ขอบคุณท่านประธานครับ ผม วราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ขอบคุณท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จากพรรคก้าวไกล ท่านณัฐวุฒิ บัวประทุม ที่ได้ยกประเด็นที่เรียกว่ากระทบกับ ทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญของประเทศไทย ซึ่งนับวันก็จะมีน้อยลงเพราะว่าอัตราเด็กเกิดใหม่ นับวันก็จะน้อยลง ๆ ปีนี้มีแค่ ๔๐๐,๐๐๐ กว่ารายเท่านั้นเอง ทำให้ประเทศไทยวันนี้ มีแรงงาน แล้วก็กลายเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์แบบไปแล้ว ต้องเรียนว่าปัญหา ที่ท่านณัฐวุฒิได้กล่าวมา ทราบดีว่าท่านณัฐวุฒินั้นทำเกี่ยวกับประเด็นเรื่องเด็กและปัญหา ของเรื่องเยาวชนมาเนิ่นนานพอสมควร ซึ่งก็คงทราบว่าทางกระทรวงนั้นเรารับทราบ ถึงปัญหาที่มีขึ้นในขณะนี้ แล้วก็มีการดำเนินการมาตรการในหลาย ๆ ส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในส่วนของกรมกิจการเด็กและเยาวชน เป็นหน่วยงานเชิงนโยบายและผมได้กำชับให้ทำงาน ในเชิงรุก ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานในสังกัดใดไปดูการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการจ้างวาน หรือว่าจะเป็นการบังคับก็แล้วแต่ ซึ่งตามที่ท่านสมาชิกได้กล่าวไปเมื่อสักครู่ว่ามีกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับการค้าขายบนพื้นที่การจราจรอยู่ ๒ อันด้วยกัน กฎหมายแรกจะเป็นเกี่ยวกับ พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก ปี ๒๕๔๖ และกฎหมายฉบับที่ ๒ ก็จะเกี่ยวกับพระราชบัญญัติ การจราจรทางบก ปี ๒๕๒๒ ซึ่งแน่นอนการซื้อขาย การทำกิจกรรมใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรี่ยไร แจกจ่าย หรืออะไรก็แล้วแต่บนเส้นทางการเดินรถล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ทำไม่ได้ โดยเรียกว่า กีดขวางการจราจรจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุ แล้วก็โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นภัยกับเยาวชน หรือเด็กนั้นห้ามทำโดยเด็ดขาด ในส่วนของ พ.ร.บ. คุ้มครองเด็ก ปี ๒๕๔๖ นั้นก็มีหลายมาตรา ไม่ว่าจะเป็นมาตรา ๒๖ ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองแรงงานเด็กไม่ว่าจะเป็นใน (๕) พูดถึงเกี่ยวกับการบังคับขู่เข็ญ แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ (๖) แทนที่จะเป็นบังคับ จะเป็นการใช้ จ้าง หรือวานเด็กจะให้ได้มาซึ่งค่าตอบแทนหรือไม่ก็แล้วแต่ รวมไปถึงมาตรา ๗๘ ที่พูดถึงการระวางโทษจำคุก นอกจากนั้นเองในมาตรา ๒๙ ได้พูดถึงว่าการที่จะมีผู้ใดพบเห็น เด็กที่ตกอยู่ในสภาพที่จำเป็นที่จะต้องได้รับการสงเคราะห์หรือคุ้มครองนั้นควรที่จะต้องมาแจ้ง ไม่ว่าจะผ่านทางช่องทางของ ๑๓๐๐ Hotline ของกระทรวง พม. หรือว่า Application คุ้มครองเด็ก เพื่อที่พนักงานนั้นจะสามารถเข้าไปช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็นสหวิชาชีพ หรือว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้เข้าไปบริหารจัดการได้โดยเร็ว ซึ่งในระยะสั้นเมื่อสักครู่ อย่างที่ท่านสมาชิกได้กล่าวมากรณีเรื่องขายนมเปรี้ยวบริเวณถนนหรือสี่แยกจราจรนั้น เรียนว่าต้องขอบคุณท่านสมาชิกนะครับ เพราะพอผมรู้ว่ามีกระทู้ถามนี้เข้ามา ด้วยความที่ผมเอง เพิ่งได้เข้ามาทำงานนั้นก็ได้กำชับไปดูที่จังหวัดสุพรรณบุรี ก็ต้องขอขอบคุณท่านสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรในพื้นที่ท่านสรชัด สุจิตต์ จากพรรคชาติไทยพัฒนา ที่ได้เร่งประสานงาน กับทาง พมจ. แล้วเข้าไปแก้ปัญหา ต้องขอบคุณท่านสมาชิกจริง ๆ ท่านณัฐวุฒิที่ถามขึ้นมา เพราะว่าทำให้ผมนั้นสามารถกลับไปดูที่บ้านตัวเองได้เช่นกันนะครับ ในระยะสั้นในพื้นที่อื่น ท่านประธานครับ ทางกรมกรมกิจการเด็กและเยาวชนก็ได้มีการประสานงานกับทุก ๆ หน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นบริษัทที่เกี่ยวข้อง บริษัทนมเปรี้ยว ๒-๓ บริษัทได้เชิญเข้ามาพูดคุย ถึงปัญหาที่เกิดขึ้น บางบริษัทนั้นบอกว่าไม่จำเป็นที่จะต้องประชุมเพราะว่าบริษัทนั้น มีแนวทางการกระจายขายโดยที่ไม่ใช่เด็กอยู่แล้ว ซึ่งเป็นบริษัทที่เก่าแก่คู่กับประเทศไทยมา อันนั้นเราก็เข้าใจได้ โดยที่ผ่านมานั้นทางกระทรวงได้มีการจัดหาพื้นที่ให้กับเด็กและเยาวชน เรียกว่าหารายได้เป็นการขายนั้น ได้ไปประมาณ ๓๓ จังหวัด ๑๒๗ แห่ง เมื่อปีที่แล้ว เมื่อวันอังคารที่ ๘ พฤศจิกายนก็ได้มีผู้แทนของบริษัทนมเปรี้ยวรายใหญ่ได้เข้ามารายงาน ถึงความคืบหน้า แล้วก็ได้มีการทำหนังสือขอความร่วมมือไปยังตัวแทนการขาย ของบริษัทตนเอง แล้วก็ขอให้ย้ำว่าขอให้ยกเลิกการใช้เด็กและเยาวชนนั้นเป็นช่องทาง ในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ซึ่งอันนี้ก็จะเขียนอยู่ในเงื่อนไขเลยว่าถ้าหากฝ่าฝืนแล้วบริษัท ทาง Headquarter ได้พบเห็นนั้นก็จะมีมาตรการลงโทษในการลดปริมาณสินค้า หรืออาจจะ ยกเลิกการเป็นตัวแทนการขายของผู้ที่ฝ่าฝืนในแต่ละจังหวัด ซึ่งนอกจากนั้นเองทางเจ้าหน้าที่ แล้วก็เครือข่ายของภาครัฐ ทาง พมจ. ทางสหวิชาชีพ รวมถึงภาคเอกชน แล้วก็ภาคประชาสังคมนั้น ได้เข้าไปร่วมกันคอย Monitor แล้วก็รณรงค์สร้างความเข้าใจกับผู้ปกครอง แล้วก็ให้รู้ เรื่องกฎหมายว่าการที่จะใช้เด็กใช้เยาวชนหาประโยชน์ต่าง ๆ เหล่านั้นมันมีกฎหมายคุ้มครองอยู่ ทำได้หรือไม่ได้อย่างไรเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เด็กถูกบังคับใช้แรงงานหรือว่าถูกแสวงหา ประโยชน์โดยมิชอบทุกรูปแบบนะครับ ซึ่งทางตำรวจแล้วก็ฝ่ายปกครองถ้าท่านใดพบเห็น เด็กหรือเยาวชนที่มีพฤติการณ์หรือว่าไปขายสินค้าที่มีกฎหมายเหล่านั้นก็ขอให้แจ้งต่อ เจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจ ซึ่งจริง ๆ แล้วในส่วนของกระทรวง พม. เองนั้นเราทำหน้าที่ คอย Monitor แต่การบังคับใช้กฎหมายผมเชื่อว่าท่าน สส. สมาชิกทราบดีว่าต้องทำงาน ร่วมกับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งอันนี้ก็มีกฎหมายที่บังคับไว้อีกเช่นกันว่าจะต้อง แจ้งต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ หรือผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กตามมาตรา ๒๔
ส่วนในระยะยาว เราเสนอให้มีการปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก โดยปรับให้มีเงื่อนไขให้เหมาะสมตามสถานการณ์ปัจจุบันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการว่าจ้างเด็กนั้น แม้แต่จะเป็นพ่อแม่ก็ไม่ควร หรือแม้แต่จะต้องมีการหาประโยชน์ใด ๆ จากเด็กนั้น พ่อแม่เองจะต้องมีส่วนรับผิดชอบด้วยในการเฝ้าดูแล้วก็กำหนดกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ให้สังคม ในชุมชนนั้นมีส่วนร่วมเข้ามาพิจารณาด้วยเช่นกัน เพราะว่าท้ายที่สุดแล้วจำนวนเด็ก ในประเทศไทยนั้นมีปริมาณน้อยลงทุกวัน ๆ เป็นสิ่งที่หายากมากขึ้น ท่านสมาชิกทราบดีอยู่แล้วว่า จำนวนเด็กเรามีอยู่น้อย ดังนั้นแรงงานจากนี้ไปมันก็จะน้อยลง ๆ นะครับ ก็เป็นหนึ่ง ในสิ่งที่ทาง กระทรวง พม. เองเราเร่งจะสร้างความเข้มแข็งในสถาบันครอบครัวเพื่อที่จะได้ เพิ่มปริมาณเด็กเกิดใหม่ในสังคมไทย ในส่วนของคำถามข้อ ๑ หวังว่าจะสามารถตอบคำถาม ข้อสังเกตของท่านสมาชิกได้ครับ ท่านประธานครับ ขอบคุณครับ
ขอบคุณท่านประธานครับ ต้องขอบคุณท่านสมาชิก ท่านให้ความสำคัญกับเรื่องเด็กจริง แล้วก็มีความรู้จริงเกี่ยวกับเรื่องประเด็นเรื่องเด็ก
ต้องเรียนว่าในส่วนของกระทรวง พม. ในระยะสั้นสิ่งที่เราวางแผนไว้แน่นอน ท่านสมาชิกทราบอยู่แล้วครับท่านประธาน ไม่ว่าจะเป็นศูนย์คุ้มครองเด็กระดับตำบล เรามี Plan ที่จะจัดตั้งศูนย์นี้เพื่อคัดกรองเด็กที่ประสบปัญหา มีการช่วยเหลือเด็กผ่านระบบ สารสนเทศที่ท่านสมาชิกกล่าวเมื่อสักครู่ เรื่อง Child Protection Information System ซึ่งปัจจุบันได้รับรายงานว่ามีศูนย์นี้อยู่ประมาณ ๕,๐๐๐ กว่าแห่ง อยู่ใน ๗๖ จังหวัด ที่ผ่านมาได้มีการคัดกรองเด็กกลุ่มเสี่ยงไปตั้งแต่ปี ๒๕๖๑-๒๕๖๖ คัดกรองไปแล้วเกือบ ๒๖๐,๐๐๐ ราย แล้วก็ในปีงบประมาณ ๒๕๖๘ นั้น จะมีการจัดตั้งศูนย์ให้ครบประมาณเกือบ ๗,๘๐๐ แห่ง ซึ่งต้องเรียนว่าศูนย์เหล่านี้ที่มีทั่วประเทศถ้าหากว่าทำงานแล้วประสิทธิภาพดีหรือไม่ดี อย่างไร ผมเชื่อว่าท่านสมาชิกจะมีเครือข่ายแล้วก็ช่วยกันจับตามองถ้าไม่ดีผมจะรีบกลับมา ปรับปรุง ถ้าดีอยากจะให้ทำงานอะไรเพิ่มเราก็ยินดีที่จะนำมาแก้ไข
ในส่วนที่ ๒ เราจะจัดให้มีสวัสดิการสำหรับเด็กและเยาวชน ครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเงินสงเคราะห์สำหรับเด็กที่อยู่ในครอบครัวยากจน รวมถึงเงินอุดหนุน ช่วยเหลือค่าเลี้ยงดูสำหรับครอบครัวอุปถัมภ์ที่รับเด็กเลี้ยงดูเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ให้กับหัวหน้าครอบครัว รวมถึงการจัดหาครอบครัวอุปถัมภ์หรือครอบครัวบุญธรรม ที่เหมาะสม แล้วก็จัดบริการสวัสดิการให้กับเด็กในสถานรองรับเด็ก ยกตัวอย่างเช่น ค่าอาหาร ที่เมื่อสักครู่ที่ท่านสมาชิกได้กล่าวถึง ตอนที่เข้ามารับตำแหน่งได้เห็นค่าอาหาร ต่อวัน ก็ค่อนข้างตกใจ ก็ได้มีการตั้งข้อสังเกตขอให้ท่านอธิบดีตั้งข้อสังเกตไปภายใน ปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ซึ่งขณะนี้เดี๋ยววันอังคารก็จะให้ข่าวอีกครั้งหนึ่ง ทราบมาว่าในเบื้องต้น ตอนนี้ได้รับค่าอาหารเพิ่มขึ้นหัวละประมาณ ๓-๔ บาทต่อคนแล้วในระยะสั้น ส่วนในระยะยาว ผมกำลังให้ทางกระทรวงนั้นตั้งคณะกรรมการขึ้นมาศึกษาครับ เพราะว่าการจะของบประมาณ เพิ่มอาหารให้กับเด็กนั้นคงจะต้องมีผลการศึกษาว่าเด็กอายุ ๐-๖ ขวบ ต้องทานอาหาร ลักษณะใด ปริมาณเท่าไร มีสารอาหารเท่าไร ๖-๑๒ ปี พอมาเป็นเด็กโตหรือว่า ๑๒-๑๘ ปีนั้น ปริมาณต้องเพิ่มขึ้น สารอาหารควรจะเป็นอย่างไร เมื่อมีผลการศึกษาเหล่านั้นแล้ว ทางกระทรวงก็จะทำเอกสารขอไปยังทางสำนักงบประมาณ เพื่อของบประมาณเกี่ยวกับ เรื่องค่าอาหารให้กับเด็กที่อยู่ในการดูแลของกระทรวง พม. ไม่ว่าจะเป็นเรื่องนม และสารอาหารต่าง ๆ ซึ่งต้องเรียนว่าปัจจุบันนั้นเรามีสถานรับรองเด็กอยู่ประมาณ ๑๐๘ แห่ง ทั่วประเทศ เราก็จะเร่งพัฒนาคุณภาพศูนย์ดูแลเด็กและครอบครัวเหล่านี้
ส่วนตัวอย่างการทำงานเชิงรุกที่เป็นรูปธรรมในการแก้ไขปัญหานั้น ต้องเรียนว่า ยกตัวอย่างเช่นที่มหากาพย์เลย ที่ชุมชนโค้งรถไฟซึ่งท่านสมาชิกทราบดี ผมเองต้องเรียนตรง ๆ ว่า ไม่เคยทราบเรื่องนี้ เมื่อวานนี้ได้ไปเห็นครั้งแรกก็ได้เห็นถึงปัญหาหลายอย่าง แล้วก็ดีใจครับ ที่หลายหน่วยงานเข้ามาบูรณาการทำงานร่วมกัน ทราบมาว่าตั้งแต่วันที่ ๘ กันยายนปีที่แล้ว ปี ๒๕๖๕ ได้มีการจัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจเป็นการจัดการป้องกัน แล้วก็ไปดูในชุมชน แล้วก็เห็นว่ามันมี Case ที่ต้องอยู่ในเกณฑ์สุ่มเสี่ยงอยู่ประมาณ ๑๒ ครอบครัวด้วยกัน พอถัดจากนั้นมาเดือนพฤศจิกายนก็ได้มีการจัดตั้ง Case Manager หรือว่าผู้จัดการรายกรณี เพื่อเข้าไปทำความรู้จักแล้วก็ไปหาวิธีแก้ไขให้กับทั้ง ๑๒ ครอบครัวนี้ เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ก็ได้มีการจัดประชุมทั้ง Case Manager อีกเมื่อเดือนมกราคม แล้วก็ติดตามผลการแก้ไข การลงพื้นที่พูดคุยแล้วมีแนวทางอย่างไรบ้าง ซึ่งพอมาถึงในเดือนกุมภาพันธ์เรามีการเปิด ศูนย์ช่วยเหลือสังคม ชุมชนโค้งรถไฟยมราช มีการทำ One Stop Service ให้กับหลาย ๆ หน่วยงาน ซึ่งพอมาถึงเดือนมีนาคมทางกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการร่วมกับทาง กรมกิจการผู้สูงอายุก็ได้มีการลงพื้นที่สำรวจครัวเรือนอีกประมาณ ๑๑๔ ครัวเรือน มีทะเบียนบ้านอยู่ประมาณแค่ไม่ถึงครึ่ง ๕๒ ครัวเรือนเท่านั้นเอง แล้วก็ไม่มีทะเบียนบ้านอีก ๖๐ กว่าครัวเรือน แล้วก็พบว่าในชุมชนนั้นปัญหาหนี้ล้านแปดจริง ๆ ครับท่านประธาน ไม่ว่าจะเป็นหนี้สิน รายได้ไม่พอ ที่อยู่ไม่มั่นคง ทุนการศึกษา พ่อแม่ไม่สามารถเลี้ยงดูลูกได้ การจ้างงาน พ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว สุรา ยาเสพติดต่าง ๆ ปัญหาเยอะจริง ๆ จากนั้นมาเราก็มี การบูรณาการกับหน่วยงานหลาย ๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งทางกรุงเทพมหานครเอง ซึ่งเมื่ออาทิตย์ที่แล้วทางท่านผู้ว่าชัชชาติก็ได้ให้เกียรติมาพบปะกับพวกเราที่กระทรวง พม. และตอนนี้ก็ได้มีการตั้งคณะทำงานร่วมกันระหว่างกระทรวง พม. และกรุงเทพมหานคร เพื่อแก้ไขปัญหาหลาย ๆ อย่างตามที่ได้กล่าวมานะครับ
ส่วนในระยะยาว ทางกระทรวง พม. นั้น เราเสนอให้มีการกำหนดมาตรการ กลไกการทำงานด้านเด็กและเยาวชนทั้งในระดับชาติ แล้วก็ระดับจังหวัด ไม่ว่าจะเป็น คณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ คณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัด แต่ว่าโดยส่วนตัวแล้ว ต้องเรียนว่าพอคณะกรรมการเยอะ ๆ บางครั้งงานมันก็ไม่ค่อยเดิน ส่วนตัวผม ผมเป็นนักปฏิบัติ แล้วก็ดีใจที่มีท่านสมาชิกที่มีความตื่นตัวเช่นนี้ แล้วก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเราจะสามารถ ประสานงาน ทำงานด้วยกันเพื่อประโยชน์ของเยาวชนของไทยในอนาคต รวมถึงการยกร่าง แผนปฏิบัติการด้านการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ ปี ๒๕๖๖-๒๕๗๐ ไม่ว่าจะเป็นสาระ เรื่องการทำให้ครอบครัวมีความเข้มแข็งมากขึ้น สามารถดูแลสวัสดิภาพของเด็ก รวมไปถึง ข้อที่ท้าทายที่จะส่งผลกระทบต่อการเลี้ยงดูเด็กได้ เพราะว่าทางกระทรวง พม. เราเชื่อครับว่า ถ้าหากสถาบันครอบครัวมีความเข้มแข็ง เด็กและเยาวชนจะเติบโตขึ้นมาเป็นทรัพยากร ที่สำคัญของสังคมไทย แล้วก็จะไม่เกิดเหตุสลดอย่างที่เราเห็นในหลาย ๆ ครั้งที่เกิดขึ้นมา ในอดีตที่ผ่านมา
ประเด็นต่อมา เกี่ยวกับเรื่องแผนปฏิบัติการ เราจะให้เด็กและครอบครัว และชุมชนนั้นมีส่วนร่วมในการที่คุ้มครองเด็ก มีบทบาทในการเป็นผู้นำกับการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น ในกระทรวง พม. เอง ผมได้ขอให้ทุกหน่วยงานจัดกิจกรรมเพื่อให้ครอบครัวนั้น มีปฏิสัมพันธ์ พ่อแม่ลูกมีกิจกรรมทำด้วยกันให้มากขึ้น รวมถึงในส่วนของด้านที่ ๓ ระบบคุ้มครองเด็กให้มีความพร้อมในการทำงานเชิงรุก แล้วก็ป้องกันและมีกลไกตอบสนอง อย่างรวดเร็ว ซึ่งในขณะนี้เองทางกระทรวง พม. ผมเองได้มีการจัดตั้งเขาเรียกว่า ศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน หรือว่าเรียกอักษรย่อว่า ศรส. จะเป็นศูนย์ที่รับเรื่อง หลาย ๆ เรื่อง โดยที่ ๑๓๐๐ Hotline ของกระทรวง พม. นั้นจะเป็น Subset หรือส่วนหนึ่ง ของศูนย์นี้ จะรับทุกเรื่องไม่ว่าจะเป็นเรื่องผู้สูงอายุ เรื่องเด็ก เรื่องคนพิการ แล้วก็ จะเร่งทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ถึงแม้ว่าจะมีการเรียกว่าทำงานกันอย่างรวดเร็ว แต่ว่าปัญหาต่าง ๆ นั้น ต้องเรียนว่าอย่างเมื่อวานที่ผมได้มีโอกาสไปที่ชุมชนโค้งรถไฟยมราช เห็นเลยว่าไม่ว่าจะเป็นกระทรวง พม. ไม่ว่าจะเป็นกรุงเทพมหานคร หน่วยงานของทหาร ทางกระทรวงศึกษาธิการ กศน. นั้น ต้องมาบูรณาการทำงานร่วมกัน เพราะถ้าหากว่า ทำกระทรวง พม. กระทรวงเดียวคงจะไม่สามารถทำได้ ยังมีอีกหลายประเด็น อย่างที่ท่านสมาชิกได้กล่าวเมื่อสักครู่ปัญหาการค้ามนุษย์ ซึ่งบ่ายนี้ท่านทูตการค้ามนุษย์ ก็จะมาพบกับผมเองเช่นกัน การใช้แรงงานเด็กอย่างไม่เป็นธรรม ต่าง ๆ เหล่านี้ ท่านประธานครับ ท่านสมาชิก ท่านณัฐวุฒินั้นมีความรู้แล้วก็มีประสบการณ์อย่างมากมาย จากการที่ทำงานมา หวังเป็นอย่างยิ่งว่าร่าง พ.ร.บ. ใหม่ที่เรากำลังคุยกันอยู่นี้อยากจะได้ ข้อเสนอแนะจากท่านณัฐวุฒิด้วยเช่นกัน เพราะว่าเวลาเด็ก ๆ เขาเติบโตขึ้นมา เขาไม่รู้จักว่า ฝ่ายค้านหรือฝ่ายรัฐบาล เขารู้จักแค่ว่ามีผู้ใหญ่จะมาดูแลเขาหรือไม่ ดังนั้นวันนี้ผมคิดว่า เป็นนิมิตหมายที่ดี ถ้าหากว่าเราจะได้รับคำเสนอแนะ ข้อเสนอแนะจากท่านณัฐวุฒิ เพื่อที่จะให้ พ.ร.บ. นี้สมบูรณ์ที่สุด แล้วก็เร่งเสนอกับสภาในสมัยประชุมหน้า ขอบคุณครับ