ท่านประธานสภาที่เคารพครับ ผมดนุพร ปุณณกันต์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ท่านประธานครับ พระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม ทางเทคโนโลยีหรือผมเรียกว่าบัญชีม้า ซึ่งพวกเรายอมรับกันดีครับหลายท่านที่นั่งในนี้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ๕๐๐ ท่าน ผมเชื่อว่าเกินครึ่งหนึ่งต้องเคยได้รับโทรศัพท์เหล่าบัญชี ที่มาหลอกลวงเหล่านี้ และแน่นอนครับจากที่ไปค้นคว้าหาข้อมูลพบว่าบัญชีม้าเป็นบัญชีที่มี การซื้อขายกันอย่างกว้างขวาง มีราคาสูงนะครับ ๘๐๐-๒๐,๐๐๐ บาท ซึ่งการค้าขายเหล่านี้ เขาทำกันเป็น Package ครับ เขาขายแม้กระทั่งบัญชีเงินฝากธนาคาร สำเนาบัตรประชาชน SIM Card และโทรศัพท์ที่เปิดใช้งานเป็นที่เรียบร้อยแล้วครับ ซึ่งผู้กระทำความผิดนั้น สามารถที่จะนำไปผูกกับ Mobile Banking แล้วใช้ในการที่จะหลอกลวงพี่น้องประชาชนได้ ทันที แน่นอนครับเมื่อบัญชีม้านั้นถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายครับ เพื่อประโยชน์ในทางทุจริต ครับไม่ว่าจะเป็นการฟอกเงิน การพนัน Online ฉ้อโกงต่าง ๆ แม้กระทั่งการซื้อขาย ยาเสพติดครับ การใช้บัญชีม้าจะเป็นความผิดที่น้อยมากครับที่จะเป็นการกระทำเพียง คนเดียวส่วนใหญ่จะกระทำเป็นขบวนการ และแน่นอนครับเมื่อกระทำความผิดแล้วจะโอน ไปบัญชีที่ ๑ บัญชี ๒ บัญชี ๓ ไปเรื่อย ๆ และท้ายที่สุด จะไปจบที่ต่างประเทศครับ ซึ่งผมเรียนครับ เมื่อสักครู่ท่านรัฐมนตรีได้ให้ข้อมูลแล้วครับ ก่อนวันที่ ๑๗ มีนาคม ที่ พ.ร.ก. ฉบับนี้บังคับใช้ครับ ๗๙๐ เรื่องต่อวัน แต่เมื่อมีการบังคับใช้แล้ว ๖๘๔ เรื่องต่อวัน ยอมรับว่าลดลงแต่ประสิทธิภาพของ พ.ร.ก. ฉบับนี้ที่ดีครับ คือในเรื่องของการอายัดทรัพย์ ก่อนที่จะมี พ.ร.ก. ฉบับนี้มีการอายัดทรัพย์ทันเพียงแค่ ๘๗ ล้านบาทเท่านั้น แต่หลังจากที่มี การประกาศ พ.ร.ก. ฉบับนี้มาบังคับใช้ เราสามารถบังคับใช้ได้ ๒๒๙ ล้านบาท คือ อายัดเงินทัน แต่แน่นอนถึงแม้ว่าจะมีความเสียหายลดน้อยลง แต่ผมเรียนว่าพี่น้องประชาชน กี่รายที่จะได้เงินเหล่านี้คืนกลับมาสู่บัญชีของเขา และผมเรียนว่า พ.ร.ก. ฉบับนี้ควรจะมี มาตรการที่เข้มข้นและจริงจังที่จะทำให้คนที่สมรู้ร่วมคิดกับบัญชีม้าเหล่านี้ทำงานได้ยากขึ้น ผมขออนุญาตขึ้น Slide นิดหนึ่งครับ
พ.ร.ก. ฉบับนี้ได้มีการ กำหนดโทษไว้นะครับผมขอแตะง่าย ๆ สั้น ๆ เลยครับ มีการกำหนดโทษไว้อย่างจริงจัง มีการจำคุก มีโทษทั้งจำทั้งปรับด้วย ส่วนเหตุผลและความจำเป็นของ พ.ร.ก. ฉบับนี้ ผมขอ ไม่พูดถึงลงในรายละเอียดแล้วกัน ก็แน่นอนครับ เป็นในเรื่องของการที่จะช่วยเหลือพี่น้อง ประชาชนไม่ให้ถูกหลอก และแน่นอนครับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการที่จะสามารถ แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันเพื่อใช้ในการสืบสวนและป้องกัน มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน ระหว่างธนาคาร สถาบันการเงิน โดยไม่ติด PDPA หรือว่าพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูล ส่วนบุคคล รวมถึงมีการแลกเปลี่ยนและส่งต่อข้อมูลกันไม่ว่าจะเป็นตำรวจ ปปง. หรือว่า DSI ต่าง ๆ ผมเรียนว่าเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ผมโชว์ไว้ใน Slide เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการ แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน ก็จริง ๆ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นระบบของทางธนาคาร เป็นเรื่องของ Mobile Banking ต่าง ๆ รวมถึงองค์กรของภาครัฐ และแน่นอนขั้นตอนที่พี่น้องประชาชน เมื่อรู้ว่าตัวเองถูกหลอก อันนี้เป็นเรื่องสำคัญครับท่านประธาน เพราะว่าผมเรียนว่าเมื่อ ประชาชนได้รับความเสียหายแล้วนะครับ การที่แจ้งความภายใน ๗๒ ชั่วโมงไม่ว่าจะเป็นไป ท้องที่หรือ Online ก็ตาม ความรวดเร็วในการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนนั้นผมเรียนว่าอาจจะ ไม่เพียงพอ เพราะตามสถิติเพียง ๒-๓ นาที บัญชีม้าเขาโอนต่อไป ๑๓-๑๕ บัญชี ผมเชื่อว่าวันนี้ ภาครัฐเองนั้นอาจจะไม่ทัน และผมขอเสนอง่าย ๆ ว่าผมยอมรับว่า พ.ร.ก. ฉบับนี้มีประโยชน์กับ พี่น้องประชาชน แต่ผมเรียนว่า พ.ร.ก . ฉบับนี้มีจุดอ่อนหรือว่าสิ่งที่ต้องปรับปรุงบางประการ ที่ทำให้ พ.ร.ก. ฉบับนี้ มีการบังคับใช้ที่มีประโยชน์กับพี่น้องประชาชนมากขึ้น แน่นอน พ.ร.ก. ฉบับนี้มุ่งเน้นเพียงแต่ที่จะระบุการทำงานของภาครัฐและหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง โดยข้อมูลของพี่น้องประชาชนนั้นสามารถไม่ต้องตกอยู่ในกฎหมาย PDPA หรือว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลครับ การเข้าถึงข้อมูลนั้น ยกตัวอย่าง ในเรื่องที่มี เหตุสงสัยว่ามีหรืออาจจะมีการกระทำความผิดทางอาชญากรรมทางเทคโนโลยีตามมาตรา ๕ หรือมาตรา ๖ ระบุไว้ว่าให้มีการตีความอย่างกว้างขวางโดยไม่มีหลักเกณฑ์ที่แน่ชัด เป็นเพียง การให้อำนาจการตีความแก่คณะกรรมการชุดหนึ่งเท่านั้น ซึ่งแต่งตั้งโดยท่านนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา ๑๓ ซึ่งเหล่านี้การตีความแต่ละคน แต่ละท่าน แต่ละคณะกรรมการแต่ละชุด ไม่เหมือนกันครับ ดังนั้นผมเกรงว่าถ้าตีความล้ำเส้นเกินไปก็จะเป็นการละเมิดหรือว่า ข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่ง พ.ร.ก. ฉบับนี้มุ่งเน้นที่จะคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของพี่น้องประชาชน
ข้อ ๒ พ.ร.ก. ฉบับนี้ยังขาดมาตรการในการกำหนดโทษสำหรับผู้กระทำ ความผิด และการเข้าถึงพยานหลักฐาน ยกตัวอย่าง เช่นพวกแก๊ง Call Center ผู้ที่คอยส่ง Link หลอกลวงประชาชนผ่านทางโทรศัพท์มือถือ หรือแม้กระทั่งคนที่เขียนโปรแกรมต่าง ๆ ผมเรียนเมื่อผมไปดูแล้วในเอกสารสภาพบว่ามีปัญหาจริง ๆ ในการเข้าถึงข้อมูลเพื่อให้ได้มา เพื่อพยานหลักฐาน สิ่งที่แก้ไขผมฝากว่าอาจจะเป็นไปได้ไหมครับที่จะมีการเสนอการแก้ไข เพิ่มเติมในประมวลกฎหมาย วิ.อาญา มาตรา ๖๐ เกี่ยวกับการค้นข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ ให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นครับ
ข้อ ๓ ผมขอไปเร็ว ๆ นะครับ ในส่วนของมาตรา ๙ เป็นการกำหนดความผิด ของบัญชีม้าโดยบัญญัติไว้ว่ายินยอมให้บุคคลอื่นใช้บัญชีเงินฝากโดยมิได้เจตนาเพื่อตน เขียนไว้แค่นี้ครับ มันกว้างไปไหมครับ ผมยกตัวอย่างง่าย ๆ ถ้าสมมุติลูกเขาเปิดบัญชีให้ พ่อแม่ที่แก่เฒ่าทำการค้าขาย ถ้ามีการตีความว่าผิดกฎหมายไหม ผมเชื่อว่าอันนี้ผิดกฎหมาย เพราะฉะนั้นก็ฝากครับ
ในข้อสุดท้าย เนื่องจาก พ.ร.ก. ฉบับนี้เป็นการอนุญาตให้มีการเปิดเผย และการแลกเปลี่ยนการเข้าถึงครับ ตลอดจนการเก็บและรวบรวมข้อมูลของพี่น้องประชาชน โดยไม่จำเป็นต้องให้ประชาชนยินยอมก่อนตามมาตรา ๑๒ อาจจะให้เกิดการนำใช้ข้อมูล เหล่านี้ไปในทางที่ผิด หรือเกิดการตีความให้เข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลในแต่ละกรณีอย่างไม่มี หลักเกณฑ์เป็นมาตรฐานครับ เพราะฉะนั้นเพื่อความเสมอภาคและเท่าเทียมกันจึงจะต้อง มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการกำหนดหลักเกณฑ์ให้แน่ชัดในทุกส่วนของ พ.ร.ก. ไม่ควรกำหนดเพียงแต่ให้มีการตีความในภาพกว้างเท่านั้น หรือว่าให้อำนาจคณะกรรมการชุดหนึ่ง มาตีความแทนพี่น้องประชาชน ซึ่งเหล่านี้อาจจะได้เกิดการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน มากกว่าที่จะคุ้มครองและป้องกันอาชญากรรมแก่พี่น้องประชาชน ซึ่งอาจจะขัดกับหลัก สิทธิมนุษยชนสากล ขอบคุณท่านประธานครับ