นายปกรณ์ จีนาคำ

  • เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม ปกรณ์ จีนาคำ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแม่ฮ่องสอน เขต ๑ พรรคพลังประชารัฐ ในเรื่องของการปรึกษาหารือในวันนี้นะครับ ผมมีเรื่องปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้อง ประชาชนจังหวัดแม่ฮ่องสอนนั้นอยู่ ๒ เรื่องที่สำคัญด้วยกันนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องแรกคือเรื่องปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ในจังหวัด แม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอนมี ๗ อำเภอ มี ๗ โรงพยาบาลของรัฐ แต่ไม่มีโรงพยาบาล ของเอกชนเลยนะครับ มีจำนวนประชากร ๒๘๐,๐๐๐ กว่าคนเศษ แต่มีแพทย์ปฏิบัติการ เพียงแค่ ๗๔ คนเท่านั้นนะครับ ถ้าดูอัตราเฉลี่ยแล้วแพทย์ ๑ คน ต้องดูแลพี่น้องประชาชน อยู่ ๓,๘๐๐ กว่าคนเศษ ซึ่งมาตรฐานของประเทศไทยเรานั้นแพทย์ ๑ คนจะต้องดูแล ประชากรอยู่ที่ประมาณ ๑,๖๐๐ กว่าคนเศษ บางโรงพยาบาลในจังหวัดแม่ฮ่องสอนมีแพทย์ เพียงแค่ ๒ คนเพียงเท่านั้นนะครับ ปัญหาเหล่านี้ที่เกิดขึ้นแน่นอนครับเชื่อมโยงมาถึงในเรื่อง ของการดูแลรักษาพี่น้องประชาชนนั้นอาจจะไม่ครอบคลุมและไม่ทั่วถึง และที่สำคัญคือความเหนื่อยล้าของบุคลากรทางการแพทย์ซึ่งมีอัตราที่ลาออกและโยกย้าย ออกจากจังหวัดแม่ฮ่องสอนค่อนข้างมาก สาเหตุของปัญหานั้นมีหลายประการด้วยกัน แต่สิ่ง สำคัญที่สุด แน่นอนคือในเรื่องของงบประมาณและเรื่องของสวัสดิการที่ไม่เพียงพอสักเท่าไร ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน จึงอยากฝากนำเรียนปัญหานี้ผ่านไปทางท่านประธานถึงผู้บริหาร กระทรวงสาธารณสุขได้เข้ามากำกับดูแลและแก้ปัญหาเรื่องนี้โดยด่วนด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • ส่วนเรื่องที่ ๒ นั้นนะครับเรื่องหนังสือรับรองสิทธิการใช้ประโยชน์ที่ดินทำกิน ตามโครงการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนหรือ คทช. นะครับ จังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นพื้นที่ อันดับ ๘ ของประเทศไทยแต่ ๗๕ เปอร์เซ็นต์ ขออภัยนะครับกว่า ๙๕ เปอร์เซ็นต์นะครับ เป็นพื้นที่ป่า ในปี ๒๕๕๘ รัฐบาลมีโครงการแก้ปัญหาที่ดินให้ชุมชน ก็คือโครงการ คทช. จังหวัดแม่ฮ่องสอนคือจังหวัดหนึ่ง ที่เป็นจังหวัดเป้าหมายเรามีพื้นที่เป้าหมายอยู่ ๗๐,๐๐๐ กว่าไร่ ที่จะแก้ปัญหาให้พี่น้องประชาชนในจังหวัดแม่ฮ่องสอนในปี ๒๕๖๐ สามารถตรวจสอบและอนุมัติพื้นที่ได้ ๓๖,๐๐๐ กว่าไร่นะครับ มีผู้ยื่นขอรับสิทธิ ๑๒,๐๐๐ คน แต่ปัจจุบันนี้ออกเอกสารได้เพียงแค่ ๘,๖๐๐ กว่าไร่ และผู้ได้รับสิทธิเพียง ๓,๙๐๐ กว่ารายเท่านั้นนะครับ ยังตกหล่นอีก ๒๗,๐๐๐ กว่าไร่ และยังมีผู้ไม่ได้รับสิทธิอีก ประมาณ ๘,๐๐๐ กว่าราย ซึ่งอยากฝากปัญหานี้ผ่านท่านประธานสภาไปถึงหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ช่วยกำกับดูแลและเร่งรัดในเรื่องของการออกเอกสารสิทธิให้โดยเร็วด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม ปกรณ์ จีนาคำ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแม่ฮ่องสอน เขต ๑ พรรคพลังประชารัฐ

    อ่านในการประชุม

  • ผมได้รับเรื่องจากท่านจำลอง จิโนเป็ง นายกเทศมนตรีตำบลขุนยวม ท่านถวิล คีรีเกษตร กำนันตำบลขุนยวม และท่านปัญญา รักสกุล นายก อบต. ตำบลขุนยวม ว่ามีพี่น้องประชาชนในเขตเทศบาลและเขต อบต. ตำบลขุนยวม หมู่ที่ ๑ และหมู่ที่ ๒ กว่า ๑,๘๐๐ ครัวเรือน และจำนวนประชากร กว่า ๔,๐๐๐ คนนั้น ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำอุปโภคและบริโภค จึงได้ทำเรื่อง ขอความอนุเคราะห์จากการประปาส่วนภูมิภาคเพื่อเข้าไปดำเนินการบริหารจัดการน้ำ ในพื้นที่ให้กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ดังกล่าว เนื่องจากทางเทศบาลและทาง อบต. นั้น มีงบประมาณไม่เพียงพอในการบริหารจัดการ กระผมจึงขอฝากท่านประธานถึงการประปา ส่วนภูมิภาคได้ช่วยความอนุเคราะห์และช่วยเหลือสนับสนุนพี่น้องประชาชนในพื้นที่ เพื่อแก้ปัญหาในเรื่องของการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคในพื้นที่ด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • ส่วนเรื่องที่ ๒ นั้น เรื่องที่ดินทับซ้อนของพี่น้องหมู่บ้านปางหมู ตำบลปางหมู อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน ๔๓ ราย ได้เข้าไปใช้ในพื้นที่ใช้ประโยชน์ของกรมป่าไม้ จำนวนกว่า ๔๐ ไร่ ซึ่งทับซ้อนกับของตำรวจตระเวนชายแดน หรือ ตชด. ๓๓๖ แม่ฮ่องสอน ข้อเท็จจริงนั้นพี่น้องประชาชนได้เข้าไปใช้พื้นที่เมื่อปี ๒๕๑๖ แต่ ตชด. ๓๓๖ ได้รับ อนุญาตเข้าใช้พื้นที่เมื่อปี ๒๕๒๔ ในเบื้องต้นนั้นจังหวัดแม่ฮ่องสอนได้สรุปข้อเท็จจริงและได้ ส่งให้ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติเพื่อขอส่งคืนพื้นที่ที่ทับซ้อน จำนวน ๔๐ ไร่คืนให้กับ กรมป่าไม้ เพื่อให้กรมป่าไม้ได้จัดสรรพื้นที่ดังกล่าวให้กับพี่น้องประชาชนทั้ง ๔๓ ราย ตามโครงการ คทช. ต่อไป ผมจึงขอฝากท่านประธานถึงสำนักงานตำรวจแห่งชาติช่วยเร่ง ดำเนินการในเรื่องของการคืนพื้นที่ดังกล่าวให้กับพี่น้องประชาชนด้วยครับ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม ปกรณ์ จีนาคำ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแม่ฮ่องสอน เขต ๑ พรรคพลังประชารัฐ วันนี้ผมมีเรื่องหารือเกี่ยวกับผลกระทบจากประกาศของกรมปศุสัตว์ เรื่องของการชะลอ การนำเข้าหรือนำผ่านราชอาณาจักรซึ่งโค-กระบือ หรือซากโค ซากกระบือจากประเทศ เมียนมา ในช่วงปีที่ผ่านมานั้นกรมปศุสัตว์ได้ประกาศดังกล่าวมากว่า ๔ ฉบับ ๔ ฉบับนี้ ฉบับละ ๙๐ วัน รวมทั้งสิ้น ๓๖๐ วัน ตั้งแต่วันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๖๖ จนถึงวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันโรคปากเท้าเปื่อยที่จะเข้ามาจากประเทศ เพื่อนบ้าน แต่ในช่วงเวลาดังกล่าวนั้น ต้องขอบคุณกรมปศุสัตว์ที่มีการป้องกันและดูแลเป็น อย่างดี โดยเฉพาะสัตว์ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงนั้นต้องกักกว่า ๓๐ วัน แต่เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ที่ ผ่านมานั้นได้มีประกาศฉบับที่ ๕ ขึ้นมา ซึ่งอีก ๙๐ วัน ซึ่งรวมแล้วประกาศ ๕ ฉบับนั้นเป็น เวลาทั้งสิ้น ๔๕๐ วัน หรือ ๑ ปี ๒ เดือน กับอีก ๒๕ วันซึ่งทำให้ผู้ประกอบการที่นำเข้าโค- กระบือในจังหวัดแม่ฮ่องสอน และจังหวัดใกล้เคียงได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก เพราะ หลายคนนั้นต้องกู้หนี้ยืมสินมาเพื่อลงทุนในการทำคอกกักกันวัวเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานของ กรมปศุสัตว์ และหลายคนก็ได้นำเงินบางส่วนนั้นไปมัดจำค่าโค-กระบือที่ประเทศเพื่อนบ้าน ไว้แล้ว และผู้ประกอบการขนส่งก็ได้รับผลกระทบ ตกงาน ไม่มีงานทำ เป็นหนี้เป็นสินกัน หลายราย รวมถึงพี่น้องชาวนาที่ต้องการขายฟางให้กับผู้ประกอบการก็ขายไม่ได้ ก็ส่งผลให้มี การเผาทิ้ง ส่งผลให้มีมลภาวะตามมา และสิ่งที่น่าเป็นห่วงที่สุดก็คือเรื่องของการลักลอบ การนำเข้าอย่างผิดกฎหมาย ซึ่งเป็นการสุ่มเสี่ยงมากที่จะทำให้เกิดโรคปากเท้าเปื่อยนั้นเข้ามา ในประเทศไทยของเรา ถ้าไม่ได้ผ่านการกำกับดูแลจากกรมปศุสัตว์เป็นอย่างดี เรื่องนี้ท่าน สส. ภาคภูมิ บูลย์ประมุข สส. ตาก เขต ๓ ก็ได้เคยหารือในสภาแห่งนี้มาถึง ๒-๓ ครั้งแล้ว แล้วก็เป็น พื้นที่หนึ่งที่ได้รับผลกระทบเหมือนกัน ผมขอฝากท่านประธานถึงท่านอธิบดีกรมปศุสัตว์ เพื่อทบทวนคำสั่ง และยกเลิกคำสั่งดังกล่าวด้วยครับ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่เคารพ ผม ปกรณ์ จีนาคำ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแม่ฮ่องสอน เขต ๑ พรรคพลังประชารัฐ ผมมีเรื่องความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนมาหารือในวันนี้อยู่ ๒ เรื่องที่สำคัญด้วยกันนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องแรก ในช่วงเดือนกันยายนในปี ที่ผ่านมาได้เกิดเหตุอุทกภัยรุนแรงหลายพื้นที่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งหนึ่งในจุดที่ได้รับ ความเสียหายมากที่สุด ก็คือสะพานข้ามแม่น้ำห้วยผา บ้านห้วยผา หมู่ที่ ๑ ตำบลห้วยผา อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็นสะพานที่เชื่อมถนน ๑๐๙๕ จากจังหวัดเชียงใหม่ สู่อำเภอปายและอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน และเป็นเส้นทางหลักที่พี่น้องประชาชนนั้นได้ใช้ เดินทางเข้าออกสู่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ปัจจุบันกรมทางหลวงได้แก้ปัญหาโดยการนำสะพาน ชั่วคราวมาติดตั้งเพื่อให้พี่น้องประชาชนได้รับความสะดวกในการเดินทาง ซึ่งสะพานนี้ รถสามารถวิ่งผ่านได้ทีละคัน จากที่ผมได้ดูงบประมาณในปี ๒๕๖๗ ที่ผ่านมาพบว่ายังไม่ได้ มีการจัดสรรงบประมาณในการก่อสร้างสะพานตัวใหม่ในจุดดังกล่าว ไม่ทราบว่าทาง กรมทางหลวงจะใช้งบประมาณส่วนไหนในการก่อสร้างใหม่ขึ้นมา แต่อย่างไรก็ตาม ผมขอให้ กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคมได้ดำเนินการเร่งสร้างสะพานแห่งใหม่เพื่อความปลอดภัย ความสะดวกของพี่น้องประชาชนที่เดินทางสัญจรตลอดเวลา

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๒ ขอให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมช่วยเร่ง พิจารณาคำขออนุมัติการใช้พื้นที่ป่าที่ยังคงค้างอยู่กว่า ๖,๐๐๐ เรื่องในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อให้ทางหน่วยงานของรัฐ โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นได้จัดทำกิจกรรม โครงการ เช่น ถนน ประปา ไฟฟ้าเพื่อพัฒนาเมืองแม่ฮ่องสอนต่อไป ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม ปกรณ์ จีนาคำ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแม่ฮ่องสอน เขต ๑ พรรคพลังประชารัฐ ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนมีโรงเรียนชื่อโรงเรียนหย่อมบ้านนาเจ็ดล็อก เป็นโรงเรียนที่อยู่ในกลุ่ม การจัดการศึกษาในลักษณะพิเศษของจังหวัดแม่ฮ่องสอน

    อ่านในการประชุม

  • โรงเรียนแห่งนี้ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านห้วยโป่งกาน ตำบลผาบ่อง อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ระยะทางจากศาลากลางจังหวัดแม่ฮ่องสอนถึง โรงเรียนแห่งนี้โดยประมาณ ๔๗ กิโลเมตร แต่ใช้เวลาเดินทางประมาณ ๒ ชั่วโมง มีอาคารเรียน ๑ หลัง ซึ่งเป็นอาคารไม้มี ๒ ห้องเรียน สอนตั้งแต่อนุบาล ๑ ถึง ป. ๖ มีนักเรียน ๑๑ คน มีข้าราชการครู ๑ คน มีลูกจ้างที่ทาง UNICEF จ้างให้ ๑ คน เงินเดือน ๕,๘๐๐ บาท ครูมีหน้าที่ สอนทุกวิชาตั้งแต่อนุบาลจนถึง ป. ๖ และหน้าที่ที่สำคัญอีกอันหนึ่งคือครูต้องทำหน้าที่ เป็นพ่อครัว แม่ครัว เป็นยาม เป็นภารโรง เป็นผู้ดูแลโรงเรียนทั้งหมด มี ผอ. ๑ คน แต่ ผอ. ๑ คนนั้น ต้องดูแลโรงเรียนในลักษณะเดียวกันนี้อีก ๗ แห่ง ซึ่งนอกเหนือจากปฏิบัติหน้าที่ ผอ. แล้ว ต้องทำหน้าที่สำคัญคือขับรถรับส่งอาหารให้กับโรงเรียนแต่ละโรงเรียนที่อยู่ ติดขอบชายแดนทั้งหมด มีบ้านพักครู ๑ หลัง มีโรงอาหารและอาคารอเนกประสงค์ ๑ หลัง มีห้องน้ำอยู่ ๔ ห้อง อาคารเรียนและถนนต่าง ๆ ที่เข้าสู่โรงเรียนนั้นได้ใช้งบประมาณ จากเงินบริจาคทั้งสิ้น รวมถึงแรงงานก็เป็นแรงงานจิตอาสา มีโรงเรียนในลักษณะนี้ที่อยู่ ในกลุ่มการจัดการลักษณะพิเศษที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนมีอยู่ทั้งสิ้น ๒๗ โรงเรียน มีนักเรียน อยู่ประมาณ ๗๐๐ กว่าคน และมีบุคลากรทางการศึกษาอยู่ประมาณ ๕๐ คน ส่วนใหญ่ เป็นโรงเรียนที่อยู่ตามแนวตะเข็บชายแดน และเป็นพื้นที่ห่างไกลของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ไม่มีไฟฟ้า ไม่มีถนนหนทางที่เป็นถนนลาดยางหรือถนนคอนกรีตแต่อย่างใด ไม่มีสาธารณูปโภค ที่พร้อมสักเท่าไร แต่พื้นที่ต่าง ๆ เหล่านั้นและคนที่อยู่ในระบบนี้ก็คือคนไทยทุกคนเหมือนกัน ผมจึงขอความอนุเคราะห์ให้ทางผู้บริหารของกระทรวงศึกษาธิการได้เข้าไปลงพื้นที่จริง เพื่อดูแลช่วยเหลือและแก้ปัญหาเรื่องสวัสดิการ และเรื่องงบประมาณต่าง ๆ ให้กับกลุ่มโรงเรียน ดังกล่าวด้วย ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม