เรื่องที่ ๒ เป็นสถานบำบัดที่เราใช้ชุมชนเป็นฐาน เราเรียกใช้ชุมชนเป็นฐาน#N#ในการบำบัด ขออนุญาตท่านประธานใช้ภาษาอังกฤษครับ Community Based Treatment#N#and Rehabilitation

  • CBTx ที่ท่านได้ยินมาบ่อย ๆ ตรงนี้เองสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน เพื่อรองรับในการปฏิบัติโดยไม่ต้องเอาคนออกจากชุมชนเพื่อจะแก้ปัญหาการคืนกลับ เพราะปัญหาที่เราเจอ ที่เราทำมาในอดีตที่มันไม่ประสบผลสำเร็จเพราะว่าเราแยกเอาผู้ที่ เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ผู้เสพยาเสพติดเข้าไปบำบัดอีกทีหนึ่ง เมื่อครบกำหนดแล้วส่งกลับมา ชุมชนซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมเดิม เพื่อนก็คนเดิม วิธีการต่าง ๆ อยู่ในชุมชนเหมือนเดิม ก็กลับมาเสพซ้ำอีก เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราต้องทำขณะนี้ กฎหมายฉบับนี้วิธีการใหม่ เราใช้ว่า ชุมชนเป็นฐานในการบำบัด กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มี ๕ เสือที่อยู่ในชุมชน มีพื้นที่ที่ประสบผลสำเร็จ ๆ อยู่หลายที่ ๕ เสือ หรือ ๕ เสาหลักที่อยู่ ในชุมชนนี้ประกอบด้วยฝ่ายปกครอง ฝ่ายทหาร ฝ่ายตำรวจ ฝ่ายสาธารณสุข และฝ่ายท้องถิ่น คำว่า ร่วมมือกัน คือจับมือกัน โอบอุ้มชุมชนสังคมนั้นที่เราเรียกว่า ชุมชนล้อมรักษ์ ขณะนี้ เราได้ดำเนินการไปถึง ๑๐๐ ชุมชน หลังจากวันที่ ๒๔ ที่ผ่านมาเราได้เปิดอบรมเชิงปฏิบัติการ เชิญคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอซึ่งเป็นแกนกลาง เป็นแกนหลักที่จะ ขับเคลื่อนเรื่องนี้เข้ามาประชุมสัมมนาร่วมกันกำหนดแนวทางปฏิบัติออกไป ทำชุมชน ให้เข้มแข็ง เป็นชุมชนล้อมรักษ์ ตรงนี้เริ่มกระจายทั่วไป ๒๐๐ อำเภอทั่วประเทศรับไป ดำเนินการใน ๓๑ จังหวัด เพราะฉะนั้นสถานบำบัดที่ท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติ ท่านสัญญา ได้กรุณาถามนี้เรามั่นใจว่าเรามีความพร้อม โดยเฉพาะเรื่องของ CBTx หรือชุมชนบำบัดนี้ จะเป็นสถานบำบัดฟื้นฟูทางสังคม การบำบัดเราแยกเป็นการปฏิบัติทางแพทย์และการบำบัด ทางสังคม คนที่ไม่มีอาการ แต่เป็นผู้เสพหรือผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด เราเข้าสู่การบำบัดทาง สังคมก่อนที่จะคืนเขาสู่สังคมโดยรวม บำบัดเพื่ออะไรครับ ๑. เรื่องของมิติสุภาพทางด้าน ร่างกายและจิตใจของเขา ทำอย่างไรให้เขามีความเข้มแข็ง มิติทางด้านปัญญา มิติทางด้าน อาชีพและการศึกษา สถานะทางสังคม เตรียมชุมชนที่จะโอบอุ้มและเข้าใจ และให้อภัยเขา ตรงนี้มันเป็นหลักการที่เราเชื่อว่าภายใต้กฎหมายฉบับนี้การคืนคนดีหรือให้โอกาสคนที่หลง ผิดเข้าสู่สังคมจะเป็นวิธีการแก้ไขปัญหา หลายคนไปยึดติดกับกฎหมายเดิม ๆ กฎหมายเดิม ใช้ลักษณะบังคับบำบัด แยกสถานบำบัดเอาไปแต่ไม่ได้แก้ไขสิ่งแวดล้อมโดยรวม กลับไปเสพ ซ้ำเยอะมากครับ แต่ถ้าเราใช้ระบบชุมชนเป็นฐานในการบำบัด เชื่อมั่นครับที่ทำมา เช่น หนองบัวลำภูเป็นจังหวัดตัวอย่าง อำเภอเก้าเลี้ยวที่นครสวรรค์ ตำบลหัวโทนเป็นตัวอย่างที่ ทำสำเร็จแล้วคือใช้ชุมชนเป็นฐาน เขาได้รับเรื่องของการศึกษาที่ดี เรื่องอาชีพที่ดี ได้รับ การยอมรับจากสังคม เขาอยู่ได้ในสังคมครับ อันนี้คือความพร้อมและวิธีการที่เราทำ เราพร้อมครับ การบำบัด หลายคนหลายท่านถามว่ามันจะสำเร็จหรือ ที่ท่านสมาชิกได้ ตั้งข้อสังเกตไว้นี้ เดิมครับ ปัญหาจากกฎหมายเดิม ๆ ไม่สำเร็จครับ เอาเข้าค่าย ๑๕ วันแล้ว กลับมาคืนที่ชุมชนเขากลับไปเสพด้วยซ้ำ แต่ยุคใหม่นี้เรามั่นใจว่าเราทำสำเร็จแน่นอน ประเด็นที่เรามั่นใจคืออะไรครับ ๑. การบำบัดการแพทย์ลดอาการ ลดความบอบช้ำทาง สมองให้เขากลับฟื้นคืนมาใช้เวลาอย่างน้อย ๔ เดือน ๔ เดือนเสร็จแล้วผ่านการประเมิน ทำครบตามกระบวนการทุกอย่าง ผู้อำนวยการสถานบริการแห่งนั้นหรือโรงพยาบาลแห่งนั้น ออกหนังสือรับรองว่าผ่านการบำบัดแล้ว ขั้นตอนต่อไปส่งสู่สถานบำบัดในชุมชน ไปดำเนินการ อย่างที่ผมว่า แล้วติดตามอีก ๑ ปี เพราะฉะนั้นความมั่นใจของเราตรงนี้ที่เราเชื่อว่าระบบการบำบัด รักษา ฟื้นฟูแบบใหม่ ของเรา เราจะแก้ไขปัญหา แล้วสามารถคืนโอกาสคน ๑,๙๐๐,๐๐๐ คน ให้กลับคืนสู่สังคมได้ ท่านประธานที่เคารพครับ ผมเข้าใจว่าท่านสมาชิกมีข้อสงสัยตั้งแต่เริ่มที่จะถามเรื่องของ การให้โอกาสเป็นผู้ครอบครองมีไว้เสพแล้วไม่ผิดกฎหมาย ตรงนี้ผมขออนุญาตเน้นย้ำกับ ท่านประธานด้วยความเคารพ เป็นการให้ข้อมูลที่ออกไปแพร่หลายในสังคมมาก บอกว่า มีครอบครองยาบ้า ๕ เม็ดไม่ผิดกฎหมาย ท่านประธานครับ เสพ มีครอบครองไว้เพื่อเสพ เพื่อค้า ล้วนผิดกฎหมายหมดครับ มีโทษครับ ครอบครองไว้เพื่อเสพ โทษจำคุกไม่เกิน ๒ ปี ปรับไม่เกิน ๔๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เว้นแต่เข้าสู่กระบวนการตามที่เราให้โอกาส หลังจากที่มีสันนิษฐานไว้ก่อนเบื้องต้นว่าเป็นผู้เสพ ครอบครอง ๕ เม็ด ไม่มีพฤติกรรมการค้า ถ้ามีพฤติกรรมการค้า เม็ดเดียวเข้าสู่กระบวนการครับ รับโทษ แต่ถ้าไม่มีพฤติกรรมการค้า ยังพิสูจน์ไม่ได้ เข้าสู่กระบวนการของการเข้าสู่บำบัด การเข้าสู่กระบวนการนี้จะพ้นผิดเมื่อ ๑. ต้องสมัครใจ ๒. ต้องผ่านการบำบัดจนครบถ้วนตามหลักเกณฑ์วิธีการที่คณะกรรมการ เรากำหนด เช่น ๔ เดือน ๓. ได้หนังสือรับรองจากผู้อำนวยการโรงพยาบาลว่าผ่าน การบำบัดแล้ว ๓ ข้อนี้จะเป็นหลักฐานไปยืนยันกับผู้ดำเนินคดีว่าผ่านการบำบัด เขาถึง บอกว่าไม่ต้องรับผิดครับ จะไม่รับผิดเมื่อผ่านการบำบัดครบถ้วน ๓ ข้อนี้เท่านั้น ถ้าทำไปแล้ว ไม่สำเร็จ หนีไปรับโทษครับ บำบัดแล้วไม่ได้รับหนังสือรับรอง ยังอยู่ในข้อหานะครับ ข้อหาว่ามีความผิดอยู่ จนผ่านกระบวนการถึงจะไม่ต้องรับโทษ ผมใช้คำว่า ไม่ต้องรับโทษ ไม่ได้พ้นผิดนะครับ เป็นการดำเนินการในกระบวนการยุติธรรมที่ใช้การบำบัดเป็นการ ลงโทษแทน แทนที่จะเอาไปขัง นี่คือความมั่นใจทั้งหมดที่ผมอยากจะกราบเรียนผ่าน ท่านประธานไปยัง เพื่อนสมาชิกที่มีคำถามเกี่ยวกับเรื่องสถานบำบัดและวิธีการบำบัด ขอบพระคุณท่านประธาน

    อ่านในการประชุม