กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ และท่านสมาชิกสภาผู้ทรงเกียรติทุกท่าน ดิฉัน วิลาสินี พิพิธกุล ผู้อำนวยการองค์การ กระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย หรือที่รู้จักกันในชื่อย่อว่า Thai PBS ขอนำเสนอรายงานประจำปี ๒๕๖๕ โดยขอมี Video ภาพประกอบด้วยค่ะ
ท่านประธานที่เคารพ Thai PBS ได้ประกาศ เป้าหมายด้านภาพลักษณ์เอาไว้ว่าคุณค่าที่ยึดโยงกับประชาชน ซึ่งได้ดำเนินการที่สะท้อน การยึดโยงไว้ในทุกพันธกิจของสื่อสาธารณะ ในครั้งนี้ดิฉันจะขอนำเสนอ ๖ เรื่องด้วยกัน ได้แก่
เรื่องแรก การยึดโยงผ่านการพัฒนาบริการและผลิตภัณฑ์ที่สามารถตอบสนอง ประชาชนได้หลากหลายกลุ่มมากขึ้นตามพฤติกรรมและความสนใจ ตามภูมิทัศน์สื่อใหม่ และที่สำคัญคือตามพันธกิจที่ไม่ทอดทิ้งกลุ่มที่ตกหล่นจากระบบตลาด โดยเฉพาะกลุ่มคนพิการ กลุ่มเด็ก และกลุ่มคนยากจน เป็นต้น ทั้งนี้นอกจากบริการโทรทัศน์ช่องหมายเลข ๓ แล้ว มีช่อง ALTV หมายเลข ๔ ซึ่งเป็นบริการเพื่อการเรียนรู้สำหรับเด็ก และมีบริการ Online ทั้ง Website Video on Demand Application และ Social Media บริการในรูปแบบ Video Content บน Thai PBS Digital Platform ทุกช่องทางมีผู้เข้าชมกว่า ๒.๑ พันล้านคน ตลอดทั้งปี
เรื่องที่ ๒ การยึดโยงกับประชาชนผ่านการสร้างสรรค์เนื้อหาที่มุ่งให้เกิด ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างยั่งยืน เช่น การจัดทำวาระลดความเหลื่อมล้ำ สร้างสังคม เป็นธรรม โดยมีทั้งการนำเสนอข่าวสารและสารคดีที่ชี้ให้เห็นประเด็นปัญหาเชิงโครงสร้าง และจัดระดมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน เพื่อหาทางลดความรุนแรงของผลกระทบ ดังตัวอย่างที่ถูกอ้างอิงถึงอย่างมากก็คือประเด็นคนจนเมืองและประเด็นเด็กหลุดจากระบบ การศึกษา ซึ่งมีการขยายผลจากสารคดีไปสู่ Model การแก้ปัญหาเชิงนโยบายที่เป็นรูปธรรม หลายด้านด้วยกัน ในด้านความคุ้มค่าของการทำวาระลดความเหลื่อมล้ำนี้มีผลประเมินโดย ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาเลือกศึกษาเฉพาะ ๑ กรณีจาก ๖ กรณีในสารคดีชุดคนจนเมือง พบว่าก่อให้เกิดมูลค่าตอบแทนเท่ากับ ๒๒.๑๒ เท่าของต้นทุนผลิต
เรื่องที่ ๓ เหตุการณ์ใหญ่ในปี ๒๕๖๕ คือการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่ง Thai PBS ได้แสดงบทบาทที่แตกต่างไปจากเพียงแค่การสื่อข่าว แต่ได้จัดทำวาระปลุก กรุงเทพฯ เปลี่ยนเมืองใหญ่ ชวนภาคีกว่า ๘๐ องค์กรมารวบรวมข้อเสนอนโยบายจาก ประชาชน ก่อให้เกิดกระแสความตื่นตัว มีจำนวนผู้เข้าชมหรือ Engagement ในทุกช่องทาง เผยแพร่ของ Thai PBS เพิ่มขึ้นอย่างยิ่ง เช่นมียอดผู้ชมแบบ Real time ทาง Website ถึง ๒.๗ ล้าน Pageview ในวันเลือกตั้ง ทั้งนี้การทำวาระพิเศษทั้งเรื่องความเหลื่อมล้ำ และเรื่องปลุกกรุงเทพฯ ได้มีผลสำรวจการยอมรับจากประชาชนให้ Thai PBS เป็นสื่อที่มี บทบาทและคุณค่าในการจัดวาระสำคัญทางสังคม
เรื่องที่ ๔ ในด้านการนำเสนอข่าวสารที่ซื่อตรงต่อจรรยาบรรณ โดยเฉพาะ ในภาวะวิกฤติที่เป็นความเดือดร้อนและเป็นความสูญเสียของพี่น้องประชาชนนั้น Thai PBS ได้รับการจัดลำดับเป็น Brand ข่าวที่น่าเชื่อถืออันดับ ๑ จากสถาบัน REUTERS ๒ ปีซ้อน ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีคนจำนวนมากใช้บริการข่าวสารของ Thai PBS อย่างสม่ำเสมอ และมี ผลประเมินความนิยมของประชาชนให้เป็นลำดับที่ ๑ ของ TV Digital ในมิติของการนำเสนอ เนื้อหาที่เป็นข้อเท็จจริงเชื่อถือได้ มุ่งลดความขัดแย้งและสร้างความเป็นธรรม
เรื่องที่ ๕ ปี ๒๕๖๕ ที่ผ่านมาเป็นปีที่ Thai PBS สร้างความโดดเด่นในเรื่อง ของการสื่อสารมิติวัฒนธรรมและการเรียนรู้ผ่านรายการสารประโยชน์และสาระบันเทิง ซึ่งมีผลสำรวจความพึงพอใจจากประชาชนว่าเป็นการแสดงบทบาทในฐานะโรงเรียนของสังคม ที่สร้างการเรียนรู้แบบหยั่งรากวัฒนธรรม เพื่อเข้าใจตัวตนและพร้อมขับเคลื่อนสู่การเป็น พลเมืองโลก โดยเฉพาะละครจากเจ้าพระยาสู่อิรวดีที่ได้รับการยกย่องว่าช่วยพาสังคม ก้าวข้ามอคติระหว่างเชื้อชาติ และยังทำให้เกิดกระแสความตื่นตัวในการสืบค้นเรียนรู้ ประวัติศาสตร์อย่างมาก อีกตัวอย่างคือสารคดีชุดโนราภูมิปัญญาแห่งแผ่นดิน ซึ่งทำหน้าที่ สืบสานภูมิปัญญาไปพร้อมกับการส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในระดับท้องถิ่น
เรื่องที่ ๖ พันธกิจที่ถือว่า Thai PBS แตกต่างจากสื่อทั่วไปก็คือ การสร้าง ความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมของภาคพลเมืองผ่านการใช้เครื่องมือสื่อ Digital ซึ่งได้มี การปรับปรุงให้สามารถรองรับภาคพลเมืองได้มากขึ้นผ่าน Digital Platform ต่าง ๆ ทำให้ ประชาชนในพื้นที่ได้ตัดสินใจบนฐานข้อมูลวิชาการ เช่นการนำภาพอนาคตเรื่องวิกฤติภัยแล้ง ของพื้นที่มาระดมความเห็นผ่าน Application และถ่ายทอดผ่านรายการฟังเสียงประเทศไทย เป็นต้น ท่านประธานที่เคารพ ปี ๒๕๖๕ เป็นปีเริ่มต้นของการใช้แผนยกระดับทั้งองค์กรสู่ Digital Transformation เพื่อให้ Thai PBS มีบริการที่สนองตอบประชาชนได้อย่างมีคุณภาพ มากขึ้น และเพื่อหนุนเสริมการต่อยอดบทบาทการเป็นพื้นที่สาธารณะของประชาชน ในการติดตามตรวจสอบนโยบายและแสวงหาทางออกร่วมกันด้วยปัญญา ให้สมกับที่เรา ตั้งเป้าไว้ว่าจะเป็นคุณค่าที่ยึดโยงกับประชาชนค่ะ ขอบพระคุณค่ะ
ดิฉันมีประเด็นตกหล่นไปอีก ๑ ประเด็น ที่ยังไม่ได้ตอบ ที่ท่านเอกราชถามเรื่องข้อสังเกตของ สตง. ที่เรียกคืนเงินรางวัล ขออนุญาต ชี้แจงสั้น ๆ ว่าเรื่องนี้เกิดขึ้นสืบเนื่องจากการที่ Thai PBS มีมติจ่ายเงินรางวัลจากรายได้ ที่จัดหามาได้เอง นั่นก็คือรายได้จากทรัพย์สินทางปัญญาของเราในปี ๒๕๖๒ หรือปี ๒๕๖๓ ซึ่งในจำนวนเงินที่ท่านกล่าวว่า ๑๕ ล้านบาทนั้น จริง ๆ แล้วจากการที่ สตง. ตั้งข้อสังเกต Thai PBS ได้ตั้งคณะกรรมการภายนอกเข้ามาตรวจสอบ ถ้าจะว่าก็คือสอบสวนข้อเท็จจริง เรื่องนี้ถึง ๒ คณะด้วยกัน แล้วก็พบว่ามีเพียงแค่จำนวนประมาณ ๒ ล้านบาทเท่านั้นที่เป็น การนำรายได้จากทรัพย์สินทางปัญญาที่เมื่อลงบัญชีแล้วไม่ได้หักต้นทุนการผลิตก่อน ดังนั้น จำนวนเงินที่จะต้องมีการเรียกคืนก็จะเป็นจำนวนเงินก้อนนี้ ซึ่ง Thai PBS ก็กำลังดำเนินการ ในเรื่องนี้อยู่ค่ะ จึงเรียนมาชี้แจงตามที่ท่านถามนะคะ ประเด็นที่เหลือทั้งหมด โดยเฉพาะ เรื่องกระบวนการสรรหาที่ท่านได้มีคำถามขึ้นมานั้น ท่านประธานเจิมศักดิ์จะเป็นผู้ตอบ รวมทั้งกล่าวสรุปในภาพรวมค่ะ ขอบพระคุณค่ะ
ขอบพระคุณค่ะ ขออนุญาตตอบสั้น ๆ อีกครั้งหนึ่งว่าหมายเหตุประกอบงบการเงินนั้นมีอยู่ใน QR Code หน้า ๑๐๓ ที่ท่านสมาชิก สามารถ Scan ดูได้ค่ะ ขอบคุณค่ะ
ขออนุญาตก่อนถึงท่านประธาน จะกล่าวสรุปนะคะ ดิฉันมีประเด็นที่อยากจะตอบชี้แจงท่านผู้ตั้งคำถามเมื่อสักครู่ ท่านแรกเรื่องของการทำ นโยบายแบบขาดดุล ต้องเรียนว่าตั้งแต่ปี ๒๕๖๓ เป็นปีที่ Thai PBS ทำบริการสาธารณะ ใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นจำนวนมาก โดยเฉพาะหลายท่านทราบดีว่าปี ๒๕๖๓ เป็นปีที่ประเทศไทย เผชิญกับวิกฤติโควิดนะคะ แล้วก็เด็กนักเรียนไม่ได้ไปเรียนเป็นเวลาเกือบครึ่งปีด้วยกัน ช่วงเวลานั้นเป็นช่วงเวลาที่ Thai PBS ตัดสินใจว่านี่เป็นหน้าที่ของเราที่ต้องทำ TV เพื่อการเรียนรู้สำหรับเด็ก เพื่อมา ทดแทนสิ่งที่เด็ก ๆ ไม่สามารถออกไปเรียนที่โรงเรียนได้ และเราก็พบว่าสื่อการเรียนรู้ แบบ Online ไปไม่ถึงเด็กค่ะ เพราะว่าจริง ๆ ทุกท่านก็ทราบดีว่าสื่อแบบ Broadband หรือ Internet ยังเข้าไม่ถึงประชาชนครบ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ สูงสุดดิฉันคิดว่าประมาณ ๗๐-๘๐ เปอร์เซ็นต์ของประชาชนทั้งประเทศ ดังนั้น Thai PBS จะไม่มีวันทิ้งคน ๑๐-๒๐ เปอร์เซ็นต์ตรงนี้นะคะ นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมเราถึงทำบริการ TV เพิ่มขึ้นคือช่อง ALTV ด้วยงบประมาณที่พยายามบริหารแบบให้คุ้มต้นทุนอย่างที่สุด ด้วยการใช้ทรัพยากร ร่วมกับ Thai PBS ในเรื่องของคน แล้วก็เรื่องของเนื้อหาบางส่วนที่เอามา Repackage ใหม่ได้ นอกจากผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เพิ่มขึ้นในปี ๒๕๖๓ เพื่อรองรับสถานการณ์เด็กหยุดเรียน ช่วงโควิดแล้ว เรามีบริการ Online ครบทุกรูปแบบ โดยเฉพาะบริการที่เรียกว่า VIPA หรือว่าช่อง Video Streaming หรือจะเรียกว่า OTT ก็ได้ เราเห็นว่า VIPA จะเป็นอีก Platform ใหม่ที่ Thai PBS ไม่ได้มอง Video Streaming เป็นแค่พื้นที่นำเสนอ Content เท่านั้น แต่สิ่งที่เราคาดหวังก็คือเราอยากเห็น Platform หรือ Video Streaming ของคนไทยที่สนับสนุนผู้ผลิตเนื้อหาและ Content Creator ใหม่ ๆ ของคนไทยที่ไม่ต้อง ใช้ทุนจำนวนมากไปแข่งขันกับ Streaming ของ Global Platform ทั้งหลาย อันนี้คือ เจตจำนงของการพัฒนา VIPA ขึ้นมาอีกช่องหนึ่งนะคะ แล้ว Thai PBS เองคาดหวังว่า ถ้าเราทำงานได้ดีเราอยากให้ VIPA เป็นพื้นที่ใหม่ที่ระดมรูปแบบการมีส่วนร่วมได้ทุกรูปแบบ เพราะว่าโดย Platform แล้วมันเอื้อให้รองรับสิ่งเหล่านั้นได้ แล้วก็ไม่ว่าจะเป็น Podcast หรืออื่น ๆ เกิดขึ้นแบบเต็มรูปแบบตั้งแต่ปี ๒๕๖๓ ไล่มาจนถึงปีนี้ รวมทั้งอาจจะบอกว่า การลงทุนเพิ่มกับเนื้อหาที่ Thai PBS มองว่าจะมีโอกาสเป็นทรัพย์สินทางปัญญาในการที่จะ ไปขยายต่อในตลาดต่างประเทศได้ภายใต้ พ.ร.บ. ที่เอื้อให้ทำได้นะคะ ดังนั้นท่านอาจจะ เห็นว่าเรามีละครที่เพิ่มขึ้นและเป็นละครที่พยายามให้ความสำคัญกับเป้าหมายของเนื้อหา ที่ต้องแตกต่างจากละครในช่องพาณิชย์ทั่วไป ตรงนี้ก็อีกเช่นกันค่ะ จริง ๆ แล้วยุทธศาสตร์ การทำละครของเราคือเพิ่มขึ้นมา ๑ วันเลย จากเมื่อก่อนเรามีละครแค่วันเสาร์ วันอาทิตย์ ตอนนี้ละครของช่อง Thai PBS เองก็มี ๓ วันต่อสัปดาห์ และเราหวังให้เนื้อหาละครเหล่านี้ เป็นเนื้อหาที่ส่งเสริมในเรื่องของ Soft Power ที่จะไปสู่ Global Market ด้วย ดังนั้น นโยบายของการวางงบประมาณขาดดุล ดิฉันเรียนว่ากรรมการนโยบายมีมติชัดเจน ให้ฝ่ายบริหารของ Thai PBS ทำงบเข้าสู่สมดุลให้ได้ภายในปี ๒๕๖๘ นั่นคือกรรมการ นโยบายยอมให้ฝ่ายบริหารวางงบแบบขาดดุลไปถึงปี ๒๕๖๘ เท่านั้น ดังนั้นขณะนี้สิ่งที่เรา ลงทุนกับสิ่งที่ดิฉันเรียกว่าเป็น Soft Power ทั้งหลาย หรือทรัพย์สินทางปัญญา ก็เพื่อหวังให้ เราสามารถทำแผนหารายได้เพิ่มขึ้นได้ ซึ่งปีนี้ไปจนถึงปีหน้า และปี ๒๕๖๘ จะเป็นปีที่เรา จะพัฒนาแผนหารายได้ในรูปแบบใหม่ ๆ ที่พระราชบัญญัติรองรับ เพื่อทำให้เราเข้าสู่ งบสมดุลให้ได้ค่ะ ดิฉันก็ขอเรียนชี้แจงเรื่องนี้นะคะ
อีกประเด็นเดียวค่ะ จริง ๆ แล้วดิฉันไม่ได้อยากแก้ข้อมูล แต่อยากเรียนว่า งานวิจัยที่ท่านเอกราชพูดถึงนั้นเป็นเพียงแค่งานวิจัยฉบับเล็กที่ทำเพิ่มเติมขึ้นจากงานวิจัย ฉบับใหญ่ที่ศึกษามาตั้งแต่ปี ๒๕๔๓ หรือปี ๒๕๔๔ ดิฉันอาจจะจำ พ.ศ. ได้ไม่ชัดนะคะ ดังนั้นก็ขออนุญาตว่ามีงานวิจัยชิ้นใหญ่กว่านั้นที่มีกระบวนการศึกษาและทำงานกันมา จากภาคสังคมทั่วประเทศอย่างต่อเนื่องนะคะ สุดท้ายนี้ขออนุญาตเรียนเชิญท่านประธาน กล่าวสรุปค่ะ