นายกิตติ โกสินสกุล

  • ท่านประธานครับ ขอความกรุณาครับ กราบเรียน ท่านประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ผม กิตติ โกสินสกุล สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ จังหวัดตราด ต้องขออนุญาตกราบเรียนนะครับ ผมฟังมานานมาก ถ้าจะต้องกลับไปพูดถึง เรื่องของสิ่งที่กรรมาธิการกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ (ชั่วคราว) ได้ทำมาแล้ว ผมว่ามันก็คงจะ ใช้เวลายาวนานเกินไป ในเมื่อมีผู้ที่เสนอญัตติให้ปิดอภิปรายไปแล้วนะครับ ส่วนหนึ่งผมกำลัง มองว่าหากเราอยู่ในที่เดียวกัน เราก็ควรที่จะให้เกียรติซึ่งกันและกัน วันนี้คณะกรรมาธิการ กิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ (ชั่วคราว) ได้ทำหน้าที่เรียบร้อยแล้ว และจะย้อนกลับไปกลับมา ทำไมนะครับ ผมก็มีความเห็นเท่านี้ครับ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายกิตติ โกสินสกุล สปช. ตราด ท่านประธานที่เคารพครับ จากที่ได้ฟังทั้งคณะกรรมาธิการ วิสามัญการมีส่วนร่วมตั้งแต่เมื่อวานนี้มีการแถลง ผมก็มีความคิดว่ามันน่าจะมีเรื่องของ ประเด็นในการหารือมาจากเวทีแล้วก็จริง ก็เลยได้มีการสอบถาม แล้ววันนี้ก็ได้ข้อมูลมา ข้อมูลที่ผมได้มา จริง ๆ ต้องเรียนเลยว่ามันเป็นข้อมูลที่ทางสมาคมการประมง แห่งประเทศไทยได้ส่งตัวแทนเข้าไปร่วมในการเสวนาเมื่อวันที่ ๘ มกราคม แต่โอเคล่ะ ผมเข้าใจว่าทุกท่านที่มีความตั้งใจหรือที่จะจัดในเรื่องของการเปิดเสวนารับฟังความเห็น ในเชิงประเด็น เพื่อเอามาประกอบในเรื่องของการที่จะนำเสนอเพื่อให้การพิจารณาเกี่ยวกับ เรื่องของการเปิดสัมปทานปิโตรเลียม ทั้งปิโตรเคมีในประเทศไทยครั้งที่ ๒๑ ที่มีรวมอยู่ ด้วยกันทั้งหมด ๒๙ แปลง ๒๓ แปลงอยู่บนบก ๖ แปลงอยู่ในพื้นที่อ่าวไทย ทั้งนี้ผมอยากจะ กราบเรียนว่าผมเองผมเห็นด้วยในคณะกรรมาธิการเสียงข้างมากที่จะเปิดให้มีการสัมปทาน แต่ผมเองผมเป็นห่วงว่า เมื่อถึงเวลาแล้วในขณะที่มีการระดมความเห็นหรือรับฟังความเห็น อะไรต่าง ๆ ผมอยากจะให้ทำอยู่บนพื้นฐานของความจริงใจและอยู่บนพื้นฐานของ ความเป็นกลาง ซึ่งทำไมผมถึงพูดอย่างนี้ เพราะกรรมการของสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย ที่เข้าร่วมได้บอกกับผมว่าเขาเป็น ๑ ใน ๓๐๐ คนที่อยู่ในเวทีเสวนาแห่งนั้น สุดท้ายแล้วก็ พยายามนำเสนอหรือพยายามชี้แจงในเรื่องต่าง ๆ ที่ในที่ประชุมได้พูดกันถึงเรื่องปัญหา ในทะเล ที่บอกว่ามีคราบน้ำมันขึ้นชายฝั่ง ซึ่งจริง ๆ แล้วทางหลักวิชาการก็ไปแล็บ (Lab) เรียบร้อยแล้วว่าน้ำมันนั้นไม่ใช่น้ำมันดิบก็ยังไม่ยอมเชื่อ สุดท้ายแล้วก็มาพูดถึงเรื่องปลาโลมา ว่าปลาโลมานั้นตายเพราะว่ากินคราบน้ำมันดิบเข้าไป ซึ่งจริง ๆ แล้วนี่ถามว่าประเด็นนี้จริง ๆ ผมไม่อยากพูด แต่อยากจะให้ประชาชน ทั่วทั้งประเทศได้เข้าใจว่า ในความเป็นจริงแล้วปลาโลมาเป็นปลาที่ฉลาดไม่กินคราบน้ำมัน แน่นอน แล้วก็ผ่าพิสูจน์ทางวิชาการแล้วว่าไม่มีคราบน้ำมันในท้องของปลา ชัดเจนตรงนี้ ผมเองนั้นอยากจะกราบเรียนว่าในส่วนตรงนี้ ผมเองผมได้ติดตามข้อมูลในเรื่องของการเจาะ สำรวจ ทั้งการทำไซสมิก ทั้งการเจาะสำรวจโดยใช้แท่นเจาะ ซึ่งการเจาะในแต่ละครั้ง ที่ผมได้ทราบในเรื่องของตรงนี้ เนื่องจากว่าผมเป็นผู้ช่วยประธานสมาคมการประมง แห่งประเทศไทย แล้วเราได้สอบถามในเรื่องของกิจการของ ปตท.สผ. และกิจการอื่น ๆ ในหลายบริษัทที่ทำการขุดเจาะอยู่ แล้วก็ตั้งแท่นผลิตอยู่ในทะเลอ่าวไทย และต้องเรียนเลยว่า การลงทุนแต่ละครั้งนี่มหาศาลมาก โดยเฉพาะในเรื่องของการขุดเจาะสำรวจของ ปตท.สผ. เมื่อตอนต้นปีที่แล้ว ลงทุนไป ๑,๐๐๐ กว่าล้านบาทไม่เจอน้ำมันแม้แต่หยดเดียว ซึ่งมันเป็น ความเสี่ยง ผมกลับมองว่าถ้าหากเราคิดกันว่าจะต้องให้รัฐเป็นผู้สำรวจและเป็นผู้ดำเนินการ ในเรื่องของการสำรวจ ถ้าหากไม่เจอแล้วใครจะรับผิดชอบ แล้วทุกคนก็จะมากล่าวหาว่า รัฐทำงานกันไม่เป็น หรือว่าเอาเงินงบประมาณของประชาชนไปใช้อย่างที่ไม่มีคุณค่า เหตุที่เกิดวันนี้ผมเชื่อว่าท่านนายกรัฐมนตรีเองได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับเรื่องการที่จะเปิดให้ สัมปทาน วันนี้ต้องขอบคุณท่านนายกรัฐมนตรีที่เปิดกว้างนะครับ ที่หันมามองทาง สปช. และอยากจะขอความเห็นของ สปช. ในเรื่องตรงนี้ ผมเองต้องกราบเรียนว่าขอสนับสนุน ในเรื่องของการที่จะเปิดให้สัมปทานเพื่อความมั่นคงของพลังงานทั้งปิโตรเลียมและปิโตรเคมี ในประเทศไทย ขอบคุณครับท่านประธาน

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายกิตติ โกสินสกุล สปช. ตราด ท่านประธานที่เคารพครับ จากที่ได้ฟังทั้งคณะกรรมาธิการ วิสามัญการมีส่วนร่วมตั้งแต่เมื่อวานนี้มีการแถลง ผมก็มีความคิดว่ามันน่าจะมีเรื่องของ ประเด็นในการหารือมาจากเวทีแล้วก็จริง ก็เลยได้มีการสอบถาม แล้ววันนี้ก็ได้ข้อมูลมา ข้อมูลที่ผมได้มา จริง ๆ ต้องเรียนเลยว่ามันเป็นข้อมูลที่ทางสมาคมการประมง แห่งประเทศไทยได้ส่งตัวแทนเข้าไปร่วมในการเสวนาเมื่อวันที่ ๘ มกราคม แต่โอเคล่ะ ผมเข้าใจว่าทุกท่านที่มีความตั้งใจหรือที่จะจัดในเรื่องของการเปิดเสวนารับฟังความเห็น ในเชิงประเด็น เพื่อเอามาประกอบในเรื่องของการที่จะนำเสนอเพื่อให้การพิจารณาเกี่ยวกับ เรื่องของการเปิดสัมปทานปิโตรเลียม ทั้งปิโตรเคมีในประเทศไทยครั้งที่ ๒๑ ที่มีรวมอยู่ ด้วยกันทั้งหมด ๒๙ แปลง ๒๓ แปลงอยู่บนบก ๖ แปลงอยู่ในพื้นที่อ่าวไทย ทั้งนี้ผมอยากจะ กราบเรียนว่าผมเองผมเห็นด้วยในคณะกรรมาธิการเสียงข้างมากที่จะเปิดให้มีการสัมปทาน แต่ผมเองผมเป็นห่วงว่า เมื่อถึงเวลาแล้วในขณะที่มีการระดมความเห็นหรือรับฟังความเห็น อะไรต่าง ๆ ผมอยากจะให้ทำอยู่บนพื้นฐานของความจริงใจและอยู่บนพื้นฐานของ ความเป็นกลาง ซึ่งทำไมผมถึงพูดอย่างนี้ เพราะกรรมการของสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย ที่เข้าร่วมได้บอกกับผมว่าเขาเป็น ๑ ใน ๓๐๐ คนที่อยู่ในเวทีเสวนาแห่งนั้น สุดท้ายแล้วก็ พยายามนำเสนอหรือพยายามชี้แจงในเรื่องต่าง ๆ ที่ในที่ประชุมได้พูดกันถึงเรื่องปัญหา ในทะเล ที่บอกว่ามีคราบน้ำมันขึ้นชายฝั่ง ซึ่งจริง ๆ แล้วทางหลักวิชาการก็ไปแล็บ (Lab) เรียบร้อยแล้วว่าน้ำมันนั้นไม่ใช่น้ำมันดิบก็ยังไม่ยอมเชื่อ สุดท้ายแล้วก็มาพูดถึงเรื่องปลาโลมา ว่าปลาโลมานั้นตายเพราะว่ากินคราบน้ำมันดิบเข้าไป ซึ่งจริง ๆ แล้วนี่ถามว่าประเด็นนี้จริง ๆ ผมไม่อยากพูด แต่อยากจะให้ประชาชน ทั่วทั้งประเทศได้เข้าใจว่า ในความเป็นจริงแล้วปลาโลมาเป็นปลาที่ฉลาดไม่กินคราบน้ำมัน แน่นอน แล้วก็ผ่าพิสูจน์ทางวิชาการแล้วว่าไม่มีคราบน้ำมันในท้องของปลา ชัดเจนตรงนี้ ผมเองนั้นอยากจะกราบเรียนว่าในส่วนตรงนี้ ผมเองผมได้ติดตามข้อมูลในเรื่องของการเจาะ สำรวจ ทั้งการทำไซสมิก ทั้งการเจาะสำรวจโดยใช้แท่นเจาะ ซึ่งการเจาะในแต่ละครั้ง ที่ผมได้ทราบในเรื่องของตรงนี้ เนื่องจากว่าผมเป็นผู้ช่วยประธานสมาคมการประมง แห่งประเทศไทย แล้วเราได้สอบถามในเรื่องของกิจการของ ปตท.สผ. และกิจการอื่น ๆ ในหลายบริษัทที่ทำการขุดเจาะอยู่ แล้วก็ตั้งแท่นผลิตอยู่ในทะเลอ่าวไทย และต้องเรียนเลยว่า การลงทุนแต่ละครั้งนี่มหาศาลมาก โดยเฉพาะในเรื่องของการขุดเจาะสำรวจของ ปตท.สผ. เมื่อตอนต้นปีที่แล้ว ลงทุนไป ๑,๐๐๐ กว่าล้านบาทไม่เจอน้ำมันแม้แต่หยดเดียว ซึ่งมันเป็น ความเสี่ยง ผมกลับมองว่าถ้าหากเราคิดกันว่าจะต้องให้รัฐเป็นผู้สำรวจและเป็นผู้ดำเนินการ ในเรื่องของการสำรวจ ถ้าหากไม่เจอแล้วใครจะรับผิดชอบ แล้วทุกคนก็จะมากล่าวหาว่า รัฐทำงานกันไม่เป็น หรือว่าเอาเงินงบประมาณของประชาชนไปใช้อย่างที่ไม่มีคุณค่า เหตุที่เกิดวันนี้ผมเชื่อว่าท่านนายกรัฐมนตรีเองได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับเรื่องการที่จะเปิดให้ สัมปทาน วันนี้ต้องขอบคุณท่านนายกรัฐมนตรีที่เปิดกว้างนะครับ ที่หันมามองทาง สปช. และอยากจะขอความเห็นของ สปช. ในเรื่องตรงนี้ ผมเองต้องกราบเรียนว่าขอสนับสนุน ในเรื่องของการที่จะเปิดให้สัมปทานเพื่อความมั่นคงของพลังงานทั้งปิโตรเลียมและปิโตรเคมี ในประเทศไทย ขอบคุณครับท่านประธาน

    อ่านในการประชุม