นายณัฐพล โตวิจักษ์ชัยกุล

  • ท่านประธานครับ ผม ณัฐพล โตวิจักษ์ชัยกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ เขต ๓ สันกำแพง แม่ออน ดอยสะเก็ด พรรคก้าวไกล ผมจำเป็นที่จะต้องอภิปรายเรื่องนี้นะครับ เพราะว่าขอเล่า เท้าความอีกครั้งนะครับ เมื่อวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ที่ผ่านมาที่ตำบลสันปูเลย อำเภอดอยสะเก็ดก็เกิดเหตุการณ์ลักษณะคล้ายกัน แต่สิ่งที่แตกต่างกันกับกรณีของมูโนะ ที่เชียงใหม่ที่เกิดเหตุเป็นสถานประกอบการไม่ได้เป็นโรงงานผลิตพลุ สถานประกอบการ ที่ว่านี้ได้รับใบอนุญาตในการจำหน่าย และมีการผลิตเป็นครั้งคราว ทีนี้ครับ สถานประกอบการที่เกิดเหตุเขาไม่ได้ผลิตตลอดทั้งปีแต่จะเป็นการผลิต นำวัตถุดิบมาผลิต เป็นพลุ เป็นประทัด เพื่อใช้ตามงานเทศกาลต่าง ๆ เหตุที่เกิดขึ้นในความโชคร้าย มีความโชคดี มีผู้บาดเจ็บ ๑๐ ราย แต่ไม่มีผู้เสียชีวิตนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • Slide ที่ท่านเห็นก็เป็นภาพ จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หลังจากเกิดเหตุการณ์ผมก็ใช้เวลาคิดพอสมควรว่าผมจะเรียกร้อง เพื่อให้เกิดการแก้ไขเรื่องนี้อย่างไร จนมาถึงวันที่ ๒๙ ซึ่งทุกท่านในที่นี้ทราบดีว่า เกิดเหตุการณ์โรงงานพลุระเบิดที่ตำบลมูโนะ นราธิวาส สิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากวันที่ ๒๔ ขอเล่าเท้าความอย่างนี้ ทางฝ่ายปกครอง กรมการปกครองได้สั่งการทั่วประเทศ ให้นายอำเภอทุกพื้นที่ได้ลงตรวจสอบสถานที่ที่ได้รับใบอนุญาตในการประกอบกิจการ แล้วก็ มีการเยียวยาในเบื้องต้น ทีนี้ผมอยากจะดึงภาพของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นออกมาจากมูโนะ อีกสักนิดหนึ่งครับ เพราะที่มูโนะนั้นเป็นโรงงานขนาดใหญ่ ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในประเทศ เราครับ สถานที่ที่เป็นร้านค้าขายพลุนั้นมีอยู่ทั่วประเทศไทยนะครับ ความเสียหายที่อาจจะ เกิดขึ้นสำหรับผมจะเสียหายมาก จะเสียหายน้อยแต่มันก็คือความเสียหาย ท่านประธาน น่าจะทราบดีนะครับ เพราะท่านประธานเอง สมาชิกหลายท่านก็อยู่ในสภาแห่งนี้ มาหลายสมัย เหตุการณ์พลุลักษณะนี้น่าจะมีการปรึกษาหารือมาโดยตลอดนะครับ ผมไปไล่ย้อนดูกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จริง ๆ แล้วกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องโรงงานผลิตพลุ เรื่องวัตถุดิบ เรื่องสารเคมีต่าง ๆ มีหลายต่อหลายฉบับครับ แต่ก็อย่างที่ท่านสมาชิกท่านอื่น ได้อภิปรายไปนะครับ การกำกับดูแลให้เจ้าหน้าที่ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนั้นได้ปฏิบัติตาม ข้อกฎหมายนั้นให้มันเกิดผลขึ้นจริงควรจะเป็นอย่างไรครับ ผมมีข้อเสนออยู่ ๔ ข้อครับ ท่านประธาน ๔ ข้อนี้เป็น ๔ ข้อเบื้องต้นนะครับ ซึ่งเดี๋ยวเพื่อนสมาชิกพรรคก้าวไกล จะอธิบายขยายความต่อไปอีก

    อ่านในการประชุม

  • ข้อแรก ผมมีข้อเสนอให้ปรับปรุงกฎหมาย อันนี้ต้องฝากเสนอไปยังหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องนะครับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้เอาจริง ๆ ถ้าว่ากันตามตัว พ.ร.บ. ว่าตามตัวหลักเกณฑ์ต่าง ๆ มีกระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงแรงงาน ข้อเสนอง่าย ๆ ที่อยากให้ปรับแก้ อันนี้ง่าย ที่สุดคือบทลงโทษในกรณีที่ไม่ได้ขอใบอนุญาต ตามกฎหมายที่มีอยู่ในกรณีที่ไม่ได้ขอ ใบอนุญาตอย่างถูกต้อง บทลงโทษคือถูกจำคุก ๑ เดือน และถูกปรับแค่ ๑,๐๐๐ บาท เองนะครับ สิ่งนี้เป็นข้อแรกที่ผมอยากเสนอเป็นเรื่องที่ง่ายที่สุดในการที่จะปรับบทลงโทษ ให้สูงขึ้น ให้มันได้สัดส่วนกับความเสียหายที่มันเกิดขึ้นจากกรณีเช่นนี้ครับ

    อ่านในการประชุม

  • ข้อที่ ๒ อย่างที่ผมอธิบายไปครับ เรามีกฎหมายมากมาย เรามีหลักเกณฑ์ เรามีประกาศกระทรวงมากมาย แต่สิ่งที่ขาดคือการกำกับดูแลครับ ทุกวันนี้ผู้ให้การอนุญาต คือเจ้าหน้าที่ท้องที่ ซึ่งก็คือนายอำเภอ ผู้ว่าราชการ ใบอนุญาตมีอายุ ๑ ปี เวลาจะขอ ใบอนุญาตนายอำเภอก็ต้องเรียกเอกสารที่เกี่ยวข้องแล้วไปตรวจสอบ แต่การตรวจสอบ แค่ปีละ ๑ ครั้ง ผมบอกไม่ได้จริง ๆ ว่าในแต่ละท้องที่มีการตรวจสอบบ่อย ถี่เพียงใด แต่ถ้า สันนิษฐานว่ามีการตรวจสอบแค่ปีละ ๑ ครั้ง ในวันที่ออกใบอนุญาตเท่านั้น ช่วงระหว่างปี เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าสถานที่แห่งนั้นไม่ว่าจะเป็นโรงงาน ไม่ว่าจะเป็นร้านค้า ไม่ว่าจะ เล็กหรือใหญ่ขนาดไหน เขามีการนำเข้าวัตถุดิบ มีการผลิต มีการ Stock ของไว้ขายแค่ไหน เหตุการณ์ที่เชียงใหม่เกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร และสะเก็ดไฟมันกระเด็นไปโดนกองประทัด ที่วางเอาไว้ และเกิดเป็นเหตุระเบิดลุกไหม้นะครับ

    อ่านในการประชุม

  • ข้อ ๓ อย่างที่ผมบอกไปว่าอยากเสนอให้มีการกำกับดูแลอย่างเข้มข้นนะครับ มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากมาย เป็นไปได้ไหมครับว่าเราจะกำหนดให้หน่วยงานเหล่านั้น ผลัดเวรกันไปอย่างเป็นระบบเข้าไปตรวจสอบในช่วงเวลาระหว่างปี ยกตัวอย่างง่าย ๆ ทุก ๓ เดือน มีกลาโหมเข้าไป ทุก ๓ เดือน มีนายอำเภอเข้าไป ทุก ๓ เดือน มีตัวแทน จากกระทรวงแรงงานเข้าไป เพื่อไปดูสวัสดิภาพของคนที่ทำงานในนั้นนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • ข้อ ๔ พอผมพูดเรื่องการกำกับดูแล ผมก็นึกย้อนถึงระบบการบริหารงาน ของบ้านเราไม่ว่าจะที่ไหนก็ตามเราใช้การใช้เอกสารเจ้าหน้าที่เข้าไปจด มีการกำหนดให้ สถานประกอบการนั้นทำรายงาน แจ้งวัตถุดิบ แจ้งอะไรต่าง ๆ นานา ซึ่งเกิดกับในหลาย ๆ งาน ในหลาย ๆ กระบวนการในประเทศไทย แล้วมันก็เปิดช่องให้มันตกหล่นนะครับ ผมอยากจะเสนอให้ใช้เทคโนโลยี เราอยู่ในโลกยุคใหม่นะครับ ผมก็ไม่ได้เก่งเรื่องเทคโนโลยี อาจจะเป็น Blockchain เป็น Application เป็น QR Code หรืออะไรว่ากันไป แต่ผมเชื่อว่า ไม่เกินความสามารถของรัฐบาลที่จะพัฒนาระบบที่จะให้ทุกส่วนตั้งแต่ต้นทางของการนำเข้า วัตถุดิบ นำเข้าสารเคมี ได้มีการบันทึกข้อมูลการขนส่ง ส่งไปที่ใคร ส่งไปที่ไหน ส่งไปเป็น จำนวนเท่าไร มีการบันทึก และทุกหน่วยงานสามารถเข้าถึงข้อมูลตรงนี้ได้ เข้าถึงปริมาณที่ ถูกย้ายไปได้ ตรงนี้จะทำให้เราสามารถช่วยตรวจสอบสารเคมี วัตถุอันตรายได้นะครับ และอยากเสนอนะครับว่า ข้อมูลตรงนี้จะต้องเป็นข้อมูลที่เปิดเผย เพื่อให้ประชาชนมีสิทธิ ที่จะรับรู้ได้ว่าแถวบ้านเขา แถวชุมชนเขานั้นมีวัตถุอันตราย มีสถานที่ที่อาจเกิดอันตราย ต่อบ้านเรือนของเขาอยู่หรือไม่ ผมเชื่อว่านี่เป็นข้อเสนอ ๕ ข้อเสนอเบื้องต้น ด้วยความกังวลใจ ท่านประธาน ผมอายุไม่มาก แต่ข่าวโรงงานพลุระเบิด โรงงานประเภทต่าง ๆ ที่มีการเก็บ สารเคมีมันระเบิดมาบ่อยนะครับ ถ้าไล่ย้อนดูผมคิดว่าทุกท่านในที่นี้น่าจะพอนึกออกว่า มีเหตุการณ์อะไรบ้าง ความมุ่งหวังของผมนะครับ ผมอยากเรียกร้องให้สภาผู้แทนราษฎร ช่วยกันเสนอความคิดเห็น แนะนำ และผลักดันกันต่อไปไม่ว่ารัฐบาลจะเป็นใครนะครับ ผมอยากให้ปัญหาเรื่องเหล่านี้พลุระเบิดนี้มันจบในรุ่นของเราครับขอบพระคุณครับ

    อ่านในการประชุม