นายประจักษ์ บุญยัง

  • กราบเรียนประธาน สภาผู้แทนราษฎร ท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้ทรงเกียรติทุกท่าน ผม นายประจักษ์ บุญยัง ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ขออนุญาตตอบคำถามท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้ให้ ข้อสังเกต ให้ข้อแนะนำ และชื่นชม รวมถึงคำแนะนำต่าง ๆ ข้อสังเกตต่าง ๆ ในการจัดทำ รายงานการปฏิบัติราชการของ สตง. ในปี ๒๕๖๕ ที่ผ่านมา โดยภาพรวมของการดำเนินงาน อย่างที่ท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้อภิปรายในการดำเนินการในการตรวจสอบ ของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน สามารถที่จะดูแลป้องกันการเบิกจ่ายเงินที่อาจจะ ไม่เป็นไปตามกฎหมาย ไม่เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในวงเงินรวม ๒๓,๐๐๐ กว่าล้านบาท ต้องเรียนอย่างนี้คำถามที่ท่านประสิทธิ์ ปัทมผดุงศักดิ์ ได้ให้ข้อสังเกตและให้คำแนะนำไว้ ในเบื้องต้นก็คือในข้อเท็จจริงของการตรวจสอบเรื่องของความเสียหายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ที่ท่านมีคำถามถึงว่าเป็นเรื่องทุจริตสักเท่าไร เป็นเรื่องการปฏิบัติตามกฎหมายต่าง ๆ ที่อาจจะไม่ใช่การทุจริต หรือรวมไปถึงการดำเนินการที่อาจจะทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ และประสิทธิภาพ ในจำนวนตรงนี้ในรายงานประจำปีจะบอกไว้ ในกรณีที่เราส่งสำนักงาน ป.ป.ช. คือหมายความว่ามีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าทุจริตอยู่ในวงเงิน ๖๖๕.๑๗ ล้านบาท

    อ่านในการประชุม

  • ส่วนที่ ๒ ก็เป็นส่วนที่เราไปตรวจสอบแล้วปรากฏว่าปฏิบัติไม่เป็นไปตาม กฎหมาย และเกิดความเสียหาย ซึ่งตรงนี้ยังไม่ถึงขั้นทุจริต เราก็แจ้งให้หน่วยงาน ไปดำเนินการตั้งกรรมการหาผู้รับผิดชอบชดใช้ในทางละเมิด รวมไปถึงการดำเนินการทาง วินัยของข้าราชการอยู่ในวงเงิน ๓,๐๖๑.๑๖ ล้านบาท ส่วนที่เหลือ ๑๙,๐๐๐ กว่าล้านบาท เป็นการตรวจสอบเรื่องผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพการดำเนินงานที่พบว่ามีการดำเนินการ แล้วไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ มีการจัดซื้อครุภัณฑ์ วัสดุ รวมไปถึงสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ แล้วไม่สามารถที่จะใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ได้ มีการทิ้งร้างว่างเปล่า อันนี้เราจะ คำนวณตามมูลค่าของโครงการ หรือสิ่งก่อสร้าง หรือครุภัณฑ์เหล่านั้นว่าเราได้ใช้จ่ายไป เท่าไรและไม่ได้เกิดประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ ไม่ได้รวมคำนวณถึงค่าเสียโอกาส ไม่ได้รวม ในความเสียหายอื่น ๆ ซึ่งอาจจะต้องใช้วิธีการคำนวณซึ่งซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ในเบื้องต้นเราก็ จะเป็นอย่างนี้ ถ้าสิ่งก่อสร้างหรือครุภัณฑ์ต่าง ๆ ได้มีการใช้ประโยชน์ความเสียหายเหล่านั้น ก็จะกลับมาเป็นประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของโครงการต่อไป ทีนี้กลับมาในเรื่องของ การตรวจสอบเรื่องของโครงการต่าง ๆ ที่ใช้เงินกู้ในสถานการณ์โควิด ต้องเรียนว่าในรายงาน ประจำปีฉบับนี้เป็นการสรุปผลการตรวจสอบในรายงานที่เราส่งไปยังหน่วยงานต่าง ๆ แล้ว เพราะฉะนั้นอาจจะไม่ได้มีรายละเอียดว่าเป็นหน่วยงานไหนบ้าง อะไรบ้าง แต่ว่าจะสรุป ในภาพรวม สำหรับรายละเอียดในรายงานต่าง ๆ ที่ได้ส่งให้หน่วยงานจะมีรายละเอียดในการ ตรวจสอบว่าได้ตรวจสอบมากน้อยขนาดไหน อย่างไรบ้าง ต้องเรียนในภาพรวมที่ท่านพูดถึง ว่ามีหน่วยงานใดทำถูกบ้าง ไม่ถูกบ้าง อะไรต่าง ๆ ในการตรวจสอบจะมีขอบเขตอยู่ เวลาเรา เข้าไปตรวจสอบถ้าพบข้อบกพร่องที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือจะเกิดความเสียหาย เราถึงจะมีหนังสือแจ้งให้หน่วยงานได้แก้ไขให้เป็นไปตามกฎหมายหรือดำเนินการต่าง ๆ ให้ครบถ้วน แต่ในกรณีที่เข้าไปตรวจสอบแล้วหน่วยงานมีการดำเนินการที่ถูกต้อง ดำเนินการ เป็นไปตามแผนงานโครงการหรือวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้แล้วเราจะไม่ได้แจ้งเพราะถือว่า ท่านได้ทำถูกต้องแล้ว สิ่งที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินอยากเห็นหรือผู้ตรวจสอบ อยากเห็นก็คือหน่วยงานต่าง ๆ ได้สามารถดำเนินการไปตามวัตถุประสงค์ เป้าหมาย รวมไปถึงกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ผลการตรวจสอบ ที่ออกมาตรงนี้ก็จะเป็นผลส่วนที่มีข้อบกพร่อง และเราได้แจ้งให้หน่วยงานใดแก้ไขให้ถูกต้อง ในกรณีต่าง ๆ เพราะฉะนั้นในภาพในรายงานประจำปีที่ท่านประสิทธิ์ได้นำเสนอมาใน PowerPoint ก็จะเห็นว่ามันจะมีความบกพร่องในกรณีต่าง ๆ ผิดระเบียบ เรื่องจัดซื้อจัดจ้าง มีความล่าช้า มีการเบิกจ่ายที่ไม่ถูกต้อง มันก็จะเป็นผลจากการตรวจสอบที่เราแจ้งให้หน่วยงานต่าง ๆ ไป แก้ไขให้ถูกต้อง สำหรับรายละเอียดของในรายงานแต่ละเรื่องก็จะมีรายละเอียดประกอบ ตรงนั้นด้วยนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านที่ ๒ ท่านฐิติกันต์ได้พูดถึงเรื่องของการตรวจสอบความคุ้มค่าต่าง ๆ อันนี้ผมได้ตอบไปเมื่อสักครู่แล้วนะครับ ทีนี้ในส่วนของเรื่องกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ที่มีการจัดเก็บรายได้ซึ่งปัจจุบันนี้เป็นเงินสดอยู่ จริง ๆ แล้วมีประเด็นที่เป็น ข่าวทางสื่อมวลชนทาง สตง. เองก็ได้เข้าไปตรวจสอบ แล้วก็มีคำแนะนำในเรื่องของ การจัดเก็บรายได้ซึ่งให้เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น เพื่อให้สามารถที่ตรวจสอบได้ แต่เดิมก็จะเป็นลักษณะของการใช้ใบเสร็จ แล้วก็รับเงินสด ออกบ้าง ไม่ออกบ้าง ซึ่งตรงนี้ เราได้ตรวจสอบแล้วก็ได้รายงานไปในแจ้งข้อบกพร่องต่าง ๆ แล้วก็ได้ให้ข้อเสนอไปแล้ว กรณีผลสัมฤทธิ์ที่มีการทิ้งร้างว่างเปล่านะครับ หลายกรณีจริง ๆ ต้องเรียนอย่างนี้ว่า ในการตรวจสอบของเราอย่างที่ท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบางท่านได้อภิปราย ถึงการตรวจสอบของ สตง. หลัก ๆ ก็จะมีอยู่ ๓ ส่วน ก็คือเรื่องของ Financial Audit คือการตรวจรายงานการเงิน ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ซึ่งเราต้องตรวจ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่ ๒ ก็คือการตรวจสอบการปฏิบัติ ตามกฎหมายหรือ Compliance Audit อันนี้จะเป็นการตรวจสอบซึ่งเป็นลักษณะ ของการประเมินความเสี่ยง หรือประเด็นที่ทางหน่วยงานต่าง ๆ หรือประชาชนได้แจ้ง ข้อร้องเรียนมา เราก็จะไปตรวจสอบว่าถูกต้อง ไม่ถูกต้อง ต้องยอมรับว่าในส่วนนี้ เราสามารถตรวจได้ไม่ครบถ้วน ไม่ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์เหมือนการตรวจสอบรายงาน การเงิน เพราะว่ามีรายการจัดซื้อจ้างจำนวนมาก ลำพังแต่ละบุคลากรของ สตง. ซึ่งมีอยู่ ๓,๐๐๐ คนเศษ ๆ ไม่สามารถที่จะตรวจสอบได้ จึงมีการสุ่มตรวจ เพราะฉะนั้นก็คงจะมี บางส่วนที่ทาง สตง. ไม่ได้เข้าไปตรวจสอบนะครับ รวมถึงการตรวจสอบประเภทที่ ๓ คือ Performance Audit หรือว่าผลสัมฤทธิ์ประสิทธิภาพการดำเนินงาน อันนี้ ต้องยอมรับว่าเราตรวจได้น้อยมากปีละ ๑๐๐ กว่าโครงการเท่านั้น ในขณะที่โครงการ ต่าง ๆ ของการใช้จ่ายของหน่วยงานภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีโครงการดำเนินการค่อนข้างมากนะครับ อันนี้ก็จะมีส่วนหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันนี้ทางคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินก็ให้ความสำคัญกับการตรวจสอบ เรื่องผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพมากขึ้น ก็จะดูว่าเงินงบประมาณแผ่นดินรวมไปถึงเงินนอก งบประมาณมีการใช้จ่ายเป็นไปตามวัตถุประสงค์ เกิดผลสัมฤทธิ์หรือไม่ คือผลสัมฤทธิ์ต่าง ๆ ก็จะเกิดประโยชน์กับประชาชน ก็จะทำให้มากขึ้น เรากำลังปรับโครงสร้างเพื่อที่จะทำหน้าที่ ในการตรวจสอบผลสัมฤทธิ์ให้มากขึ้น เพื่อที่จะตอบคำถามได้ว่าเงินงบประมาณแผ่นดิน ที่นำไปใช้จ่ายนั้นได้เกิดประโยชน์มากน้อยขนาดไหน สำหรับโครงการต่าง ๆ ที่ท่าน ได้แนะนำไว้ ผมรับที่จะไปดูว่าในโครงการเรามีการตรวจสอบในปีปัจจุบันหรือไม่ อย่างไร แล้วผลการดำเนินการเป็นอย่างไร แต่ต้องเรียนว่าคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินเอง ทางผมเอง และทางสำนักงานก็ให้ความสำคัญในการตรวจสอบประเภทนี้มากขึ้นนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านนิพนธ์ คนขยัน ได้ฝากประเด็นเรื่องชาวบ้านร้องเรียนในพื้นที่นะครับ เมื่อร้องเรียนมาแล้วบางที สตง. ก็ลงไปตรวจสอบ บางทีก็ไม่ได้เข้าไปตรวจสอบ ต้องเรียนว่า จำนวนเรื่องร้องเรียนทางสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเองก็เปิดรับการร้องเรียนจาก ประชาชน จากทุก ๆ ภาคส่วน ว่าถ้าพบการดำเนินการโครงการใด พบการดำเนินการของ หน่วยงานใดซึ่งอาจจะเห็นว่าไม่เป็นไปตามกฎหมาย ไม่เป็นไปตามระเบียบ หรือว่าทำไปแล้ว ไม่เกิดประโยชน์ สามารถร้องเรียนมาที่ทาง สตง. ได้ทุกช่องทาง ทั้งโทรศัพท์ ทั้งผ่าน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสามารถดูได้ใน Website นะครับ ทางสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ก็จะรับข้อมูลต่าง ๆ เหล่านั้นมาลงไปตรวจสอบ ทีนี้บางส่วนต้องเรียนว่าถ้าร้องเรียนมาโดย ภาพรวม ๆ แล้วไม่ได้ระบุรายละเอียดชัดเจน ก็อาจจะไม่ได้ลงไปตรวจสอบที่ชัดเจน แต่ว่าก็จะส่งข้อมูลเหล่านี้ให้หน่วยที่ตรวจสอบรายงานการเงินซึ่งต้องตรวจสอบทุกปี ประกอบการตรวจสอบนะครับ ในปี ๒๕๖๕ ที่ผ่านมาเรารับเรื่องร้องเรียนจากประชาชน ๒,๕๐๑ เรื่อง ซึ่งตรงนี้เราก็ต้องจัดสรรบุคลากรที่จะต้องเข้าไปดู พบว่าเป็นไปตาม เรื่องที่ร้องเรียนหรือไม่ หรือว่ามีการดำเนินการที่ถูกต้องแล้ว ถึงจะเข้าสู่กระบวนการ ตรวจสอบไปตามหน้าที่ที่ได้กำหนดไว้ โดยปกติเฉลี่ยช่วงเวลาที่ผ่านมา ปี ๒๕๖๕ ต้องถือว่าน้อย อยู่ประมาณ ๔,๐๐๐-๕,๐๐๐ เรื่องต่อปี ในการดำเนินการนะครับ อันนี้เราก็พยายามที่จะรับฟังความคิดเห็น จริง ๆ แล้ว นโยบายการทำงานของ สตง. นอกจากการตรวจสอบตามอำนาจหน้าที่แล้วยังมีการให้ ความรู้ความเข้าใจกับหน่วยรับตรวจเพื่อให้ทำถูกต้องตั้งแต่เริ่มต้นอย่างที่ท่าน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายท่านได้อภิปรายนะครับ เราก็ยังรับฟังข้อมูลต่าง ๆ จากทุก ภาคส่วน และในทุกภาคส่วนเหล่านี้เราก็มีกิจกรรมที่จะทำความเข้าใจว่าในการส่งข้อมูลให้ ทางสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเพื่อประกอบการตรวจสอบ หรือการดูแลเงินงบประมาณ แผ่นดินที่ลงไปในพื้นที่ ซึ่ง สตง. ไม่สามารถที่จะมีเจ้าหน้าที่ไปดูแลได้ถึงพื้นที่ต่าง ๆ ร่วมกัน ในการที่จะดูแลเงินแผ่นดินให้เกิดประโยชน์สูงสุดก็มีช่องทางนี้อยู่นะครับ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านต่อไปครับ ท่านนิยมนะครับ ได้พูดถึงเรื่องของผลการตรวจสอบโควิด โดยประเด็นวัคซีน อันนี้ผมขออนุญาตในการตรวจสอบเรื่องของวัคซีนนี่เราตรวจ มีรายงาน เฉพาะ ผมจะส่งให้ภายหลังที่เป็นรายงาน แต่ขออนุญาตชี้แจงในประเด็นที่ท่านถามเรื่องว่า มันมีผลการตรวจสอบซึ่งระบุชัดเจนไหมว่ามันแพง อันนี้ต้องเรียนว่าเกณฑ์ในการพิจารณาว่า แพงหรือไม่แพงเราก็เป็นประเด็นซึ่งสังคมสอบถาม เราก็ให้ความสำคัญและไปตรวจสอบ แต่ยังไม่สามารถชี้ชัดไปได้ถึงขนาดว่ามันแพง โดยที่มีเกณฑ์การเปรียบเทียบราคา เพราะ ในช่วงสถานการณ์ต่าง ๆ ราคามันมีความแตกต่างกันนะครับ ในรายงานก็จะเขียนช่วงเวลา ว่าช่วงนี้ราคาเท่าไร ๆ ด้วยวิธีการอะไร อย่างไรนะครับ ผมขออนุญาตที่จะส่งรายงานอันนี้มา ทางท่านประธานสภานะครับ

    อ่านในการประชุม

  • สำหรับเรื่องการฝากให้ตรวจสอบหน่วยงานขนาดใหญ่ จริง ๆ แล้วต้องเรียนว่า โครงการขนาดใหญ่บางโครงการ โครงการรถไฟฟ้า โครงการรถไฟต่าง ๆ เราก็ให้ความสำคัญ แต่เนื่องจากระยะเวลาในการทำงานของโครงการเหล่านี้ใช้ระยะเวลานานมาก กว่าจะถึงขั้น การก่อสร้างแล้วเสร็จนี่นะครับ ทางคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินก็เห็นว่าเรื่องนี้ ควรจะต้องมีการติดตามต่อเนื่อง การปรับโครงสร้างใหม่ที่กำลังจะทำนี่จะมีสำนัก ที่ตรวจสอบโครงการขนาดใหญ่ จะเป็นการติดตามการทำงานตั้งแต่เริ่มต้น ตรวจสอบ ต่อเนื่องไปถึงโครงการแล้วเสร็จ จะทำให้โครงการขนาดใหญ่หรือหน่วยงานขนาดใหญ่ ที่ทำโครงการเหล่านี้ได้มีการตรวจสอบในทุกขั้นตอน พอเวลาการตรวจสอบในแต่ละปี ๆ เราอาจจะตรวจสอบได้บางช่วงเวลาของโครงการเท่านั้น ช่วงเวลาของการจัดซื้อจัดจ้าง ช่วงเวลาของการดำเนินการบางส่วนในกรณีล่าช้าอะไรก็ดีนะครับ อันนี้ก็กราบเรียนให้ทราบ เบื้องต้นอย่างนี้นะครับ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านพัฒนา สัพโส ซึ่งท่านได้ให้ทบทวนแนวทางในการตรวจสอบนะครับว่า ควรจะดำเนินการอย่างไร ก็มีประเด็นที่สอบถาม หรือประเด็นที่อาจจะเป็นการตอบของ สตง. ในพื้นที่ซึ่งอาจทำให้เข้าใจผิดในเรื่องของเรื่องการแบ่งซื้อแบ่งจ้าง ต้องเรียนอย่างนี้ว่า ตามหลักการที่ท่านอภิปรายนั้นถูกต้องแล้วครับ การดำเนินการต่าง ๆ ในสัญญาต่าง ๆ ในโครงการต่าง ๆ นะครับ แต่กรณีที่ไปแบ่งแล้วทำให้อำนาจการลงนามในสัญญา หรือการสั่งซื้อสั่งจ้างนี่เปลี่ยนอันนี้ถือว่าแบ่ง หรือไปดำเนินการจัดแบ่งออกมาแล้วทำให้ วิธีการเปลี่ยนอันนี้ก็ถือว่าเป็นการแบ่งซื้อแบ่งจ้างนะครับ อันนี้ก็ต้องรับข้อเสนอของท่าน เดี๋ยวผมขอตรวจสอบข้อมูลในเบื้องต้นอีกทีว่าในข้อเท็จจริงที่ทาง สตง. ภาค ๖ ได้ตอบไปนั้น มันเป็นกรณีอย่างไรบ้าง

    อ่านในการประชุม

  • กรณีที่ ๒ ที่ท่านพูดถึงท่านรองผู้ว่าการสุทธิพงษ์ที่เข้ามาร่วมประชุมกับ คณะกรรมการกระจายอำนาจ เรื่องการตรวจรับงาน อันนี้เราได้รับทราบเหมือนกันจาก การดำเนินการของทั้งเราตรวจสอบเองทั้งหน่วยงานต่าง ๆ เอง แน่นอนครับ ตาม Spec นี่ กำลังอัดเท่าไร ถ้าตรวจวัดแล้วมันขึ้นถึงนี่จริง ๆ ในแนวทางปฏิบัตินะครับ ของเราเองในการ ตรวจสอบก็ใช้ว่าถ้ามันเป็นไปตามนั้นแล้วก็ไม่ต้องรอถึง ๒๘ วัน อันนี้ท่านรองโทรเข้ามา เมื่อสักครู่นี้ว่าได้ทำข่าว แล้วก็แจ้งประชาสัมพันธ์ผ่านไปในช่องทางต่าง ๆ แล้วให้รับรู้ รับทราบในแนวทางการตรวจสอบของ สตง. และการดำเนินการ แต่อย่างไรก็ตามต้องเรียน อย่างนี้ว่าระเบียบวิธีการปฏิบัติทุก ๆ เรื่องไม่ว่าการเบิกจ่ายเงิน การจัดซื้อจัดจ้างเป็นระเบียบที่ออกโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หลัก ๆ ก็เป็น กระทรวงการคลัง เรื่องของท้องถิ่นจะเป็นส่วนของกระทรวงมหาดไทย สตง. ไม่ได้มีอำนาจ ในการออกระเบียบในการดำเนินการอย่างไร แต่ก็จะมีข้อเสนอแนะเพื่อไปยังหน่วยงานที่มี หน้าที่ในการออกกฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อให้หน่วยงานราชการไม่ว่าจะเป็นประเภท ใดก็ตามได้มีการดำเนินการได้อย่างถูกต้อง อย่างชัดเจน อันนี้ก็ได้มีการนำเรียนไปถึง กรมบัญชีกลางและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการกำหนด Spec เรื่องการตรวจรับงานก่อสร้างต่าง ๆ ให้ไปในแนวทางเดียวกันนะครับ รับข้อเสนอของท่าน ผมจะไปประสานต่อในหน่วยงานที่ เรื่องของการแก้ไขกฎหมายก็ดีอะไรก็ดี เพื่อที่จะให้ การทำงานนั้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เกิดประโยชน์โดยตรงกับงานที่เกิดขึ้น

    อ่านในการประชุม

  • ต่อไปท่านเทียบจุฑา ขาวขำ ในภาพรวมของการดำเนินงาน และมีข้อเสนอแนะถึงเสียงสะท้อนของการปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ต้องขอบคุณท่านที่ได้พูดถึง แนวนโยบายของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และการทำงานของ สตง. ในยุคปัจจุบัน ที่ให้ความสำคัญ ก็ในความเสียหาย ๒๐,๐๐๐ กว่าล้านบาทในแต่ละปี หรือมากกว่านั้น ทาง สตง. เองก็ไม่อยากเห็น อยากให้หน่วยงานต่าง ๆ ทำให้ถูกต้องตั้งแต่เบื้องต้นจึงได้มี โครงการที่จะไปอบรม ไปให้ความรู้ ให้ความชัดเจน รวมไปถึงตอบคำถาม โดยเฉพาะท้องถิ่น เราได้จัดโครงการเปิดใจไขปัญหาท้องถิ่นถามมา สตง. ตอบไปทุกปี รวมไปถึงย่อย ๆ ในแต่ละพื้นที่ ว่าต้องการที่จะให้เราร่วมสัมมนาและร่วมพูดคุยเพื่อให้เข้าใจในแนวทาง นอกจากนั้นต้อง เรียนว่าตอนนี้เราได้ทำเป็นแนวทาง เรียกว่าแนวทางการเสริมสร้างการรักษาวินัยการเงิน การคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งจากภารกิจหลักๆ ของท้องถิ่นที่มีปัญหา ความไม่ชัดเจนในการเบิกจ่ายเงิน ไม่ว่าจะเป็นงานประเพณี งานกีฬาหรืออะไรต่าง ๆ รวมไป ถึงการดำเนินการต่าง ๆ ให้ถูกต้องเราทำเป็นเป็นขั้นตอน รวมถึงทำ Application ให้ท่าน สามารถตรวจสอบได้ว่าถ้าท่านจะทำโครงการประเภทนี้อย่างนี้ ๑ ๒ ๓ ต้องทำอย่างไร เพื่อให้คำแนะนำ อันนี้เราก็จะแจกให้ทาง อปท. และในวันที่ ๒๐ กันยายนที่จะถึงนี้เราได้ เชิญ อปท. เข้ามาร่วมที่จะทำความเข้าใจกับตัว Application ที่เราทำขึ้นเพื่อให้สามารถใช้ ตรวจสอบเบื้องต้นของตัวเองว่าในการดำเนินการในแต่ละเรื่อง สามารถหรือยังขาดส่วนไหน ที่ยังไม่ได้ดำเนินการเพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบต่าง ๆ แต่ถ้าอะไรที่มันเป็นส่วนที่ ทำให้หน่วยงานทำ และเป็นอุปสรรคเราก็จะรับฟังข้อเสนอแนะของท้องถิ่นเพื่อที่จะนำเสนอ ไปยังกระทรวงมหาดไทย กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นให้มีการแก้ไขเพิ่มเติม ผมเรียน เพิ่มเติมว่าในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาตั้งแต่ทางคณะกรรมการชุดนี้หรือผมเข้ามาในช่วงตั้งแต่ ปี ๒๕๖๑ ถึงปัจจุบันนี่ เราได้สะท้อนถึงแนวปฏิบัติจากข้อทักท้วงเดิมที่เราเคยพูดถึงว่า อปท. ไม่มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการ ไม่มีระเบียบให้เบิกจ่าย เราได้ประสานและแจ้ง ข้อมูลไปยังกระทรวงมหาดไทย กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นให้ออกระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจนว่าอะไรเบิกได้บ้าง อะไรเบิกไม่ได้บ้างนะครับ ทางกระทรวงมหาดไทยก็ได้ไป ออกระเบียบกฎเกณฑ์ต่าง ๆ เรื่องเหล่านั้น ๒๐ กว่าฉบับเพื่อให้เกิดความชัดเจน โดยเฉพาะ เรื่องของระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการช่วยเหลือประชาชน อันนี้ก็จะเปิดทางที่จะ ให้องค์กรปกครองท้องถิ่นได้มีการใช้จ่ายเงินเพื่อแก้ปัญหาของท้องถิ่นได้มากขึ้นอันนี้ก็จะมี อีกทางหนึ่งที่เราดำเนินการ ต้องเรียนว่าในการส่ง ในการจัดอบรมหรือสัมมนาอย่างที่ ท่านเทียบจุฑาได้พูดถึงเมื่อสักครู่นี้ เราทำได้น้อยจริง ๆ เพราะว่าด้วยงบประมาณที่มีอยู่เรา ได้รับการจัดสรรงบประมาณในจำนวนที่ไม่มากนัก รวมกับบุคลากรของเราด้วยที่โดยภารกิจ ตรวจสอบก็ยังมีอยู่ แต่ภารกิจในการส่งเสริมเราก็ต้องทำ เพราะฉะนั้นก็อาจจะทำให้ เราจะ จัดได้น้อย แต่อย่างไรก็ตามในช่วงวิกฤติที่ผ่านมาเราใช้ผ่านสื่อ Online ก็จะทำให้หน่วยงาน ต่าง ๆ เข้ามาร่วมได้มากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามในการดำเนินการไม่ว่าหน่วยงานราชการ ประเภทใดก็ตาม ถ้าจะดำเนินการแล้วอยากทราบว่าอันนี้ทำได้ ไม่ได้ หรือจะต้องทำอย่างไร ในมาตรา ๕๗ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย การตรวจเงินแผ่นดินนี่ได้ให้สอบถามได้เลย สอบถามเราต้องตอบให้แล้วเสร็จภายใน ๓๐ วัน มีแนวทาง มีคำตอบว่าเรื่องนี้ทำได้หรือไม่ได้ อย่างไร หรือว่าถ้าจะทำให้ถูกต้องควรจะทำ อย่างไร และต้องตอบแบบมีคำตอบนะครับ เมื่อตอบไปแล้ววรรคสองยังบอกว่าถ้าได้ทำ ดำเนินการตามที่ สตง. ตอบไปแล้วนี่ก็ถือว่าชอบนะครับ อันนี้ก็จะทำให้หน่วยงานต่าง ๆ มีความมั่นใจมากยิ่งขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมาปี ๒๕๖๕ มีหน่วยงานต่าง ๆ สอบถามเข้ามา เป็นหนังสือ ๑๗๔ หน่วยงาน ๒๕๒ เรื่อง อันนี้ต้องเรียนว่าถ้าหน่วยงานต่าง ๆ ถามมาเราก็ จะตอบในคำตอบในเหตุการณ์ข้อเท็จจริงที่จะทำ บางทีในเรื่องเดียวกันแต่ว่าข้อเท็จจริงของ แต่ละหน่วยงานมีความแตกต่างกันก็คำตอบอาจจะแตกต่างกันไป อันนี้ก็จะมีส่วน ที่สามารถทำให้ได้ คือตอนนี้เราก็ประชาสัมพันธ์มากขึ้นเพื่อที่จะให้หน่วยงานได้ถาม แต่ต้อง เรียนอย่างนี้ว่าจริง ๆ แล้วหน่วยงานอยากทำให้ถูก คนนี้มีความตั้งใจอยากทำให้ถูก เขาไม่ได้ ถามเป็นหนังสือ เข้ามาประชุมร่วมกันเอาข้อเท็จจริงมาเล่าให้ฟังแล้วควรจะต้องทำอย่างไรก็มี จำนวนมาก ในปีที่ผ่านมานี่เรายังไม่ได้เก็บสถิติไว้นะครับ ปีนี้เราได้ให้เก็บสถิติด้วยว่ากรณี ที่มาสอบถามอยากจะได้แนวทางเพื่อไปดำเนินการให้ถูกต้องมีกี่เรื่อง ซึ่งต้องเรียนว่ามีจำนวน มากทีเดียว อันนี้ก็จะเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของการที่จะให้ความรู้เราก็จะทำให้มากขึ้น เพื่อที่จะให้หน่วยงานต่าง ๆ มีการจัดทำให้ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นการใช้จ่ายเงินให้ถูกต้องตั้งแต่แรก และเกิดประสิทธิผลตามที่เราอยากเห็นว่าเงินแผ่นดินได้มีการใช้จ่ายไปอย่างถูกต้องตาม วัตถุประสงค์นะครับ

    อ่านในการประชุม

  • ต่อไปท่านวิชัย สุดสวาสดิ์ ได้พูดถึงเรื่องการตรวจสอบการจัดเก็บรายได้ของ สัมปทานรังนกอีแอ่นนะครับ ต้องเรียนว่าในการตรวจสอบการจัดเก็บรายได้เบื้องต้นนี่คือเรา ก็ดูตามสัมปทานว่าต้องเป็นรายได้เท่าไร อย่างไร เบื้องต้นเราตรวจในลักษณะที่ได้ดำเนินการ ครบถ้วนตามกฎหมายก็คือตัวสัมปทานที่มีข้อผูกพันกันอยู่หรือไม่ อย่างไรนะครับ แต่ข้อมูล ของท่านที่ให้มาเป็นประโยชน์มากในภาพรวม สตง. ยินดีครับในการดำเนินการ ถ้าจะมี หน่วยงานต่าง ๆ ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการแก้ปัญหาเรื่องของรังนกอีแอ่นให้มันเป็นรูปธรรม ให้เป็นแนวทางที่ชัดเจนเพื่อให้สามารถบริหารจัดการในเรื่องนี้ได้ ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สตง. ก็ยินดีที่จะเข้าร่วมให้ข้อมูลจากผลการตรวจสอบของ สตง. ที่ผ่านมา จริง ๆ แล้วเราได้ ศึกษาในกรณีอื่น ๆ ไว้ด้วยว่าในกรณีที่นกย้ายพื้นที่แล้วเข้ามาอยู่ในเมืองนะครับ บางพื้นที่ก็มี สร้างเหมือนบ้านคล้าย ๆ บ้านนกอีแอ่นอยู่ในเมือง ซึ่งพอมาแล้วก็อาจจะทำให้เกิด ความเดือดร้อนกับประชาชนในเขตเมืองด้วย จริง ๆ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญนะครับ สตง. ยินดีถ้าจะมีคณะกรรมาธิการหรือว่าคณะทำงานใด ๆ ที่จะเกี่ยวข้อง รวมไปถึงว่าในแนวทาง การตรวจสอบของ สตง. ด้วยในอนาคต

    อ่านในการประชุม

  • ต่อไปท่านนพพลได้พูดถึงระเบียบต่าง ๆ นี่มีหลายอย่างในการเบิกจ่ายต่าง ๆ งานประเพณีต่าง ๆ ที่ผมได้เรียนเมื่อสักครู่แล้วนะครับ ถ้ามันเป็นปัญหาในการดำเนินการ จริง ๆ ผมก็ได้รับเสียงสะท้อนจาก อปท. เพิ่มเติมว่าปัจจุบันถึงแม้จะมีระเบียบที่สามารถ เบิกจ่ายได้แล้ว แต่ข้อเท็จจริงแล้วนี่มันควรจะต้องมีการปรับปรุงแล้ว เพราะว่าสภาพ เศรษฐกิจหรือในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ มันเปลี่ยนไป ทาง สตง. ก็ยินดี เพียงแต่ว่าในระเบียบ ต่าง ๆ ที่กำหนดออกมาเมื่อกำหนดไปแล้วนี่เรามีหน้าที่ในการตรวจ Compliance ก็คือ เป็นไปตามระเบียบกฎหมายที่หน่วยงานต่าง ๆ ที่กำหนดไว้หรือไม่ อย่างไร ในดุลยพินิจ ต่าง ๆ ที่มีการใช้ดุลพินิจในการตรวจสอบอาจจะมีความแตกต่างกันบ้าง ต้องเรียนอย่างนี้ว่า ในข้อเท็จจริงเรื่องเดียวกันอย่างที่ผมเรียนว่าบางทีข้อเท็จจริงของแต่ละหน่วยงานนี่ มีความแตกต่างกัน เพราะฉะนั้นก็อาจจะมีแนวทางในการดำเนินการหรือการวินิจฉัย แต่อย่างไรก็ตามในกฎหมายหรือวิธีการปฏิบัติปัจจุบันก่อนที่เราจะแจ้งผลการตรวจสอบว่า หน่วยงานต่าง ๆ ผิดอะไร มีความเสียหายอย่างไร จะมีการส่งให้หน่วยงานได้ชี้แจง แสดงหลักฐานอีกครั้งหนึ่ง แต่เดิมเมื่อตรวจสอบแล้ว สตง. เห็นอย่างไรก็จะแจ้งผลไปเลย แต่ในขั้นตอนวิธีการปฏิบัติ ปัจจุบันนี้เนื่องจากเราพบว่า จริง ๆ แล้วในการปฏิบัติงานที่ไม่ถูกต้องบางทีก็ไม่ได้มี การเจตนาที่จะดำเนินการให้ไม่ถูกต้อง เพียงแต่อาจจะไม่ทราบหรือว่าจะมีส่วนหนึ่งส่วนใดที่จะ แสดงถึงเจตนา เราดูตรงนี้ด้วยนะครับ เพราะมีการให้ชี้แจงอีกทางหนึ่งอย่างที่ผมเรียนว่า ในกฎหมายปัจจุบัน หรือแนวทางการทำงานปัจจุบันแต่เดิมถ้าพบว่าการทำงานที่ไม่ถูกต้อง ตามกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ อันนี้ก็ถือว่าผิด และในปัจจุบัน มาตรา ๙๕ วรรคหนึ่ง ถ้ามี ข้อบกพร่องไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ แต่ไม่เกิดความเสียหาย คือบรรลุ วัตถุประสงค์ หรือว่าได้มีการดำเนินการไปแล้วก็ต้องถือว่าเป็นข้อบกพร่องโดยเราก็จะแจ้งให้ มีการแก้ไข ถ้าแก้ไขได้ ถ้าไม่แก้ไขอันดับต่อไปจะต้องดำเนินการอย่างไรให้ถูกต้อง แต่ถ้า กรณีเสียหายก็จะเป็นอีกวรรคหนึ่งที่เราต้องแจ้งให้หน่วยงานไปพิจารณาหาผู้รับผิดชอบ ชดใช้ ถ้าใครมีการดำเนินการผิดทางวินัยก็ต้องเตรียมการทางวินัย อีก Step หนึ่งก็คือถ้ามัน มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าทุจริต แน่นอนเลยครับ ไม่ใช่หน้าที่ของ สตง. ต้องส่งให้ ป.ป.ช. ดำเนินการต่อไป กรณีเรื่องของสร้างถนนต่าง ๆ อาจจะเป็นประเด็นอย่างที่ผมเรียนว่า มีเกณฑ์ที่ผ่าน หรือไม่ผ่านอะไร อย่างไร ถ้ากระทรวงมหาดไทยเองเจ้าของระเบียบเองจะมี การกำหนดอย่างไร ส่วนใหญ่ก็จะเชิญทาง สตง. เข้าไปสะท้อนข้อมูลจากการตรวจสอบ เพื่อประกอบการแก้ไขระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือกำหนดแนวทางในการปฏิบัติให้มี ความชัดเจนก็จะทำให้หน่วยงานต่าง ๆ มีความมั่นใจและทำได้ถูกต้องต่อไป

    อ่านในการประชุม

  • ท่านฐากร ตัณฑสิทธิ์ ต้องขอบคุณท่านที่ได้ติดตามการปรับตัวการทำงานของ สตง. อย่างที่ได้นำเรียนว่าเราไม่อยากเห็นความเสียหาย อย่างปี ๒๕๖๕ นี้ ๒๐,๐๐๐ กว่าล้านบาท ถ้าทำถูกตั้งแต่แรก ๒๐,๐๐๐ กว่าล้านบาทอาจจะได้เกิดประโยชน์ กับประชาชนไปเต็มที่แล้ว เพราะฉะนั้นเราก็จะมีการทำงานในเชิงที่ป้องกัน ในเชิงที่จะให้ ความรู้ต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น เพื่อให้หน่วยงานได้มีความชัดเจนในการดำเนินงาน

    อ่านในการประชุม

  • อีกประเด็นหนึ่งที่ท่านพูดถึงก็คือเงินงบประมาณผ่านสภานี้รู้ว่าปีละ ๓.๑-๓.๒ ล้านล้านบาท แต่เงินนอกงบประมาณนี่ดูในตัวเลขของทางสำนักงบประมาณที่ได้ พยายามประมวลว่าทุกหน่วยงานมีเงินนอกงบประมาณเท่าไร มีอยู่ ๔.๕ ล้านล้านบาท แต่ว่าในแต่ละปีหน่วยงานต่าง ๆ ก็จะมาใช้อยู่ประมาณ ๒ ล้านล้านบาท เราก็ให้ความสำคัญ เพราะถือว่าไม่ได้ยิ่งหย่อน ไม่ได้น้อยกว่าในส่วนของที่เป็นงบประมาณเลย ก็มีการตรวจสอบ ในส่วนที่เป็นเงินนอกงบประมาณด้วย แล้วก็จะมีข้อเสนอแนะไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่า มีการใช้จ่ายเงินที่ไม่ถูกต้องอย่างไรบ้าง ในการตรวจสอบ สตง. อย่างที่ผมเรียนไป มี ๓ ประเภทอยู่แล้วนะครับ รวมทั้งข้อเสนอแนะที่ท่านได้พูดถึงได้ให้กับทาง สตง. ให้เน้น เชิงป้องกันให้มากขึ้น เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และรวมไปถึงเรื่องของผลการดำเนินงาน ส่วนเรื่องของการให้ข่าวหรือชี้แจงกรณีที่เป็นประเด็นต่าง ๆ ในหลาย ๆ เรื่องทางสำนักงาน การตรวจเงินแผ่นดินก็ให้ความสำคัญนะครับ อะไรที่อาจจะเป็นการสร้างความสับสน เพื่อให้ เกิดความชัดเจนในการทำงานของส่วนราชการของหน่วยงานต่าง ๆ ผมก็ให้ข่าวนะครับ หรือว่าทำเป็นเป็น Pay Slip เพื่อที่จะแจ้งให้ทราบ ยกตัวอย่างเรื่องกรณีตอนที่มีปัญหา เรื่องท้องถิ่นจะจัดซื้อวัคซีนได้หรือไม่ ซึ่งก็มีข้อถกเถียงว่าต้องแก้กฎหมายอะไร ระเบียบ เป็นอย่างไรเราก็ให้ความชัดเจนตั้งแต่ต้นเลยว่าสามารถซื้อได้ เพียงแต่ท่านใช้เงินสะสม หรือใช้เงินงบประมาณที่ตั้งไว้ วิธีการก็จะแตกต่างกันเราก็จะให้คำตอบว่าสามารถดำเนินการ ได้อย่างไรอันนี้ก็จะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • ต่อไปท่านร่มธรรม ขำนุรักษ์ ท่านได้พูดถึงเรื่องของ อปท. เรื่องของท้องถิ่น ซึ่งก็เป็นประเด็นปัญหาสำคัญในการดำเนินการ ประเด็นหนึ่งที่เป็นปัญหาของท้องถิ่นที่ท่าน พูดถึงเรื่องของรายงานการเงินของหน่วยงานท้องถิ่น ซึ่งในปี ๒๕๖๔ ตามพระราชบัญญัติ วินัยการเงินการคลังของรัฐ จริง ๆ แล้วท้องถิ่นหน่วยงานทุกประเภทจะต้องจัดทำรายงาน การเงินให้เป็นไปตามมาตรฐานบัญชีภาครัฐที่ทางกระทรวงการคลังกำหนด แต่ว่าในบทเฉพาะกาล มาตรา ๘๔ ของ พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลัง ได้กำหนดบทเฉพาะกาล ของหน่วยงานที่ยังไม่เป็นไปตามมาตรฐานบัญชีภาครัฐที่กระทรวงการคลังกำหนดให้เวลา ๓ ปีนะครับ ตั้งแต่ปี ๒๕๖๑ ที่ พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังได้มีผลบังคับใช้นี่ครับ ท้องถิ่นก็จะ มีประเด็นปัญหาที่ต้องทำให้เสร็จภายในปี ๒๕๖๔ เพราะฉะนั้นผลการตรวจสอบใน ปี ๒๕๖๕ ที่เราตรวจรายงานการเงินปี ๒๕๖๔ จะเห็นว่า เรื่องการจัดทำรายงานการเงินของ อปท. ส่งล่าช้าบ้าง เพราะในตัว พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลัง มาตรา ๗๑ บอกให้หน่วยงาน ต่าง ๆ ต้องจัดทำรายงานส่ง สตง. ภายใน ๙๐ วันและให้ สตง. ตรวจให้แล้วเสร็จภายใน ๑๘๐ วัน ก็จะพบว่า อปท. ก็จะมีความไม่เข้าใจในแนวทางที่ต้องจัดทำรายงานการเงินตาม มาตรฐานบัญชีภาครัฐที่กระทรวงการคลังกำหนดนะครับ ในบทเฉพาะกาลมาตรา ๘๔ ให้ เวลาไว้ ๓ ปี มันก็ปี ๒๕๖๔ พอดี ต้องเรียนข้อมูลเพิ่มเติมว่าถึงแม้ในปี ๒๕๖๔ ที่หน่วยงาน อาจจะทำไม่ถูกต้องและส่งล่าช้า แต่พอในปีปัจจุบันปี ๒๕๖๕ ซึ่งเราตรวจในปี ๒๕๖๖ ต้องเรียนว่ามีข้อมูลซึ่งเห็นความชัดเจนได้ดีขึ้นเลยครับ สามารถส่งทัน แล้วก็ทำได้ถูกต้องด้วย นะครับ เมื่อเราตัวแล้วจะพบว่าให้ความเห็นแบบไม่มีเงื่อนไขเพิ่มขึ้น ก็ต้องบอกว่าทั้งส่วนทาง สตง. เราเองเราก็ให้ความสำคัญ คณะกรรมการได้ให้ความสำคัญว่าหน่วยงานที่ส่งไม่ได้นี่ ในทางปฏิบัติเขามีปัญหาอย่างไรหรือเปล่า หรือเจ้าหน้าที่ในการจัดทำบัญชี ตามมาตรา ๖๘ ของ พ.ร.บ. วินัยหรือเปล่านะครับ หรือมีปัญหาอย่างไรที่ทำไม่ได้ สตง. ต้องแนะนำนะครับ รวมไปถึงว่ากรณีที่เราตรวจสอบแล้วพบว่าไม่ถูกต้อง แสดงความเห็นไม่ถูกต้องหรือมีเงื่อนไข เราพยายามให้ความรู้มากยิ่งขึ้นเพื่อให้เขาทำถูกแล้วเขยิบไปถึงสุดท้ายนะครับ เป้าหมายของ เราคือว่าหน่วยงานภาครัฐ ซึ่ง พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลัง ปี ๒๕๖๑ ต้องการให้เราตรวจ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์นะครับ เป้าหมายของเราคืออยากเห็นรายงานการเงินเมื่อเราตรวจ ตรงไปตรงมาแล้วนี่ Clean ทั้งหมด ก็คือให้ความเห็นแบบไม่มีเงื่อนไขนะครับ ก็แสดงจะถึง ความโปร่งใสในภาพรวมของการดำเนินงานการใช้จ่ายเงินในรูปของรายงานการเงินได้ด้วย อันนี้ก็เป็นแนวทาง นอกจากเราตรวจสอบพบข้อบกพร่องแล้วนี่ เราก็จะมีข้อเสนอแนะ มีคำปรึกษาในการที่จะปรับปรุงให้ถูกต้องด้วยนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • ในส่วนของท่านชุติพงศ์ พิภพภิญโญ นะครับ ที่พูดถึงเรื่องงบรับรองที่ท่านพูด ถึงในหน้า ๑๘๔ อันนั้นก็จะเป็นเรื่องของหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีการใช้จ่ายเงินเพื่อโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ให้กับทางสื่อมวลชนก็จะมีส่วนหนึ่งที่เป็นงบรับรองให้กับสื่อมวลชน ตรงนั้น เราจะเป็นการรายงานตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๓๕ เพื่อที่จะให้ทราบว่าหน่วยงานต่าง ๆ มีการดำเนินการอย่างไรบ้างในการใช้งบประชาสัมพันธ์ ส่วนหนึ่งก็จะเป็นงบรับรองเรื่องสื่อ อันนี้ก็จะมีข้อมูลอยู่ว่ามีหน่วยงานใดบ้างสามารถที่จะเปิดเผยได้นะครับ

    อ่านในการประชุม

  • ส่วนในเรื่องของงบรับรองของ สตง. ต้องเรียนอย่างนี้ว่าปัจจุบันนี้ สตง. เป็น Governing Board หรือเป็นคณะมนตรีขององค์กรตรวจเงินแผ่นดินระหว่างประเทศ เป็นตัวแทน ๑ ใน ๒ ประเทศกับประเทศญี่ปุ่นของเอเชีย ไปเป็นบอร์ดบริหารหรือคณะมนตรี ในเวทีนานาชาติ คือ INTOSAI สตง. ทุก ๆ ประเทศในโลกนี้นะครับ แล้วนอกจากนั้น ท่านประธานก็เป็นประธาน ASOSAI คือประธานองค์กรตรวจเงินแผ่นดินใน Asia นะครับ แล้วก็ยังเป็นสมาชิกของ ASEANSAI เพราะฉะนั้นในภารกิจต่าง ๆ ที่ทางคณะกรรมการเอง ท่านประธานเองหรือ สตง. เองต้องทำหน้าที่ทั้ง Governing Board รวมถึงการเป็นประธาน ก็จะมีการรับรอง กรณีที่เราไปประชุมก็จะมีในฐานะประธาน ในฐานะที่ต้องมีการเลี้ยงรับรอง รวมไปถึงเราอยู่ในสถานะที่ในระดับที่เป็นสากลก็จะมีประเทศต่าง ๆ เข้ามาเยี่ยมเยียน หรือมาพูดคุยประชุมร่วมกันนะครับ ก็จะมีงบรับรองมากขึ้น ในช่วงปีก่อนที่ผ่านมา ต้องเรียนว่า ในช่วง COVID-19 นี่ก็จะเป็นการประชุมกันผ่าน Online เป็นส่วนใหญ่ ฉะนั้น ค่ารับรองอาจจะน้อยนะครับ เมื่อ COVID-19 จางลงไปก็จะมีการประชุมที่เป็น Onsite มาก ยิ่งขึ้น สำหรับรายละเอียดก็สามารถที่จะส่งให้ทางสภาได้นะครับ ก็ยินดีที่จะส่งให้ ก็จะมี กรมบัญชีกลางซึ่งเป็นผู้ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบ สตง. สตง. มีหน้าที่ตรวจสอบทุกหน่วยงาน ของรัฐ ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานทุกประเภท ส่วน สตง. นี่กรมบัญชีกลางจะเป็น คนตรวจ เพื่อที่จะ Check and balance กันเพื่อให้รู้ว่าในส่วนของการใช้จ่ายเงินของ สตง. เป็นอย่างไร แล้วก็รายงานนั้นก็ต้องรายงานต่อสภาด้วยนะครับ อันนี้ก็ได้ตอบคำถาม หรือข้อเสนอแนะต่าง ๆ อาจจะไม่ครบถ้วน

    อ่านในการประชุม

  • สุดท้ายนี้คงจะต้องขอบคุณในคำชื่นชมในข้อเสนอแนะต่าง ๆ ที่ทางสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรทุกท่านที่ให้ข้อเสนอแนะเพื่อที่จะไปปรับปรุงการทำงานให้มีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น สามารถที่จะดูแลเงินแผ่นดินซึ่งมีอยู่จำนวนมากให้สามารถใช้จ่ายไปอย่างถูกต้อง ตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี หรือแบบแผนของทางราชการ รวมไปถึง แล้วให้เกิดประโยชน์กับประชาชนเต็มเม็ดเต็มหน่วย ขอขอบคุณ ณ ที่นี้ แล้วก็รับ ข้อเสนอแนะหรือข้อสังเกตต่าง ๆ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปครับ ขอบพระคุณมากครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียน ท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้ทรงเกียรติทุกท่าน ผม นายประจักษ์ บุญยัง ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ขออนุญาตตอบคำถาม ท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้ตั้งคำถามในประเด็นต่าง ๆ เหล่านี้นะครับ ท่านณกรได้พูดถึง เรื่องของภาพรวมของการทุจริต ซึ่งมีข้อมูล ๕๐๐,๐๐๐ กว่าล้านบาท ๔๐๐,๐๐๐ กว่าล้านบาท หรือหน่วยงานต่าง ๆ ที่ได้ออกมาเป็นตัวเลขนะครับ จริง ๆ แล้วในเรื่องการทำงานของ สตง. หลังจากที่ปี ๒๕๔๐ ได้มีการกำหนดอำนาจหน้าที่ในการทำงานทั้ง สตง. ป.ป.ช. หรือหน่วยงานอื่น ๆ ที่มีหน้าที่ตรวจสอบรวมถึง ป.ป.ท. อะไรต่าง ๆ ด้วยได้กำหนดหน้าที่ ต่าง ๆ เดิมในการทำงาน สตง. จะมีบทบาทหน้าที่ในการตรวจสอบในเรื่องของทุจริตมากกว่า ปัจจุบัน แต่เนื่องจากในบทบาทหน้าที่ที่อาจจะซ้ำซ้อนกันระหว่าง สตง. กับ ป.ป.ช. ในกฎหมายพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน ปี ๒๕๖๑ ปัจจุบันกับกฎหมายของ ป.ป.ช. รวมถึงหน่วยงานอิสระจะเขียนเรื่องมาตรา ๖ ที่ชัดเจน เรื่องของอำนาจหน้าที่ในการที่จะไม่ให้ซ้ำซ้อนกัน เพราะฉะนั้นเรื่องทุจริตจะไปอยู่ที่ ป.ป.ช. เมื่อพบหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าทุจริตก็ต้องส่งต่อให้ ป.ป.ช. สำหรับความเข้มข้นในการ ตรวจสอบหน่วยงานส่วนกลางหรือท้องถิ่น หรือหน่วยงานประเภทใดก็ตามผมขออนุญาต ยืนยันอย่างนี้ครับว่าเราให้ความสำคัญพอ ๆ กัน สุดท้ายที่ท่านฐิติกันต์ได้พูดถึงว่ามาให้ ความสำคัญกับหน่วยงานขนาดใหญ่ดีกว่าไหมกับท้องถิ่นนะครับ ในส่วนของโครงการขนาด ใหญ่หรือหน่วยงานขนาดใหญ่ในส่วนกลางเราก็ให้ความสำคัญ แต่ว่าในการตรวจสอบเรื่อง Compliance Audit หรือว่า Performance Audit สำหรับการตรวจสอบรายงานการเงิน ของ อปท. ทั้งหมดอันนี้เป็นกฎหมายพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลัง เดิม อปท. มี ๗,๐๐๐ กว่าแห่ง เราไม่ได้จัดสรรบุคลากรลงไปตรวจสอบ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ เราตรวจอยู่ ประมาณ ๕ ปี ครบ ๑ รอบ ก็คือปีหนึ่งประมาณ ๒๐ เปอร์เซ็นต์เท่านั้นเอง แต่เนื่องจาก พ.ร.บ. วินัย การเงินการคลังบังคับให้เราตรวจ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ เพราะฉะนั้นกลายเป็นว่า เราต้องตรวจให้อัตรากำลังไปตรวจสอบตามกฎหมายวินัยการเงินการคลังให้ครบถ้วน ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ภายใน ๑๘๐ วัน ต้องเรียนว่ากรอบอัตรากำลังที่มีอยู่เดิมมันจึงเทไปที่ การตรวจสอบท้องถิ่นทั้ง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ เพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ ได้มีการตรวจสอบ รายงานการเงินครบถ้วนอันนี้ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่เรามีความเห็นในการที่จะเสนอแก้ไข กฎหมายเหมือนกันในเรื่องของการตรวจสอบรายงานการเงินไม่จำเป็นต้องตรวจสอบ ครบถ้วนตามที่ พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังกำหนดทำให้อัตรากำลังส่วนหนึ่งเราต้องใช้ไป ในส่วนนั้นนะครับ แต่ว่าอย่างไรก็ตามโครงการขนาดใหญ่ หรือหน่วยงานขนาดใหญ่ ในส่วนกลางเราก็ให้ความสำคัญต้องเรียนอย่างนั้น เพียงแต่ว่าอาจจะมีงบประมาณจำนวนมาก สัดส่วนที่เราตรวจสอบเมื่อเทียบกับงบประมาณแล้วอาจจะน้อยนะครับ และท่านณัฏฐ์ชนน พูดถึงเรื่องของงบประมาณ ต้องเรียนว่าเราได้ของบประมาณแต่ละปีลำดับการตรวจสอบ หรือการส่งเสริมให้ความรู้ต่าง ๆ ปีละ ๓,๕๐๐ กว่าล้านบาท เพื่อดำเนินการ เราจะถูกตัดอยู่ ประมาณปีละ ๑,๐๐๐ ล้านบาทได้ประมาณ ๒,๕๐๐ ล้านบาท ก็จะประมาณนี้ทุก ๆ ปี ถ้าดู งบประมาณในคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี ผมเองก็ได้ชี้แจงนะครับว่าในแต่ละปี ๆ จะมีงบประมาณอยู่ประมาณนี้เท่านั้นเอง อันนี้ก็จะ เป็นส่วนหนึ่งที่เราได้จัดทำตรงนี้ไป แล้วก็ให้ความสำคัญในการที่จะส่งเสริมให้ความรู้อย่างที่ ท่านได้นำเรียนว่าคนทำงานจริง ๆ แล้วมีความตั้งใจ อาจจะมีการดำเนินการที่ไม่ถูกต้อง บ้างก็ไม่อยากเห็นเขาถูกดำเนินคดี สำนักงานเองปัจจุบันนี้ไม่มีการดำเนินคดีกับใครทั้งสิ้น ถ้าพบแล้วก็ต้องส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ถ้าทุจริตก็ไปเรื่อง ป.ป.ช. ถ้าต้องหา ผู้รับผิดชอบชดใช้ก็ส่งให้หน่วยงาน หรือดำเนินการทางวินัยก็ส่งให้หน่วยงานดำเนินการ อันนี้ก็ต้องเรียนในภาพรวมอย่างนี้ครับ ขอบพระคุณมากครับ

    อ่านในการประชุม