รองศาสตราจารย์สุรวาท ทองบุ

  • เรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ ผม สุรวาท ทองบุ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ผมขออภิปรายสนับสนุนให้มีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญในเรื่องนี้นะครับ จากที่รับฟังเพื่อนสมาชิกทุกท่านก็เห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก เด็กกลุ่มนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการศึกษา และเด็กกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่จะมีความรัก ความผูกพัน และจะอยู่กับประเทศไทยนี้ไปนานอย่างแน่นอน โอกาสที่จะกลับนี้ยากมาก เรื่องนี้มันมี ความซับซ้อนมาก มันเกี่ยวข้องหลายหน่วยงาน เราจะต้องศึกษาทั้งที่มาของเด็กเหล่านี้ กับการคงอยู่ การได้รับบริการสาธารณะต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสาธารณสุขหรือการศึกษา หรือเรื่องอื่น ๆ แล้วตรงนี้เราควรที่จะต้องศึกษาผลกระทบในทางบวก หลาย ๆ ท่าน อภิปรายไปมาก แต่เราก็ยังไม่ได้พูดถึงเรื่องของทางลบ เรายังไม่ได้พูดถึงเรื่องภาระของรัฐ ที่จะต้องรับผิดชอบ ผมไม่ได้หมายความว่ารัฐไทยไม่ควรไปรับภาระนะครับ หมายความว่า เราจะเตรียมการอย่างไรกับเรื่องนี้ ผู้เรียนเหล่านี้เมื่อเขาเข้ามาเรียน เขาจะไปต่ออย่างไร ก็เป็นเรื่องที่จะต้องเกี่ยวข้องกับหลายกระทรวง การจัดการศึกษาก็จัดโดยหลายกระทรวง ในวันนี้ แม้แต่ตำรวจ หรือกระทรวงมหาดไทย หรือกระทรวงศึกษาธิการ หรือแม้แต่เอกชน ซึ่งต้องมีรายละเอียดเฉพาะเจาะจง และมีหลายเรื่องที่เราควรจะดูในเรื่องของภาระ งบประมาณ เรื่องการบริหารจัดการ วันนี้มีหลักเกณฑ์มีอะไรหลาย ๆ อย่าง ประกอบกับ ประเทศไทยมีผู้เกิดน้อย และปัญหาคือประเทศเพื่อนบ้านทั้งหลายมีความต้องการเข้ามาใน ประเทศไทยมากขึ้น ๆ ทุกวัน ในขณะที่โรงเรียนถ้าจะรับผู้เรียนเฉพาะที่เป็นนักเรียนคนไทย หลายโรงเรียนอาจจะอยู่ไม่ได้ แต่ว่าก็มีมิติที่เราจะมองว่าด้วยเหตุนี้จะเป็นเหตุจูงใจ ให้มีการนำพา ให้มีการจัดหาที่พักนำไปสู่การแสวงหาผลประโยชน์ ผมคิดว่าคณะกรรมาธิการ ที่เราจะตั้งขึ้นจะต้องศึกษาเรื่องเหล่านี้ด้วย แม้แต่เรื่องของเด็กเหล่านี้มาเติบโตในประเทศไทย พอหรือไม่ในการที่จะเล่าเรียนเพียงเท่าการศึกษาขั้นพื้นฐาน ถ้าเขาอยู่อย่างนั้นจะเป็นภาระ กับประเทศไหม ถ้าเขาไม่ได้เรียนก็จะเป็นผลกระทบในทางลบ เป็นพลเมืองที่ไม่มีสัญชาติ แต่ต้องดำรงอยู่ที่นี่ก็จะทำให้เป็นปัญหาต่อมา อันนี้ผมจึงสนับสนุนว่าเราไม่ควรนำเรื่องนี้ เข้าไปพิจารณาเพียงคณะกรรมาธิการสามัญ ผมเรียนว่าปัญหาการศึกษาของประเทศมันมาก จริง ๆ เยอะจริง ๆ จับตรงไหนเป็นปัญหาตรงนั้น ถ้าเอาเรื่องนี้เข้าไปอยู่ในคณะกรรมาธิการ การศึกษาที่เป็นคณะกรรมาธิการสามัญคงไม่ต้องพิจารณาเรื่องอื่น เพราะเรื่องนี้ มีความสำคัญแล้วก็ซับซ้อน และมีหลายมิติ หลายประเด็นที่จะต้องพิจารณา เพราะฉะนั้น ผมจึงขอสนับสนุน แล้วก็เรียนเพื่อนสมาชิกทุกพรรคว่าขอได้โปรดสนับสนุนให้มีการตั้ง คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเรื่องนี้อย่างจริงจังเสียที แล้วก็ครอบคลุมทุกมิติของปัญหา เรื่องนี้ ขอบพระคุณมากครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ ผม รองศาสตราจารย์สุรวาท ทองบุ ผู้แทนราษฎรบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ขอปรึกษาหารือท่านประธานผ่านไปยังนายกรัฐมนตรีให้ได้เร่งรัดให้มี การประชุมคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา นับตั้งแต่รัฐบาลนี้ก่อตั้งมา เริ่มบริหารประเทศมาถึง ๖ เดือน ยังไม่มีการประชุมคณะกรรมการนี้ ชื่อย่อว่า ก.พ.อ. ท่านประธานครับ จากสาเหตุจากที่ไม่มีการประชุมทำให้มีปัญหาความล่าช้าอยู่ ๓ เรื่อง และมีเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งที่เรื้อรังมาหลายรัฐบาล

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๑ คือเรื่องการที่อาจารย์ได้รับอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยให้มีผลงาน วิชาการในระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ ศาสตราจารย์ เหล่านั้น ร่วม ๕-๖-๗ ปีก็มี ยังไม่ได้รับเงินค่าตอบแทนตำแหน่งทางวิชาการ เนื่องจากว่า ก.พ.อ. ไม่มี การประชุม มาล่าช้าอีก ๖-๗ เดือนผ่านมา

    อ่านในการประชุม

  • แล้วก็มีอีกประเด็นหนึ่งคือเรื่องของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยที่เป็นส่วน ราชการที่เป็นพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา ไม่มีกฎหมายเป็นของตัวเอง จึงขอให้ ก.พ.อ. ได้ พิจารณาและให้การสนับสนุนเรื่องนี้

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๓ ที่มีความสำคัญมาก คือเรื่องเยียวยาเงินเดือนให้กับข้าราชการ ในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งได้มีความเหลื่อมล้ำมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๔ ถึง ๘ เปอร์เซ็นต์ เหลื่อมล้ำ จากข้าราชการครูที่ได้ขึ้นเงินเดือน ๘ เปอร์เซ็นต์ และวันนี้ข้าราชการครูจะขึ้นแล้ว วันที่ ๑ พฤษภาคมนี้อีก ๑๐ เปอร์เซ็นต์ วันที่ ๑ ตุลาคมอีก ๑๐ เปอร์เซ็นต์ เพราะฉะนั้นจึง ขออนุญาตท่านประธานผ่านไปยังท่านนายกรัฐมนตรีได้ช่วยเร่งรัดกระทรวง อว. ให้มีการ พิจารณาทั้ง ๓ เรื่องด้วยครับ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธาน ที่เคารพ ผม สุรวาท ทองบุ สมาชิกผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ขอหารือ ท่านประธานไปยังรัฐบาล ท่านประธานครับ เมื่อวานนี้มีการประชุมคณะรัฐมนตรีไป เมื่อเสร็จสิ้นแล้วมีท่านนายกรัฐมนตรีและโฆษกรัฐบาลได้มาแถลงข่าวว่ามีการยกเลิกการให้ครู อยู่เวร รวมทั้งท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ก็ไปออกข่าวว่ายกเลิกให้ครูอยู่เวรโดยมีผลทันที ท่านประธานครับ จากข่าวดังกล่าวนั้นก็เกิด ความว้าวุ่นอยู่เหมือนกันไม่น้อยเลยทีเดียว เนื่องจากว่าในรายงานสรุปข่าวของการประชุม ครม. นั้น ไม่ปรากฏว่ามีวาระนี้ในการพิจารณา และไม่พบว่ามีมติแต่อย่างใด เพราะฉะนั้นแล้ว ก็ทำให้ครูและผู้บริหารในสถานศึกษาเกิดความสับสนว่า ไม่รู้จะนอนเวรหรือไม่นอนเวรดี และถ้าไม่นอนแล้วจะทำให้สถานที่และทรัพย์สินนั้นเป็นอย่างไร เพราะฉะนั้นจึงร้องขอให้ ทางกระทรวงและรัฐบาลนำเรื่องนี้เข้าเป็นกิจจะลักษณะ ไม่ใช่คิดไปทำไป สนทนาธรรม แล้วก็เป็นข้อสั่งการเท่านั้น ต้องมีเอกสาร มีหลักฐาน ตามระเบียบสารบรรณที่ชัดเจนครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๒ ขอให้รัฐบาลได้จัดทำคำขอใช้งบกลางปี ๒๕๖๖ หรือจะแปรญัตติ ในปี ๒๕๖๗ หรือจัดตั้งงบประมาณ ๒๕๖๘ เพื่อจัดจ้างภารโรงให้ครบทุกโรงเรียน ที่ยังขาดอยู่ ๑๒,๐๐๐ โรงเรียน ถ้าใช้เดือนละ ๑๐,๐๐๐ บาท ก็จะใช้เงินแค่ปีละ ๑,๔๔๐ ล้านบาท เท่านั้น รวมทั้งจัดจ้างครูให้กับโรงเรียนที่ขาดครู โดยเฉพาะโรงเรียนขนาดเล็กซึ่งต้องการ อยู่เพียง ๒๒,๐๐๐ อัตรา จะใช้เงินเพียง ๓,๙๖๐ ล้านบาทเท่านั้นครับท่านประธาน ก็จะได้ ครูตามเกณฑ์ ชาวบ้านไม่ต้องทำผ้าป่าเพื่อจ้างครู รวมกันแล้วแค่ ๕,๐๐๐ กว่าล้านบาท ไม่ถึง ๕๐๐,๐๐๐ ล้านบาท ที่จะยืมมาแจก จะกู้มาแจกเฉย ๆ กู้มาเพื่อจ้างครู จ้างภารโรง ให้กับลูกหลาน ขอฝากด้วยครับ ขอบคุณครับท่านประธาน

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียน ท่านประธานสภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ ผม รองศาสตราจารย์สุรวาท ทองบุ สมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ขออนุญาตปรึกษาหารือท่านประธานผ่านไปยัง กระทรวงศึกษาธิการดังต่อไปนี้ครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องแรก ขอให้กระทรวงศึกษาธิการปลดล็อกเงื่อนไขการย้ายครู โดยเฉพาะ ครูต่างสังกัดกับกระทรวงศึกษาธิการ เช่น ครูสังกัดกรุงเทพมหานคร สังกัดองค์การบริหาร ส่วนท้องถิ่น และกระทรวงอื่น ๆ ให้สามารถย้ายเลื่อนไหลไปโรงเรียนในสังกัดกระทรวง ศึกษาธิการได้

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๒ ให้ปลดล็อกเงื่อนไขเกี่ยวกับเวลาการปฏิบัติงานในโรงเรียนเดิม ของครูทุกโครงการในการบรรจุ ไม่ว่าจะบรรจุด้วยกรณีเหตุพิเศษ ว๑๖ หรือครูโครงการ พิเศษต่าง ๆ เช่น ครูพัฒนาท้องถิ่น ที่กำหนดไว้ว่าจะต้อง ๒ ปีบ้าง ๔ ปีบ้าง ๕ ปีบ้าง ๘ ปีบ้าง ถึงได้ย้ายนะครับ เพื่อให้เกิดสภาพคล่องและมีความเท่าเทียมกัน ไม่มีข้อจำกัด เกิดสภาพคล่อง สามารถย้ายจับคู่ได้ หมุนเวียนได้มาก ครูได้กลับภูมิลำเนา มีขวัญกำลังใจ นักเรียนได้ครูที่ สอนตามคุณวุฒิตามสาขาที่ต้องการเร็วขึ้น

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๓ ขอให้กระทรวงศึกษาธิการหาวิธีลดภาระการจัดอาหารกลางวัน จัดให้มีครัวกลาง ให้ครูได้มีเวลาอย่างเต็มที่ในการเรียนการสอน ไม่ต้องมาพะว้าพะวังกับการ จัดซื้อจากการประกอบอาหาร จัดอาหาร แล้วก็เสี่ยงต่อความผิดระเบียบในเรื่องการเงิน การจัดซื้อจัดจ้าง

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๔ ขอให้กระทรวงพิจารณาเกี่ยวกับการโอน การเลื่อน แต่งตั้ง การเปลี่ยนสายงาน ให้โอนวิทยฐานะ และให้นับระยะการได้รับวิทยฐานะต่อเนื่องจาก ตำแหน่งเดิม ในการขอเลื่อนวิทยฐานะที่สูงขึ้นในตำแหน่งใหม่ต่อไปด้วย ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม