กราบเรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผู้ทรงเกียรติ ผม นิวัติไชย เกษมมงคล เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ก่อนอื่นก็ขอกราบ ขอบพระคุณท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้มองเห็นความสำคัญการดำเนินงานของ คณะกรรมการ ป.ป.ช. และสำนักงาน ป.ป.ช. โดยเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องงบประมาณนะครับ ซึ่ง เราได้รับประมาณปีละแค่ ๒,๐๐๐ กว่าล้านบาท ทั้ง ๆ ที่มีการดำเนินการในคดีต่าง ๆ รับภารกิจหลายด้านมาก ไม่ว่าจะเป็นการปราบปรามการตรวจสอบบัญชีทรัพย์สิน และหนี้สิน การดำเนินการด้านป้องกัน รวมทั้งงานด้านอื่น ๆ ที่กฎหมายรวมทั้งที่รัฐธรรมนูญ ได้บัญญัติให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีหน้าที่และอำนาจนั้น แต่ก็ต้องยอมรับว่างบประมาณ แผ่นดินของประเทศเองก็มีจำกัดในเรื่องนี้ แล้วก็ในงบประมาณที่เราได้รับมาทาง ป.ป.ช. เอง ก็นำมาใช้ในการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพแล้วก็เต็มที่นะครับ ส่วนในการดำเนินการ ของทาง ป.ป.ช. ผมอาจจะมีประเด็นปัญหาข้อกฎหมายซึ่งอาจจะมีความทับซ้อนกับกฎหมาย การบริหารงานบุคคลของหน่วยงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นของข้าราชการพลเรือน หรือ ข้าราชการในหน่วยงานอื่น ๆ ที่อาจจะยังไม่สอดคล้องกัน รวมทั้งมีความเห็นของทาง คณะกรรมการกฤษฎีกาที่มีการตีความเกี่ยวกับเรื่องการชี้มูลความผิดของคณะกรรมการ ป.ป.ช. และได้มีการส่งเรื่องไปยังต้นสังกัด หรือผู้บังคับบัญชา หรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอน เพื่อดำเนินการทางวินัย หรือดำเนินการถอดถอนออกจากตำแหน่ง เนื่องจากว่าในกฎหมาย บริหารงานบุคคลโดยเฉพาะข้าราชการพลเรือนจะต้องมีการดำเนินการภายในกรอบ ระยะเวลาที่กำหนดถ้าเขาพ้นไปแล้ว ถ้าดำเนินการไม่ทันก็ไม่สามารถดำเนินการลงโทษ ทางวินัยได้ ซึ่งอาจจะขัดหรือแย้งกับกฎหมาย ป.ป.ช. ซึ่งเป็นพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญที่กำหนดว่า ถ้าชี้มูลไปแล้วในการดำเนินการทางวินัยทางต้นสังกัดต้องดำเนินการ ลงโทษภายใน ๓๐ วัน เว้นแต่จะมีพยานหลักฐานใหม่ ซึ่งทางผู้บังคับบัญชาสามารถที่จะ อุทธรณ์ความเห็นหรือขอให้ทบทวนมติคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ อันนี้ก็ได้มีการหารือกัน ในหลายประเด็น รวมทั้งในเรื่องของ ก. ต่าง ๆ ก็ได้มีการประชุมนะครับ ก็พยายามปรับแก้ไข โดยเฉพาะอย่างยิ่งคงต้องพุ่งเป้าไปที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่อาจจะยัง ไม่ชัดเจนเพียงพอที่จะมีการดำเนินการ ส่วนหน่วยงานที่ถูกลงโทษมากที่สุดใช่ครับ เพราะว่า เป็นหน่วยงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เหตุที่มีการถูกลงโทษมากเพราะว่าหน่วยงานนี้ มีจำนวนมาก ๗,๐๐๐ กว่าแห่ง มีผู้บริหารซึ่งต้องยอมรับว่าผู้บริหารที่เข้ามาบางครั้ง มีการกระทำโดยไม่รู้นะครับ ปัจจุบัน ป.ป.ช. เราไม่ได้เน้นที่จะลงไปดำเนินการปราบปราม หรือลงไปจับผิด เราเน้นในเชิงการป้องปราม ป.ป.ช. เรามีการจัดตั้งศูนย์ CDC ขึ้น เพื่อเฝ้าระวัง เนื่องจากวันนี้ พ.ร.บ. ป.ป.ช. ในมาตรา ๓๕ กำหนดว่ากรณีที่อาจจะมีเหตุ อันควรสงสัยหรืออาจจะมีการกระทำความผิดเกิดขึ้น ป.ป.ช. จะต้องมีหน้าที่ลงไป เพื่อตรวจสอบ ให้คำแนะนำหรือให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ในวันนี้ในการรับข้อมูลข่าวสารของ ศูนย์ CDC เรารับฟังจากสื่อต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องร้องเรียนต่อ ป.ป.ช. รวมทั้งข่าวสารในพื้นที่ มีทางประชาชนในพื้นที่ร้องเรียนเข้ามา เราก็จะมีการแจ้งไปยัง ป.ม.จ. รวมทั้งในส่วนกลาง ให้ลงไปดูเลย แล้วก็ลงไปสังเกตการณ์ รวมทั้งนำภาคีเครือข่ายประชาชนเข้าไปช่วยเฝ้าระวัง เพื่อป้องกันไม่ให้การกระทำนั้นสำเร็จ และก่อให้เกิดการกระทำความผิดต้องมีผู้ที่ต้อง รับผิดชอบงบประมาณต้องสูญเสียไป อย่างไรก็ดีในเรื่องท้องถิ่นเราก็มีตัวชี้วัดอย่างหนึ่งก็คือ ITA ซึ่ง ITA สามารถที่จะชี้วัดได้ว่าในท้องถิ่นใดมีการบริหารงานที่มีความโปร่งใส มีธรรมาภิบาล ตรวจสอบได้ไหม หรือยังมีข้อบกพร่องในเรื่องใด รวมทั้งสถิติเรื่องกล่าวหาร้องเรียนในพื้นที่ ต่าง ๆ ซึ่งเราได้มอบหมายให้ทางจังหวัด รวมทั้งภาค มีการวิเคราะห์ข้อมูล แล้วก็กำหนด พื้นที่เป้าหมายที่ชัดเจนว่าในจังหวัดนั้นควรจะต้องไปแก้ไขปัญหาอะไร ปัจจุบันคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีการประสานงานกับกระทรวงมหาดไทย ได้มีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการ ขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ โดยมีทางท่านผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน และมีทั้ง ป.ป.ช. และ ป.ป.ท. เป็นฝ่ายเลขานุการ นำประเด็นปัญหาต่าง ๆ รวมทั้งนำข้อมูลที่เกิดขึ้น จากการดำเนินการ หรือการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ลงไปให้ทางท่านผู้ว่าดู และช่วยในการขับเคลื่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในท้องถิ่นซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญนะครับ ส่วนในการดำเนินการต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องการให้ความรู้ ป.ป.ช. เราก็ได้มีการดำเนินการ ให้ความรู้แก่หน่วยงานต่าง ๆ ไม่เฉพาะทางด้านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพราะส่วนราชการอื่น ๆ เองก็ประสบปัญหาเหมือนกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมาย การจัดซื้อจัดจ้างซึ่งก็เป็นปัญหา และทำให้ผู้ปฏิบัติมีโอกาสที่จะก่อให้เกิดการละเว้น การปฏิบัติหน้าที่ได้นะครับ ในคดีเกี่ยวกับเรื่องเทศบาลที่ถูกชี้มูลและบางแห่ง ไม่ถูกชี้มูล ที่ผมได้เรียนไปแล้วว่าเมื่อ ป.ป.ช. ชี้มูลไปแล้วอำนาจในการดำเนินการ จะเป็นไปตามกฎหมายบริหารงานบุคคลของหน่วยงานนั้น ๆ ซึ่งก็จะมีผู้บังคับบัญชา หรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนเป็นผู้รักษาการ ป.ป.ช. เองก็ได้มีการเฝ้าติดตามแค่นั้นเอง ว่าได้มีการดำเนินการลงโทษไหม แล้วก็ให้มีการรายงาน Feedback กลับมา ถ้าไม่ได้มี การลงโทษ เราก็จะมีการเตือนไปนะครับ แต่อย่างไรก็ดีบางครั้งอาจจะมีการดำเนินการ ที่อาจจะล่าช้าเกินกว่ากรอบระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งถ้า ป.ป.ช. ไปเอาผิดกับผู้บังคับบัญชา ทั้งหมดมันก็จะกลายเป็นว่าผู้บังคับบัญชาไปละเว้นหรือละเลยการปฏิบัติหน้าที่ เราก็ใช้ ในลักษณะแนวทางการปกครองหรือการบริหารก็คือว่าอะลุ่มอล่วย และรวมทั้งติดตาม กำกับดูแล พร้อมกับขอทราบข้อมูลข้อเท็จจริงในการดำเนินการลงโทษว่ามีเหตุอะไรถึงล่าช้า หรืออย่างไร ซึ่งอันนี้เราก็พยายามทำให้ดีที่สุดนะครับ ส่วนในเรื่องการตรวจสอบประวัติ อันนี้เดี๋ยวอาจจะต้องขอไปตรวจสอบดูนิดหนึ่ง แต่การดำเนินการของ ป.ป.ช. วันนี้เรามี ภารกิจจำนวนมากพอสมควร เรามีเรื่องค้างที่กำลังดำเนินการในเฉพาะคดีไต่สวน ประมาณ ๔,๐๐๐ กว่าเรื่องที่ค้างถึง ณ ปัจจุบัน ต้องยอมรับว่าการดำเนินการไต่สวน ที่ยังค้างอยู่นี้มันอาจจะเกิดขึ้นกับกฎหมาย เพราะคดีการทุจริตเกิดขึ้นทั่วประเทศไทย ๗๖ จังหวัดทั่วประเทศ รวมทั้งในส่วนกลางมีจำนวนมาก มีเรื่องร้องเรียนเข้ามาสู่ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ประมาณปีละเกือบ ๗,๐๐๐-๘,๐๐๐ กว่าเรื่องต่อปี เพราะฉะนั้น ในการคัดกรองเรื่องต่าง ๆ เราก็มีหลักเกณฑ์ในการคัดกรองเรื่อง แต่ก็ยังมีเรื่องที่ต้อง เข้าไปตรวจสอบข้อเท็จจริงตามคำร้อง เพราะถ้าปฏิเสธคำร้องเราก็จะกลายเป็น คนที่ละเว้นในการปฏิบัติหน้าที่ไปและถูกกล่าวหาได้ ปัจจุบันคณะกรรมการ ป.ป.ช. ก็ถูกฟ้องร้องดำเนินคดีหลายคดีเกี่ยวกับเรื่องการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย หรือกรณี ที่ไปชี้มูลเขานะครับ อันนี้ก็เป็นประเด็น อย่างไรก็ดีในการดำเนินการวันนี้เรามีการจัดตั้ง ศูนย์ Command ซึ่งประธานกรรมการ ป.ป.ช. ทุกอาทิตย์เลยในวันพฤหัสบดีท่านจะลงมา บริหาร แล้วก็จะมาช่วยดู แล้วก็มาช่วยกำหนดแนวทาง โดยเรานำเทคโนโลยีสารสนเทศ เกี่ยวกับเรื่องการประมวลข้อมูลต่าง ๆ มาใช้ในการตรวจสอบ รวมทั้งสถิติ เรายอมรับว่า การดำเนินการที่ผ่านมามีความล่าช้าพอสมควร แต่ปัจจุบันกฎหมาย ป.ป.ช. ปี ๒๕๖๑ มีการกำหนดกรอบระยะเวลาการดำเนินการให้ประชาชนต้องทำภายใต้กรอบ นอกเหนือ จากกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องการกำหนดกรอบระยะเวลาในกระบวนการยุติธรรมแล้ว ปัจจุบัน ในเรื่องคดีที่เกิดขึ้นก่อน พ.ร.บ. ปี ๒๕๖๑ เรามีอยู่ไม่กี่ร้อยเรื่องแล้ว จาก ๑,๐๐๐ กว่าเรื่อง เราพยายาม Clear ตั้งแต่มี พ.ร.บ. ป.ป.ช. ปี ๒๕๖๑ มา มีการปรับเปลี่ยนกระบวนการ มีการติดตาม กำกับดูแล เพราะฉะนั้นคดีเรื่องทุจริตจะมีการดำเนินการไต่สวนได้รวดเร็วขึ้น ถ้าเป็นคดีเรื่องเล็กประมาณสัก ๑-๒ ปีก็แล้วเสร็จ แต่ถ้าเป็นคดีใหญ่ ๆ ซึ่งอาจจะหา พยานหลักฐานยากอาจจะต้องใช้ระยะเวลา แต่อย่างไรก็ดีกฎหมายกำหนดว่าต้องให้แล้วเสร็จ ภายใน ๒ ปี ขยายได้ไม่เกิน ๑ ปี รวมทั้งปัจจุบันเวลาที่มีการส่งเรื่องไปยังอัยการสุดก็ได้มี การพิจารณาภายใต้กรอบเวลาที่กฎหมายกำหนด และปัจจุบันศาลเอง โดยเฉพาะศาลอาญา คดีทุจริตได้มีการพิพากษาคดีแบบต่อเนื่อง คดีทุจริตปกติท่านจะพิพากษาใช้ระยะเวลา เดี๋ยวนี้ไม่เกิน ๑ ปีสามารถตัดสินลงโทษผู้กระทำความผิดได้เลย อันนี้ก็เป็นอีกอันหนึ่ง ที่เป็นนวัตกรรมของกฎหมาย ป.ป.ช. ในฉบับปัจจุบัน ผมก็ขออนุญาตกราบเรียนนำเสนอทาง ที่ประชุมนี้ครับ ขอบคุณครับ