นางพิชชารัตน์ เลาหพงศ์ชนะ

  • กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ดิฉัน นางพิชชารัตน์ เลาหพงศ์ชนะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรครวมไทยสร้างชาติ วันนี้ดิฉันขออภิปรายรายงานกองทุนการออมแห่งชาติ หรือ กอช. ก่อนอื่นดิฉันต้องขอชื่นชมรัฐบาลที่ผ่านมาที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของกองทุนการออมนี้ วัตถุประสงค์ของกองทุนการออมแห่งชาตินั้น ก็เพื่อให้ประชาชนที่ประกอบอาชีพอิสระ มีเงินออมใช้เมื่อถึงวัยเกษียณ ประเทศไทยได้ก้าวสู่สังคมสูงวัยแบบเต็มรูปแบบตั้งแต่ ปี ๒๕๖๔ และในปี ๒๕๗๔ ประเทศไทยมีประชากรที่สูงวัยมากถึง ๒๘ เปอร์เซ็นต์ คำถามเดียวที่ดิฉันอยากจะถามผู้ที่มาชี้แจงในวันนี้นั่นก็คือ กอช. จะมีแนวทางในการหา สมาชิกเพิ่มอย่างไร

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพค่ะ ดิฉัน นางพิชชารัตน์ เลาหพงศ์ชนะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรครวมไทยสร้างชาติ ก็ล่วงเลยเวลามานานแล้วนะคะ ดิฉันขออภิปราย แล้วก็เข้าคำถามประเด็นสั้น ๆ ถึงผู้ที่ชี้แจงในวันนี้ ๓-๔ ประเด็น

    อ่านในการประชุม

  • ประเด็นแรกค่ะ ท่านประธาน ในวันนี้รัฐบาลมีแนวทางในการส่งเสริมให้ประชาชนใช้ยานยนต์ไฟฟ้ามากยิ่งขึ้น เพื่อลดปัญหามลพิษในอากาศก็ดี หรือว่าในภาวะที่ราคาน้ำมันแพงในขณะนี้ คำถามค่ะ ท่านประธาน ขอถามไปยังผู้ที่ชี้แจงว่า กกพ. เองมีแนวทางในการสนับสนุนค่าไฟฟ้าให้กับ ประชาชนที่ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นในสถานีจ่ายไฟฟ้า หรือ Charging Station หรือการ Charge ไฟฟ้าที่บ้าน ในครัวเรือนเองเพื่อให้ประชาชนมีแรงจูงใจมาใช้ยานยนต์ ไฟฟ้ามากยิ่งขึ้น

    อ่านในการประชุม

  • ประเด็นที่ ๒ ในช่วงที่ผ่านมานั้นประชาชนพูดค่อนข้างมากว่าค่าไฟฟ้ามีราคา ค่อนข้างสูง หรือแม้แต่เพื่อนสมาชิกที่ได้มีการอภิปรายก็ได้มีการพูดถึงว่าค่าไฟฟ้านั้นมีราคา ค่อนข้างแพง แพงไปถึงเหมือนพระอาทิตย์ที่ขึ้นสูงขึ้นในทุก ๆ วัน ทั้งนี้เรามาดูเหตุผลกันแล้ว เราก็จะทราบว่า เหตุผลที่แท้จริงของราคาค่าไฟฟ้าที่แพงนั้นมันขึ้นอยู่กับต้นทุนการผลิต แต่ประชาชนยังมีความเข้าใจผิดพลาดว่าราคาค่าไฟฟ้าที่แพงนั้นขึ้นอยู่กับกำลังการผลิต ไฟฟ้าสำรองของประเทศที่สูงเกินหรือเปล่า หรือว่าค่าพร้อมจ่ายที่เราจ่ายเปล่าไปนะคะ คำถามที่ดิฉันอยากถามผู้มาชี้แจงในวันนี้ ก็คือว่า กกพ. จะมีแนวทางในการประชาสัมพันธ์ อย่างไร เพื่อให้ประชาชนมีความเข้าใจที่แท้จริงว่าค่าไฟฟ้าที่แพงนั้นเกิดขึ้นจากอะไร

    อ่านในการประชุม

  • ประเด็นที่ ๓ ท่านประธานเราทราบกันดีว่าต้นทุนการผลิตไฟฟ้านั้นมาจาก ก๊าซธรรมชาติที่มีต้นทุนการผลิตที่ค่อนข้างสูงในสถานการณ์โลก ในประเทศไทยเอง มีการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเพียงเจ้าเดียว คือบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) วันนี้หากประเทศไทย มีการนำเข้าก๊าซเสรี มันจะทำให้เกิดการแข่งขันค่ะท่านประธาน แล้วจะทำให้ต้นทุนการผลิตนั้น ลดลง กกพ. ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่เราจะเปิดให้มีการนำเข้าก๊าซเสรีเพื่อให้ประชาชนมี พลังงานที่ใช้อย่างถูกลงค่ะ

    อ่านในการประชุม

  • ประเด็นสุดท้าย ถ้าเราดูจากงบการเงินของ กกพ. ในหน้า ๗๒ เราจะเห็นว่า ยอดเงินคงเหลือของ กกพ. นั้นมีมากสูงกว่า ๒๐,๐๐๐ ล้านบาท กกพ. เองมีแนวทาง ในการจัดการเงินจำนวนนี้อย่างไรคะท่านประธาน ๒๐,๐๐๐ กว่าล้านบาทนั้น กกพ. จะทิ้งไว้อยู่ในบัญชีเพื่อให้ได้รับดอกเบี้ย หรือว่าจะเอามาช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับ ความเดือดร้อน ขอบคุณค่ะ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่าน ประธานสภาที่เคารพค่ะ ดิฉัน นางพิชชารัตน์ เลาหพงศ์ชนะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรครวมไทยสร้างชาติ วันนี้ดิฉันขออภิปรายสนับสนุนร่าง พ.ร.บ. สมรส เท่าเทียมที่รัฐบาลได้นำเสนอและบรรจุเข้าสภาในวันนี้ ท่านประธานที่เคารพ การสมรส เท่าเทียมนั้นมันคือสิทธิที่ทุกคนควรจะได้รับ กฎหมายฉบับนี้สามารถทำให้คนเพศเดียวกัน สามารถหมั้น แต่งงาน มีสิทธิหน้าที่และสถานะทางสังคมครอบครัวเท่าเทียมกับคู่สมรส ชายและหญิง และยังเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวที่มีความหลากหลาย ทางเพศค่ะ เรื่องการสมรสเท่าเทียมนี้สังคมวันนี้ให้ความสนใจ สังคมได้รับความยินดีที่วันนี้รัฐบาลได้นำ กฎหมายฉบับนี้เข้ามาในสภา เพราะมันแสดงถึงการปรับตัวของภาครัฐต่อการเปลี่ยนแปลง ของโลก ในขณะที่พวกเราผู้ใหญ่มีความยินดีกับความคืบหน้าของกฎหมายฉบับนี้ ดิฉันขอ ฝากประเด็นให้สังคมและตัวแทนกรรมาธิการพิจารณาถึงว่าเราจะปกป้องเด็กที่จะเติบโตมา ในครอบครัวที่มีเพศเดียวกันภายใต้ พ.ร.บ. ฉบับนี้อย่างไร ดิฉันเชื่อว่าในฐานะคนที่เป็นพ่อ เป็นแม่ไม่ว่าเพศใดก็ตาม ไม่มีใครอยากเห็นลูกตัวเองถูกล้อหรือถูกโดนรังแก ได้รับผลกระทบ ทางจิตใจจากสังคม เด็กที่มาจากครอบครัวที่มีพ่อแม่เพศเดียวกันควรที่จะได้รับการคุ้มครอง และควรที่จะได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐ เพื่อให้เด็กเติบโตมามีพัฒนาการที่สมบูรณ์ แข็งแรงทั้งทางร่างกายและจิตใจ สิทธิที่เด็กที่เกิดจากครอบครัวเพศเดียวกันจะได้รับภายใต้ พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียมนี้ของไทยนะคะ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในการได้รับการเลี้ยงดูจากพ่อแม่ สิทธิในการได้รับนามสกุลของพ่อแม่ สิทธิในการได้รับมรดกจากพ่อแม่ หรือสิทธิในการได้รับ สวัสดิการและความช่วยเหลือของภาครัฐ สิทธิเหล่านี้ค่ะท่านประธาน มันจะช่วยให้เด็กที่เกิด จากครอบครัวในประเภทเดียวกันเติบโตและใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุขและปลอดภัย ท่านประธานที่เคารพคะ กฎหมายอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอที่จะปกป้องเด็กที่เติบโตมา เหล่านี้จากการถูกล้อหรือถูกรังแก เราจำเป็นที่จะต้องมีการรณรงค์เพื่อสร้างความเข้าใจ ให้กับความหลากหลายทางเพศให้กับสังคมไทย เพื่อไม่ให้ผู้คนนั้นตื่นตระหนกว่าทุกคนนั้น มีสิทธิที่จะเลือกคู่ครองและใช้ชีวิตตามรสนิยมทางเพศของตัวเอง โดยไม่ได้รับการรังแกหรือ ถูกเหยียดหยามในสังคม นอกเหนือจากนี้ดิฉันขอส่งข้อเสนอแนะไปยังรัฐบาลแล้วก็ กรรมาธิการผู้ที่เป็นตัวแทนของรัฐสภา ว่ารัฐบาลควรมีมาตรการที่จะช่วยเหลือป้องกันเด็ก จากการโดนถูกล้อหรือถูกรังแกอย่างไร การให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหลากหลาย ทางเพศให้กับเด็กและเยาวชนตั้งแต่ในวัยเยาว์ในสถานศึกษา ในโรงเรียนเป็นสิ่งที่จำเป็นค่ะ การที่โรงเรียนและสถานศึกษามีนโยบายที่เปิดกว้างและยอมรับกับความหลากหลายทางเพศ เป็นสิ่งที่สำคัญ รณรงค์ให้สังคมไทยนั้นตระหนักถึงความสำคัญของการเคารพสิทธิมนุษยชน และสิทธิในการเลือกคู่ครอง โดยสรุปแล้วค่ะท่านประธาน พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียมของไทย เป็นก้าวสำคัญที่จะปกป้องเด็กที่เกิดจากครอบครัวเพศเดียวกัน กฎหมายฉบับนี้จะช่วยสร้าง หลักประกันว่าเด็กกลุ่มนี้จะได้รับสิทธิและสวัสดิการเช่นเดียวกับเด็กที่เติบโตมาในครอบครัว ที่มีพ่อแม่ต่างเพศ ขอบคุณค่ะ

    อ่านในการประชุม