เรียนท่านประธานผ่านไปยังสมาชิกสภาผู้ทรงเกียรติทุกท่านนะครับ ผม สุทธิศักดิ์ ตันตะโยธิน รองเลขาธิการ กสทช. สายงานกิจการโทรคมนาคม ต่อข้อกรณีที่ท่านกังวลในหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของข้อมูลที่จะใช้ในการส่งผ่านในมาตรา ๔ มาตรา ๕ อย่างไร ในเรื่องของ SIM ที่กำลังคิดว่าจะมีมากน้อยเพียงใดเป็น SIM ม้าหรือเปล่า สิ่งเหล่านี้ทั้งหมด เราได้มีคณะทำงานร่วมกันกับทางท่านอนุ ท่านรัฐมนตรีเป็นประธานอนุก็มีการดำเนินการ ในหลาย ๆ เรื่องด้วยกัน เรื่องหนึ่งที่เราคุยกันก็มีเรื่องการส่งข้อมูลและระบบการจัดเก็บ สิ่งที่ผมจะพูดในวันนี้ พูดตอนนี้มันก็เป็นการที่เราคุยกันในคณะทำงานในคณะย่อย ที่เคยรายงานต่ออนุ ผมอยากแยกเป็น ๒ เรื่อง
เรื่องแรก ก็คือเรื่องของข้อมูลที่เราจะต้องส่งมอบกันตามมาตรา ๔ มาตรา ๕ บ้างนะครับ อย่างที่ทางผู้แทน สตช. ได้กล่าวไว้แล้วก็คือว่า เรามีเหตุอันควรสงสัยอยู่ ประมาณ ๑๐ ประเด็นที่เราคุยกันตกผลึกว่าจะต้องมีเรื่องอะไรบ้างในการส่งนะครับ ข้อมูลที่เป็นทางการจริง ๆ ๑๓ Item ที่เราต้องส่งเราจะส่งกันอย่างไรในแต่ละรายการ ที่เกิดขึ้น ข้อกังวลถ้าไม่มีกฎหมายนี้หรือ พ.ร.ก. นี้ถามว่าสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ไหม อย่างที่ผู้แทนของแบงก์ชาติบอกแล้วคงทำไม่ได้ถ้าไม่มี พ.ร.ก. นี้นะครับ ทุกคนก็จะกลัวหมด เรื่องกฎหมาย เรื่องโน้นเรื่องนี้ต้องมี Consent ไหม ต้องทำโน่นทำนี่มันก็ไม่เกิดประโยชน์ ที่เกิดขึ้นตามมานะครับ สิ่งที่เรากังวลมันจะได้คลายลงไปในการที่เราจะทำเพื่อประชาชน ของเรา เพื่อปกป้องประชาชนพี่น้องของเราในการไม่เป็นเหยื่อของมิจฉาชีพทั้งหมดที่เกิดขึ้น ทีนี้สิ่งที่ผมอยากจะบอกในเรื่องแรก ในประเด็นแรกก็คือข้อมูลที่เรามีอยู่ เราได้มีการคุย กสทช. เองเป็นหน่วยงานอย่างที่ผมบอก เรามีตั้งแต่งวดแรกก็คือเรามีการป้องปราม ที่จะทำอย่างไร เป็นหน่วยงานสนับสนุนอย่างไรให้กับคณะทำงานชุดนี้ ไม่ว่าจะเป็น DSI ปปง. ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือทางหน่วยงานที่ร้องขอข้อมูลตาม พ.ร.ก. ตัวนี้ เรามีการคุยกับผู้ประกอบการในการส่งข้อมูลนะครับ เรามีการแบ่งแยกออกมาว่าข้อมูล ประเภทอะไรบ้างที่จะส่งได้ภายใน ๗๒ ชั่วโมง ข้อมูลอะไรที่ต้องส่งภายใน ๑ วัน หรือ ๓ วันที่เกิดขึ้นแล้วมีการ Conservation เป็นที่เรียบร้อยแล้วนะครับ สิ่งเหล่านี้ทั้งหมดนี้ เราก็อยู่ภายใต้ พ.ร.ก. นี้เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนได้ใช้ข้อมูลหรือหน่วยงานที่ได้ เอาไปใช้ข้อมูลเหล่านี้สามารถที่จะดำเนินคดี ดำเนินการจับกุม ดำเนินการป้องปราม ดำเนินการปกป้องประชาชนที่ก่อนจะมีเงินออกไปที่ต่างประเทศได้ นี่คือสิ่งที่เราคุยกันตั้งแต่ ตอนต้นนะครับ ถามกลับมาที่ว่าแล้วระบบที่เราในการจัดส่งเราจะทำอย่างไร เราก็มีการคุย ตั้งแต่ตอนที่ว่าเราสามารถที่จะมีระบบเป็น Online ได้อย่างที่หลาย ๆ ท่านกังวล มันควร จะต้อง Real Time ที่เกิดขึ้น ในช่วงแรกเราอาจจะมีการส่งที่เป็นแบบ File ทางด้าน คอมพิวเตอร์ก่อนนะครับ เป็น e-Mail ก่อนนะครับ แล้วเรามีการพูดกันว่าจะมีการพัฒนา ในเรื่องของระบบที่มีการส่งหรือแชร์ข้อมูลที่เราคุยกันว่าจะมีการแชร์ข้อมูลในการที่ทำ Transaction ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างแบงก์กับทาง Telco ที่เกิดขึ้นในการที่จะป้องปรามไม่ให้มี การโอนต่อเนื่องออกไปยังต่างประเทศได้ อันนี้ก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่สำนักงาน กสทช. เข้าไปมี ส่วนร่วมที่ดำเนินการมานะครับ กลับมาเรื่อง SIM เราก็มีความกังวลว่าที่ผ่านมาเรายอมรับ นะครับว่ามันมีการที่ใช้การลงทะเบียนด้วยวิธีเก่า ๆ ไปค่อนข้างมากตั้งแต่อดีตมาแล้ว แต่ปัจจุบันเรามีมาตรการที่เราออกมานะครับ ตั้งแต่ว่ามีมากกว่า ๕ SIM ท่านต้องไป ลงทะเบียนที่ Shop เท่านั้นเพื่อแสดงตัวตนที่ชัดเจนของท่านนะครับ แล้วมาตรการเข้ม ขึ้นมาอีกอย่างหนึ่งเรากำลังจะออกก็คือว่าเราจะให้มา Regist ไว้ทั้งหมด ถ้าคนที่ถือครอง SIM มากกว่า ๑๐๐ SIM หรือ ๕ SIM ขึ้นไปในระยะเวลาที่แตกต่างกันนะครับ อันนี้คือ เราจะให้มา Regist ใหม่ทั้งหมดเพื่อแสดงตัวตนว่า ท่านมีความประสงค์จะใช้ SIM นั้นอยู่ เพื่ออะไร เพื่อแยกคนกับ SIM ออกมาให้เห็นชัดนะครับ แล้วฝ่ายความมั่นคงก็จะได้ Monitor ได้ถูกต้องว่าคนที่มีความประสงค์จะใช้ SIM เหล่านี้ที่เป็นมากกว่า ๑๐๐ SIM หรือมากกว่า ๕ SIM ขึ้นไปมีจุดประสงค์อะไรบ้างที่เกิดขึ้น อันนี้เราก็จะพยายามที่จะทำเป็น มาตรการที่เราร่วมกันนะครับ นอกจากนั้นเองทางสำนักงานก็มีการคุยกับทางแบงก์ชาติ สมาคมธนาคารไทยนะครับ ท่านจะเห็นว่าปัจจุบันในการผูกกับ PromptPay เราเริ่ม มีการแสดงตัวตนที่มากขึ้น มีการทำ Biometrics มากขึ้นที่ว่าต้องแสดงตัวตน ถ้าหากท่าน เปลี่ยนเครื่อง เปลี่ยนเบอร์จะหลุดทันที ท่านต้องไปแสดงตัวตนใหม่ อันนี้ก็จะเป็นมาตรการ ที่เราคุยกันมาเพื่อยกระดับในการที่จะทำงานร่วมกับทางแบงก์ชาติที่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้น สิ่งเหล่านี้ทั้งหมดเราทำภายใต้ภารกิจเดิมที่มีอยู่ แล้วก็ต่อเนื่องกับ พ.ร.ก. ที่กำลังมีอยู่ ซึ่งมันจะมีความคาบเกี่ยวกัน ถ้าไม่มีอย่างที่ผู้แทนแบงก์ชาติบอก ถ้าไม่มีจะเกิดอะไรขึ้น ผมอยากให้ห่วงอย่างนี้มากกว่าว่า ถ้าไม่มีจะเกิดอะไรมากขึ้นมากกว่า สิ่งเหล่านี้เราอยากให้ เห็นว่าเราควรจะต้องทำงานร่วมกันที่จะไปเพื่อปกป้องประชาชนให้มีความปลอดภัย ในเรื่องมิจฉาชีพในสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น อันนี้เราก็น้อมรับในสิ่งที่ท่านเสนอแนะมา เราก็คิดว่า เดี๋ยวเราจะเอามาคุยกับทางคณะทำงานและในประเด็นต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ข้อกังวลของท่าน เราคิดว่าน่าจะไปปรับปรุงได้ในการทำงานหรือใน Process ที่ติดตามต่อไปเราก็ยินดี ที่จะรับไปทำนะครับ ขอบคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานผ่านไปยังสมาชิกสภาผู้ทรงเกียรตินะครับ ต่อข้อซักถามหรือประเด็น ข้อสังเกตต่าง ๆ จากสภา ผมขอใช้สิทธิพาดพิงก่อน เหมือนกับผมเป็นฝ่ายค้านอย่างไร ไม่ทราบนะครับ
ผมขอตอบคุณภัทรพงศ์ก่อนในประเด็นที่พาดพิงในเรื่อง Cell Broadcast จริง ๆ เรามีการศึกษา เรามีคณะทำงานที่ทำร่วมกัน เราเห็นประโยชน์ของประชาชนที่จะ ได้รับ แต่ด้วยข้อจำกัดบางข้อจำกัดที่เราทำ อย่างเช่นที่เราบอกว่างบประมาณไม่มี อันนี้ไม่ใช่ ว่าไม่มีนะครับ แต่งบประมาณ ณ วันนั้นเราก็ต้องมีการจัดหางบประมาณเพื่อที่จะทำ Cell Broadcast เรียนตามตรงว่า Cell Broadcast มันมี ๒ ส่วนด้วยกัน คือ ๑. ผู้ประกอบการ ต้องทำ กับ ๒. ตัวต้นทางในการส่งข้อความต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น อำนาจไม่ได้อยู่ที่ กสทช. ในการส่งนะครับ ท่านอาจจะเข้าใจผิด ในการบูรณาการทำ Cell Broadcast มี 3-4 Party ด้วยกัน หน่วยงานที่เป็นคนส่งข้อมูลที่จะเตือนภัย มีตั้งแต่กรมอุตุนิยมวิทยา กรมป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย หน่วยงานตำรวจแห่งชาติ ซี่งในต่างประเทศเขาก็ต้องมีการมา คุยกันก่อนว่า Level ไหนควรจะต้องเตือนในระดับไหน ไม่ใช่เห็นปุ๊บเตือน กลายเป็น สร้างความวุ่นวายให้กับสังคมไปเลย ประชาชนแทนที่จะได้ประโยชน์ กลับไม่ได้ประโยชน์ เราก็ต้องมีการคุยในคณะทำงานของเราตรงนี้ก่อนเพื่อ Setup ในเรื่องของสิ่งเหล่านี้ทั้งหมด ที่เกิดขึ้น งบประมาณเป็นส่วนหนึ่งที่เราพยายามจะตั้งงบประมาณเพื่อจัดสรรโดยใช้เงิน ทาง Board ก็มีนโยบายออกมาว่าควรจะต้องใช้งบประมาณในส่วนของทาง USO กองทุน ของเราในการช่วยดำเนินการสนับสนุนตรงนี้ ซึ่งก็น่าจะมี ผมเชื่อได้ว่ามีในส่วนตรงนี้
ลำดับที่ ๒ ที่ท่านถามว่าผู้ประกอบการทำไมไม่มีโครงข่ายตัวนี้หรือ ทำไม ไม่อยู่ในเงื่อนไขหรือ เราใส่ในเงื่อนไขที่เขาต้องแจ้งใน SMS อยู่แล้ว แต่ Cell Broadcast มันเป็นเทคโนโลยีใหม่ เพิ่งมาในระดับ ๔-๕ ปีที่ผ่านมา ต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่าเรามีตั้งแต่ Network 2G 3G 4G แล้วก็ 5G ใน 1G 2G ไม่มีแน่ในระบบ Cell Broadcast ที่สามารถ ทำได้ 3G บางรายก็ยังทำไม่ได้ 4G ก็ยังมี Vendor ที่ยังต้องไป Upgrade ต้องมีการทำข้อมูล หรือลงทุนในเรื่อง Upgrade Software ทำการพัฒนา Software เพื่อให้ส่งในทิศทาง เดียวกันได้ อันนี้ก็จะเป็นข้อจำกัดหนึ่งที่เราทำกันอยู่ ถามว่าแล้วเราทำอย่างไร เราแก้เป็น ๒ เฟส อย่างที่ผมพูด ที่ท่านเข้าใจถูกแล้ว Phase แรกที่จะทำให้คือ เป็น SMS ก่อน ซึ่งเราทำกันอยู่ ปัจจุบันก็มีการส่งอยู่ แต่เราไม่สามารถที่จะเป็นคนส่งได้ ท่านอาจจะต้อง ร้องไปที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในการที่จะมีการเตือนภัยในเรื่องต่าง ๆ กรมควบคุมมลพิษก็เป็นส่วนหนึ่งที่ต้องทำ เรามีการพูดคุยตั้งหลากหลายใน Party ที่เกิดขึ้น มันไม่ได้ง่ายอย่างที่คิดทุกคนคิดเหมือนกันหมด ผมก็พยายามที่จะคิดเพื่อให้ประโยชน์กับ ประเทศชาติ ประชาชน ไม่แพ้ท่าน เราก็พยายามที่จะสร้างระบบโทรคมนาคมไปสนับสนุน ไป Support ให้กับประชาชนได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มรูปแบบ อันนี้ผมรับข้อสังเกต ของท่านมา และผมคิดว่าคงจะดำเนินการทำต่อนะครับ
ต่อข้อซักถามที่ ๒ ในเรื่องการจัดระเบียบสายสื่อสาร ที่ว่าท่านว่ามีเงื่อนไข เรื่องพื้นที่อย่างไร ความสำเร็จเป็นอย่างไร แล้วก็แผนงานล่าช้า ในหลาย ๆ คนก็ถามมา ในเรื่องการจัดระเบียบสายสื่อสาร ต้องเรียนตามตรงครับว่า การจัดระเบียบสายสื่อสาร มันไม่ได้ง่ายอย่างที่พวกเราเข้าใจ เราคิดว่าตื่นขึ้นมาพรุ่งนี้เช้าถ้าจัดระเบียบสายสื่อสารแล้ว เอาสายลงเสร็จแล้วจบ พรุ่งนี้เอาสายใหม่ขึ้น มันไม่ได้ง่ายอย่างที่เราคิด ผมจะอธิบายให้ท่าน เข้าใจว่ามันเริ่มตั้งแต่ ๑. เราต้องเอาสายใหม่ขึ้นก่อน แล้วก็มีการตัดถ่ายสัญญาณเข้าบ้าน ให้กับประชาชนใหม่ก่อนถึงจะรื้อถอนสายเดิมได้ ข้อจำกัดก็คือว่า ๑. เราต้องมี Party ตั้งแต่ กับการไฟฟ้า กับหน่วยงานท้องถิ่น ท่านเชื่อไหมว่าการทำงานของเรา เราไม่ได้เป็นคนทำ คนเดียวนะครับ Party ที่เราต้องไปทำ ก็คือการไฟฟ้าก็ต้องเป็นเจ้าของเสา ท่านก็ต้องไปดู ความเรียบร้อยของเสาว่าขึ้นสายใหม่เป็นไปตามมาตรฐานจริงหรือเปล่า เพราะว่าถ้าติดผิด มันก็จะส่งผลต่อเสาที่มันมีการเอนได้ โคลงได้ สิ่งเหล่านี้ทั้งหมดเราไม่ได้ทำงาน ได้ทั้งวันนะครับ คือทำงานได้เฉพาะในช่วงเวลากลางคืนที่เกิดขึ้นเท่านั้น ในการตัดถ่าย Traffic เองเราก็ไม่กล้าที่จะทำในวันที่มีประชาชนอยู่เยอะ ๆ หรือเวลาเร่งด่วน เพราะว่า อะไร ถ้าประชาชนใช้งานไม่ได้ในบริเวณนั้น ก็จะเกิดเรื่องร้องเรียนเข้ามาอีกว่าแล้วใครไปสั่ง ทำตรงนี้ ใครไปสั่งทำตรงนั้น มันก็จะเป็นปัญหาอยู่ คนที่ทำงานจริง ๆ ทำงานได้ตั้งแต่ ช่วงประมาณตี ๒ ถึงตี ๕ เท่านั้นเอง เพราะ ๖ โมงก็ต้องเก็บของแล้ว เพราะว่าจราจรก็ต้อง คนทำงานอีก อันนี้ก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่เราพยายามจะให้เข้าใจว่าการจัดระเบียบสายสื่อสาร ไม่ได้แค่คิด แต่ถามว่ามันล่าช้ากว่าแผนจริงหรือไม่ จริง ตรงนี้เรายอมรับ เราจะเร่ง Speed ตรงนี้ให้ ซึ่งเราก็มีการคุยกับทางหน่วยงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็น หน่วยงานท้องถิ่นใน กทม. เอง หรือ อบต. อบจ. เองที่ในต่างจังหวัด ซึ่งผมก็ต้องขอขอบคุณ ที่ว่าให้ข้อมูลตรงนี้ โดยเฉพาะท่านที่อยู่เชียงใหม่ คุณเอกราชใช่ไหมครับ เขตดอนเมือง ที่พูด ในเรื่องของสายสื่อสาร สิ่งเหล่านี้ทั้งหมดผมเชื่อได้ว่าในอนาคตข้างหน้าถ้าเราจะเลือกพื้นที่ เราจะลงพื้นที่ เราเลือกจากอะไร เราเลือกโดยมีการประชุมคุยกับท้องถิ่น มีคุยกับการไฟฟ้าว่า เสาต้นนั้นบริเวณไหนที่ว่ามีจุดวิกฤติหรือไม่ อย่างไร จุดวิกฤตินี่หมายถึงอะไร หมายถึงว่า เส้นทางตรงนั้นจะมีสายค่อนข้างเยอะ ทางการไฟฟ้าก็จะบอกว่าควรจะมาจัดระเบียบ สายสื่อสารตรงนี้ เราก็จะคุยกับ อบต. อบจ. หน่วยงานท้องถิ่นขึ้นมาว่าสามารถที่จะ ดำเนินการได้หรือไม่ ถ้าได้เราถึงจะกำหนดเป็นแผนร่วมกัน แต่ในวันข้างหน้าผมเชื่อได้ว่า ถ้าท่าน สส. ที่ดูแลพื้นที่ท่านอยากเข้ามาอยู่ในองค์ประกอบนี้ผมยินดีนะครับ อย่างเช่น ท่านเอกราช ท่านภัทรพงษ์เอง ถ้าอยากจะทำร่วมกับผม หรือเรามาลงพื้นที่ด้วยกัน ผมว่า ก็จะเป็นสิ่งที่ดีที่ตอบสนองพี่น้องประชาชนได้นะครับ อันนี้ก็จะเป็นส่วนหนึ่งในเรื่องการจัด ระเบียบสายสื่อสารที่ผมอยากจะชี้แจงนิดหนึ่ง
ต่อข้อหารือในเรื่องของ Call Center ผมก็ต้องอธิบายนิดหนึ่งว่าตอนนี้ เหมือนกับทาง กสทช. เป็นจำเลยหลักเลย จริง ๆ เราอยากจะให้แยกนิดหนึ่งว่าสำนักงาน กสทช. เป็นผู้ออกใบอนุญาตสร้างโครงข่าย Internet ก็เหมือนกับถนนหนทาง รถที่มาวิ่งอยู่ บนถนนหนทาง หรือคนที่มาใช้ถนนเหล่านี้มันก็มีตั้งแต่ว่าถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง ป้ายทะเบียน ผิด ไม่ผิด ก็เฉกเช่นเดียวกัน Platform ที่มาวิ่งอยู่บน Internet จะมีตั้งแต่ว่าถูกหรือไม่ถูก คนที่เป็น Call Center เป็นมิจฉาชีพ ก็จะมาใช้ช่องทางเหล่านี้ในการล่อลวงประชาชน ของเราเกิดขึ้น แต่ถามว่าแล้วโครงข่ายที่เรากำกับดูแลหลักเราเป็นคนที่รับผิดชอบจริงไหม จริง ถ้าโครงข่ายไม่ดี ถนนไม่ดี Internet ช้า Internet ไม่ดีอะไรอย่างนี้ ผมว่า กสทช. รับเต็ม ๆ แต่นี่เราก็พยายามบูรณาการร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นแบงก์ชาติที่เป็น คนเสียหายที่เกิดขึ้นอยู่บน Platform ตรงนี้ ปปง. ต้องไปสืบในเรื่องของการทำธุรกรรม ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเงิน ตำรวจต้องไปตามจับผู้ร้ายที่ใช้เทคโนโลยี ผมจำได้คำหนึ่งนะครับ จากท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้ทรงเกียรติที่พูดว่า ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี อันนี้จริง เลยครับ เพราะว่า กสทช. เป็นคนที่จะนำพาเทคโนโลยีสมัยใหม่ ๆ มาใช้กับประชาชนให้มาก ที่สุด เพื่ออะไร เพื่อให้ประชาชนได้มีความสะดวกสบายในการใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ แต่ถามว่า คนที่มาใช้ดีหรือไม่ดี กสทช. ไม่ได้ไปกำกับนะครับ แต่เราไปร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นตำรวจ ปปง. แบงก์ชาติ ช่วยกันบูรณาการในการทำตรงนี้ ต้องขอขอบคุณสภา ที่ได้มีการผ่าน พ.ร.ก. ที่เราดำเนินการร่วมกับตำรวจกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น ตามมาตรา ๔ มาตรา ๕ อย่างทางหลาย ๆ ท่านที่แจ้งมาว่าทำไมไม่มีการส่งข้อมูล พ.ร.ก. นี้ก็ออกไปแล้ว ผมเรียนตามตรงนะครับ พ.ร.ก. ออกมาเรามีการประสานงาน กับตำรวจในการส่งข้อมูลและการแชร์ข้อมูลในบางส่วนไปเรียบร้อยแล้ว แต่ระบบที่เป็น Real time เรายังไม่เกิด เพราะว่าเรายังต้องลงทุน ยังต้องการสร้าง Platform อยู่ แต่ตอนนี้ เรามีการส่งให้ตำรวจไปในการจับกุม ปราบปราม สืบสวนสอบสวน เพื่อเอาคนกระทำ ความผิดออกมา ในส่วนของ กสทช. เองเราก็สนับสนุนหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เบอร์โทรศัพท์ อย่างที่ท่านกังวลว่าทำไมไม่ปิดเบอร์โทรศัพท์ ถ้าตำรวจแจ้งเรามาว่า เบอร์โทรศัพท์เหล่านี้เป็นเบอร์โทรศัพท์มิจฉาชีพจริง ๆ เราสั่งให้ Operator ปิดเบอร์ โทรศัพท์ บล็อกเบอร์โทรศัพท์นั้นนะครับ ตอนนี้เราทำอยู่ มาตรการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น อย่างที่ ท่านขัตติยา ต้องขออนุญาตเอ่ยนามนะครับ อย่างเช่นว่ามาตรการเรามีมากกว่านั้นหรือเปล่า เรามีเพิ่มเติมมาเรื่อย ๆ ก็จะมีตั้งแต่ที่บอกว่าเรามีดอกจัน ๑๓๘ ดอกจันที่จะบล็อก เบอร์ต่างประเทศเลยที่ไม่ให้โทรศัพท์เข้ามา ตอนนี้เรามีมาตรการเพิ่มขึ้นมาเรื่อย ๆ แล้วก็ จะมีมาตรการที่กำลังจะนำเข้าสู่ Board กสทช. ก็คือว่า SIM ตั้งแต่ ๑๐๐ SIM ต่อไปนี้ เราจะให้กลับมาลงทะเบียนหรือยืนยันตัวตนใหม่ หากว่าภายใน ๓๐ วันไม่มาลงทะเบียน หรือไม่มายืนยันตัวตน เบอร์โทรศัพท์เหล่านั้นจะใช้ไม่ได้ แต่จะรับสายได้ อันนี้ก็จะเป็นอะไร ที่เราต้องการ Cleansing ในเรื่องของระบบการ Regis ของการลงทะเบียน SIM ที่เกิดขึ้น อันนี้ถ้า Board ผ่าน ซึ่งผมว่าผ่านคณะอนุกรรมการ ผ่าน Board ก็น่าจะบังคับใช้ได้เลย อันนี้ก็จะเป็นมาตรการที่เราเข้มขึ้น นอกจากนั้นเองเราก็มีการคุยกับหน่วยงานความมั่นคง ในการส่งข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นไปตามมาตรา ๔ มาตรา ๕ ในเรื่องการที่เราคุยกัน ตั้งแต่ว่า เหตุในการสงสัยจาก ๑๓ เป็น ๑๐ เราก็มีการส่งแล้ว ก็มีการคุยกันตกผลึกแล้ว ผมว่า มาตรการเข้มงวดก็จะเริ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ อย่างที่รักษาการเลขาธิการบอกว่าลงพื้นที่ เราก็จะมี การไปตรวจจับอยู่เป็นประจำ อันนี้ก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่เราเกิดขึ้นนะครับ
ต่อข้อ 5G ผมขออนุญาตนิดหนึ่ง 5G เราก็มีการประเมินในพื้นที่ อย่าง EEC ตอนนี้ที่เงื่อนไขเราบอกว่า ๕๐ เปอร์เซ็นต์ แต่ปัจจุบันผมเชื่อได้ว่าที่เขารายงานมา ถ้าผม จำไม่ผิดนะครับ ใน EEC อยู่ที่ ๙๕ เปอร์เซ็นต์ พื้นที่ของ 4G ในประเทศไทยมี Mobile Broadband อยู่ที่ ๙๙ เปอร์เซ็นต์นะครับ Internet ประจำที่อยู่ที่ประมาณ ๕๗ เปอร์เซ็นต์ ซึ่งก็ตรงกับที่ท่านสมาชิกได้กล่าวไปกับทาง DE เขาให้ข้อมูลท่าน ก็ตรงกัน แต่การเข้าถึง Internet ผมอยากให้แยกเป็น ๒ ประเด็น การเข้าถึง Internet โดย Fixed Broadband กับการเข้าถึง Internet บน Mobile Broadband มันแตกต่างกัน ถ้าจะตีความในการเข้าถึง Internet Mobile Broadband 4G ในประเทศไทยมันอยู่ที่ ๙๙ เปอร์เซ็นต์ ผมก็เชื่อได้ว่า มันก็จะเข้าถึง per Population ๙๙ เปอร์เซ็นต์ แต่ Fixed Broadband ที่เป็น Fiber เข้าบ้านคน ครัวเรือนอยู่ที่ ๕๐ กว่าเปอร์เซ็นต์ อันนี้ก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่เราพยายามจะเร่ง Speed ตัวนี้ให้มีการส่งเสริมมากขึ้น เพื่อให้มีการเข้าถึง Broadband มากขึ้น ผ่านโครงข่าย ของ USO เราเอง หรือผ่านในเรื่องของการกำกับดูแลผ่านช่องทาง Commercial ก็คือ ทางผู้ประกอบการของเราออกไป นี่ก็จะเป็น EEC ต่อที่โครงการ 5G ที่ว่าสำเร็จ ไม่สำเร็จ อย่างไร ผมก็เชื่อได้ว่าในสิ่งที่เราทำลงไป โรงพยาบาลศิริราชเองก็เป็นอะไรที่เป็นมรรคผล ที่ศิริราชค่อนข้างมีความสะดวกสบายในวันนี้ แล้วก็มีการติดตาม Tracking ในการ Monitor ในการติดตาม ในการสั่งจ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น การตรวจรักษาที่มีความเชี่ยวชาญมากขึ้น การเก็บรักษาประวัติต่าง ๆ ที่มีความแม่นยำมากขึ้น อันนี้ก็จะเป็นอะไรที่ทางศิริราช เขาก็รายงานมาว่าเขาก็มี Efficiency เกิดขึ้นประมาณ ๔๐ กว่าเปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เห็นได้ชัด ก็คือที่ผาหมี จริง ๆ ท่านก็อาจจะไปดูได้ในผาหมีที่เอาเรื่อง 5G ไป Sensor ไปใส่ ในการทดลองทดสอบแปลงเศรษฐกิจก็คือแปลงวานิลลา ซึ่งทางผาหมีหรือโครงการหลวง ท่านบอกเองว่าใส่เทคโนโลยีเข้าไป ประสิทธิผลและประสิทธิภาพมันเพิ่มขึ้น เกณฑ์มันขึ้น จากการปลูก ๓๐ เปอร์เซ็นต์ แล้วลดการใช้น้ำลงประมาณ ๔๐ กว่าเปอร์เซ็นต์ อันนี้ เรากำลังจะขยายผลต่อ อันนี้ก็อยู่ที่ทางเราที่เราต้องทำในโครงการที่สนับสนุนต่อ แต่อย่างที่บอก เราไม่อยากจะเป็นเบี้ยหัวแตก เราจะทำในเรื่องของการบูรณาการทั้งหมด ในการส่งเสริมตามนโยบายของ Board กสทช. อยากเห็นภาพรวมภาพใหญ่ ซึ่งผมว่า ในหลาย ๆ เรื่องก็อาจจะเป็นภาพที่ชัดเจนขึ้นนะครับ
ต่อข้อสังเกตและข้อคำถามหรือข้อฝาก ผมก็คงจะน้อมรับในสิ่งที่ท่านคิด คำถามหรือข้อฝากหารือ หรือฝากข้อสังเกตให้กับผมที่ทำประโยชน์ให้กับประชาชนผมก็ จะทำนะครับ แต่ถ้าจะทำเพื่อประโยชน์ของใครคนใดคนหนึ่งผมคงไม่ทำแน่ ผมก็คงจะทำ เพื่อประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก ถ้าข้อสังเกตที่ท่านฝากมาเป็นเพื่อประชาชนจริง ๆ ผมก็จะทำนะครับ แล้วผมเชื่อได้ว่าถ้าในเรื่องของการจัดระเบียบสายสื่อสารหรือการที่ทำ เรื่องต่าง ๆ จากท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติ ถ้าเห็นว่าในพื้นที่ที่ท่านอยากจะเข้ามามีส่วนร่วม ในการกำหนดในเรื่องของการเลือกพื้นที่ในเรื่องของแผน ผมยินดีที่เราจะเข้าไปในพื้นที่นั้น พร้อมกัน อันนี้ก็จะมีการทำงานที่ผมอยากจะเรียนท่านประธานผ่านไปยังสภาผู้ทรงเกียรติ ขอบคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานผ่านไปยังสมาชิกรัฐสภาผู้ทรงเกียรติ ต่อข้อหารือหรือข้อซักถาม ผมก็ขอตอบในเรื่องของการขยายโครงข่ายก่อนนิดหนึ่ง สืบเนื่องมาจากที่ท่านรักษาการ ได้ตอบไปของท่านกมลศักดิ์นะครับ ผมว่าในแผนเราที่ยังมีตกหล่นอยู่ก็คงจะเก็บในส่วน ที่เหลือ แต่ต้องเรียนตามตรงว่าในบางพื้นที่มีข้อจำกัดจริง ๆ ถนนมี แต่เสาไฟฟ้าไม่มี มันก็ ไม่สามารถที่จะลากเรื่อง Fiber หรือขยายสัญญาณเข้าไปได้ นอกจากจะใช้เรื่องดาวเทียม เข้าไป พอดาวเทียมเข้าไปก็จะมีปัญหาเรื่องคุณภาพการให้บริการอีก แต่เราจะพยายามทำดี ที่สุดตรงนี้ในสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
ตอบของท่านรักชนก เรื่องควบรวม ทางสำนักงานเองผมคิดว่าเราทำตาม อำนาจกฎหมายที่เกิดขึ้น แล้วก็องค์คณะของ กสทช. ก็เป็นองค์คณะที่เป็นอำนาจหน้าที่ ของแต่ละบุคคลที่จะตัดสินใจในการดำเนินการว่ามีมติอย่างไร ทีนี้เราต้องเคารพในสิ่งที่ ตัดสินใจของแต่ละท่าน เพราะฉะนั้นมติออกแบบนั้นเราก็ต้องยอมรับในมติตรงนั้นออกไป แต่ข้อคลาดเคลื่อนอย่างหนึ่งที่ท่านรักชนกกล่าวคือมีการใช้เงินจ้างที่ปรึกษาประมาณ ๒๐ ล้านบาท จริง ๆ เราใช้อยู่ประมาณ ๑๔ ล้านบาท ที่เป็นของคนไทยส่วนหนึ่ง ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แล้วก็เป็นของ SCF ก็คือต่างประเทศ ถามว่าทำไมเราต้องใช้ ทั้งไทยและต่างประเทศในการที่จะมาเป็นรายงานผลการศึกษาเพื่อประกอบกัน ทาง Board เองก็มีมติในเรื่องของการที่ว่าในประเทศไทยก็จะมีมุมมองหนึ่ง ต่างประเทศ ก็จะมีอีกมุมมองหนึ่ง เลยต้องมีการเอาทั้ง Second Opinion กับ Third Opinion มา แล้วนอกจากนั้นเราก็มีคณะอนุกรรมการอีก ๔ คณะขึ้นมาที่ตั้งโดย Board เข้ามาบูรณาการ Blend ในเรื่องของข้อมูลทั้งหมดที่เข้าสู่ Board แล้วก็เข้าไปใน Board ในการที่จะตัดสินว่า รับทราบหรือไม่รับทราบตามประกาศของเรา อันนี้ก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่มีมติตรงนั้นออกมา เราก็ต้องยอมรับในมตินั้นออกไป
แล้วส่วนหนึ่งที่มี Guarantee สำหรับประชาชนแน่ ๆ ที่เราบอกก็คือ มีมาตรการเฉพาะ ซึ่งเราก็มีคณะทำงานที่ติดตามเรื่องมาตรการเฉพาะนี้อยู่ในการควบรวม ในนามของสำนักงาน อันนี้เราก็ชี้แจงเบื้องต้นในเรื่องของการควบรวมที่เกิดขึ้น
แล้วก็ผมเข้าใจว่าจะมีเรื่องของทางท่านที่เพิ่มเติมขึ้นมาในเรื่องของ จัดระเบียบสายสื่อสาร ซึ่งผมก็ยินดีแล้วผมก็น้อมรับในเรื่องของการที่จะไปเร่งรัดในแต่ละ พื้นที่ที่เกิดขึ้น ก็ยังเรียนตามตรงว่าในแต่ละพื้นที่ ในแต่ละสถานที่มันมีแผนอยู่แล้ว แต่ก็ยังมี บางพื้นที่ที่มันเป็นจุดวิกฤติหรือเหตุการณ์ที่เฉพาะหน้าจริง ๆ ก็มีการขอมาในบางพื้นที่ เราก็รีบดำเนินการให้ อันนี้ก็เป็นการทำงานร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นทางสำนักงาน กสทช. เอง การไฟฟ้านครหลวงในกรุงเทพฯ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในต่างจังหวัด หน่วยงาน อบต. อบจ. หรือกรุงเทพมหานคร ในท้องถิ่นต่าง ๆ ซึ่งผมว่าเป็นนิมิตหมายที่ดีถ้า สส. ในพื้นที่ได้เห็น แล้วก็เล็งถึงประโยชน์ตรงนี้เราก็จะมาทำงานร่วมกันในการที่จะทำอะไรเพื่อประชาชน ให้ได้ประโยชน์สูงสุดจริง ๆ ขอบคุณครับ