เรียนท่านประธาน ผม จิรโรจน์ ศุกลรัตน์ กรรมาธิการ เป็นในส่วนของ สนข. ครับ เมื่อสักครู่มีประเด็นที่ได้มีการชี้แจง ในเรื่องต่าง ๆ สำหรับตัวรายงาน ผมขออนุญาตพูดถึงรายงานของ สนข. เลย ซึ่งรายงานของ สนข. เป็นส่วนหนึ่งที่ทางกรรมาธิการชุดนี้ได้นำมาใช้ในการศึกษา ก่อนอื่นในตัวรายงานของ สนข. ในเรื่องโครงการแลนด์บริดจ์นี้เรามองว่าประเด็นสำคัญของการพัฒนาตัวโครงการ แลนด์บริดจ์ ก็คือตัวยุทธศาสตร์ของการเป็นตำแหน่งที่ตั้งของประเทศไทย เรื่องแลนด์บริดจ์ ไม่ได้เป็นเรื่องใหม่ เป็นเรื่องที่พูดกันมาอย่างน้อย ๆ ก็ ๕๐ ปี เพียงแต่ว่า ณ ปัจจุบันทำไม ตัวโครงการแลนด์บริดจ์ถึงเป็นที่สนใจของนักลงทุนต่างชาติ ปัจจุบันถ้าเกิดทุกท่านเห็นใน รายงานของกรรมาธิการหรือในรายงานของ สนข. เราจะเห็นว่าปัญหาเรื่องของการติดขัด ในช่องแคบมะละกาเกิดขึ้น แล้วก็เริ่มมีปัญหาที่จะมีความรุนแรงมากขึ้น ดังนั้นการที่สายเรือ จำเป็นจะต้องหาเส้นทางสำรองมันเริ่มมีความจำเป็นมากขึ้น
ประเด็นที่ ๒ ในเรื่องของการมีปัญหาของประเทศที่เป็นมหาอำนาจ หลาย ๆ ที่ อย่างเช่นที่เราเห็นว่าถ้าเกิดมีในเรื่องของการ Attack ในเรื่องของการมีปัญหากับ เส้นทางเดินเรือก็จะทำให้เกิดปัญหาทั่วโลก อันนี้ก็เป็นปัญหาที่มีความรุนแรงมากขึ้น
ประเด็นที่ ๓ ก็คือความพร้อมในเรื่องของด้าน IT ดังนั้นตัวโครงการนี้ก็เลย เป็นที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนทั่วโลก ซึ่งเราจะเห็นได้ว่านักลงทุนก็เริ่มมีการติดต่อเข้ามา ในเรื่องของการดูพื้นที่แล้วก็ดูเรื่องของรายงาน ซึ่งในรายงานของ สนข. ที่ทางท่านผู้อภิปราย ในเรื่องของการเปรียบเทียบในแนวเส้นทาง ขออนุญาตที่เอ่ยนามท่านสุรเชษฐ์ สนข. เคยได้ ชี้แจงในเรื่องของตัว Assumption ต่าง ๆ เมื่อสักครู่ที่ทางผู้อภิปรายได้เอามาชี้ให้เห็นว่า ในเรื่องของการวิ่งที่เป็นวิ่ง Through ไม่ได้มีการเอามาคิดในตาราง เนื่องจากว่าเราตัด ในส่วนนั้นออกไปตั้งแต่แรกแล้ว อย่างเช่นในการขนส่งใน ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ มี Service ที่เป็น Through Service อยู่ ๕๐ เปอร์เซ็นต์ เราไม่ได้เอาส่วน Service ๕๐ เปอร์เซ็นต์ตรงนั้นมาคิด เรามองว่าใน ๕๐ เปอร์เซ็นต์ที่เหลือ ที่จำเป็นจะต้องมีการทำ Transshipment เกิดขึ้น ในสิงคโปร์หรือในท่าเรืออื่น ๆ อย่างช่องแคบมะละกา ถ้าเกิดมาใช้แลนด์บริดจ์ Cost จะถูกลงหรือว่าแพงขึ้น ระยะเวลาที่ใช้จะมากหรือน้อยลง ซึ่งเหล่านี้ได้เอาไปคิดว่าแล้ว สัดส่วนจริง ๆ ที่จะแบ่งมาใช้แลนด์บริดจ์เป็นเท่าไร วันนั้นถ้าท่านได้ฟังท่านก็อาจจะได้ภาพ ที่ชัดกว่านี้ แล้วก็รวมถึงว่าประเด็นที่ว่าทำไมไม่ใช้ Port Colombo ในการทำเป็น Transshipment Hub ถ้าท่านดูข้อมูลในปัจจุบันในเรื่องของการขนส่ง ไม่ว่าจะเป็นทางด้าน แอฟริกามาเซาท์เอเชีย หรือว่าทางยุโรปไปเซาท์เอเชียก็ใช้ท่าเรือสิงคโปร์เป็น Hub ถ้าเกิด ท่านดูข้อมูลสักนิด ท่าเรือโคลัมโบเราเป็นใช้เป็น Hub ที่ทำ Transshipment เพียงแค่ ๕ เปอร์เซ็นต์เท่านั้น แล้วท่านมาบอกว่าแล้วจะมีคนมาส่งแลนด์บริดจ์ไหม ทำไมไม่ใช้ โคลัมโบเป็น Hub แต่ในสภาพความเป็นจริงแล้วโคลัมโบก็ไม่ได้เป็น Hub ในการขนส่ง ปัจจุบันนี้ก็ยังใช้ท่าเรือที่มะละกาเป็น Hub อยู่ดี
ขออนุญาตตอบเรื่องข้อสงสัยประเด็นอื่น ๆ นะครับ ในคณะกรรมาธิการ สนข. เราชี้แจงชัดเจนว่า Key Success Factor ของตัวโครงการนี้ประกอบด้วย ๕ เรื่อง
ประเด็นแรก ก็คือเรื่องของ Operation ทำไมเราถึงบอกว่ามันจำเป็นต้อง เป็น One Port Two Sides ทำไมต้องพิจารณาตัวโครงการแลนด์บริดจ์เป็นท่าเรือเดียว แล้วก็มีประตูออก ๒ ฝั่ง เนื่องจากเราไปศึกษาประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีต ในอดีตเรามี ในเรื่องของการศึกษาไม่ว่าจะเป็นเซาท์เทิร์นซีบอร์ดเองก็ตามหรือแลนด์บริดจ์ ตัวเส้นทาง สงขลา-ปากบาราก็ดี ในอดีตที่ผ่านมาภาครัฐวาง Position ไว้ว่าภาครัฐเป็นผู้ลงทุน แล้วค่อย ไปหาลูกค้า แล้วก็ได้มีการแยกส่วนในการพัฒนา อย่างเช่นในเรื่องของการก่อสร้างถนน กรมทางหลวงก็เป็นคนก่อสร้าง ในเรื่องของการพัฒนาท่าเรือก็จะเป็นกรมเจ้าท่าในการ ดำเนินการ เราเห็นปัญหาตรงนี้ว่าเวลาเราพูดถึงแลนด์บริดจ์มันจำเป็นต้องมีองค์ประกอบ ทั้งหมดพร้อมกัน ดังนั้นในโครงการการศึกษาแลนด์บริดจ์ของ สนข. นี้เราก็ต้องเอาทั้งท่าเรือ ทั้งการเชื่อมต่อรถไฟ มอเตอร์เวย์ ท่าเรือ ๒ ฝั่งรวมเป็นโครงการเดียว และจำเป็นต้องมี Operator รายเดียวโครงการนี้ถึงจะสำเร็จ อันนี้ก็คือ Concept ว่าทำไม Operation จึงเป็นสิ่งสำคัญ
ประเด็นที่ ๒ เรื่องของนักลงทุน เป็น Key Success Factor หนึ่ง เนื่องจาก ในการที่เราบอกว่าคนที่จะมาลงทุนจำเป็นจะต้องมี Demand จำเป็นจะต้องมีลูกค้าอยู่ในมือ ดังนั้นนักลงทุนที่เรามองว่าเป็น Potential สำหรับการลงทุนโครงการนี้ก็จำเป็นต้องมี Liner จำเป็นต้องมีผู้ให้บริการการเดินเรือที่เป็นระดับโลกเข้ามาร่วมลงทุนในโครงการนี้ รวมถึง ผู้ที่เป็น Port Operator ผู้บริหารท่าเรือก็จำเป็นจะต้องรวมกันมาเป็นกลุ่มสำหรับนักลงทุน แล้วก็มาบริหารในโครงการนี้
ประเด็นที่ ๓ เรื่องกฎหมาย นักกฎหมายปัจจุบันโครงการแลนด์บริดจ์ ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เนื่องจากว่าโครงการแลนด์บริดจ์เรามีส่วนประกอบด้วยกันทั้ง ๓ ส่วน ไม่มีหน่วยงานไหนที่สามารถเป็นเจ้าของโครงการได้เพียงแค่หน่วยงานเดียว จำเป็นต้องมี กฎหมายในการพัฒนาพื้นที่ SEC ทำไมถึงต้องมี SEC เนื่องจากว่าโครงการแลนด์บริดจ์เป็น แค่ ๑ ส่วนประกอบในการพัฒนาพื้นที่ SEC ดังนั้นเราก็จะมองว่าในส่วนของการพัฒนา SEC เป็นภาพใหญ่ที่สำคัญ แล้วก็โครงการแลนด์บริดจ์จะเป็นส่วนที่จะเอื้อทำให้เกิดการพัฒนา ตรงนั้น
และอีก ๒ ประเด็นก็คือเรื่องของสิ่งแวดล้อม อันนี้อาจจะตอบผู้อภิปราย หลาย ๆ ท่าน ปัจจุบันเราอยู่ระหว่างการศึกษาเรื่องของการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมถึงการทำมาตรการต่าง ๆ ซึ่งการทำในเรื่องของการรับฟังความเห็นของประชาชนในด้าน สิ่งแวดล้อมเราจำเป็นจะต้องลงพื้นที่ไปคุยกับผู้ที่ได้รับผลกระทบเพื่อที่จะกำหนดเป็น มาตรการ ซึ่งตรงนี้ก็จะไปตอบปัญหาว่าแล้วคนที่อยู่ในพื้นที่ไม่ว่าจะเป็นทางพะโต๊ะเอง หรือว่าประมงชายฝั่งเองจะมีมาตรการอะไรที่จะไปช่วยเหลือเขา ซึ่งตรงนี้มันจะออกมา หลังจากที่เราทำการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมของทั้งโครงการ แล้วก็รวมถึงการรับฟัง ความเห็นของประชาชนในพื้นที่ ในโครงการนี้เราลงไปกระทำการรับฟังความเห็นของ ประชาชนในพื้นที่ในรายตำบล แล้วก็ลงไปในรายหมู่บ้าน ตรงนี้เรามองว่าประชาชนในพื้นที่ เป็น Key Success สำคัญอีกประเด็นหนึ่งในเรื่องของการพัฒนาตัวโครงการ
ในเรื่องของตัวเลขต่าง ๆ ที่เราใช้ในการทบทวน อันนี้มีที่มาที่ไปครับ เมื่อสักครู่ที่ท่านเห็นว่าเรื่องของตัวค่าระวางทำไมแค่ ๒๐๐ เหรียญ อันนี้เป็นข้อมูลจริงที่ ทางสายเดินเรือ Charge ต่อตู้ เพราะฉะนั้นถ้าเกิดท่านอยู่ในวงการเรื่องของการขนส่งสินค้า ทางทะเล สินค้ามันไม่จำเป็นว่าขาไปกับขากลับจำเป็นต้องเท่ากัน ผู้ที่จะกำหนดค่าระวางคือ ผู้ให้บริการทางการเดินเรือ เราก็มองว่าถ้าค่าระวาง ณ ปัจจุบันมาทำการทำ Transshipment ที่สิงคโปร์ด้วยราคานี้ มีการอ้างอิงจากในเรื่องของรายละเอียดจาก Website ของผู้ให้บริการ เดินเรือ เรามองว่าถ้ามีโครงการแลนด์บริดจ์เกิดขึ้นก็มีการวิเคราะห์ในเรื่องของระยะทาง ที่มันจะลดลง แล้วก็เวลา หลักสำคัญอย่างที่ทางผู้อภิปรายก็คือว่าในเรื่องของ Cost and Time มันเป็นเรื่องสำคัญ ในเรื่องของการที่สายเดินจะเลือกมาเดินทางในแต่ละเส้นก็คือ ต้องดูทั้ง Cost ก็คือราคา ราคาสู้ได้ไหม Time เวลาสู้ได้ไหม แต่ว่าการที่จะมาใช้แลนด์บริดจ์ เราไม่ได้บอกว่าสินค้าที่มีโอกาสแล้วมี Cost and Time ถูกกว่า แล้วก็เวลาน้อยกว่าจะมาใช้ ทั้ง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ถ้าเกิดไปดูในรายละเอียดเราบอกว่าเราไม่ได้แบ่งมาทั้ง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ มีในเรื่องของการตัดสินใจของสายเดินเรือ มีฟังก์ชันต่าง ๆ ในเรื่องของการวิเคราะห์ว่า ระยะเวลาที่ถูกลงมันจะดึงสายเดินเรือ จะดึงสินค้ามาผ่านมากน้อยแค่ไหน รวมถึง กลุ่มเป้าหมายด้วยเช่นกัน เราไม่ได้มองว่ากลุ่มเป้าหมายที่จะมาใช้แลนด์บริดจ์จะเป็นเรือ ที่เป็นเรือขนาดใหญ่บรรทุก ๒๐,๐๐๐ ตู้ เพราะว่าเราต้องมองความได้เปรียบของตัวเราเองก่อน แลนด์บริดจ์จะมีความได้เปรียบสำหรับการขนส่งสินค้าที่เป็นเรือ Feeder แต่ Feeder ไม่ใช่ Size ประมาณ ๓,๐๐๐-๔,๐๐๐ นะครับ เรามองว่าสินค้าที่มาใช้ในแลนด์บริดจ์สามารถ รองรับตัวเรือได้มากถึง 8,000 TEU ต่อลำ ซึ่งตรงนี้คือพอเรามอง Position แล้วว่าเราควร จะแข่งด้านไหน ด้านไหนเราแข่งไม่ได้ เราก็ไม่ไปแข่งกับสิงคโปร์ เราไม่ได้ไปแข่งกับมะละกา หรอกครับ เพราะฉะนั้นเราต้องมองความสามารถของตัวเองก่อน แล้วเราก็ดึงเฉพาะสินค้า ตรงนั้นมาผ่านตัวแลนด์บริดจ์ ก็เป็นหลักที่มาว่าทำไมเราถึงคิดสินค้าบางประเภท และไม่คิด สินค้าบางประเภท แล้วก็สินค้าบาง Route ไม่คิดสินค้าบาง Route คือเรามองเฉพาะ Route ที่แข่งได้ ประเภทสินค้าที่แข่งได้ตัว Demand ที่แข่งได้ จึงเป็นที่มาของตัวเลขต่าง ๆ ที่ทาง สนข. ใช้ในการศึกษา ก็ขออนุญาตชี้แจงในประเด็นนี้ครับ ขอบคุณครับ