นายทิฑัมพร ยะลา

  • กราบเรียนท่านประธานสภาและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เคารพทุกท่านครับ กระผม นายฑิฆัมพร ยะลา ตำแหน่งรองเลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินครับ ก่อนอื่น ก็ต้องขอขอบคุณทางสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินที่กรุณาได้ทำการตรวจประเมิน การใช้จ่ายเงินและทรัพย์สินของสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน รวมทั้งให้ข้อแนะนำ และข้อสังเกตต่าง ๆ ซึ่งทางสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินก็ได้นำข้อสังเกต ความเห็นต่าง ๆ ของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินไปปรับปรุงแก้ไข ซึ่งบางเรื่องก็ดำเนินการแก้ไขเสร็จแล้ว บางเรื่องอยู่ระหว่างการดำเนินการปรับปรุงแก้ไขอยู่นะครับ แล้วก็ต้องขอขอบคุณ ท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่กรุณาให้คำแนะนำแล้วก็สอบถามเกี่ยวกับประเด็น ที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่และอำนาจของผู้ตรวจการแผ่นดิน ตามที่ท่านวิรัชได้กรุณาสอบถามถึง หน้าที่และอำนาจของผู้ตรวจการแผ่นดินว่าผู้ตรวจการแผ่นดินมีอำนาจอะไรบ้าง ที่ทาง สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้เขียนไว้ในรายงานนี้จะเป็นหน้าที่ของสำนักงาน ซึ่งมีหน้าที่ ในการสนับสนุนงานของผู้ตรวจการแผ่นดิน จริง ๆ แล้วถ้าเราไปดูเรื่องหน้าที่และอำนาจ ของผู้ตรวจการแผ่นดินที่ระบุไว้ในมาตรา ๒๓๐ มาตรา ๒๓๑ ของรัฐธรรมนูญ แล้วก็ดู พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินปี ๒๕๖๐ ในมาตรา ๒๒ จะระบุหน้าที่และอำนาจของผู้ตรวจการแผ่นดินไว้อย่างชัดเจน ผู้ตรวจการแผ่นดินถ้าดูแล้ว มันจะระบุไว้ในมาตรา ๒๒ มีหน้าที่และอำนาจที่อยู่ ๔ ประการ หน้าที่แรก เสนอให้มี การปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย กฎ ระเบียบ คำสั่ง ขั้นตอนการปฏิบัติงานใด ๆ ที่ก่อให้เกิด ความเดือดร้อน ความไม่เป็นธรรม หรือสร้างภาระแก่ประชาชน หน้าที่ที่ ๒ ให้มีการแสวงหา ข้อเท็จจริงในกรณีที่หน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ปฏิบัติ หรือปฏิบัตินอกเหนือ หน้าที่และอำนาจแล้วก่อให้เกิดความเดือดร้อน หรือความไม่เป็นธรรมแก่ประชาชน เราก็เข้าไปแสวงหา แล้วก็มีการเสนอให้มีการขจัดปัดเป่าความเดือดร้อนของประชาชน ส่วนหน้าที่ที่ ๓ เสนอต่อคณะรัฐมนตรีให้ทราบถึงกรณีที่หน่วยงานของรัฐยังปฏิบัติไม่ครบถ้วน ถูกต้องตามหมวด ๕ หน้าที่ของรัฐตามรัฐธรรมนูญ ส่วนหน้าที่ที่ ๔ เป็นหน้าที่ตามกฎหมาย อื่น อันนี้ก็เป็นหน้าที่ ๔ ประการที่ระบุไว้ในมาตรา ๒๒ นอกจากจะระบุไว้ในมาตรา ๒๒ ในมาตรา ๒๓ ของ พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินก็ยังให้หน้าที่ และอำนาจของผู้ตรวจการแผ่นดินในการเสนอต่อศาลรัฐธรรมนูญกรณีที่พระราชบัญญัติ มีความขัดแย้งต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญ แล้วก็อันนี้ให้เสนอต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ ส่วนกฎ คำสั่ง ระเบียบต่าง ๆ ถ้ามีความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ หรือว่ามีปัญหาเกี่ยวกับกฎหมาย ก็ให้เสนอต่อศาลปกครอง อันนี้เป็นหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดินในประการถัดมา ส่วนที่ ระบุไว้ในประเด็นที่ ๔ ในกรณีที่ ๔ คือหน้าที่และอำนาจตามกฎหมายอื่น ขณะนี้ก็มี การเขียนไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๖๑ ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินเข้าไปมีอำนาจในการที่จะเสนอ ประการแรก คือระบุไว้ใน มาตรา ๔๕ ของ พ.ร.ป. ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินรับเรื่องที่ร้องเรียนเกี่ยวกับหมวด ๘ เสนอต่อ ครม. ก่อนที่ทางผู้ร้องจะไปร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ อันนี้ผมพูดถึงคร่าว ๆ คงจะไม่ลง รายละเอียด

    อ่านในการประชุม

  • ส่วนในมาตรา ๔๖ จะเป็นเรื่องตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๑๓ ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องสิทธิและเสรีภาพที่ขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญ อันนี้ก็ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณา ก่อนเสนอทางศาลรัฐธรรมนูญ อันนี้เป็นหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดินครับ ทีนี้ที่ท่านบอกว่า กฎหมายต่าง ๆ ที่ล้าสมัย ไม่เป็นธรรม ขณะนี้จริง ๆ แล้วมันอยู่ในหน้าที่และอำนาจของ ผู้ตรวจการแผ่นดินในมาตรา ๒๒ (๑) ที่ผมกล่าวไว้ในตอนต้น ซึ่งขณะนี้ทางผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้มีการจัดตั้งหน่วยที่เข้าไปพิจารณาเกี่ยวกับกฎหมายที่มีความล้าสมัยหรือว่าไม่เป็นธรรม แก่ประชาชน อันนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาจัดตั้งเพราะว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ ซึ่งจำเป็น ต้องใช้เวลาในการพิจารณา แล้วก็จำเป็นจะต้องใช้บุคลากร ซึ่งจริง ๆ แล้วบุคลากรเรามี จำนวนน้อย เกี่ยวกับเรื่องสอบสวนมี ๑๐๐ กว่าท่าน ถ้าเกิดมีการเข้าไปทำเต็มรูปแบบ ในเรื่องการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายอาจจะต้องมีการเพิ่มจำนวนบุคลากร ซึ่งอาจจะต้องขอรับ การสนับสนุนงบประมาณ ก็ขอฝากไปยังท่านสมาชิกช่วยผลักดันเกี่ยวกับเรื่องงบประมาณ กรณีที่ทางสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินได้เสนอขอจากสำนักงบประมาณด้วยนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • ส่วนถามว่าประชาชนไม่รู้จักผู้ตรวจการแผ่นดิน จริง ๆ แล้วผู้ตรวจการ แผ่นดินได้พยายามที่จะมีการประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งทำโครงการ อย่างเช่นโครงการผู้ตรวจการแผ่นดินสัญจร ซึ่งเราได้ดำเนินการปีละ ๖ ครั้ง ผู้ตรวจการ แผ่นดินสัญจรวิธีการก็คือเราจะออกไปยังพื้นที่ที่มีความเชื่อมั่นของประชาชนน้อย เราเข้าไป ชี้แจงทำความเข้าใจกับหน่วยงานและประชาชน ซึ่งเราทำครั้งละประมาณ ๔๐๐-๕๐๐ คน ประชาชนรวมทั้งหน่วยงานที่เข้ามาร่วม นอกจากนี้เรายังมีการจัดรถ Mobile เคลื่อนที่ หรือเรียกว่า Ombudsman Care ไปรับเรื่องร้องเรียนพร้อมกับมีการให้ความรู้แก่ประชาชน อันนี้เราทำรูปแบบขนาดเล็ก เพราะว่าถ้าใช้ขนาดใหญ่จะเป็นการใช้งบประมาณค่อนข้างมาก อนาคตอาจจะมีการของบประมาณเช่นเดียวกัน ก็ขอให้ท่านช่วยสนับสนุนผลักดันงบประมาณ เกี่ยวกับเรื่องการประชาสัมพันธ์ของผู้ตรวจการแผ่นดินด้วยนะครับ นอกจากนี้ทางผู้ตรวจการ แผ่นดินขณะนี้ได้ทำลักษณะที่ว่าเครือข่าย เราทำเครือข่ายกำนันผู้ใหญ่บ้านซึ่งขณะนี้ เราทำไปแล้วประมาณ ๔๐ จังหวัด เพื่อเราเผยแพร่บทบาท หน้าที่ อำนาจ แล้วก็ให้ความรู้ แล้วก็รวมทั้งให้เขาเป็นมือในการที่ว่าเข้ามาช่วยสนับสนุน แล้วก็ให้คำแนะนำแก่ประชาชน เกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจ รวมทั้งสิ่งที่เขาได้รับความเดือดร้อนจากหน่วยงานก็สามารถ ที่จะมาร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดินได้ ซึ่งขณะนี้ที่ผมกล่าวไปในตอนแรกเราทำไปแล้ว ๔๐ กว่าจังหวัด มีกำนันผู้และใหญ่บ้านเป็นเครือข่าย ๔๐,๐๐๐ กว่าคน รวมทั้งจะมีส่วนที่ เป็นแขวง เช่นส่วนราชการต่าง ๆ ที่เข้าร่วม รวมทั้งท้องถิ่นต่าง ๆ ที่เข้าร่วม อันนี้ก็คาดว่า จะเป็นประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ กว่ารายแล้ว ซึ่งเรากำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาลงไป เพื่อที่จะไปประเมินสิ่งที่ทางผู้ตรวจการแผ่นดินทำไปแล้วว่าได้ผลตอบแทนมาลักษณะไหน อันนี้ก็เป็นหน้าที่และอำนาจของผู้ตรวจการแผ่นดิน รวมทั้งช่องทางต่าง ๆ ที่เรานำไปเสนอต่อ ประชาชนให้ทราบถึงบทบาท หน้าที่และอำนาจ แล้วก็ขณะเดียวกันในฐานะที่ท่านเป็น ผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นผู้แทนของประชาชนทั่วประเทศ ตรงนี้ผมอยากจะขอฝากทางท่านไปเกี่ยวกับเรื่องหน้าที่และอำนาจ รวมทั้งการที่จะเป็น กระบอกเสียงในการที่จะให้ทางประชาชนได้รับความเดือดร้อนเข้ามาใช้บริการของสำนักงาน ผู้ตรวจการแผ่นดิน ช่องทางแรกจะเป็นเรื่องสายด่วน ๑๖๗๖ ของสำนักงานผู้ตรวจการ แผ่นดิน อันนี้โทรฟรีได้ทุกเวลานะครับ นอกจากนี้เรายังมี Application Ombudsman ซึ่งสามารถที่จะร้องเรียนผ่านช่องทางนี้ก็ได้ แล้วยังมีทางไปรษณีย์สามารถจะส่งมาทาง ผู้ตรวจการแผ่นดินได้ นอกจากนี้เรายังมี Website www.ombudsman.go.th ที่ว่าสามารถ จะร้องผ่านช่องทางนี้ได้ ขณะเดียวกันถ้าไม่สะดวกอยากจะมาพบเจ้าหน้าที่ ปรึกษาเจ้าหน้าที่ ก็สามารถที่จะมาร้องเรียนได้ที่สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินซึ่งตั้งอยู่ที่ศูนย์ราชการ เฉลิมพระเกียรติ หลักสี่ แจ้งวัฒนะ อันนี้ก็เป็นเรื่องหน้าที่ แล้วก็เป็นช่องทางต่าง ๆ ในการที่ประชาชนสามารถจะเข้าถึงทางผู้ตรวจการแผ่นดินได้ ก็น่าจะตอบคำถาม ไปถึงยังของท่านกมลศักดิ์ด้วยเกี่ยวกับเรื่องเมื่อผู้ตรวจการแผ่นดินยังไม่เป็นที่รู้จักนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • ส่วนเรื่องที่ว่าแผนลดลงจากปี ๒๕๖๓ ในปี ๒๕๖๔ นี้ก็อย่างที่ท่านว่าคงจะ หลีกเลี่ยงไม่ได้กับคำว่ามีสถานการณ์โควิด ซึ่งขณะนั้นสถานการณ์โควิดต้น ๆ ปีรุนแรง ซึ่งห้ามมีการจัดประชุมใหญ่ ซึ่งโครงการเราส่วนใหญ่แผนงานก็จะเป็นเรื่องการจัดประชุม เช่นผู้ตรวจการแผ่นดินสัญจร อย่างนี้ก็ทำให้แผนงานต่าง ๆ ไม่สามารถที่จะดำเนินการได้ อันนี้ก็เป็นสาเหตุที่แผนงานเราลดลงจากปีก่อนนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • ส่วนเรื่องการขาดบุคลากร จริง ๆ แล้วทางสำนักงบก็ให้งบประมาณมา ในการบรรจุบุคลากร แต่ทว่าสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินก็ได้กำหนดเกณฑ์มาตรฐาน ในการที่จะรับบุคคลเข้ามาค่อนข้างสูงมากนะครับ อันนี้ก็ทำให้บุคลากรที่ได้รับมีการสอบ ได้มาจำนวนน้อย ซึ่งต่อมาเราได้พยายามลดเกณฑ์ลงนิดหนึ่ง แต่อย่างไรก็ไม่ต่ำกว่า มาตรฐาน เพื่อที่จะให้มีการบรรจุบุคลากรเข้ามาปฏิบัติงาน ช่วยเหลือบุคลากรที่เรามี ปฏิบัติอยู่ในด้านการสอบสวนประมาณ ๑๐๐ กว่าคน ถ้าได้เข้ามาก็สามารถที่จะช่วยเหลือ ในการพิจารณาเรื่องร้องเรียนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นประมาณปีละ ๓,๐๐๐ กว่าเรื่องสามารถ จะพิจารณาด้วยความรวดเร็ว สาเหตุที่ค้างก็คืออย่างที่ว่าบุคลากรเราน้อย โดยเฉพาะ สายสอบสวนซึ่งทำเรื่องการสอบสวน แล้วหน้าที่และอำนาจต่าง ๆ นอกจากการรับ เรื่องร้องเรียน เราจะทำเรื่องเชิงระบบซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดต่าง ๆ สามารถที่จะไปแก้ไขได้ ในภาพรวมทั้งประเทศเราก็ดำเนินการด้วย ในขณะเดียวกันก็มีการหยิบยกของผู้ตรวจการ แผ่นดินในการดำเนินการเกี่ยวกับหมวด ๕ หน้าที่ของรัฐ ซึ่งเป็นเรื่องสิทธิพื้นฐานแล้วก็ สิทธิขั้นต้นที่ประชาชนจะได้รับ ซึ่งรัฐธรรมนูญกำหนดให้เป็นหน้าที่หน่วยงานของรัฐ ที่ต้องจัดให้ เราต้องใช้กำลัง ใช้งบประมาณไปในหลาย ๆ ด้าน ก็จึงทำให้งานของเราเกิด ความล่าช้าครับ อันนี้ก็เป็นส่วนที่ชี้แจงทางท่านวิรัชกับท่านกมลศักดิ์

    อ่านในการประชุม

  • ของท่านกมลศักดิ์อย่างเรื่องมูโนะซึ่งท่านได้กรุณาฝากไว้ ซึ่งเมื่อสักครู่นี้ ผมได้ทำการประสานกับเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบแล้ว ก็ทราบว่าขณะนี้ทางเจ้าหน้าที่ ได้พิจารณาที่จะเสนอผู้ตรวจการแผ่นดินเพื่อหยิบยกขึ้นมา เพราะว่าผู้ตรวจการแผ่นดิน สามารถที่จะรับเรื่องได้อยู่ ๒ อย่าง ก็คือ ๑. มีเรื่องร้องเรียนเข้ามา ๒. เป็นเรื่องหยิบยก ซึ่งขณะนี้ทางผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณาจะหยิบยกอยู่นะครับ ซึ่งเรื่องทางภาคใต้ผู้ได้รับ ผลกระทบจากสถานการณ์ความรุนแรง เรื่องการจ่ายเงินเยียวยาทางท่านผู้ตรวจการแผ่นดิน คือท่านทรงศักดิ์ สายเชื้อ ก็ได้ลงไปดูเรื่องนี้เหมือนกันเรื่องเงินเยียวยา พบว่ามันมีปัญหา เรื่องระเบียบการจ่ายเงิน ก็ได้มีการประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ โดยเฉพาะ ศอ.บต. ให้เป็นเจ้าภาพหลักในการออกระเบียบเกี่ยวกับการจ่ายเงินชดเชย ขณะนี้อยู่ระหว่าง การติดตามจาก ศอ.บต. ว่าดำเนินการไปถึงไหนแล้ว อันนี้ก็เป็นส่วนที่ทางท่านกมลศักดิ์ ได้กรุณาสอบถามมาครับ

    อ่านในการประชุม

  • ส่วนกรณีของท่านธิษะณา ก็ขอกราบเรียนอย่างนี้ครับ กรณีเรื่องสิทธิมนุษยชน จะมีหน่วยงานที่รับผิดชอบก็คือคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติซึ่งรับผิดชอบอยู่แล้ว ในส่วนของผู้ตรวจการแผ่นดินก็เป็นเรื่องการปฏิบัติ การไม่ปฏิบัติ การปฏิบัตินอกเหนือหน้าที่ ของพนักงานเจ้าหน้าที่ หน่วยงานของรัฐ อันนี้เราเข้าไปดำเนินการตรวจสอบแสวงหา ข้อเท็จจริง

    อ่านในการประชุม

  • ส่วนประเด็นที่ท่านได้กรุณาพูดถึงเรื่องผู้อยู่อาศัยที่ว่าได้รับความเดือดร้อน จากการสลายการชุมนุม ซึ่งเราเองก็ได้ทำการประสานกับผู้เกี่ยวข้องแล้วก็พบว่าเรื่องนี้ เรารับไว้เมื่อปี ๒๕๖๕ ขณะนี้อยู่ระหว่างการแสวงหาข้อเท็จจริงครับ ซึ่งจริง ๆ แล้วในเรื่อง การแสวงหาข้อเท็จจริงไม่ใช่เพียงแต่ว่าเราสอบถามหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ เรายังมี การเรียกประชุมเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหา ซึ่งในเรื่องที่ท่านกล่าวถึงนี้อยู่ระหว่าง การพิจารณาอยู่ว่าจะมีการจัดประชุมอะไร เมื่อไร อย่างไร เพื่อเข้าไปเยียวยาผู้ได้รับ ความเดือดร้อนหรือผลกระทบจากการสลายชุมนุมที่ท่านกล่าวถึงเมื่อครู่นี้ครับ อันนี้ก็เป็น เรื่องที่กระผมขอชี้แจงให้ท่านประธานแล้วก็ที่ประชุมรับทราบครับ ขอกราบขอบพระคุณครับ

    อ่านในการประชุม