นายเสน่ห์ สายวงศ์

  • กราบเรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ กระผม นายเสน่ห์ สายวงศ์ วิศวกรผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สำนักงาน กสทช. ขออนุญาตใช้เวลาของสภาอันทรงเกียรติแห่งนี้ชี้แจงในประเด็นที่เกี่ยวกับกิจการ ดาวเทียม ซึ่งท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติได้มีข้อสังเกตเกี่ยวกับการคัดเลือกผู้รับอนุญาต ในการให้ใช้สิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมในลักษณะจัดชุด ซึ่ง กสทช. ได้จัดให้มี การคัดเลือกในลักษณะประมูล เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคมที่ผ่านมา ก็ขออนุญาตเรียนอย่างนี้ว่า แต่เดิมทาง กสทช. ชุดเดิมได้มีหลักเกณฑ์ แล้วก็มีผู้ประสงค์เข้าร่วมการคัดเลือกเพียง ๑ ราย การประมูลครั้งดังกล่าวจึงยกเลิกไป แล้วก็ได้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์ ซึ่งหลักเกณฑ์ที่มี เงื่อนไขสำคัญก็คือว่ามีการกำหนดให้จัดส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรภายในระยะเวลาที่กำหนด แล้วก็กำหนดให้มีช่องสัญญาณสำหรับบริการสาธารณะและประโยชน์ของรัฐโดยไม่คิด ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม นอกจากนั้นซึ่งเป็นสิ่งสำคัญก็คือให้มีแผนคุ้มครองผู้ใช้บริการกรณีที่ คุ้มครองผู้ใช้บริการของดาวเทียมไทยคม ๔ ซึ่งกำลังจะหมดอายุที่ประสงค์จะใช้บริการ ต่อไปนี้ในช่วง Transition ไปยังดาวเทียมดวงใหม่ไม่ให้มีผลกระทบแล้วก็ใช้งานได้อย่าง ต่อเนื่อง ซึ่งจากผลการประมูลอาจจะมีความคลาดเคลื่อน ผลการประมูล ๕ ชุด ชุดที่ ๑ และชุดที่ ๕ ไม่มีผู้ยื่นความต้องการ แล้วก็ชุดที่ ๒ และชุดที่ ๓ บริษัท สเปซ เทค อินโนเวชั่น จำกัด ได้ยื่นประมูลในราคาสุดท้ายที่ ๓๘๐ ล้านบาท และ ๔๑๗ ล้านบาท ตามลำดับ ส่วนในชุดที่ ๔ นั้น บริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) ได้มีราคาสุดท้ายในราคา ๙ ล้านบาท อันนี้เหตุผลที่ราคาน้อยก็เนื่องจากว่าเป็นจุดขายงานดาวเทียมที่ยังประสานงาน ไม่เสร็จสิ้น และยังไม่สามารถส่งดาวเทียมขึ้นใช้งานจริงได้ในเวลาอันรวดเร็ว สรุปก็คือว่า เราได้มีการนำที่ได้จากการประมูลนำส่งรัฐทั้งหมดก็คือในราคา ๘๐๖ ล้านบาท ซึ่งทาง กสทช. มุ่งหวังว่าจะเปลี่ยนจากระบบสัมปทานเดิม ซึ่งมีผู้รับอนุญาตเพียง ๑ ราย ไปสู่ระบบ การอนุญาตที่สามารถสร้างการแข่งขันได้เพิ่มขึ้นในอนาคต แล้วก็ประเทศไทยสามารถรักษา สิทธิวงโคจรดาวเทียมไว้ได้ ในชั้นนี้ก็คือจะมีอีก ๒ ชุด ก็คือที่ยังไม่มีผู้ยื่นความต้องการ กสทช. อยู่ระหว่างการแก้ไขปรับปรุงหลักเกณฑ์ แล้วก็ให้สร้างเพิ่มขึ้น แล้วก็คาดหวังว่า จะสามารถจัดให้มีการคัดเลือกภายในสิ้นปี ๒๕๖๖ นี้ ก็ขออนุญาตใช้เวลาเท่านี้ครับ ขอบพระคุณครับ

    อ่านในการประชุม