กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพและท่าน สส. ชัชวาล แพทยาไทย สมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด ก่อนอื่นต้องขอกราบขอบคุณท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ท่านเอง ได้ให้ความสนใจเอาใจใส่ในเรื่องผู้ที่ได้ประกอบคุณความดีอาสาสมัครกู้ภัย ซึ่งผมก็คงมี ความคิดในแนวทางเดียวกันกับท่านที่ได้เห็นถึงความเสียสละในการตั้งใจทำงานเพื่อสังคม เพื่อพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะมีความสำคัญมากเป็นพิเศษ เพราะว่าหน่วยอาสาสมัครกู้ภัย จะเข้าไปช่วยพี่น้องประชาชนในขณะตอนที่เกิดภัยพิบัติ เกิดเหตุฉุกเฉินต่าง ๆ เหล่านี้ ผมต้องขอเรียนตรง ๆ ว่าโดยเฉพาะส่วนตัวผมนั้นผมพบปะกับท่านมาเป็นประจำ เผลอ ๆ จะต้องบอกว่าพบปะทุกวันด้วยซ้ำ ด้วยรถ Ambulance บางครั้งผมต้องรีบสั่งให้ คนขับรถหลบเพื่อให้เขาสามารถที่จะไปปฏิบัติภาระหน้าที่ตามที่เขาได้เสียสละได้ นั่นหมายความว่าเรานี้ได้ให้ความเคารพในความเสียสละของเขาเหล่านั้น ผมเชื่อว่า พี่น้องประชาชนในทุก ๆ หนทุก ๆ แห่งได้รับการดูแลช่วยเหลือจากหน่วยกู้ภัยเหล่านี้ มาอย่างดีมาก ซึ่งผมกล้าพูดว่าพี่น้องประชาชนให้ความสำคัญ เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้วถึงแม้ว่า ผมจะมารับหน้าที่ที่กระทรวงสาธารณสุขได้เพียงไม่กี่วัน เมื่อผมเห็นเรื่องนี้ ท่านรัฐมนตรีว่าการ ท่านชลน่าน ศรีแก้ว เมื่อได้รับคำร้องเรียน คำเสนอแนะจากท่าน สส. ไม่ได้นิ่งนอนใจ ก็ได้เชิญหน่วยแพทย์ฉุกเฉินซึ่งเขามีหน้าที่ดูแลเรื่องนี้มาสอบถามทวนความ ว่าเกิดอะไรขึ้น ทำไมถึงไม่เร่งรัดอย่างรวดเร็วที่จะดูแลบุคลากรที่มีความเสียสละมากมาย ขนาดนี้ อยากจะเรียนตอบคำถามว่าทางกระทรวงสาธารณสุขก็ต้องเรียนว่าได้ดำเนินการ ในการที่ของบประมาณแล้วก็นำเงินเหล่านั้นมาสนับสนุนในการทำความดีของอาสากู้ภัย มาโดยตลอด เกือบจะเรียกว่าไม่เคยบกพร่องเสียด้วยซ้ำ แต่ที่มันเกิดเหตุในครั้งนี้ก็ต้อง ขอเรียนว่ามันก็เกิดจากเนื่องจากโควิด เนื่องจากมีสถานการณ์อะไรมากมาย หน่วยงาน ต่าง ๆ ก็มีงานมาก ก็เลยทำให้พี่น้องประชาชนมาพึ่งพา มาอาศัยทางกู้ภัยมากขึ้นเป็นพิเศษ ในช่วงหลัง ๆ ปีหนึ่งจากที่ผมได้รับรายงานมีเหตุเกิดเกือบ ๒ ล้านครั้งซึ่งถือเป็นเรื่อง ใหญ่มาก ผมเองผมเห็นแล้วผมก็มีความตั้งใจว่าอย่างไรก็ต้องสนับสนุนหน่วยงานกู้ภัยเหล่านี้ ให้มีความคล่องตัวเป็นอย่างสูง พอระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบดิจิทัลมันใช้มาตั้ง ๑๕-๒๐ ปี พอบ้านเมืองประชาชนและหน่วยกู้ภัยก็มีความเชี่ยวชาญ ชำนาญรวดเร็วขึ้นในการเข้าไป แก้ไขปัญหาในเรื่องต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุ ไม่ว่าเป็นภัยต่าง ๆ ก็เลยทำให้ปริมาณ มากขึ้น ๆ จนกระทั่งก็ต้องเรียนตรง ๆ ว่าระบบมันล่ม ระบบไม่ยอมรับ แล้วระบบคอมพิวเตอร์ เวลาเกิดปัญหามันจะหยุดเลย ซึ่งผมได้สอบถามทางแพทย์ฉุกเฉินแล้วเขาก็บอกเขาก็ได้แก้ไข อย่างรวดเร็ว บัดนี้ทราบว่าใกล้จะจบแล้วในเรื่องของระบบ หลายส่วนใช้ได้แล้ว จริง ๆ แล้ว ผมก็คงต้องให้กำลังใจทางแพทย์ฉุกเฉินเขาด้วย ในเมื่อข้อมูลมันล่มแล้วก็จะต้องเพิ่ม Program เขียน Program เพิ่มให้มันสามารถที่จะรองรับจำนวนครั้งของแพทย์ฉุกเฉิน ได้มากขึ้น เขาก็จะต้องเขียน Program ต้องกู้ข้อมูลคืนมา พวกเราก็คงทราบว่าการกู้ข้อมูล คืนมานั้นจะต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางอะไรต่าง ๆ บัดนี้เท่าที่ผมทราบก็บอกว่าได้กู้ข้อมูล คืนมาแล้ว ตัวระบบก็เริ่มเสร็จ เห็นบอกว่าน่าจะเสร็จประมาณต้นเดือนตุลาคมนี้เอง การกู้ ข้อมูลฉุกเฉินกลับมาไม่ใช่กู้แล้วก็จะจ่ายสตางค์หรือจะสนับสนุนไปได้เลย เพราะว่าในระบบ กู้ภัยมันทั่วประเทศ แล้วผู้ที่ตรวจสอบในการทำงานเป็นรายครั้ง จะครั้งละเท่าไรก็แล้วแต่ ก็จะต้องไปผ่านระบบให้ทางจังหวัดรับรองเข้ามา หน่วยแพทย์ฉุกเฉินก็ได้จัดการนำเงิน เหล่านั้นส่งไปให้จ่าย เท่าที่ผมทราบระบบเดิม ๆ ที่ได้ทำกันมาก่อนล่ม ภายในไม่เกิน ๓๐ วัน เมื่อเราไปเผชิญเหตุหรือไปกู้ภัยแล้วภายในไม่เกิน ๓๐ วันก็ได้จ่ายเงินเหล่านั้นครบถ้วน มาโดยตลอด ในครั้งนี้เท่าที่ผมได้รับรายงานก็คือว่าทางหน่วยแพทย์ฉุกเฉินที่มีหน้าที่ ที่จะดำเนินการได้คิด ได้มีความตั้งใจแล้วก็ได้มีความสำนึกว่าหน่วยกู้ภัยนั้นเป็นหน่วยที่ทำ คุณประโยชน์ให้กับคนที่ประสบภัยอย่างแสนสาหัสในขณะนั้น แล้วต้องเป็นการเร่งด่วน เขาก็ได้ดำเนินการ และตั้งแต่วันที่ข้อมูลล่มก็ได้พยายามจ่ายเงินให้หน่วยกู้ภัยสามารถ ดำเนินการได้ ได้จ่ายไปแล้ว ๕๐๐ กว่าล้านบาทจาก ๘๐๐ กว่าล้านบาทของทั้งปี และขณะนี้ ภายในสิ้นเดือนนี้อีกไม่กี่วันตามที่ท่าน สส. ได้พูดถึงก็ยังจะจ่ายออกไปอีกประมาณ ๑๖๐ กว่าล้านบาท รวมใน ๒-๓ วันที่จะจ่ายเพิ่มเข้าไปแล้วก็เท่ากับว่าจะจ่ายครบไป ประมาณ ๗๐ เปอร์เซ็นต์ เหลืออีกประมาณ ๓๐ เปอร์เซ็นต์ซึ่งเป็นเงิน ๒๐๐ กว่าล้านบาท ก็กำลังรอทางจังหวัดรับรองเข้ามา เข้าระบบได้แล้วก็รับรองเข้ามา แล้วก็จะจ่ายให้ทัน คาดว่าไม่เกินเดือนตุลาคมก็จะจ่ายได้ครบถ้วนจ่ายได้ทัน แล้วหลังจากนั้นเมื่อระบบดิจิทัล ของเราได้ปรับปรุงจนกระทั่งแต่ละจังหวัด แต่ละแห่งที่เขารับรองเขาสามารถ Key เข้ามา ในข้อมูลของกระทรวงได้ ความรวดเร็วก็จะกลับไปอยู่สู่ฐานะเดิมคือไม่เกิน ๓๐ วัน ผมมั่นใจว่าถ้าระบบเทคโนโลยีอันนี้ถ้าทางสาธารณสุขโดยเฉพาะหน่วยแพทย์ได้แก้ไขแล้ว ผมมั่นใจว่าน่าจะเร็วขึ้นเสียด้วยซ้ำ อีกหน่อยอาจจะแค่ประมาณไม่เกิน ๓๐ วันเสียด้วยซ้ำ ก็เลยขอตอบคำถามว่าหน่วยแพทย์ฉุกเฉินไม่ได้มีความนิ่งนอนใจและทราบดีว่าหน่วยกู้ภัย เป็นหน่วยที่มีความเสียสละจริง ๆ ทั่วประเทศ ไม่เคยได้รับคำร้องเรียนจากพี่น้องประชาชน เลยว่าการที่หน่วยกู้ภัยไปช่วยไปแก้แล้วได้มีอะไรไม่มีเลยเสียสละอย่างเดียว อันนี้ก็จะต้อง ช่วยกันประชาสัมพันธ์ และท่าน สส. เองได้นำประเด็นนำปัญหาเหล่านี้มากระตุ้น มาแจ้ง ก็ต้องขอบคุณท่านที่เราก็ช่วยกันให้ความสำคัญ ให้กำลังใจกับหน่วยกู้ภัยให้เขามีความตั้งใจ ในการทำงานช่วยเหลือพี่น้องประชาชน ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือบ้านเมือง ด้วยนะครับ ผมก็ขอถือโอกาสนี้ขอบคุณไปยังอาสาสมัครกู้ภัยทุกท่านในแผ่นดินแล้วก็ มูลนิธิทุกมูลนิธิ ที่เพชรบูรณ์ผมเองก็มี เราก็สนับสนุนเต็มทุกรูปแบบ สถานที่ก็ดี อะไรก็ดีถ้ามีอะไรต่าง ๆ เราก็จะช่วยเหลืออย่างนี้โดยตลอด ในโอกาสนี้ก็ขอขอบคุณ ท่าน สส. ด้วยนะครับ ขอบคุณครับ ขอบคุณท่านประธานครับ
กราบเรียนท่านประธานครับ กราบเรียนท่าน สส. ชัชวาล แพทยาไทย นะครับ ท่านเอง ท่านก็ได้บอกว่าสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินได้มีปัญหาเรื่อเงินไปถึง ๗ เดือน ก็ต้องเรียนว่า ในระบบเริ่มขัดข้องตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๕ จนถึงประมาณเดือนกุมภาพันธ์ ทางกระทรวงก็ได้เร่งรัดในการที่จะปรับปรุงแก้ไข ส่วนเรื่องการชำระเงินก็ได้เร่งรัดที่จะดู ในเรื่องของการจ่ายเงินงบประมาณออกไป ก็ได้เรียนแล้วว่าไม่ได้หยุดจ่ายทันทีเป็นเวลา ๗ เดือน เงินเหล่านี้ก็ได้ทยอย ๆ จ่ายออกไปอย่างรวดเร็ว จนถึง ณ ปัจจุบันได้จ่ายไปแล้ว ประมาณ ๗๐ เปอร์เซ็นต์ ส่วนอีก ๓๐ เปอร์เซ็นต์ก็กำลังรอทางจังหวัด ทางหน่วยงาน เขาส่งการรับรองเข้ามาก็จะจ่ายให้ทันที ก็ได้กราบเรียนแล้วว่าจะจ่ายภายในประมาณไม่เกิน เดือนตุลาคมเราก็คงจะจ่ายได้เสร็จเรียบร้อย ส่วนปัญหาในหลาย ๆ ด้านที่ทางหน่วยกู้ภัย ที่อยากจะพัฒนาหรืออะไรต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเงิน เรื่องการแพทย์ เรื่องอะไรต่าง ๆ ก็ขอรับจากท่าน สส. ว่าถ้าหากว่ามีตัวแทนก็เชิญเข้ามาปรึกษาหารือกับทางการแพทย์ ฉุกเฉิน เพราะว่าถ้าการแพทย์ฉุกเฉินจะมาคิดแก้ไขปรับปรุง พัฒนาฝ่ายเดียว เดี๋ยวอาจจะ ไม่ตรงความรู้สึกแล้วก็ไม่ตรงใจ เพราะว่าหน่วยกู้ภัยนั้นเป็นผู้ที่สัมผัสกับพี่น้องประชาชน เป็นผู้ดำเนินการ หากจะแก้ไขหรือพัฒนาใด ๆ ผมเห็นด้วยนะครับ ก็ได้ตั้งทีมมาปรึกษา หารือกันเพื่อจะได้แก้ให้ตรงตามภารกิจและตามสิ่งที่ท่านเสียสละให้ประสบผลสำเร็จ ก็ขอรับเอาไปดำเนินการ ในโอกาสนี้ก็ขอขอบคุณท่าน สส. ขอบคุณท่านประธานครับ
กราบเรียน ท่านประธาน และท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร นางสาวปวิตรา จิตตกิจ สส. พรรคก้าวไกล ต้องขอบคุณท่าน สส. ที่ให้การเอาใจใส่ในประเด็นปัญหาเรื่องสุขภาพ เรื่องการเข้าถึงสุขอนามัย เข้าถึงหมอของพี่น้องประชาชนในเขตพื้นที่ของตน และของ กรุงเทพมหานคร รวมไปถึงการรักษาพยาบาลที่บอกว่าบัตรทองทั่วประเทศมีปัญหา มีข้อจำกัดของพี่น้องประชาชนที่จะไปรับการรักษาอย่างไร โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีปัญหาเรื่องทุจริตของคลินิกที่เป็นสมาชิกของ สปสช. และมีความไม่ชอบมาพากล อย่างที่ว่าก็เลยมีความจำเป็นที่จะต้องตัดออกไป แต่ก็ไม่ได้ปิดกั้นนะครับ ก็เปิดโอกาส ให้คลินิกใหม่ ๆ ของเอกชนเข้ามาเพื่ออำนวยความสะดวก แต่ว่าในเรื่องของความสะดวก ของบัตรทองนั้น ข้อจำกัดตัวบัตรต้องบอกว่าทางรัฐบาลโดยกระทรวงสาธารณสุขก็ได้ขยาย ครอบคลุมไปเกือบทุกสาขาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งก็ดี รักษาโรคหัวใจอะไรต่าง ๆ ก็ครอบคลุมน่าจะเกือบ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์แล้ว พัฒนามาจากสมัยก่อนอย่างมากมายมหาศาล แต่เท่าที่ท่าน สส. ได้พูดถึงนั้นก็คงเป็นเรื่องของความสะดวกเสียมากกว่าว่าพี่น้องที่ใช้บัตรทอง จะเข้าหา หรือเข้าดูแลรักษาได้อย่างไร ไปพบแพทย์ได้อย่างไร จริง ๆ แล้วบัตรทองนั้น ก็ต้องบอกว่าเดี๋ยวนี้กระทรวงการสาธารณสุขได้พัฒนาไปจนสามารถที่จะใช้บัตรประชาชน ใบเดียวที่จะไปใช้สิทธิได้ในทุกแห่งทั่วประเทศไม่มีข้อจำกัดนะครับ ต่อให้เราขอใช้สิทธิ ที่จังหวัดทางภาคอีสานหรือภาคใต้ที่ไหนก็แล้วแต่ ถ้าเรามาอยู่กรุงเทพฯ แล้วเราเจ็บไข้ได้ป่วย ก็จะไปที่โรงพยาบาล หรือไปที่ชุมชนอบอุ่นที่ไหนก็แล้วแต่ก็สามารถใช้บัตรประชาชน ใบเดียวไปในกรณีฉุกเฉินเร่งด่วน หรือเจ็บไข้ได้ป่วยเมื่อออกไปต่างบ้านต่างเมืองอย่างนั้น ใช้บัตรประชาชนใบเดียว แต่ว่าการที่ไปพบแพทย์แล้วในบางครั้งก็จะมีปัญหาบ้าง เช่นข้อมูล ของการรักษาพยาบาลของคนนั้น ๆ ก็จะมีกฎหมายบังคับอยู่ในเรื่องข้อมูลข่าวสาร ของส่วนตัว ขณะนี้เองจริง ๆ แล้วทางกระทรวงสาธารณสุขก็กำลังแก้ไขอยู่เพื่อที่จะให้เข้าถึง ข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้ก็สามารถที่จะอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่ใช้บัตรทองเหล่านี้ ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น แต่สิ่งหนึ่งที่บอกว่าไม่สามารถที่จะเพิ่มสถานพยาบาลต่าง ๆ เหล่านี้ ให้ครอบคลุมใกล้บ้านของเรา หรืออยู่ในชุมชนกรุงเทพมหานครให้ครอบคลุมทุกชุมชน เพราะขณะนี้ทางกระทรวงสาธารณสุขกำลังเร่งรัดเหล่านี้อยู่ แต่ว่าในอดีตที่ผ่านมานี้ แพทยสภาเองได้จำกัดในเรื่องของผู้ที่จะเข้าศึกษาเพื่อเป็นแพทย์ เพราะฉะนั้นก็เลยทำให้ ขณะนี้จริง ๆ ก็ต้องเรียนว่าแพทย์ไม่เพียงพอ กำลังเข้าสู่วิกฤตินะครับ ต่อให้เราจะสร้าง ศูนย์ชุมชนอบอุ่น หรือ รพ.สต. ได้สักกี่แห่งก็ตาม ก็จะมีแพทย์ที่ไม่เพียงพอที่ไปประจำ ยกตัวอย่างเช่น รพ.สต. ทั่วประเทศมีประมาณ ๙,๐๐๐ แห่ง ซึ่งต้องบอกว่ายังไม่มีแพทย์เลย สักแห่งเดียว สิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาของพี่น้องประชาชน ก็มีแต่พยาบาลที่จะไปดูแลเท่านั้นเอง ซึ่งประสิทธิภาพก็ไม่ได้แข็งแรงเท่ากับมีแพทย์ไปประจำอยู่ ซึ่งขณะนี้กระทรวงสาธารณสุข กำลังเร่งรัดที่จะสร้างแพทย์ให้พอเพียงกับประชากรของประเทศไทยอยู่ โดยมีแนวคิด เป็นนโยบาย ขณะนี้กำลังประชุมกระทรวงกันอยู่ทุกอาทิตย์ว่าเราจะเพิ่มแพทย์ให้ได้ รพ.สต. ละ ๓ ท่าน ส่วนถ้าเป็นกรุงเทพมหานคร เช่น สถานพยาบาลอบอุ่นที่ได้พูดถึงนั้น ก็มีค่าเทียบเท่ากับ รพ.สต. เพราะฉะนั้นถ้าหากเราสามารถที่จะเพิ่มตามสัดส่วนให้เท่ากับ รพ.สต. ต่าง ๆ ของแต่ละจังหวัด กรุงเทพมหานครก็ควรจะมีสถานพยาบาลชุมชนอบอุ่น ถึงเกือบ ๑,๐๐๐ แห่ง ซึ่งอันนี้ก็มีเพียง ๑๐๐ กว่าแห่งเท่านั้นเอง ก็ยังต้องถือว่าไม่เพียงพอ ทางกระทรวงสาธารณสุขเริ่มที่จะเชิญมหาวิทยาลัยที่ผลิตแพทย์ต่าง ๆ เหล่านี้มาประชุมว่า เราจะเพิ่มได้อย่างไร ๙,๐๐๐ กว่า รพ.สต. นั้นจะต้องใช้แพทย์ถึงประมาณ ๓๐,๐๐๐ คน ซึ่งขณะนี้ก็ต้องถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ แต่ว่ามีความจำเป็นในการที่จะดูแลพี่น้องประชาชน ตามที่ท่าน สส. ห่วงใยได้ ก็กำลังเร่งดำเนินการอยู่ ขอบคุณครับ
ขอบคุณ ท่านประธานครับ ในกรณีของสถานพยาบาลชุมชนอบอุ่นนั้นผมได้ตอบไปเมื่อสักครู่แล้วว่า กรุงเทพมหานครนั้นควรจะมีเกือบ ๑,๐๐๐ แห่ง แต่ก็มีแค่ ๑๐๐ กว่าแห่งเท่านั้นเอง ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าไม่เพียงพอ เหตุที่ไม่เพียงพอที่ไม่สามารถที่จะขยายเพิ่มเติมได้ให้เกิด ความเพียงพอนั้นเนื่องจากว่าเราขาดแคลนแพทย์อยู่ในขั้นวิกฤติ เพราะฉะนั้นถึงเราจะมีเงินที่จะไป สร้างสถานพยาบาลชุมชนอบอุ่น ในเรื่องของการหาแพทย์ที่จะเข้าไปเพิ่มเติมนั้นก็ยังขาดแคลนอยู่ ที่ได้เรียนไปแล้วว่าก็กำลังที่จะเพิ่มแพทย์ให้เพียงพอ การผลิตแพทย์แต่ละคนต้องใช้เวลาถึง ๖ ปี แล้วคนหนึ่งก็จะมีต้นทุนประมาณ ๔-๕ ล้านบาท ซึ่งเงินไม่ใช่เรื่องใหญ่ สถานที่ก็ไม่ใช่ เรื่องใหญ่ เพราะฉะนั้นผมเองมาเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขก็ได้เข้าทำงาน มาประมาณ ๒ เดือนเศษ ตั้งแต่วันแรกที่ประชุมคณะผู้บริหารของกระทรวงสาธารณสุข ผมก็ได้หยิบประเด็นนี้ขึ้นมาที่จะให้กระทรวงสาธารณสุขเป็นหลักในการที่จะผลักดันการผลิต แพทย์ประมาณ ๒๗,๐๐๐ คนให้ได้โดยเร็วที่สุด ได้พูดมาเป็นเวลา ๗-๘ ครั้งใน ๒ เดือนที่ผ่านมา จนกระทั่งไม่ว่าแพทยสภาก็ดี หรือกระทรวง ตอนนี้เริ่มจะทำแผนแล้วที่จะให้ได้แพทย์นะครับ เพราะฉะนั้นเรื่องสถานพยาบาลชุมชนอบอุ่นก็คงจะได้แก้ปัญหา ในขณะเดียวกันเราก็กำลัง คิดถึงเรื่องแพทย์ที่เกษียณก็จะเชิญเขามาเป็นแพทย์ในชุมชนอบอุ่น หรือใน รพ.สต. เหล่านี้ อีกประเด็นหนึ่งก็คือเรื่องศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู เวชศาสตร์ฟื้นฟูนี้อยากจะเรียนท่านประธานว่า หมายถึงผู้ที่จะต้องทำกายภาพบำบัด เช่น ประสบอุบัติเหตุก็ดี หรือว่าเส้นเลือดในสมองมีปัญหา อะไรต่าง ๆ ก็ใช้คำสั้น ๆ ว่าเป็นอัมพฤกษ์ หรืออัมพาต เพราะฉะนั้นเวชศาสตร์ฟื้นฟูนั้น มีความจำเป็น ดังนั้นทางกระทรวงสาธารณสุขก็ได้พูดแล้วว่าเรื่องการผลิตผู้เชี่ยวชาญ ผลิตอะไรในช่วงสมัยก่อนก็ไม่ได้ให้ความสำคัญ แต่ว่าต่อไปนี้เราจะให้ความสำคัญในเรื่องของ ผู้เชี่ยวชาญในการที่จะฝึกเวชศาสตร์ฟื้นฟูตัวนี้ แต่ที่สำคัญที่สุดที่ขณะนี้เราจะแก้ไขและทำให้ ทันต่อผู้เจ็บป่วยเหล่านี้ ก็คือในแต่ละโรงพยาบาลใหญ่ ๆ โรงพยาบาลจังหวัด โรงพยาบาลอำเภอ ส่วนใหญ่ก็จะมีเวชศาสตร์ฟื้นฟูอย่างนี้เกือบทั้งสิ้น เราก็เลยจะเน้นไปทางฝึกอบรมผู้ดูแลผู้ป่วย ให้มีความรู้ในเรื่องของการที่จะฝึกผู้ที่มีปัญหาเรื่องทุพพลภาพเหล่านี้ให้สามารถฝึกเดินได้ ฝึกในด้านต่าง ๆ กายภาพบำบัดเหล่านี้ได้ กำลังเร่งรัดที่จะฝึกให้พอ โดยเฉพาะผู้ช่วยนั้น มีความสำคัญที่จะฝึก เมื่อฝึกแล้วเขาก็สามารถที่จะไปทำการฟื้นฟูบำบัดที่บ้านได้ แต่แน่นอนที่สุด เท่าที่ผมสังเกตเห็นก่อนที่จะมาเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขนั้น ผู้ที่เกิดอุบัติเหตุ หรือเกิดเหตุใหม่ ๆ นี้ก็ช่วยเหลืออะไรตัวเองไม่ได้เลย ก็จำเป็นที่จะต้องอยู่ที่โรงพยาบาล แล้วทุกวันก็จะมาฝึกกายภาพบำบัดเหล่านี้ แต่หลังจากฝึกสักเดือนสองเดือน อาทิตย์สองอาทิตย์ พอเริ่มขยับได้ก็จะฝึกตัวผู้ช่วยเพื่อให้เขาได้ไปดูแลบำบัดในที่พักของตนเองได้ในระดับหนึ่ง ก็ขอเรียนว่ากระทรวงสาธารณสุขกำลังดำเนินการอยู่ครับ
คือจริง ๆ เรื่องนี้ก็ขอให้ท่านผู้แทนสนับสนุนในนโยบายที่ผมได้พูดถึงนะครับ ต่อให้จะมีโรงพยาบาล ทุกหมู่บ้าน อันนี้ผมได้พูดในที่ประชุมผู้บริหารของกระทรวงสาธารณสุขไปแล้วว่า ต่อให้มี โรงพยาบาลในทุกหมู่บ้าน ถ้าขาดแพทย์ก็ไปรักษาพยาบาล ณ ที่ตรงนั้นไม่ได้ แล้วที่สำคัญที่สุด ที่ผมได้ต่อสู้เรื่องนี้มาก็คงจะขอเรียนว่าพี่น้องประชาชนในชนบท หรืออยู่บ้านไกล ๆ จากโรงพยาบาล เมื่อพ่อแม่หรือผู้ที่เขาเคารพรักเจ็บไข้ได้ป่วยที่จะไปโรงพยาบาล ไม่ว่าจะเป็น โรงพยาบาลอำเภอ หรือโรงพยาบาลจังหวัด เขาก็จะต้องออกจากบ้านประมาณตีสี่ ตีห้า แล้วไม่ใช่ว่าทุกบ้าน ทุกครอบครัวจะมีรถวิ่งไป เขาจะต้องเหมารถสองแถว เหมาอะไรไป ที่โรงพยาบาลอำเภอ หรือไปที่โรงพยาบาลจังหวัด ไปขอบัตรคิว กว่าจะรักษาได้กลับถึงบ้าน ก็บ่ายสาม ท่านทราบไหมว่าค่าเช่ารถ ค่าเหมารถ ในครั้งหนึ่งก็ประมาณ ๓,๐๐๐ บาท เพราะว่ามันต้องเช่าทั้งวัน แล้วตามที่ผมได้พูดถึงว่า รพ.สต. ซึ่งอยู่ในตำบลของตนเองนั้น ถ้ามีแพทย์เขาก็ไม่ต้องทำอย่างนั้น เพราะว่าอยู่ใกล้บ้านแล้ว แล้วมีแพทย์ รพ.สต. สัก ๓ คน แล้วที่เมื่อสักครู่ผมได้พูดถึงว่าการผลิตแพทย์ประมาณ ๒๗,๐๐๐ คน หรือ ๓๐,๐๐๐ คน ให้ครอบคลุมทุก รพ.สต. แพทย์คนหนึ่งก็จะใช้เงินเฉลี่ยประมาณ ๔ ล้านบาท ก็แค่ ๑๐๐,๐๐๐ กว่าล้านบาท ๖ ปีที่เราจะผลิตแพทย์ได้ แต่ท่านทราบไหมครับว่าการที่พี่น้อง ประชาชนต้องเหมารถไป ๓,๐๐๐ บาทที่จะไปหาหมอแล้วก็รักษาด้วยบัตรทองนั้น ค่าใช้จ่าย ของการเช่ารถทั่วประเทศของคนเจ็บไข้ได้ป่วยในหมู่บ้าน ตำบล ปีหนึ่งคำนวณแล้วประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ กว่าล้านบาท แพงกว่าที่เราจะผลิตแพทย์ตั้ง ๒ เท่า ผมได้พูดกับแพทยสภา ได้พูดกับผู้บริหารของกระทรวงแล้วว่าอันนี้จะ Save ลดต้นทุนการดำรงชีพของพี่น้อง ประชาชนได้ด้วย แล้วก็ในเรื่องของสุขอนามัยที่เป็นนโยบายของรัฐบาลนี้ก็กำลังเร่งรัดในตัวนี้อยู่ แล้วก็จะทำให้ได้ในเร็ว ๆ นี้ แล้วก็บางส่วนก็อาจจะต้องพึ่งงบประมาณ พึ่งอะไรต่าง ๆ ก็ขอให้ท่าน สส. สนับสนุนงบประมาณที่จะไปผลิตแพทย์ตัวนี้ด้วย ขอบคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผู้ทรงเกียรติครับ จากคำถามในเรื่องบัตรประชาชนใบเดียวสามารถใช้ได้ทุกที่นั้น ก็ต้องขอนำเรียนอย่างนี้ว่า ประชาชนในจำนวน ๖๗ ล้านคน ๗๗ จังหวัดทั่วประเทศ กระทรวงสาธารณสุขมีความตั้งใจ ที่จะให้การบริการพี่น้องประชาชนให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว มั่นคง แล้วก็ให้ทันใจ ดังนั้น กระทรวงสาธารณสุขโดยท่านนายกรัฐมนตรี ท่านเศรษฐานั้นได้สั่งให้กระทรวงสาธารณสุข ได้ดำเนินการอำนวยความสะดวกเรื่องของสุขอนามัยให้กับพี่น้องประชาชน แล้วก็รักษา ได้ทุกที่ ไม่ใช่ว่าบ้านอยู่ที่ต่างจังหวัดแล้วมาทำงานอยู่ที่กรุงเทพฯ ยังไม่ทันได้ย้ายอะไรต่าง ๆ แล้วการรักษาก็จะเกิดความยากลำบาก เพราะฉะนั้นบัตรประชาชนจึงมีความสำคัญ เพราะว่าพี่น้องประชาชนทุกคนมีบัตรประชาชน ดังนั้นก็จึงใช้คำว่าการรักษาพยาบาลภายใต้ บัตรทอง ในเมื่อในอดีตนั้นสามารถที่จะปรับเปลี่ยนเป็นบัตรประชาชนใช้ได้ทุกที่ เนื่องจากว่า บัตรประชาชนสามารถที่จะมีหน่วยงานต่าง ๆ จะต้องใช้ข้อมูลตัวนี้เป็นจำนวนมาก กระทรวง สาธารณสุขได้ระดมเร่งในการดำเนินการ แน่นอนที่สุดครับ ตามที่ท่านผู้แทนได้พูดถึงว่า ในบางโรงพยาบาลในบางจังหวัดความพร้อมไม่เท่ากัน ดังนั้นกระทรวงสาธารณสุขจึงนำร่อง ๔ จังหวัดที่ท่านได้พูดถึง ก็คือจังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดแพร่ จังหวัดเพชรบุรี และจังหวัด นราธิวาส ก็คือ ๔ ภาครัฐนั่นเอง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ แล้วก็ภาคกลาง รวมถึงนราธิวาสก็คือภาคใต้ ทำไมถึงต้องใช้ ๔ จังหวัดนำร่องจาก ๗๗ จังหวัด เนื่องจากว่า การดำเนินการบัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่นั้นไม่ใช่ในเรื่องของการแพทย์อย่างเดียว จะมีเรื่องของเทคโนโลยีเข้ามาเชื่อมโยงในเรื่องข้อมูลของผู้ป่วยต่าง ๆ ซึ่งข้อมูลก็มี หลายสาขา มีทุกรูปแบบ ดังนั้นกระทรวงสาธารณสุขก็ได้มอบนโยบายให้แต่ละโรงพยาบาล ไปเริ่มทำข้อมูลเหล่านี้ แล้วข้อมูลเหล่านี้เราก็ยังมีเรื่องของข้อมูลส่วนตัวอะไรต่าง ๆ กระทรวงสาธารณสุขได้คำนึงถึงในเรื่องเหล่านี้ทั้งหมด ดังนั้นก็ได้เปิดนำร่องไปแล้วอย่างที่ ท่านผู้แทนได้พูดถึงก็คือที่จังหวัดร้อยเอ็ดได้เปิดไปแล้ว แล้วก็อีก ๔ จังหวัด เพราะฉะนั้น การดำเนินการตามที่ท่านได้พูดถึงนี้มีข้อขัดข้องเล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านี้ ผมยอมรับว่ามี แต่เรา มีทีมงานไปประจำอยู่ที่โรงพยาบาลในจังหวัดนั้น ๆ ไปดูเพื่อนำข้อมูลที่ขาดตกเล็กน้อยหรือ ข้อมูลบางอย่างที่ระหว่างโรงพยาบาลกับคนป่วย คนไข้ ซึ่งตามที่ท่านพูดว่า ๒ ปี ๓ ปีที่แล้ว เขามาหาโรงพยาบาล ในช่วงนั้นข้อมูลมันอาจจะยังไม่ค่อยทั่วถึง หรือข้อมูลก็อาจจะยังไม่ได้ นำเข้าในระบบคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาลนั้น ๆ เวลาเขามาใช้แล้วเราเข้าระบบก็อาจจะมี ข้อขัดข้องบ้าง แต่ ณ ปัจจุบันใน ๔ จังหวัดนี้กระทรวงสาธารณสุขได้รับคำยืนยันว่ามีความพร้อม ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ อันนี้จึงเป็นการนำร่อง ๔ จังหวัด เพื่อหาดูในข้อปลีกย่อยต่าง ๆ ที่ยัง เชื่อมโยงกันไม่ได้กับพี่น้องประชาชนคนป่วย แล้วหลังจากนั้นประมาณวันที่ ๑ มีนาคมเป็น ต้นไปก็จะเริ่มอีก ๘ จังหวัด ๘ จังหวัดนั้นก็จะมีจังหวัดพังงา สระแก้ว นครราชสีมา สิงห์บุรี นครสวรรค์ อำนาจเจริญ หนองบัวลำภู และเพชรบูรณ์ ขณะนี้ใน ๘ จังหวัดนี้ก็กำลังเร่งใน การทำข้อมูลในการเชื่อมโยงต่าง ๆ และเฟสที่ ๓ ก็จะเพิ่มเติมอีก ๔ เขตสุขภาพ จำนวน ๒๗ จังหวัด ก็จะเริ่มดำเนินการประมาณเดือนเมษายน ๒๕๖๗ แล้วหลังจากนั้นภายในปีนี้ ก็จะสามารถที่จะเชื่อมโยงกันได้ทั่วประเทศ และจากที่ท่านผู้แทนได้ถามว่าแล้วมันเชื่อมกับ ใครได้บ้าง ในระหว่างนี้ก็คงต้องเรียนว่าที่มีความพร้อมมากที่สุดคือข้อมูลและโรงพยาบาล ที่ขึ้นกับกระทรวงสาธารณสุขที่ใช้ระบบเบิกจ่ายของ สปสช. อันนี้ก็จะไม่มีปัญหาเรื่องระบบ การเบิกจ่าย ดังนั้นการเชื่อมข้อมูลในเรื่องการเบิกจ่ายเงินอะไรต่าง ๆ ก็เกิดความคล่องตัว อยู่แล้วนะครับ และนอกเหนือจากนั้นกระทรวงสาธารณสุขก็ยังมีนโยบายที่จะเชื่อมกับ ร้านขายยา แล้วก็คลินิก และโรงพยาบาลเอกชน สิ่งเหล่านี้มันก็จะต้องให้ทางโรงพยาบาล เอกชนมาขอเข้าโครงการ และกระทรวงสาธารณสุขก็จะให้หน่วยเทคโนโลยีเชื่อมโยงข้อมูล เข้าไปให้ได้ และอย่างที่ท่านถามว่าแล้วของโรงพยาบาลของกระทรวงกลาโหม โรงพยาบาล ของ กทม. ต่าง ๆ นั้น โครงการเราเพิ่งเปิดไปเมื่อเดือนที่แล้ว ดังนั้นเรากำลังเร่ง เจ้าหน้าที่ ของกระทรวงสาธารณสุขทั้งด้านนายแพทย์และเทคโนโลยี นายแพทย์ที่รู้เรื่องเทคโนโลยี เหล่านี้ก็กำลังเจรจา กำลังร่วมกันทำข้อมูลเชื่อมกัน ไม่ว่าจะเป็นของกระทรวงกลาโหม ของกรมบัญชีกลาง และของประกันสังคม กระทรวงกำลังเร่งรีบในการที่จะเชื่อม แต่แน่นอน ที่สุดครับ ขณะนี้ยังไม่ได้เชื่อมทั่วประเทศ เพราะฉะนั้นจึงจะต้องมีการนำร่อง ที่ผ่านมาคือ ๔ จังหวัด เดี๋ยวหลังจากเดือนมีนาคมไปก็จะเพิ่มนำร่องอีก ๘ จังหวัด และต่อไป อีกโครงการหนึ่ง เฟสที่ ๓ ก็จะเชื่อมอีก ๔ เขตสุขภาพ จำนวน ๒๗ จังหวัด ผมเองก็ต้อง ขอกราบเรียนพ่อแม่พี่น้องประชาชนว่าการเชื่อมโยงบัตรประชาชนใบเดียวรักษาได้ทุกที่ ทุกโรงพยาบาล เป็นนโยบายสุดท้าย นโยบายเป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุขของ ท่านนายกรัฐมนตรี ดังนั้นกระทรวงสาธารณสุขเห็นถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพของ พี่น้องประชาชนจึงจะต้องทุ่มเท คณะแพทย์และแพทย์ที่รู้เรื่องเทคโนโลยีได้เชื่อมโยงกับ บริษัทเอกชนต่าง ๆ ในการทำเทคโนโลยี ตามที่ท่านได้พูดถึงนั้นเป็นเรื่องของเทคโนโลยี ที่จะเชื่อมโยงกัน แล้วก็อาจจะมีบางส่วนเมื่อประชาชนมาแล้วในเรื่องเจาะเลือดหรือในเรื่อง ประวัติอะไรต่าง ๆ ถ้าหากว่ายังไม่ได้เชื่อมโยงเข้าไป แน่นอนที่สุดคนนับเป็นสิบ ๆ ล้านคน ก็อาจจะมีบ้าง แต่เรามีทีมอยู่ที่โรงพยาบาล อยู่ที่จังหวัด อยู่ที่อำเภอ คอยเก็บข้อมูลเหล่านี้ มาปรับปรุงเพื่อให้ทันสมัย เพื่อให้ครบถ้วนบริบูรณ์ ผมมั่นใจว่าในเร็ว ๆ นี้ในแต่ละจังหวัด แต่ละเขตที่เราเปิดไปแล้วก็จะเริ่มค่อย ๆ สมบูรณ์ ๆ แล้วท้ายที่สุดก็จะใช้บัตรประชาชนใบเดียว วันนี้เราเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปเชียงใหม่ เจ็บไข้ได้ป่วยเราก็นำบัตรประชาชนใบเดียวนี้ล่ะไปถึงโรงพยาบาล ไปเสียบ ก็จะมีเจ้าหน้าที่ บุคลากรทางการแพทย์ช่วยดูว่ามีข้อมูลอะไรต่าง ๆ ก็ช่วยกันอ่าน และในไม่ช้าประชาชนก็จะ เกิดความรู้ในเรื่องเหล่านี้ ในอนาคตเขาก็จะเสียบที่บ้านของเขาได้ จะนัดแนะที่บ้านได้
ก็ขอตอบเบื้องต้น ขอบคุณครับ สวัสดีครับ
ต้องขอตอบท่านผู้แทนว่า บัตรประชาชนใบเดียวรักษาได้ทุกพื้นที่ตามที่ท่านได้ถามนั้น ก็ต้องเรียนว่าเป็นความปรารถนาดีแล้วก็ความตั้งใจของท่านนายกรัฐมนตรีที่ได้สั่งการให้ กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการทำโครงการนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกในการรักษาพยาบาล ให้กับพี่น้องประชาชนในชนบท ส่วนในเมืองนั้นก็คงไม่ยากหรอกครับ เพราะว่าทุกคนนั้น มีความสะดวกสบายอยู่แล้ว แต่ในชนบทนั้นจึงมีความจำเป็น ท่านนายกรัฐมนตรีจึงได้สั่งการ มาตั้งแต่ตอนที่ท่านเข้ามารับงานใหม่ ๆ มาเป็นนายกรัฐมนตรีใหม่ ๆ นั้นได้มาสั่งการ กระทรวงสาธารณสุขรู้ครับว่าปัญหาการเชื่อมโยงในระดับเทคโนโลยีนั้นเป็นเรื่องใหญ่ โดยเฉพาะในประเทศไทยเราเองก็มีหลายระบบ ซึ่งขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขใช้ระบบ หมอพร้อม ซึ่งระบบหมอพร้อมเป็นระบบที่พร้อมที่สุดในขณะนี้ แต่แน่นอนที่สุดไม่ว่าจะเป็นระบบของกระทรวงกลาโหมก็ดี ของโรงพยาบาลกลาโหมก็ดี ระบบขององค์กรอื่น ๆ รวมไปถึงระบบของกรมบัญชีกลางก็ดีในการเบิกจ่ายนั้นมีความสำคัญ ผมทราบ เพราะฉะนั้นกระทรวงสาธารณสุขก็กำลังปรับ เชื่อมโยงระบบเครือข่ายในการ เบิกจ่ายในระบบเหล่านี้อยู่ ทั้งหลายทั้งปวงนั้นมันเป็นเรื่องยากในเรื่องเทคโนโลยีกับพี่น้อง ประชาชน ๖๗ ล้านคนเป็นเรื่องใหญ่ แต่ท่านนายกเห็นถึงความสำคัญในเรื่องสุขอนามัย การรักษาพยาบาล เจ็บไข้ได้ป่วยนั้นเป็นเรื่องใหญ่ เป็นเรื่องสำคัญ กระทรวงสาธารณสุข ได้ทุ่มเท เพราะฉะนั้นวิธีที่กระทรวงสาธารณสุขได้คิดมาแล้วนั้นก็จะมีจังหวัดนำร่อง แล้วก็ เพิ่มไป เพิ่มไป เพิ่มไป แต่ทั้งหลายทั้งปวง ๗๗ จังหวัดนั้นทุกอย่างจะเริ่มพร้อมในการทำงาน ครบทุกจังหวัดภายในสิ้นปีนี้ แต่ถึงอย่างไรก็ดีเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่มันขาดตกบกพร่องบ้าง เกี่ยวกับเทคโนโลยีทางกระทรวงเองได้ตั้งทีมงานสำหรับวิ่งเข้าไปแก้ไขในแต่ละจุด ๆ เพื่อให้ เกิดความพร้อม ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ให้ได้ภายในสิ้นปีนี้ เพราะฉะนั้นการที่จะไปดูแลคน ๖๗ ล้านคน ๗๗ จังหวัด กับระบบของสาธารณสุขเป็นรายคน ๆ แบบนี้เป็นเรื่องยาก แต่กระทรวงสาธารณสุขสามารถทำได้และมีความตั้งใจครับ ขอบคุณครับ
ขอบคุณ ท่านผู้แทนที่ใส่ใจในรายละเอียดต่าง ๆ มากมาย ซึ่งหนังสือเกี่ยวกับการเชื่อมโยงข้อมูลนั้น เดี๋ยวผมจะไปตรวจสอบว่าท่านเซ็นมาตั้งแต่เมื่อไร อย่างไร แล้วก็จะตอบท่านผู้แทนโดยตอบ ทางเอกสารให้นะครับ แต่ท่านบอกว่าการเชื่อมโยงนั้นยังไม่ได้รับอนุญาตการเชื่อมโยงอะไรต่าง ๆ หรืออะไรพวกนี้ นะครับ ผมขอเรียนว่าทางกระทรวงสาธารณสุขหลังจากที่เราเชื่อมโยงในพื้นที่นำร่อง ๔ จังหวัดตามที่ได้พูดถึงแล้ว เราเชื่อมโยงในระบบของโรงพยาบาลต่าง ๆ ร้านขายยา และโรงพยาบาลต่าง ๆ นี้ได้ทำการเชื่อมโยงไปแล้วนะครับ ทั้งโรงพยาบาลเอกชน คลินิก ร้านขายยาต่าง ๆ ขณะนี้ใน ๔ จังหวัดเราเชื่อมโยงไปแล้ว ๗๖๕ แห่ง แล้วก็ในอีก ๘ จังหวัด เราก็จะเชื่อมโยงไปเรื่อย ๆ แต่แน่นอนที่สุดในกระทรวงสาธารณสุขนั้น ในโรงพยาบาล เอกชนก็ดี หน่วยทหารก็ดี กรมบัญชีกลางก็ดี กระทรวงอื่น ๆ รวมถึงประกันสังคมก็ดี เราก็ ต้องยอมรับว่าในอดีตเรายังไม่มีโครงการนี้ พอเรามีโครงการที่จะเอื้ออำนวยประโยชน์ให้กับ พี่น้องประชาชนมากมายถึงขนาดนี้ เพราะฉะนั้นในแต่ละกรม กอง แต่ละโรงพยาบาล ก็จะต้องมีคณะกรรมการมาเชื่อมโยงทั้งเรื่องของข้อมูลทางการแพทย์ ข้อมูลประวัติของ พี่น้องประชาชน คนไข้ และในการเชื่อมโยงถึงข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ ทางคอมพิวเตอร์ ต่าง ๆ ว่า DNA มันตรงกันไหม สำหรับข้อมูลทางคอมพิวเตอร์อะไรต่าง ๆ เหล่านี้ ไม่อย่างนั้น ก็ต้องเขียนโปรแกรมให้มันเชื่อมโยงกัน ในระดับผู้ใหญ่ที่กระทรวงสาธารณสุขไปประสานงาน ไปติดต่อแล้ว ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงกลาโหมก็ดี หรือกรมบัญชีกลาง หรือกรมอื่น ๆ แม้กระทั่ง โรงพยาบาลเอกชน ทุกโรงพยาบาลก็ให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ และขณะนี้กำลังเชื่อมโยง ข้อมูลกันอยู่ ก็เรียนว่าก็คงต้องให้โอกาสกระทรวงสาธารณสุขในเรื่องของข้อมูลต่าง ๆ พวกนี้ ในระดับหนึ่ง ดังนั้นจึงทำเป็นขั้นเป็นตอนว่าขั้นนำร่อง ๔ จังหวัด ขั้นต่อมาในเดือนหน้า ๘ จังหวัด และในเดือนเมษายนอีก ๒๗ จังหวัด และภายในสิ้นปีกระทรวงสาธารณสุขจะใช้ ทรัพยากรเท่าที่มีของกระทรวงสาธารณสุขดำเนินการให้ครบ ๗๗ จังหวัดให้จงได้ เพื่อพี่น้อง ประชาชนตามคำบัญชาของท่านนายกรัฐมนตรีที่เป็นห่วงพี่น้องประชาชนในเรื่องสุขอนามัย ขอบคุณครับ
ขอบคุณ ท่านประธานครับ ผมมีความจำเป็นต้องเรียนท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนะครับ คำว่า บกพร่อง กระทรวงสาธารณสุขรับไม่ได้ เพราะว่ากระทรวงสาธารณสุขไม่มีความบกพร่อง แต่ข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนหรือของผู้ป่วยทุก ๆ ข้อมูล ทุก ๆ คนนั้นทางกระทรวง สาธารณสุขจะต้องให้ผู้ป่วยเหล่านั้นหรือว่าคนไข้เหล่านั้นเซ็นให้ความยินยอม ทางกระทรวง สาธารณสุขถึงจะดำเนินการนะครับ ดังนั้นสิ่งที่ท่านได้พูดบอกว่ามีข้อมูลของบางท่าน เสียบบัตรเข้าไปแล้วไม่ปรากฏข้อมูลใด นั่นแสดงว่าบุคคลผู้นั้นยังไม่ได้มาแสดงความจำนง ในการที่จะให้ข้อมูลนั้นสามารถที่จะ Link เข้ามาในระบบ เพราะว่าข้อมูลที่ Link เข้ามาใน ระบบนั้นถ้าเขาอยู่ร้อยเอ็ดแล้วเขามากรุงเทพฯ อยากจะมาโรงพยาบาลที่กรุงเทพฯ นั้นเขาก็ จะต้องยินยอมให้ข้อมูลเขาอยู่ในระบบนะครับอันที่ ๑ และตามที่ท่านบอกว่าทำไมไม่ทำ ระบบให้ครบถ้วน ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์แล้วมาเปิดทีเดียวทั่วประเทศ มันเป็นเรื่องเป็นไปไม่ได้ แล้วอันนั้นถ้าเกิดความบกพร่องระบบมันจะล่มเสียหาย ดังนั้นกระทรวงสาธารณสุขได้ ตรวจสอบและได้คำนวณอย่างดีที่สุดแล้วว่าจะต้องนำร่องเพื่อแก้ไขจุดอ่อนต่าง ๆ ทีละ ๔ จังหวัด ๘ จังหวัด แล้วท้ายที่สุดสิ้นปีก็จะครบทั้งประเทศนะครับ
ก็เลย เรียนให้พี่น้องประชาชนและท่าน สส. ได้ทราบด้วย ขอบคุณครับ