้การสนับสนุนที่จะก่อให้เกิด การแตกแยก หรือเป็นอุปสรรคไม่ว่าจะเป็นทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของบูรณภาพ ทางดินแดน หรือเอกภาพทางการเมืองขององค์อธิปัตย์และรัฐเอกราช เพราะฉะนั้น ใน UN List นี้นะครับ ไม่อนุญาตให้ใช้มาตราหนึ่งมาตราใดในปฏิญญาฉบับนี้ในการที่ทำให้ เกิดความแตกแยก อันนี้เป็นประการแรกที่ผมอยากจะขออธิบาย

    อ่านในการประชุม

  • ประการที่ ๒ ก็คืออยากจะให้ข้อมูลแก่สภาอันทรงเกียรติแห่งนี้ว่าในเวที นานาชาตินี้ คำว่า กลุ่มชาติพันธุ์กับคำว่า ชนเผ่าพื้นเมืองนี้ มันเริ่มตั้งแต่ปี ๑๙๘๐ ขออนุญาตเท้าความนะครับ ปี ๑๙๘๐ กว่านี้ประชาคมโลกมีความเป็นห่วงประชากรใน หลายประเทศที่ถูกเรียกว่า เป็นกลุ่มเปราะบางหรือกลุ่มคนใช้ชายขอบ หรือกลุ่มผู้ด้อยโอกาส ก็มอบหมายให้ผู้รายงานพิเศษ มาร์ติเนซ โคโบลท์ (Martinez Cobalt) ศึกษาเรื่องนี้ดู แล้ว มาร์ติเนซ โคโบลท์ (Martinez Cobalt) ก็เลยเสนอนิยาม คำว่า Indigenous Peoples ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างคำว่า ชนพื้นเมือง กับ ชนเผ่า เข้ามาอยู่ในนิยามนี้ หลังจากนั้นก็มีหน่วยงานของสหประชาชาติทั้งหลายแหล่นะครับ ไม่ว่าจะเป็น UNDP-UNEP IFAD อะไรต่าง ๆ รวมทั้งธนาคารโลกนะครับ ก็เอานิยามของ มาร์ติเนซ โคโบลท์ (Martinez Cobalt) ไปขยายความต่อนะครับ ซึ่งตรงนี้ผมจะขออนุญาตนำเสนอเป็นภาพสไลด์ของสภา ชนเผ่าพื้นเมืองนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • หลักการ และเหตุผล ขอภาพถัดไปเลยครับ สถานการณ์ปัญหานี้ผมคิดว่าท่าน สส. หลายท่าน เข้าใจปัญหาเรื่องนี้ดีนะครับ ผมก็ขออนุญาตไปภาพถัดไป หลักการและเหตุผล เราก็อ้างอิง ทั้งรัฐธรรมนูญด้วย แล้วก็พันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคีเข้าผูกพันแล้ว รวมทั้งปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิของชนเผ่าพื้นเมืองที่ได้พูดถึงเมื่อสักครู่นี้นะครับ อันนี้ก็มีความเข้าใจผิดมีบางองค์กรที่เขียนรายงานมาว่าประเทศไทยนี้ไม่ได้เป็นภาคีของ ปฏิญญา ซึ่งไม่ใช่ ปฏิญญาฉบับนี้ประกาศในสมัชชาใหญ่ที่ภาคีสมาชิกทุกประเทศเข้าร่วม แล้วก็ลงมติด้วยเสียงส่วนใหญ่รับรองปฏิญญาฉบับนี้ ๔ ประเทศที่ไม่รับรองในเบื้องต้นก็คือ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ แต่ในภายหลังทั้ง ๔ ประเทศนี้ก็รับรอง ทั้งหมดแล้วนะครับ ก็ถือว่าเป็นปฏิญญาที่ใช้ร่วมกันในบรรดาประเทศภาคีของสหประชาชาติ นิยามชนเผ่าพื้นเมืองทางสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทยศึกษานิยามของสหประชาชาติ ในหลาย ๆ องค์กร เราก็กำหนดว่าความเป็นชนเผ่าพื้นเมืองของเราก็เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ นั่นแหละ แต่เขามีความผูกพันทางประวัติศาสตร์ แล้วก็พึ่งพาผูกพันกับทรัพยากรในพื้นที่ ของเขา ประเด็นถัดมาก็คือว่าพวกเขาไม่ได้เป็นกลุ่มครอบงำทางสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมืองทั้งหลายแหล่ อันนี้ก็ตรงกับหลาย ๆ องค์กรของสหประชาชาติ แล้วก็ยังมุ่งมั่นที่จะ อนุรักษ์สืบทอด ระบบภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ประเพณีวิถีชีวิต ภาษา ไปยังคนรุ่นอนาคต เป็นกลุ่มที่รักษาสันติวัฒนธรรม เพราะว่ามันเป็นจารีตประเพณีของความเป็นพี่น้องชนเผ่า พื้นเมือง แล้วก็ประการสุดท้ายที่สำคัญที่สุดก็คือว่าเขาจะระบุตนเองว่าเขาเป็นชนเผ่า พื้นเมืองแล้วได้รับการยอมรับจากคนกลุ่มอื่น ๆ ด้วย ผมยกตัวอย่างขององค์การระหว่าง ประเทศ ๒ องค์กรเท่านั้นนะครับเพื่อไม่ให้เสียเวลา จะเห็นได้ว่าแผนงานสิ่งแวดล้อม สหประชาชาติ ก็พูดถึงความเกี่ยวพันกับภูมิประเทศภูมิภาค ความสืบเนื่องทางประวัติศาสตร์ พูดถึงลักษณะเฉพาะของภาษา วัฒนธรรมและสังคมองค์กร พูดถึงความแตกต่างบางระดับ จากประชากรที่แวดล้อมและวัฒนธรรมที่ครอบงำของรัฐชาติ พูดถึงการระบุตนเองเมื่อเป็น ชนเผ่าพื้นเมืองหรือเป็น Indigenous Peoples ธนาคารโลกก็เหมือนกัน การระบุตนเอง เป็นเกณฑ์สำคัญประการหนึ่ง เพราะฉะนั้นเรื่องนี้ไม่ใช่หน้าที่ของรัฐ ที่จะไปบอกว่าใครเป็น หรือไม่เป็นชนเผ่าพื้นเมือง เป็นการระบุตนเองขอย้ำนะครับ ทุกองค์กรของสหประชาชาติย้ำ ในเรื่องนี้ว่าการเป็นชนเผ่าพื้นเมืองคือการระบุตนเอง และได้รับการยอมรับจากคนกลุ่มอื่น ๆ ด้วยนะครับ สิ่งที่เราจะยึดโยงกับความเป็นชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย ซึ่งเราก็พบว่าเรามี หลายกลุ่มเหลือเกินทั้งในภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง ตะวันตก ตะวันออก และภาคใต้ เราก็มีศักดิ์และสิทธิที่จะใช้ชื่อชนเผ่าพื้นเมืองเหมือนกันกับบรรดานานาประเทศทั่วโลก เขาจะได้รับการส่งเสริมโดยปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิของชนเผ่าพื้นเมือง แล้วก็ สามารถเฉลิมฉลองวันสากลแห่งชนเผ่าพื้นเมืองโลกได้ทุกวันที่ ๙ สิงหาคม ซึ่งเราทำมา ตลอดตั้งแต่ปี ๒๕๕๐ ทุกปี เราเฉลิมฉลองทุกปีนะครับ แล้วก็มีอนุสัญญาว่าด้วย ความหลากหลายทางชีวภาพที่ประเทศไทยเข้าไปเป็นภาคีตั้งแต่ปี ๒๕๔๗ ซึ่งอนุสัญญาฉบับนี้ อนุญาตให้ใช้ภูมิปัญญาชนเผ่าพื้นเมืองและภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการพื้นที่คุ้มครองได้ ซึ่งกฎหมายเราก็ยังไม่เอื้อ ทั้ง ๆ ที่ประเทศไทยก็ผูกพันแล้ว พูดถึงกรอบอนุสัญญา สหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แล้วหลังสุดในกรอบอนุสัญญานี้ เมื่อปี ๒๕๕๙ ก็มีความตกลงกรุงปารีส ซึ่งระบุถึงการยอมรับภูมิปัญญาชนเผ่าพื้นเมืองในการ จัดการทรัพยากรธรรมชาติเพื่อต่อสู้กับภาวะโลกร้อน เพื่อจะต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ ประเทศไทยก็เข้าไปร่วมให้สัตยาบรรณตั้งแต่ปี ๒๕๕๙ เหล่านี้เป็นเรื่องที่ผมคิดว่า ทางสภานี้จะต้องตระหนักถึงกระแสของโลก เราอยากจะให้ลูกหลานของเรามีโอกาสที่จะเข้า ไปอยู่ในเวทีสหประชาชาติ สิทธิและโอกาสที่ลูกหลานของเราจะได้ในหลาย ๆ เรื่อง รวมทั้ง แม้แต่โอกาสในการรับการสนับสนุน ทรัพยากรจากแหล่งทุนต่าง ๆ ในเรื่องของการจัดการ โลกร้อนโดยใช้ภูมิปัญญาชนเผ่าพื้นเมือง ขอภาพถัดไปเลยครับ จะดูโครงสร้างของสภานิดเดียวนะครับ อันนี้เราจะเห็นว่าในสภานี้ เราสมาชิกที่แต่ละกลุ่มเขาจะเลือกกันเองที่มีทั้งผู้ชาย ผู้หญิง คือในร่างกฎหมายเรากำหนด ไว้เลย ต้องมีผู้ชาย ผู้หญิงและมีเยาวชน เราให้โอกาสเยาวชนถึงอายุ ๑๕ ปี เข้ามาอยู่ใน สภาได้ แล้วก็มีบทบาท สภานี้ไม่ใช่เป็นแค่ที่ประชุม แต่ว่ามีกิจกรรมอย่างอื่นนอกเหนือ การประชุมด้วย แล้วก็ยังมีบทบาทหน้าที่ของสมาชิกสภาด้วยที่จะต้องขานรับต่อสภา แล้วก็ จะมีคณะกรรมการบริหารสภา ซึ่งปัจจุบันนี้ก็มีนะครับ ทำหน้าที่อยู่ ๑๕ คน ตัวแทน จากภาคต่าง ๆ นะครับ แล้วก็มีคณะผู้อาวุโสจากสภา ตรงนี้อยากจะขอชี้แจงอย่างนี้นะครับ ว่าคณะผู้อาวุโสนี้เราเอามาจากโครงสร้างตามจารีตประเพณีที่พี่น้องหลายกลุ่มเผ่า เขามี ผู้อาวุโสเป็นผู้ที่คอยตัดสินเวลาเกิดข้อพิพาทหรือเกิดความขัดแย้งในชุมชน เราก็เอา โครงสร้างตามจารีตประเพณีนี้เข้ามาบูรณาการกับโครงสร้างสภาสมัยใหม่นี้ ซึ่งก็ทำงานได้ผล แล้วก็จะมีสำนักงานสภา มีคณะอนุกรรมการ คณะทำงานต่าง ๆ ที่อาจจะจัดตั้งขึ้นมาตาม ความจำเป็น แล้วก็เราจะจัดตั้งกองทุนสภาด้วยกัน ช่วยกันระดมทุนนะครับ ก็คิดว่า การจัดตั้งสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทยนี้จะไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อความมั่นคงของ ประเทศ เพราะเป็นการสร้างพื้นที่ร่วมให้พี่น้องของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ กลุ่มชนเผ่าพื้นเมือง ต่าง ๆ ในประเทศไทยเข้ามาร่วมกันปรึกษาหารือแก้ไขปัญหาด้วยการพัฒนาชุมชนด้วยกัน ไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนที่เป็นเป้าหมายปลายทางของประเทศ แล้วก็จะมีการประสานงาน ร่วมกับหน่วยงานของรัฐในเรื่องที่เกี่ยวข้อง ก็เลยคิดว่าแทนที่จะทำให้เกิดความแตกแยก ผมคิดว่าน่าจะมีความสามัคคียิ่งขึ้น เราจะไปเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านที่เอาแนวคิด Divide and Rule หรือการแบ่งแยกและปกครองตามแบบอาณานิคมมาใช้ ซึ่งเขาก็เจอ ปัญหาอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งบ้านเราไม่เคยมีในลักษณะนี้เลย ก็ขอกำลังใจท่าน สส. ผู้ทรงเกียรติ ได้เห็นความจำเป็นว่าเราต้องมี อย่างน้อย ๆ ก็ต้องมีอยู่ในกฎหมายว่ามีชนเผ่าพื้นเมืองอยู่ใน ประเทศไทยด้วย ด้วยการที่เขาระบุตนเอง แล้วเข้ามาร่วมกันในสภาแล้วช่วยกันขับเคลื่อน ประเทศให้ไปในทิศทางเดียวกันนะครับ ขอบคุณมากครับ

    อ่านในการประชุม