นางพิมพกาญจน์ พลสมัคร

  • กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ดิฉัน พิมพกาญจน์ พลสมัคร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต ๓ อุบลราชธานี พรรคเพื่อไทยรวมพลัง ท่านประธานที่เคารพ จากที่ดิฉันได้ลงพื้นที่เขต ๓ ซึ่งประกอบด้วย อำเภอม่วงสามสิบ อำเภอดอนมดแดง อำเภอตาลสุม และอำเภอเหล่าเสือโก้ก ดิฉันได้รับ เรื่องร้องเรียนและได้พบปัญหามากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการสัญจรไปมา ซึ่งในขณะนี้ เป็นหน้าฝนถนนเป็นหลุมเป็นบ่อพี่น้องเดือดร้อนมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องไฟฟ้า แสงสว่าง ตามถนนหนทาง มีปัญหามากมาย แต่ว่าเรื่องที่ดิฉันจะนำเรียนหารือท่านประธานในวันนี้ คือเรื่องของขยะ จากงานวิจัยของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติได้ระบุแนวโน้มที่สำคัญ ของขยะในประเทศไทย ไม่ใช่แค่เฉพาะเขต ๓ ของดิฉัน ไม่ใช่แค่จังหวัดอุบลราชธานี เป็นทั้งประเทศไทยปัญหาขยะซึ่งเป็นปัญหาใหญ่อยู่ในขณะนี้ ปริมาณขยะมูลฝอย เพิ่มขึ้นตลอดเวลาจาก ๒๔.๒๒ ล้านตัน ในปี ๒๕๕๖ เป็น ๒๘.๗๑ ล้านตัน ในปี ๒๕๖๒ คิดเป็นอัตราเพิ่ม ๑.๙ เปอร์เซ็นต์ต่อปี สูงกว่าอัตราการเพิ่มของประชากรที่เฉลี่ยเพียง ๐.๐๓ เปอร์เซ็นต์ต่อปีเท่านั้น อัตราการเพิ่มดังกล่าวทำให้ประเทศไทย ๑ คนก่อขยะ เพิ่มทุกปี จาก ๓๖๕ กิโลกรัมต่อคนต่อปี ในปี ๒๕๕๓ เป็น ๔๓๑ กิโลกรัมต่อปี ในปี ๒๕๖๒ ขณะนี้ประเทศไทยมีการนำเข้าพลาสติกเป็นอันดับ ๓ ใน ASEAN ๑๐ ประเทศ รองจากมาเลเซีย เวียดนาม และเป็นอันดับ ๒ รองจากอินโดนีเซียในแง่ของการก่อขยะมูลฝอย มีปัญหาขยะ ซึ่งดิฉันอยากให้กำหนดเป็นวาระแห่งชาติและต้องเร่งแก้ไขโดยด่วน เพราะจะนำไปสู่ปัญหาอื่น ๆ ที่จะตามมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม ปัญหามลภาวะเป็นพิษ ปัญหาที่สำคัญมาก ๆ ก็คือปัญหาในเรื่องของสุขภาพ ดิฉันจะขอ ยกตัวอย่างในเขตเทศบาลอำเภอม่วงสามสิบซึ่งเป็น เขต ๓ ของดิฉัน ขอ Slide ด้วยค่ะ

    อ่านในการประชุม

  • ขอนิดเดียวนะคะ ท่านประธาน อันนี้เป็นเขตเทศบาลอำเภอม่วงสามสิบ ซึ่งเป็นขยะที่หมักหมมมานาน เป็นสิบ ๆ ปีไม่สามารถจะแก้ไขปัญหาได้ พี่น้องในพื้นที่ใกล้เคียงตรงนั้นได้รับผลกระทบ อย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการสัญจรซึ่งเป็นถนนที่ผ่าน ช่วงนี้เป็นหน้าฝนน้ำจากบ่อขยะจะไหล ไปสู่ถนนแล้วก็บ้านเรือนได้รับความเสียหาย แล้วก็ได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นกลิ่น ไม่ว่าจะเป็นน้ำ อยากจะฝากท่านประธานผ่านไปยังผู้เกี่ยวข้องให้ช่วยดูแล แก้ไขในเทศบาลอำเภอม่วงสามสิบ แล้วก็ในหลาย ๆ พื้นที่อำเภอม่วงสามสิบ แล้วก็เขต ๓ กราบขอบพระคุณท่านประธานค่ะ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ดิฉันพิมพกาญจน์ พลสมัคร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี เขต ๓ พรรคเพื่อไทยรวมพลัง วันนี้ดิฉันขอร่วมอภิปรายสนับสนุนในญัตติขอให้สภาผู้แทนราษฎร ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาแก้ไขปัญหาหนี้สินครัวเรือน ขอบคุณทั้ง ๔ ท่าน ที่ยื่นญัตติที่มองเห็นความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน ท่านประธานคะด้วยความห่วงใย พี่น้องประชาชนจริง ๆ ค่ะ เพราะปัญหาหนี้สินครัวเรือนถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ในระดับต้น ๆ ของประเทศไทยในขณะนี้ค่ะ จากข้อมูลของศูนย์ข้อมูลเครดิตบูโร กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย และสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย พบว่าคนเป็นหนี้สูงถึงร้อยละ ๓๗ หรือ ๑ ใน ๓ ของประชากรของประเทศไทยทั้งหมด โดยจากปี ๒๕๖๐ ถึง พ.ศ. ๒๕๖๕ สัดส่วนคนไทยที่มีหนี้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก ๓๐ เปอร์เซ็นต์ใน พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็น ๓๗ เปอร์เซ็นต์ ใน พ.ศ. ๒๕๖๕ กล่าวได้ว่าใน ๕ ปีที่ผ่านมา ภาระหนี้สินของคนไทยสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง กลุ่มมียอดหนี้สูงเกิน ๑ ล้านบาทมีถึงร้อยละ ๑๔ กลุ่มมียอดนี้ระหว่าง ๑๐๐,๐๐๐ บาท ถึง ๑ ล้านบาท ร้อยละ ๔๓ กลุ่มมียอดหนี้ ระหว่าง ๑๐,๐๐๐-๑๐๐,๐๐๐ บาท ร้อยละ ๓๓ และส่วนที่เหลือที่น้อยกว่าคือร้อยละ ๑๐ โดยส่วนมากคนหนึ่งมีหนี้มากกว่า ๑ บัญชีขึ้นไปค่ะท่านประธาน คนที่มีหนี้ ๑ บัญชี คิดเป็นอัตราร้อยละ ๓๕ ของคนที่เป็นหนี้ทั้งหมด คนที่มีหนี้ ๒ บัญชีคิดเป็นร้อยละ ๒๐ คนทีมีหนี้ ๓ บัญชี คิดเป็นร้อยละ ๑๓ และคนมีหนี้ ๔ บัญชีคิดเป็นร้อยละ ๓๒ ประเภท ที่เป็นหนี้ หนี้ของคนไทยอาจแบ่งได้ ๒ ประเภทค่ะท่านประธาน

    อ่านในการประชุม

  • ประเภทที่ ๑ ก็คือหนี้ที่ไม่สร้างรายได้ ไม่ก่อเกิดรายได้ แล้วก็เป็นหนี้ ที่สร้างรายได้ หนี้ที่ไม่สร้างรายได้ก็คือหนี้เพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนมากเป็นหนี้ของคน ที่มีรายได้น้อย และรายได้ไม่เพียงพอต่อการจับจ่ายใช้สอย และการอุปโภคบริโภค หนี้ชนิดนี้ มีมากถึง ๒ ใน ๓ ของบัญชีหนี้ครัวเรือนไทยทั้งหมด ส่วนมากอยู่ในรูปแบบของสินเชื่อ ส่วนบุคคลแล้วก็บัตรเครดิต

    อ่านในการประชุม

  • ประเภทที่ ๒ ก็คือหนี้ที่สร้างรายได้คือเพื่อการอาชีพ เพื่อการศึกษา หนี้บ้าน หรือหนี้เครื่องมือเพื่อประกอบอาชีพ เป็นที่น่าสังเกต หนี้ธุรกิจ หนี้บ้านรวมเป็นอัตราร้อยละ ๘ ของหนี้ทั้งหมดเท่านั้นนะคะ หากมองในแง่นี้ปัญหาเร่งด่วนน่าจะเป็นการแก้ปัญหา แก้ปัญหานี้ของคนที่มีรายได้น้อย ซึ่งเป็นหนี้ที่ไม่ได้สร้างรายได้ แต่ถึงอย่างไรก็ตามหนี้ ที่สร้างรายได้ก็ควรจะมีการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังต่อเนื่อง เพราะหนี้ทั้ง ๒ ประเภท โดยรวมแล้วมีแนวโน้มที่จะเพิ่มรุนแรงขึ้นในอนาคตซึ่งเป็นความเดือดร้อน ของพี่น้อง ซึ่งเป็นความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนชาวไทย การเป็นหนี้สัดส่วนสินเชื่อบุคคลอยู่ที่ประมาณ ๓๙ เปอร์เซ็นต์ บัตรเครดิต ๒๙ เปอร์เซ็นต์ มอเตอร์ไซค์ ๒ เปอร์เซ็นต์ รถยนต์ ๑๐ เปอร์เซ็นต์ บ้าน ๔ เปอร์เซ็นต์ ธุรกิจ ๔ เปอร์เซ็นต์ การเกษตร ๑๒ เปอร์เซ็นต์ ข้อเสนอนะคะท่านประธาน เนื่องจากหนี้ครัวเรือนไทย เพิ่มมากขึ้นและมีแนวโน้มที่จะรุนแรงขึ้น นอกจากนี้หนี้ของคนไทยก็มีหลายประเภท แต่ละประเภทมีลักษณะที่ต่างกัน ดังนั้นเรื่องการแก้ไขปัญหาหนี้สินของประชาชนจึงต้อง มองเป็นเรื่องด่วนควรมีการแก้ไขอย่างเป็นระบบ ครอบคลุม ต่อเนื่อง และยั่งยืน ประเด็นหลัง ยั่งยืนก็หมายความว่าควรให้คนไทยหลุดจากวงจรหนี้ และไม่กลับมาเป็นหนี้อีก โดยเฉพาะหนี้ที่ไม่ได้สร้างรายได้ ดังนั้นการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมาเพื่อพิจารณา แก้ไขเรื่องนี้เป็นการเฉพาะจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น และดิฉันเห็นด้วยค่ะท่านประธาน กราบขอบพระคุณค่ะ

    อ่านในการประชุม