กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายกิตติ ลิ่มสกุล เป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมาธิการ วิสามัญพิจารณาศึกษา โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมเพื่อพัฒนาระเบียง เศรษฐกิจภาคใต้เชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน หรือต่อไปนี้ผมใช้คำว่า แลนด์บริดจ์ ส่วนโครงการภาคใต้ขอใช้คำว่า SEC ผมขอใช้สไลด์ภาพที่ ๑๖ กับภาพที่ ๑๗ เท่านั้น สำหรับโครงการนี้โดยพื้นฐานผมอยากจะทำความเข้าใจกับทางท่านผู้อภิปรายและ ท่านผู้ทรงเกียรติ เดิมรัฐบาลใช้คำว่า แลนด์บริดจ์ เป็นเรื่องหลัก ผมเป็นที่ปรึกษาและ เป็นคนเขียนโครงการ SEC หรือโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ให้กับสภาพัฒน์ แล้วก็ได้คำนวณสิ่งต่าง ๆ แล้วก็เสนอให้สภาพัฒน์หลายเรื่อง เพราะฉะนั้นวันนี้กระผมจะขอสรุปนิดหนึ่งว่ามันเกี่ยวข้องกันอย่างไร แล้วเป้าหมายจริง ๆ ของงานครั้งนี้มันคืออะไร สำหรับงานครั้งนี้แนวคิดของการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ หรือที่เรียกว่า SEC ต้องเป็นแนวคิดหลัก สมาชิกหลายท่านก็เข้าใจเรื่องนี้ดี ส่วนเรื่องของ แลนด์บริดจ์นั้นเป็นเครื่องมือหรือเป็นตัวชี้นำ ทำไมเป็นเช่นนั้น เพราะว่าภาคใต้ได้เสียสละ ให้กับการพัฒนาในภาคอื่น ๆ มานาน อย่างที่ท่านสมาชิกบางท่านได้อภิปรายว่าถนนก็มีแต่ ถนนเล็ก ๆ ๒ เลนซึ่งติดขัดพอสมควร ซึ่งในครั้งนี้การพัฒนา SEC จึงเป็นเป้าหมายสำคัญ ของรัฐบาลที่แล้วและรัฐบาลนี้ด้วย ซึ่งในนี้ท่านจะเห็นว่าการที่เป็นโครงการ SEC เราได้ คำนวณไว้ชัดเจนว่าจะต้องใช้เงินไปประมาณเท่าไรในการพัฒนา ซึ่งโครงการ SEC นั้น การใช้เงินแล้วก็มีการพัฒนาในหลายรูปแบบ ในหลายรูปส่วน ยกตัวอย่างเช่น เรื่องของ การพัฒนาที่ว่าด้วยเศรษฐกิจพิเศษต่าง ๆ ของภาคใต้เรา ซึ่งแน่นอนครับ ในส่วนของ SEC ผมได้เสนอชัดว่ามันจะต้องมีโครงการต่าง ๆ แต่อย่างไรก็ตามเพื่อให้กระชับต่อเวลาเรามาพูด กันว่างบประมาณแผ่นดินที่จะวางกับ SEC นั้นมันอาจจะมีข้อจำกัด ทั้ง ๆ ที่เป้าหมายดี แล้วก็การพัฒนาอุตสาหกรรม รวมทั้งการพัฒนาพื้นที่ พัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ ซึ่งหมายถึงรวมจังหวัดระนอง จังหวัดชุมพร จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดสุราษฎร์ธานี จริง ๆ มันก็รวมทั้งหมด เพราะฉะนั้นกรอบของ SEC กับกรอบของแลนด์บริดจ์มันเป็นเรื่อง เดียวกัน แลนด์บริดจ์เป็นเครื่องมือ ผมขอย้ำ เมื่อสักครู่ท่านรองประธานได้พูดชัดเจนว่า ในการพัฒนา SEC นั้น เราขาด LB หรือ Land Bridge ไม่ได้ เพราะว่าอะไร เพราะว่า ข้อจำกัดด้านงบประมาณ แล้วก็เป็น Game Changer หรือเป็นสิ่งที่เรามองภาพที่กำลังจะ เปลี่ยนแปลงไป ในขณะนี้พลวัตของ Geopolitics และการพัฒนาของประเทศมหาอำนาจ สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศจีนที่ได้นำเสนอโครงสร้างของ Belt and Road Initiative หรือโครงการของประเทศจีนที่มีความสำคัญมากที่จะเลื้อยลงมา จากข้างบนลงมาผ่าน ประเทศรอบบ้านของเรา แล้วก็ลงมาที่จะเข้าสู่มหาสมุทรอันดามันและมหาสมุทรแปซิฟิก เพราะฉะนั้นบรรพบุรุษของเราได้ให้ส่วนที่เป็นที่ตั้งของภาคใต้ให้มาโดยที่มีความสำคัญมาก เพราะว่าล้อมรอบด้วยทะเล ๒ ฝั่ง ซึ่งหลายประเทศไม่สามารถจะมีเช่นนี้ได้ เพราะฉะนั้นเรา คิดว่าควรจะทำคลองไทยบ้าง อะไรบ้าง แต่มันก็ได้ผ่านไปแล้ว เพราะฉะนั้นในรัฐบาลนี้ ได้ต่อเนื่องจากรัฐบาลที่แล้ว ได้เห็นความสำคัญของการพัฒนาของแลนด์บริดจ์ ซึ่งในการ พัฒนาแลนด์บริดจ์ผมจะพูดให้ชัดเจนว่าถ้าเราจะคิดเฉพาะเรื่องอุปสงค์ต่อการเดินเรือ เพราะมีสมาชิกหลายท่านนั้นได้อ้างอิงของ Demand for Transshipment ที่ท่านเห็นนี้ ก็คือภาพสีส่วนที่เป็นสี Containerization ส่วนที่เป็นสีน้ำเงิน ถ้าท่านดูอาจจะไกลนิดหนึ่ง อย่างไรก็ตามอย่างที่ท่านสมาชิกได้พูดว่ามันไม่คุ้ม Speed หรือเวลา แล้วก็การรอคอยของเรือ รวมทั้ง Double Handling การจัดการเรื่องท่าเรือซึ่งจะต้องมีการขนขึ้นขนลง เท่าที่ ผมศึกษาที่ทาง สนข. ได้ศึกษามาในทางวิศวกรรมศาสตร์นั้น ผมคิดว่าในเรื่องของ วิศวกรรมศาสตร์ที่กำลังพัฒนาก้าวไปข้างหน้า มันไม่จำเป็นจะต้องมีการพัฒนาที่ว่าเป็น Double Handling แล้วก็ช้า เพราะว่าในที่สุดแล้วท่าเรือมันจะเป็น Automation หมด อย่างเช่นท่าเรือของประเทศสิงคโปร์อันใหม่นี้เขาจะเป็น Fully-automated นั่นหมายความว่า ยุทธศาสตร์ของการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เราต้องการที่จะไปเพิ่มอุปสงค์ในส่วนที่ อุปสงค์ของท่าเรือมะละกามันมีเพิ่มขึ้นเยอะ เมื่อสักครู่มีท่านผู้มีเกียรติบางท่านได้นำเสนอ แล้วว่า Demand มันเพิ่มขึ้นมาก เราเพียงแต่ไปเสริม ฟังให้ดีนะครับ เราไม่ใช่ที่จะไปแย่งชิง เพราะว่าจริง ๆ ท่าเรือมะละกา แล้วก็ที่ Port Klang มันจะใหญ่มาก เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราทำไม่ใช่เราจะพัฒนาท่าเรือเพื่อไปแย่งชิง แต่เราต้องการ พัฒนา SEC หรือระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ ที่สำคัญที่สุดเมื่อเรามี One Port หรือ Two Side หรือจะเรียก Two Port Single Handling หรือ Single Operation ก็แล้วแต่ ตัวนี้มันจะ เป็น Game Changing หรือการเปลี่ยนแปลงยุทธศาสตร์ที่เรามีความเชื่อมโยงกับฝั่งตลาด ที่อยู่ทางฝั่งแปซิฟิก ไม่ว่าจะเป็นประเทศญี่ปุ่น ประเทศเกาหลี และฝั่งที่เป็นฝั่งตะวันตก เช่น ประเทศอินเดีย เพราะ ๒ ฝั่งนี้มีความพัฒนาไม่เท่ากัน ฝั่งหนึ่งอาจจะต้องการวัตถุดิบจาก อีกฝั่งหนึ่ง วัตถุดิบขั้นกลางที่จะผลิตต่อไปเพื่อนำไปขาย อีกฝั่งหนึ่งก็อาจจะต้องการส่งสินค้า สำเร็จรูปมาให้อีกฝั่งหนึ่ง เพราะฉะนั้นการที่เราคิดว่าทุกอย่างจะเป็น Transshipment หมด มันไม่ใช่อย่างนั้น ในอนาคตการพัฒนาแลนด์บริดจ์มันจะเป็นเครื่องมือสำคัญของ SEC ที่จะ ก่อให้เกิด S-Curve ธุรกิจอุตสาหกรรมที่เป็น S-Curve หลังท่า เมื่อสักครู่หลายท่านได้พูดไปแล้ว ผมจะไม่พูดมากมายนะครับ โดยเฉพาะคุณหมอศรีญาดาพูดไปแล้วสักครู่ เพราะฉะนั้นสิ่งที่ คนภาคใต้จะได้ ภาคใต้หมายถึงทั้งภาคใต้เลยที่จะได้ก็คือว่ามันจะมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น มีธุรกิจอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น และที่สำคัญของเราเป็น Trade Hub ศูนย์กลางทางการค้า ระหว่าง ๒ ฝั่ง จริงอยู่ครับหลายท่านพูดเหมือนว่าทุกอย่างเป็นเพียงภาพสถิตย์ ขณะนี้ ถ้าผู้ประกอบการทางเดินเรือหรืออะไรบอกไม่พร้อมแล้วก็ไม่สามารถจะแข่งขันได้ อันนี้เป็น ภาพปัจจุบัน ภาพในอนาคตมันมีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ แล้วมันก็มีการเปลี่ยนแปลงทาง เทคโนโลยี เพราะฉะนั้นท่าเรือที่เกิดขึ้น ๒ ฝั่งของแลนด์บริดจ์มันจะค่อย ๆ เป็นฐานของ ประเทศเราในการที่จะขนของ ส่งของ นำเข้าเพื่อผลิต ตั้งแต่ภาคตะวันออก ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตก ลงมาข้างล่างเพื่อจะเชื่อมโยงกับภาคใต้ทั้งหมด เพราะฉะนั้นสิ่งที่โครงการนี้ที่รัฐบาลได้มุ่งที่จะพัฒนานั้นไม่ใช่เพื่อพัฒนาท่าเรือ เราอาจจะ เข้าใจกันอีกนิดหนึ่งว่าเป็นการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ อันนี้เรื่องที่ ๑ ขอให้ท่าน เข้าใจ
ข้อที่ ๒ ผมคิดว่ารายงาน สนข. ในฐานะผมเป็นคนศึกษาเรื่อง SEC ด้วย แล้วพอดีทางคณะกรรมาธิการวิสามัญได้เชิญผมมาเป็นที่ปรึกษา มาเรื่องแลนด์บริดจ์นี้ ผมอยู่ตลอดเป็นส่วนใหญ่ แล้วก็เห็นว่าทาง สนข. ได้ตอบคำถามไปพอสมควร แล้วที่เขียนมา ผมอ่านดูตั้งหลายเล่มแล้ว หลายครั้ง เพราะมันมีหลาย Version ผมเห็นว่าทางผู้เขียน รวมทั้งผมก็เป็นส่วนหนึ่งของการเขียนด้วย มีความเอื้ออาทรที่รับฟังในส่วนของผู้ที่ไม่เห็นด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของ Demand สำหรับเรื่อง Transshipment ซึ่งอันนี้ผมคิดว่า ท่านกรรมาธิการได้เข้าใจดีถึงเรื่องความไม่เห็นด้วย ความเป็นไปได้และเป็นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้นที่ท่านสมาชิกบางท่านจะใช้คำว่า จะ หรือ อาจจะ หรือ ศึกษาเพิ่ม มันเป็น ความจริงว่าเราให้เกียรติกับผู้ที่มาคัดค้าน หรือไม่เห็นด้วย หรือแนะนำ อันนี้ก็ข้อที่ ๒
ข้อที่ ๓ เรื่องของการการพัฒนา SEC โดยมีแลนด์บริดจ์มันมีผลกระทบ สิ่งแวดล้อมไหม ผลกระทบต่อ Ramsar Site ไหม เท่าที่ผมดูแผนที่อย่างละเอียดแล้วก็พบว่า ท่าเรือที่จังหวัดระนองมันจะอยู่ห่างจากที่ Ramsar Site มาถึงพื้นที่ชุ่มน้ำประมาณสัก ๓ กิโลเมตร เพราะฉะนั้นก็ขอยืนยันว่ามันอยู่ออกนอกเขต Ramsar Site จริงอยู่อาจจะต้อง มีผลกระทบอย่างใดอย่างหนึ่งบ้าง แต่ว่าในทางเทคนิคและอื่น ๆ ผมได้เรียนถามทาง ทช. ทรัพยากรธรรมชาติและอื่น ๆ เขาก็บอกว่าสามารถจะมีเทคโนโลยีหรือมีวิธีการจัดการได้ อย่างใดอย่างหนึ่ง รวมทั้งเรื่องท่าเรือด้วย ตัวท่าเรือเองไม่ได้อยู่ติดพื้นดิน มันอยู่ออกไป นอกชายฝั่งในเขตน้ำลึก ถามว่ามีผลกระทบไหม คงมีผลกระทบแต่คงให้น้อยที่สุด อะไรบ้าง เช่น จะต้องมีการถมดินมันก็ต้องมีบ้าง แต่ว่าเขามีเทคโนโลยีสำหรับให้ปลาเคลื่อนย้ายตัวเอง ได้ตามริมชายฝั่ง นั่นหมายความว่าผลกระทบต่อผู้ประกอบการประมงขนาดเล็กได้รับ การดูแลไม่มากก็น้อย เพราะฉะนั้นอันนี้ข้อที่ ๓ ส่วนเรื่องของป่าไม้ เรื่องของผลตอบแทนต่อ ชาวบ้านที่อำเภอพะโต๊ะและพื้นที่อื่น ๆ รวมทั้งที่จังหวัดชุมพรด้วย ในกรณีเช่นนี้ผมเข้าใจว่า ท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมได้ชี้แจงไปประมาณ ๗-๘ ข้อว่าจะชี้จะมี การชดเชยอะไร อย่างไร อันนี้ก็เป็นข้อเสนอของท่าน ซึ่งแน่นอนครับมันคงจะต้องทำต่อไป ดูในรายละเอียด เพราะว่าตัว Parameter มันอาจจะต้องมีการพูดคุยกัน
ข้อที่ ๔ หลังจากนี้ไปจะเดินไปอย่างไร ได้คุยกันแล้วผมเองก็มีแนวคิด ที่ชัดเจนว่า ๑. เนื่องจากว่าโครงการนี้เป็นโครงการขนาดใหญ่และมีผลกระทบในระดับใด ระดับหนึ่ง มีทั้งบวกและลบ ซึ่งผมเชื่อว่า EIRR หรือผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ สังคม แล้วก็ ทางด้านสิ่งแวดล้อม ในทางเศรษฐกิจที่ชัดเจนก็คือ ๑๐ กว่าเปอร์เซ็นต์ แล้วก็คืนทุนได้ ใน ๒๐ กว่าปี แต่อย่างไรก็ตามขั้นตอนต่อไปนี้มันไม่ใช่แค่เอาตัวเลขมาเถียงกัน แล้วก็ หลายท่านก็บอกว่าไม่เอาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาอ้างอิง จากนี้ไปขั้นตอนมันน่าจะ เป็นว่า ๑. หลังจากที่รายงานฉบับนี้ได้รับการให้ข้อคิดเห็นต่าง ๆ แล้วก็ทำ Take Note ไปแล้ว สุดท้ายแล้วในที่สุดมันคงจะต้องเข้าสู่ ครม. และอาจจะต้องมีการทำการศึกษา เพิ่มเติม อย่างที่หลายท่านบอก ทำไมต้องเพิ่มเติม เพราะอันนี้เป็น Fact Finding เบื้องต้น แล้วมันก็มีข้อที่คำนวณหรือข้อคิดเห็นที่แตกต่างกันระหว่างการศึกษา ๒ อัน แน่นอนพวกเรา ไม่ใช่จะมาตรวจสอบวิทยานิพนธ์ เพราะฉะนั้นมันมีข้อสมมุติฐาน มีหลายอย่างที่ไม่ตรงกัน ดังนั้นก็คงจะต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม แล้วก็อาจจะต้องมีการทำอย่างไรให้ส่วนที่เป็น สมมุติฐานตรงกัน รวมทั้ง Demand ด้วย Demand สำหรับการเดินเรือต่าง ๆ แล้วที่สำคัญ ที่สุดเพื่อจะให้เกิดความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ในส่วนของรายงานนี้ก็คือขั้นตอนต่าง ๆ โดยเฉพาะสำคัญที่สุดคือการตั้งการศึกษาเรื่องกฎหมาย เมื่อสักครู่มีท่านผู้มีเกียรติบอกว่า ไม่มีกฎหมาย อันนี้เป็นเรื่องที่ท่านชี้ถูกต้อง สำคัญที่สุดก็คือเรื่องของกฎหมายที่เรียกกันว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยการดูแลพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจ SEC ซึ่งแน่นอนรายละเอียดมันคง ไม่เหมือนของ EEC เพราะ EEC นั้นอาจจะมีการรอนสิทธิในหลายรูปหลายแบบ แต่ภาคใต้ เนื่องจากมีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติและพื้นที่ แล้วก็สิทธิต่าง ๆ ของประชาชนมันอาจจะมี การรอนสิทธิระดับใดระดับหนึ่ง ดังนั้นคิดว่าจะต้องมีเรื่องของกฎหมาย นอกจากนั้นแล้วก็มี การตั้งคณะกรรมการเพื่อพัฒนาเพื่อจะไปเป็นสำนักงานต่าง ๆ
โดยสรุปแล้วก่อนที่จะใช้เวลาไม่นานเกินไป กระผม นายกิตติ ลิ่มสกุล ในฐานะที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการวิสามัญขอยืนยันว่ารายงานฉบับนี้เป็นรายงานที่รับฟัง ความคิดเห็นของทุกฝ่าย ทั้งฝ่ายข้าราชการ ฝ่ายประชาชน ผมก็อยู่ที่กรรมาธิการ รวมทั้ง มีการเดินทางไปพื้นที่ มันจะพอไหม มันคงไม่พอ ก็ฝากไว้ว่าผมเองส่วนตัวสำหรับรายงาน อันนี้เป็น Fact Finding เบื้องต้นผมรับได้ รับได้ในทางวิชาการ แล้วก็เสนอแนะว่าหลังจากที่ เคลียร์กับทางรัฐบาลแล้วก็จะต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมอะไรบ้าง ดังต่อไปนี้ ๑. เรื่องของ กฎหมาย SEC ๒. ถ้าจะมีการมาลงทุนโดยภาคเอกชนอย่างใดอย่างหนึ่งมันก็ต้องมี การพิจารณาเรื่องตัวแบบทางการเงินและตัวแบบการลงทุน Financial Model And Investment Model ที่ชัดเจนมีผลตอบแทนและมี Assumption ที่ชัดเจน อันที่ ๓ เอกชน ถ้าจะมาลงทุน เขาอยู่ดี ๆ มาเชื่อกระดาษรายงานเล่มนี้คงไม่ใช่ เขาคงเชื่อว่ารัฐบาลนี้จะต้อง ทำอะไรบ้าง สิ่งที่รัฐบาลทำก็คือการออกกฎหมาย SEC ซึ่งแน่นอนอยู่ใน Type Line อยู่แล้ว การออกกฎหมายที่ชัดเจนจะทำให้ต่างชาติ หรือนักลงทุนทั่วไป หรือนักลงทุนไทยก็แล้วแต่ มั่นใจในเรื่องของการพัฒนาท่าเรือ พัฒนาระบบ Handling ต่าง ๆ รวมทั้งธุรกิจอุตสาหกรรม หลังท่า รวมทั้งการพัฒนา S-Curve อันนี้หมายถึงว่าบางประเทศถ้าเขาเห็นผลของการออก กฎหมายและการวางแผนรูปแบบการใช้ที่ดินที่ชัดเจนอาจจะมีการย้ายโรงงานอุตสาหกรรม มาประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมหลังท่าก็ได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเราได้เขียนกฎหมาย เราจะเขียนกฎหมาย รวมทั้งมีข้อชัดเจนว่าเรื่องของ สิ่งแวดล้อมเราต้องดูแล อันนี้ชัดเจน ผมขอฝากให้ท่านผู้ที่ได้ให้ข้อคิดเห็นต่าง ๆ ผมก็เชื่อว่า ทางคณะกรรมาธิการและทาง สนข. และทางเรานี้ก็จะนำไปพิจารณาแล้วก็นำเสนอต่อไป ในขั้นสุดท้ายทั้งหมดนี้
ได้ครับ มีเรื่องที่สำคัญอันหนึ่งก็คือเรื่องของแหล่งน้ำจะมีการแย่งชิงกันระหว่างอุตสาหกรรมกับ ประชาชนหรือไม่ ผมคิดว่าอันนี้ทางท่าน สส. เองและท่านที่อยู่ในพื้นที่เขามีการระมัดระวัง แล้วก็คิดว่ามีการพูดคุยกับรัฐบาล อย่าลืมว่าโครงการนี้หลักของมันคือพัฒนา SEC ระเบียง เศรษฐกิจภาคใต้ที่สภาพัฒน์วางไว้ ผมเป็นคนคำนวณตัวเลขการลงทุนให้กับสภาพัฒน์ และคิดว่าตัวเลขมันอาจจะสูง ดังนั้นเราก็เลยคิดว่ามันควรจะมีเรื่องของแลนด์บริดจ์เข้ามาด้วย อันนี้ไปถึงรัฐบาลคิด ซึ่งมันก็สอดคล้องที่ผมคิดไว้แล้ว เพราะฉะนั้นงานครั้งนี้โดยสรุปแล้ว กระผมในฐานะที่ปรึกษาของคณะกรรมาธิการวิสามัญแลนด์บริดจ์ขอให้ความเห็นชอบ แล้วก็ ยืนยันว่ารายงานทั้งหมดที่ทำมานี้มีเหตุมีผล แม้ว่าจะมีข้อเสนอแนะหลายอย่างเราก็จะรับฟังไว้ ขอบพระคุณครับ