นายวาโย อัศวรุ่งเรือง

  • เรียนท่านประธานสภา ผู้แทนราษฎรที่เคารพครับ กระผม วาโย อัศวรุ่งเรือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชี รายชื่อ พรรคก้าวไกล กับการอภิปรายวันนี้ประชาชนให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่งครับ ผมขอ ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๑๔ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาย่อมเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทยทั้งมวลนะครับ ไม่อยู่ในความผูกมัดและอาณัติมอบหมายหรือความครอบงำใด ๆ และต้องปฏิบัติหน้าที่ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและความผาสุกของ ประชาชนโดยรวม โดยปราศจากการขัดกันแห่งผลประโยชน์ เพราะฉะนั้นวันนี้ผมจะยึด คำแนะนำของท่านครูมานิตย์ ขออนุญาตเอ่ยนามท่านเมื่อสักครู่ วันนี้เราอภิปรายกันในเชิง กฎหมายยกมาตรา วันนี้เรามีหลายร่างครับ ขออนุญาตลงรายละเอียดว่าแต่ละร่างนี้แตกต่าง กันอย่างไร ผมเชื่อว่าวันนี้เราพูดกันไปเยอะแยะมากมายแล้วเกี่ยวกับเรื่องของความเท่าเทียม ต่าง ๆ แล้วก็แกนหลักของร่างต่าง ๆ นี้ก็มีความใกล้เคียงกันที่จะเปิดโอกาสให้กับบุคคล ไม่ว่าจะเป็นเพศอะไรก็แล้วแต่สามารถที่จะสมรสกันได้ แต่ทีนี้คงจะต้องมาดูกันใน รายละเอียดของความแตกต่างกันด้วย เพราะว่าเดี๋ยวเราจะต้องลงไปพูดคุยกันต่อ ปรึกษาหารือกันต่อในชั้นกรรมาธิการด้วยนะครับ ผมศึกษามาแล้ว แล้วก็เห็นว่ามีความ แตกต่างกันในรายละเอียด ในแกนหลักนี้คือเหมือนกันเลยแต่ว่ามีความแตกต่างกัน ในรายละเอียดอยู่ประมาณสัก ๕ เรื่องหลัก ๆ ผมขออนุญาตลงรายละเอียดที่เรื่องแรก

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องแรกก็คือว่าร่างของเพื่อนสมาชิก ท่าน สส. ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ กับทางของ ครม. มีความแตกต่างกัน ที่สำคัญคือที่มาตรา ๖๘ กับมาตรา ๖๖ ของทาง ครม. คือมาตรา ๖๘ ของทางคุณธัญวัจน์แล้วก็พรรคก้าวไกล คือมาตรา ๖๖ คือเรื่องของ อำนาจรักษาการครับท่านประธาน ของทาง ครม. บอกว่าอำนาจรักษาการให้เป็นที่ นายกรัฐมนตรี ส่วนของพรรคก้าวไกลบอกว่าอำนาจรักษาการนี้ควรจะอยู่ที่รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทย ซึ่งคงจะต้องอภิปรายสนับสนุนนะครับ แล้วก็ให้ความกังวล ซึ่งควร จะต้องไปว่ากล่าวกันต่อในกรรมาธิการว่าถ้าให้ท่านนายกรัฐมนตรีมาเป็นรักษาการ ใช้อำนาจตาม พ.ร.บ. นี้ ท่านประธานเคยไป List ไหมครับว่านายกรัฐมนตรีเป็นประธาน Board กี่ร้อย Board รักษาการตามอำนาจอยู่กี่ชุด แล้วอย่างไรก็ตามนายกรัฐมนตรีเป็น ผู้บริหารสูงสุดที่จะต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบทั้งมวลอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นถ้าจะให้นายกรัฐมนตรีรักษาการทุกอย่างนี้ผมคิดว่าไม่ต้องมีรัฐมนตรีเลยก็ได้ ๓๔-๓๕ คนนี้ ของคุณธัญวัจน์ พรรคก้าวไกลเสนอว่าเป็นหน้าที่และอำนาจโดยตรง เพราะว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้ที่ใช้อำนาจ หลัก ๆ มีเรื่องอะไรครับ สำนักงานเขตบ้าง อำเภอบ้าง การทะเบียนราษฎร์บ้าง การสมรส การเกิด การตาย เพราะฉะนั้นสมควร แล้วที่จะเป็นไปตามที่ท่านธัญวัจน์ได้นำเสนอมาว่าควรจะต้องเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวง มหาดไทยเป็นผู้รักษาการตาม พ.ร.บ. นี้ เมื่อสักครู่มีเพื่อนสมาชิกของผมได้อภิปรายพูดถึง ในเรื่องของอายุ ในครั้งนี้พรรคก้าวไกลเราถือโอกาสว่าเราไม่ได้มาแก้ไขเฉพาะในเรื่องของ การสมรสเท่าเทียมอย่างเดียว แต่เรามาสังคายนาในเรื่องของการสมรสด้วย อายุเดิมที่ กฎหมายไทยเปิดให้สมรสได้คืออายุ ๑๗ ปี ท่านประธานครับ ซึ่งขัดกับหลักสากลนานา อารยะประเทศเป็นอย่างยิ่ง ในดังนั้นครั้งนี้ถ้าเราจะแก้ไขแล้วเราควรแก้ไขให้มีความก้าวหน้า มากขึ้น UNICEF นิยามคำว่า Child Marriage ก็คือการสมรสในเด็กว่าอายุต่ำกว่า ๑๘ ปี และเขาใช้คำนี้ครับ เขาใช้คำว่า Child Marriage หรือการสมรสในเด็กเป็น Human Rights Violations เลย คือเป็นการคุกคามอย่างยิ่งต่อสิทธิมนุษยชนเลยนะครับ UN ตั้งเป้าหมาย ที่จะยุติ Child Marriage หรือการสมรสในเด็กอายุต่ำกว่า ๑๘ ปีให้หมดสิ้นไปจากโลกเรา ภายในปี ๒๐๓๐ ครับ อีกไม่กี่ปีเท่านั้นท่านประธานครับ แล้วเรามีโอกาสแก้ไม่แก้หรือ พ.ร.บ. คุ้มครองเด็กก็คุ้มครองถึง ๑๘ ปี ความผิดฐานอื่น ๆ พรากผู้เยาว์ก็ ๑๘ ปี สิทธิหน้าที่ อื่น ๆ ที่เกิดขึ้น การเลือกตั้งก็ ๑๘ ปี แล้วเหตุใดเราจะไม่แก้ไขให้อายุในการแต่งงานขึ้นมา ทัดเทียมกับเรื่องอื่น ๆ ดังที่ผมว่าไปครับ

    อ่านในการประชุม

  • ประเด็นที่ ๓ เหตุหย่า พรรคก้าวไกลเรามีแก้ครับ ของทาง ครม. ไม่มีครับ ในมาตรา ๕๔ แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๕๑๖ (๖) เรื่องการกระทำการเป็นปฏิปักษ์อย่างร้ายแรง ซึ่งสามารถเป็นเหตุหย่าได้ ของเดิมนี้จะต้องปฏิบัติอย่างร้ายแรงเท่านั้น ปฏิปักษ์เฉย ๆ นี้ เป็นเหตุหย่าไม่ได้ ท่านประธานครับ ขออนุญาต ๆ ยกประเด็นเรื่อง Battered Wife Syndrome นะครับ คือภรรยาที่ถูกกระทำแบบ Persistent มาเรื่อย ๆ ถึงแม้จะไม่ร้ายแรง แต่มี Persistent มีการกระทำเรื่อย ๆ เกิดเหตุน่าสลดขึ้นนะครับ เราแก้ไขได้แล้วครับ เราแก้ไขเลย

    อ่านในการประชุม

  • ๒ ประเด็นสุดท้ายท่านประธานครับ เรื่อง ๓๑๐ วัน ที่ว่าเด็กที่เกิดจากหญิงนี้ จะเป็นลูกใคร ของ ครม. มีแก้ พรรคก้าวไกลไม่ได้แก้ ของ ครม. แก้สามีภรรยามาเป็น คู่สมรส แต่ของพรรคก้าวไกลเราไม่ได้แก้ เพราะเห็นว่ามันไม่มีความจำเป็นครับ เพราะเรื่องนี้นี่คือ เรื่องเด็กที่เกิดจากหญิงและสมรสใหม่กับชายใหม่ เพราะฉะนั้นเป็นเรื่องของชายหญิงโดยแท้ ไม่ได้มีความจำเป็นต้องแก้ครับ อะไรที่ทำแล้วไม่มีประโยชน์ ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่ต้องทำครับ

    อ่านในการประชุม

  • สุดท้ายในเรื่องของบทเฉพาะกาล เมื่อสักครู่ก็มีเพื่อนสมาชิกได้พูดถึง คือมาตรา ๖๖ ของพรรคก้าวไกลคือมาตรา ๖๕ ของเรานี้เราเขียนแก้ไข เราเพิ่มเติมเป็น มาตรา ๑๕๙๘/๔๒ เลย ว่าให้คู่สมรสที่จดทะเบียนโดยชอบตามประมวลกฎหมายนี้มีสิทธิ หน้าที่ระหว่างคู่สมรสด้วยกันตามกฎหมาย และกฎกระทรวง และระเบียบใด ๆ ที่บัญญัติ ให้สิทธิหน้าที่แก่สามีภรรยา ขีดเส้นใต้นะครับ หรือสามี หรือภรรยา หรือคู่สมรส แล้วแต่ กรณี เป็นการเขียนครอบคลุมเอาไว้แล้วเพื่อปิดจุดอ่อนเมื่อสักครู่นี้ และจุดอื่น ๆ ที่อาจจะมีตามกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นครับ แต่ของ ครม. มาบอกว่าประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. นี้ไม่ใช้บังคับแก่กรณีที่มีกฎหมายกำหนดเรื่อง ครอบครัวหรือมรดกไว้เป็นการเฉพาะ ตอนแรกก็อ่านเหมือนจะเข้าใจ แต่อ่านไปอ่านมา ก็ดูไม่ค่อยเข้าใจ ด้วยความเคารพครับ มาตรานี้ยังไม่ค่อยรัดกุมครับ และมีเหตุผลอยู่ใน ท้ายตารางให้เราด้วยว่าจริง ๆ แล้วเจตนารมณ์ของการเขียนมาตรานี้เอาไว้ใช้ในกรณี ๔ จังหวัดที่ภาคใต้นะครับ อย่างไรก็ตามครับท่านประธานครับ หมดเวลาแล้ว ผมเห็นว่าวันนี้ ทุกท่านทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล ส่วนใหญ่เห็นตรงกัน ผมเชื่อว่าเราจะผ่านร่างกฎหมายนี้ ไปด้วยกันนะครับ เข้าสู่วาระที่ ๒ ตั้งกรรมาธิการแล้วก็ทำให้ประเทศไทยเกิดความเท่าเทียมกัน การเปิดสิทธิไม่ใช่การรอนสิทธิใครครับ ขอบคุณครับท่านประธาน

    อ่านในการประชุม