นางสาวพรประไพ กาญจนรินทร์

  • สวัสดีค่ะ กราบเรียนท่านประธานสภา แล้วก็เรียนท่านสมาชิกสภาผู้ทรงเกียรตินะคะ ดิฉันชื่อพรประไพ กาญจนรินทร์ เป็นประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาตินะคะ ก็จะมารายงาน ๒ ฉบับ อย่างที่เมื่อสักครู่นี้ท่านประธานได้เกริ่นนำแล้วนะคะ คือรายงาน ผลการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชน ปี ๒๕๖๕ แล้วก็ผลการปฏิบัติงานของ กสม. ปี ๒๕๖๕ เราก็จัดทำโดยประมวลจากเหตุการณ์ต่าง ๆ แล้วก็ประมวลจากข้อมูลข้อคิดเห็น ซึ่งทางท่าน สส. ได้ให้ข้อคิดเห็นไว้เมื่อคราวที่แล้วที่มา ก็ประกอบด้วยในการที่จัดทำรายงาน ทั้ง ๒ ฉบับนะคะ ฉบับแรกคือรายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน ปี ๒๕๖๕ ก็ตามรัฐธรรมนูญ และ พ.ร.ป. ที่เกี่ยวข้องที่กำหนดให้เราจะต้องทำรายงานเหล่านี้ให้เสร็จ ภายใน ๙๐ วันนับแต่วันสิ้นปีปฏิทินนะคะ แล้วก็ต้องสรุปปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง แล้วก็ประเด็นที่จะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมต่อไป

    อ่านในการประชุม

  • ในส่วนของรายงานฉบับแรกเกี่ยวกับเรื่องประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชน ก็มีประเด็นหลัก ๆ ที่เราจะประมวลที่จะรายงานในวันนี้ โดยยึดตามรัฐธรรมนูญ พ.ร.ป. แล้วก็หลักการระหว่างประเทศซึ่งเราเป็นภาคีนะคะ มี ๕ ด้าน ก็ประกอบด้วย

    อ่านในการประชุม

  • ด้านแรก เรื่องการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในสถานการณ์เฉพาะ ซึ่งปีที่แล้วมีที่สำคัญ ๒ สถานการณ์ค่ะ คือเรื่องของโควิด แล้วก็เรื่องของการใช้เสรีภาพ ในการชุมนุม อันนี้เป็นด้านแรกที่เราบรรจุไว้ในรายงานผลการประเมินสถานการณ์นะคะ

    อ่านในการประชุม

  • แล้วอีก ๓ ส่วน ก็จะเป็นเรื่องของภายใต้กรอบพันธกรณี อันแรกก็เป็นเรื่องของ สถานการณ์ด้านสิทธิพลเมืองและการเมือง ๕ ประเด็นที่สำคัญที่เราประมวลไว้ ก็มีเรื่องของ อันแรกสิทธิในกระบวนการยุติธรรม อันที่ ๒ เรื่องของการกระทำทรมานและการบังคับให้ สูญหายนะคะ อันที่ ๓ เป็นเรื่องของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน อันที่ ๔ เป็นเรื่องของ สถานการณ์ในภาคใต้ อันที่ ๕ ก็เป็นเรื่องของเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เรื่องของ เสรีภาพของสื่อมวลชน แล้วก็เสรีภาพในการรวมกลุ่ม อันนี้คือด้านที่ ๒

    อ่านในการประชุม

  • ด้านที่ ๓ ที่เราประเมินไว้ก็คือเรื่องของสถานการณ์ด้านสิทธิ เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ก็มี ๕ ประเด็นสำคัญ ก็มีเรื่องของสิทธิแรงงาน สิทธิด้านสุขภาพ สิทธิ การศึกษา สิทธิชุมชนในการจัดการที่ดิน ทรัพยากร แล้วก็สิ่งแวดล้อม แล้วก็เรื่องของธุรกิจ กับสิทธิมนุษยชน

    อ่านในการประชุม

  • ด้านที่ ๔ ก็เป็นเรื่องของการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน ของกลุ่มบุคคลก็มี ๗ ประเด็นสำคัญ ก็มีเรื่องของสิทธิเด็ก สิทธิของผู้สูงอายุ สิทธิคนพิการ สิทธิสตรีและความเสมอภาคทางเพศ เรื่องของสถานะและสิทธิของคนไร้รัฐ ไร้สัญชาติ แล้วก็เรื่องของสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งเข้าใจว่าเมื่อวานก็มีการเสนอ พ.ร.บ. เรื่องนี้ แล้วก็เรื่องสิทธิของกลุ่มคนจนเมือง อันนี้คือภาพรวมในเรื่องของการรายงานสถานการณ์ สิทธิมนุษยชนของปี ๒๕๖๕

    อ่านในการประชุม

  • ในส่วนของพัฒนาการจากการที่เราประเมินก็มีทั้งด้านบวกและด้านลบ ด้านที่เห็นว่าเป็นพัฒนาการในทางที่ดีก็มีอยู่ ๔-๕ ประการ อันแรกก็คือว่าหลังจากที่มี ภาวะเรื่องของโควิดปีที่ผ่านมาก็มีการจัดสรรวัคซีนป้องกันโควิดได้ครอบคลุมเพียงพอ ในประชากรกลุ่มต่าง ๆ เรื่องของ พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานและกระทำให้ บุคคลสูญหาย อันนี้ก็ออกมาเป็น พ.ร.บ. เรียบร้อย บังคับใช้แล้ว เรื่องของนักเรียนที่หลุดออก จากระบบ เนื่องจากสถานการณ์ของโควิดก็มีพัฒนาการที่ดีขึ้น แล้วก็มีการที่ ครม. อนุมัติ การคืนเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุที่รับเบี้ยซ้ำซ้อน แล้วก็สวัสดิการอื่น ๆ ก็มีการคืนให้

    อ่านในการประชุม

  • แล้วอันสุดท้ายที่เห็นว่าเป็นพัฒนาการที่ดีขึ้นก็คือการที่รัฐบาลก็ให้ความช่วยเหลือ กับผู้ที่หนีภัยสงครามมาบริเวณชายแดน ก็ยึดหลักการที่จะไม่ส่งคนกลับไปสู่อันตราย อันนี้รวมทั้งก็ได้มีการจัดสรรงบประมาณเพื่อป้องกันโรคให้แก่ผู้ที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ

    อ่านในการประชุม

  • ส่วนความท้าทายคือเป็นเรื่องที่คงจะต้องมีการแก้ไขต่อไป ก็มีเรื่องของความพร้อม ของหน่วยงานของภาครัฐในการที่จะบังคับใช้กฎหมายป้องกันและทรมานและกระทำให้ บุคคลสูญหาย แล้วก็มีเรื่องของการแพร่ระบาดก็ยังมีเด็กจำนวนมากที่เกิดภาวะความรู้ถดถอย โดยเฉพาะกลุ่มเด็กปฐมวัย แล้วก็มีเรื่องของสิทธิชุมชนไม่ว่าจะเป็นชุมชนที่รับผลกระทบ จากเขตป่าอนุรักษ์ ที่อยู่อาศัย ที่ดินทำกิน แล้วก็โครงการพัฒนาของรัฐ แล้วก็การประกอบ กิจการบางประเภทที่มีผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชน แล้วก็เรื่องของการมีมาตรการคุ้มครอง เด็กและสตรีที่ถูกกระทำรุนแรงที่ยังไม่มีประสิทธิผลเพียงพอ คนพิการก็ยังไม่สามารถจะ เข้าถึงสิทธิในด้านต่าง ๆ ได้ แล้วก็มีเรื่องของสถานะสิทธิซึ่งมีคนที่ยังไม่มีบัตรประชาชน และเข้าถึงสวัสดิการต่าง ๆ ไม่ได้อีกจำนวนมาก อันนี้คือภาพรวมเรื่องของสถานการณ์ สิทธิมนุษยชนในปีที่ผ่านมา เราก็มีข้อเสนอแนะซึ่งก็จะปรากฏอยู่ในรายงานที่ได้นำเรียนให้ ท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติได้ทราบแล้ว คืออันนั้นในส่วนของอันแรก รายงานฉบับแรก

    อ่านในการประชุม

  • ฉบับที่ ๒ คือเรื่องของผลการปฏิบัติงานของ กสม. ก็มีอยู่ ๕ ด้าน อันแรก ก็คือเรื่องการตรวจสอบรายงานข้อเท็จจริง เรื่องการละเมิด ปีที่ผ่านมานี้เรารับเรื่องร้องเรียน ประมาณ ๑,๑๔๑ เรื่อง ได้ตรวจสอบแล้วก็ช่วยเหลือ รวมทั้งส่งต่อหน่วยงานอื่น ๙๒๔ เรื่อง ที่เหลืออีก ๒๒๕ เรื่องเป็นเรื่องที่ไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ก็เลยไม่สามารถรับไว้พิจารณาได้ อันนี้คือส่วนแรกในการทำงาน

    อ่านในการประชุม

  • อันที่ ๒ เรื่องของการเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริม และคุ้มครองสิทธิมนุษยชนก็มีการเสนอมาตรการหรือเสนอให้แก้ไขปรับปรุงกฎหมายต่าง ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน ก็มีทั้งหมด ๗ เรื่อง แล้วก็ได้จัดทำรายงานประเมิน สถานการณ์ ซึ่งเป็น ๑ ในภารกิจก็ทำเรียบร้อยแล้วอย่างที่นำเสนอเมื่อสักครู่

    อ่านในการประชุม

  • หมายความว่าอันที่ ๒ เรื่องของผลการปฏิบัติงานยังไม่ต้องบรรยายใช่ไหมคะ

    อ่านในการประชุม

  • OK ค่ะ อย่างนั้นอันที่ ๒ ก็คงไม่มีอะไรแล้ว ก็เป็นการทำงาน อย่างนั้นเรามี กสม. อีก ๒ ท่าน แล้วก็เลขาธิการที่จะมาชี้แจงนะคะ เชิญได้เลยค่ะ ขอบคุณค่ะ

    อ่านในการประชุม

  • ขอบพระคุณค่ะ กราบเรียนท่านประธาน และท่าน สส. ผู้ทรงเกียรติ คือมีหลายประเด็นมาก แต่เข้าใจว่าหลาย ๆ ท่านจะพูดเรื่องของผู้ลี้ภัย ซึ่งเรื่องนี้ทาง กสม. ก็ติดตามอย่างใกล้ชิด เราก็มีเครือข่ายของเราที่ชายแดนที่จะมาร่วมกันหาทางแก้ไขทั้งโดยตรงแล้วก็โดยอ้อมนะคะ มีการประชุมกันทั้งทาง สมช. มหาดไทย และผู้ที่เกี่ยวข้องนะคะ เรื่องนี้ก็อยู่ในกระบวนการ ที่เราพยายามติดตามแก้ไขอยู่ รวมทั้งเรื่องของการที่จะเป็นภาคีต่าง ๆ ก็เคยมีหนังสือไปยัง หน่วยงานของรัฐหลายครั้ง ถึงนายกรัฐมนตรีหลายครั้งเพื่อให้ดำเนินการในเรื่องนี้นะคะ นิดหนึ่งค่ะในส่วนของสำนักงานขอนแก่นก็เปิดแล้วนะคะ กรณีที่มีท่านสอบถามนะคะ อยู่ที่ตลาดจอมพลอย่างไรก็เดี๋ยวคงจะมีการประสานไปยังท่าน สส. ที่อยู่ในพื้นที่นะคะ การทำงานเชิงรุกเป็นสิ่งที่เราอยากทำอย่างมากมาย เรามีการลงพื้นที่ มีการหยิบยกเรื่อง ไม่ใช่เฉพาะเรื่องรับเรื่องร้องเรียนที่ได้มีการลงสถิติไว้ แต่เรื่องที่เป็นเรื่องที่เราหยิบยกขึ้นเอง ก็มีหลายกรณี แล้วก็หลาย ๆ เรื่องก็คงอยู่ระหว่างการดำเนินการ และอยู่ในปี ๒๕๖๖ ซึ่งอาจจะยังไม่ปรากฏในรายงานของ ปี ๒๕๖๕ อันนี้ในภาพรวมแต่ว่าในเชิงรายละเอียดเดี๋ยวจะ ขอให้ท่าน กสม. วสันต์ แล้วก็ กสม. ศยามล อธิบายในแต่เรื่องที่ได้มีการหยิบยกขึ้นมา ขอบพระคุณค่ะ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธาน แล้วก็ท่าน สส. ผู้ทรงเกียรติ ดิฉัน พรประไพ กาญจนรินทร์ ประธาน กสม. ขอตอบคำถามของท่านวิทยาก่อนในคำถามสุดท้าย คือจริง ๆ ผู้ลี้ภัยตอนนี้ก็คงเป็นแสน อยู่ใน ๙ ค่ายบริเวณชายแดน อันนี้ก็นอกเหนือจากอีก ๕,๐๐๐ คนที่เมื่อสักครู่มีท่าน สส. ท่านหนึ่ง พูดถึงว่าก็อยู่ในห้องกักต่าง ๆ จริง ๆ ก็ต้องสารภาพว่ามันก็เป็นเรื่องที่เราส่งเสียงได้ แต่คนที่ ดำเนินการคือ ตม. มท. แล้วก็ สมช. ในการที่จะต้องแก้ไขปัญหาในส่วนนี้ เราก็มีข้อเสนอแนะ เป็นระยะ ๆ รวมทั้งล่าสุดเรื่องของอุยกูร์เราก็มีหนังสือที่เขียนค่อนข้างชัดเจนว่าควรจะ ปล่อยเขาออกไปได้แล้วไม่ควรจะกักไว้ สถานกักเราก็ไปดูเป็นระยะ ๆ ว่ามันไม่มีสุขอนามัย ได้มาตรฐานเลย ในส่วนนี้ก็จะต้องไปกระตุ้น ต้องใช้คำว่า กระตุ้นกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการที่จะต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล รวมทั้งการที่จะไม่เก็บไว้ แล้วไม่ส่งไปในที่อันตรายด้วยมันก็มี ๒ ส่วน เก็บไว้ก็ไม่ดี แต่ส่งไปในที่อันตรายก็ไม่ได้ เหมือนกันก็เป็นเรื่องที่เราควรต้องหารือกับทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะ สมช. UNHCR แล้วก็ มท. แล้วก็แม้กระทั่งทางด้านของความมั่นคงในการที่จะจัดการในเรื่องนี้ ส่วนใหญ่เข้าใจตอนนี้ก็คือเกรงเรื่องถ้าเผื่อว่าปล่อยให้มาทำงานก็จะกลัวเรื่องของความมั่นคง กลุ่มอุยกูร์ส่งไปก็จะมีประเทศอีกบางประเทศที่ไม่ประสงค์สิ่งนั้นอยากจะให้เก็บไว้ แล้วให้กลับไปที่ประเทศต้นทาง อันนี้ก็เป็นส่วนที่ยังต้องผลักดันต่อไป มันก็มีทั้งมิติ ความมั่นคงระหว่างประเทศแล้วก็เรื่องของสิทธิมนุษยชน ส่วนอีก ๒ เรื่องที่ยังค้างอยู่ เดี๋ยวจะขอให้ท่านวสันต์กับท่านศยามลช่วยชี้แจงค่ะ ขอบคุณค่ะ

    อ่านในการประชุม