เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ และเพื่อนสมาชิกผู้ทรงเกียรติ ผม สัมพันธ์ มะยูโซ๊ะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนราธิวาส เขต ๒ พรรคพลังประชารัฐ ผมขอเสนอรายชื่อคณะกรรมาธิการแก้ไขปัญหาหนี้สินแห่งชาติ จำนวน ๑๕ ท่าน ในสัดส่วนของพรรคก้าวไกล จำนวน ๔ ท่าน ๑. นางสว่างจิตต์ เลาหะโรจนพันธ์ ๒. นายชัยวัฒน์ สถาวรวิจิตร ๓. นายองค์การ ชัยบุตร ๔. นายสุรพันธ์ ไวยากรณ์ ในสัดส่วนพรรคเพื่อไทย จำนวน ๕ ท่าน ๑. นายนรเสฎฐ์ ศิริโรจนกุล ๒. นายเกรียงไกร กิตติธเนศวร ๓. นายสมเกียรติ ตันดิลกตระกูล ๔. นายอาทิตย์ หวังศุภกิจโกศล ๕. นางสาวปิยะนุช ยินดีสุข ในสัดส่วนพรรคภูมิใจไทย จำนวน ๒ ท่าน ๑. นายลัทธชัย โชคชัยวัฒนากร ๒. นายธนพัฒน์ ศรีชนะ ในสัดส่วนของพรรคพลังประชารัฐ จำนวน ๒ ท่าน ๑. นายสัมพันธ์ มะยูโซ๊ะ ๒. นายนเรศ ธำรงค์ทิพยคุณ ในสัดส่วน ของพรรครวมไทยสร้างชาติ จำนวน ๑ ท่าน คือนายปรเมษฐ์ จินา และสัดส่วนของ พรรคประชาธิปัตย์ จำนวน ๑ คน คือนายชาตรี หล้าพรหม ขอผู้รับรองด้วยครับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ และเพื่อนสมาชิกผู้ทรงเกียรติทุกท่าน ผม นายสัมพันธ์ มะยูโซะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนราธิวาส เขต ๓ พรรคพลังประชารัฐ จากที่ผมได้ลงพื้นที่พบปะพี่น้องประชาชน ได้รับเรื่องร้องเรียนจากคนในอำเภอเจาะไอร้องเพื่อนำมาปรึกษาหารือท่านประธาน มีด้วยกัน ๒ เรื่อง
เรื่องแรก คือการสะท้อนปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องชาวตำบลบูกิต อำเภอเจาะไอร้อง จากการสัญจรถนนสายตันหยงมัส-เจาะไอร้อง ถนนทางหลวงชนบท ที่ ๕๐๐๒ นราธิวาส จากอำเภอเจาะไอร้องถึงตำบลโต๊ะเด็ง อำเภอสุไหงปาดี เส้นทางนี้ เป็นเส้นทางที่มีประชาชนใช้สัญจรกว่าหมื่นคน เป็นเส้นทางเลียบทางรถไฟ ช่วยย่นระยะทาง ในการเดินทางจากบ้านบูกิต อำเภอสุไหงปาดี ระยะทางกว่าหลายสิบกิโลเมตร แต่ในปัจจุบัน ประสบปัญหาเรื่องของเส้นทางที่แคบ ถูกตัดขาด และชำรุดเสียหาย เนื่องจากเกิดน้ำท่วม ทุกปีที่บริเวณคลองไอบือตง จนทำให้เกิดปัญหาขาดไฟฟ้าส่องสว่างตามมาด้วย ซึ่งตอนนี้ ทาง อบต. บูกิต บรรเทาปัญหาของพี่น้องประชาชนได้เพียงทำทางผ่านชั่วคราว โดยการฝัง ท่อระบายน้ำบริเวณคลองดังกล่าว และปริมาณน้ำฝนของภาคใต้นั้นมีน้ำท่วมไหลลงมา เทือกเขาบูโดเป็นจำนวนมาก สร้างปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนจนแทบ ไม่สามารถสัญจรผ่านไปได้ เนื่องจากยังไม่มีสะพานที่ได้มาตรฐาน ถนนดังกล่าวอยู่ภายใต้ การดูแลของกรมทางหลวงชนบทในการซ่อมแซมก่อสร้าง เป็นถนนที่อยู่ในพื้นที่ของ การรถไฟแห่งประเทศไทย ผมจึงขอเรียนท่านประธานผ่านไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้มีการสร้างถนนและเพิ่มไหล่ทาง พร้อมติดตั้งไฟส่องสว่างตลอดเส้นทางคือ ทางหลวงชนบทที่ ๕๐๐๒ นราธิวาส ซ่อมแซมสะพานข้ามตัดขาดไปพร้อมกับขยายสะพาน ในบางช่วงให้กว้างขึ้นจากเดิมให้แล้วเสร็จเป็นที่เรียบร้อย
เรื่องที่ ๒ เรื่องด่านศุลกากรอำเภอแว้ง ตำบลบูเก๊ะตา เนื่องจากด่านศุลกากร ตำบลบูเก๊ะตายังไม่มีสถานะที่สามารถมองเห็นได้ว่าเป็นด่านความมั่นคงถาวร มีเพียง ตู้ Container อยู่ในการตรวจสอบคนเข้าออกระหว่างประเทศ มองดูแล้วเหมือนไม่ใช่ ด่านศุลกากร เป็นเพียงการผ่อนปรนธรรมดา ในขณะเดียวกันทางฝั่งประเทศมาเลเซีย มีด่านศุลกากรตรงข้ามกันมีความเป็นมาตรฐานและพร้อมสำหรับการต้อนรับเข้าออก ของชาวต่างชาติและสินค้าต่าง ๆ ผมได้ลงไปสำรวจพื้นที่บริเวณดังกล่าวพบว่าด่านศุลกากร บูเก๊ะตามีอาคารสร้างเสร็จเป็นที่เรียบร้อย แต่ไม่ได้มีการเข้าไปทำการใด ๆ จึงเกิด ความกังวล ได้สอบถามเจ้าหน้าที่ซึ่งได้รับคำตอบว่าด่านศุลกากร ณ เวลานี้เป็นเพียงแค่ ด่านธรรมดาในการผ่านเข้าออกของชาวบ้าน และสำหรับรถสินค้าทางการเกษตร รถบรรทุก อาหารทะเลจะต้องไปตรวจมาก่อน เหตุใดทุกอย่างอยู่ที่ด่านสุไหงโก-ลก และทำไม ไม่ให้บริการ One Stop Service ให้จบไปในที่เดียวกัน ขอบคุณท่านประธานครับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ และเพื่อนสมาชิกผู้ทรงเกียรติทุกท่าน ผม สัมพันธ์ มะยูโซ๊ะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนราธิวาส เขต ๓ พรรคพลังประชารัฐ วันนี้ผมมีปรึกษาหารือท่านประธาน รวม ๒ เรื่อง ดังนี้
เรื่องที่ ๑ ผมได้รับเรื่องร้องเรียนถึงความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน และบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลแว้ง อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส ซึ่งปัจจุบัน โรงพยาบาลแว้ง มีขนาด ๖๐ เตียง มีผู้ป่วยนอกมาใช้บริการเฉลี่ยวันละ ๕๐๐-๖๐๐ คนต่อวัน ประกอบกับโรงพยาบาลมีห้องอุบัติเหตุและห้องฉุกเฉินรวมอยู่ในตึกเดียวกัน ซึ่งสามารถ รองรับผู้ป่วยหนักได้เพียง ๒ ราย และด้วยขนาดห้องผู้ป่วยนอกที่เล็กคับแคบจนไม่สามารถ รองรับผู้ป่วยนอกที่เพิ่มมากขึ้นในทุก ๆ ปี ผมขอเสนอท่านประธานสภาผ่านไปยังหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องได้พิจารณาจัดสรรงบประมาณสำหรับอาคารผู้ป่วยนอกให้กับโรงพยาบาลแว้งเป็น การเร่งด่วนต่อไป
เรื่องที่ ๒ ขอเสนอพิจารณายกเลิกใบ ตม.๖ สำหรับด่านที่ติดพรมแดน ในพื้นที่ภาคใต้ อาทิ ด่านศุลกากรสุไหงโก-ลก ด่านศุลกากรบูเก๊ะตา ด่านศุลกากรเบตง ด่านศุลกากรสตูล และด่านศุลกากรปาดังเบซาร์ เช่นเดียวกับด่านศุลกากรสะเดาตามมติ คณะรัฐมนตรีที่ผ่านมา สำหรับข้อมูลอย่างด่านสุไหงโก-ลก มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวมาเลเซียเดินทางเข้าออกด่านเฉลี่ยวันละ ๖,๐๐๐-๗,๐๐๐ คนต่อวัน และหากเป็นเทศกาลสำคัญจะมีผู้เดินทางเข้าออกเฉลี่ยวันละ ๑๐,๐๐๐-๑๑,๐๐๐ คนต่อวัน ถือเป็นตัวเลขที่สูงและส่งผลดีต่อประเทศ การยกเลิกใบ ตม.๖ ของด่านสะเดาที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากพี่น้องทั้งประชาชนชาวไทยและชาวมาเลเซียรวดเร็ว ในการเข้าออกด่าน ทั้งนี้เพื่อความเสมอภาคเท่าเทียมกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ ลดขั้นตอน ความยุ่งยากของนักท่องเที่ยวมาเลเซีย ถือเป็นประโยชน์ต่อประเทศเป็นอย่างยิ่งนะครับ ผมจึงขอเรียนปรึกษาหารือท่านประธานสภาผ่านไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณา ดำเนินการแก้ไขปัญหา ทั้งนี้เพื่อความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวและกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ ต่อไป ขอบคุณครับ