นางสาวจารุลักษณ์ เรืองสุวรรณ

  • กราบเรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่เคารพทุกท่าน ดิฉัน นางสาวจารุลักษณ์ เรืองสุวรรณ เลขาธิการคณะกรรมการกองทุน การออมแห่งชาติ ขอเสนอรายงานประจำปี ๒๕๖๕ ที่บริษัท เอเอสวี แอนด์ แอสโซซิเอทส์ จำกัด ได้ตรวจสอบและผ่านการรับรองจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเรียบร้อยแล้ว ตามหนังสือสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ที่ ตผ ๐๐๒๙/๒๕๖๓ ลงวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๖๖ ประกอบด้วยงบแสดงการเงิน งบประกอบรายละเอียดเงินลงทุน งบกำไรขาดทุน เบ็ดเสร็จ งบแสดงการเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์สุทธิ และงบกระแสเงินสด สำหรับสิ้นสุดวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๕ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

    อ่านในการประชุม

  • กอช. มีสินทรัพย์ ณ วันสิ้นปี ๒๕๖๕ รวมทั้งสิ้นอยู่ที่ ๑๑,๘๒๔ ล้านบาทเศษ หนี้สิน ๑๔๑.๔๙ ล้านบาท ทำให้ กอช. มีจำนวนเงินทั้งสิ้นคือ ๑๑,๖๘๓.๐๘ ล้านบาท กอช. มีรายได้รวมทั้งสิ้นจำนวน ๒๖๕.๘๐ ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี ๒๕๖๔ จำนวน ๖๔.๙๔ ล้านบาท ประกอบด้วยรายได้ ดอกเบี้ย และส่วนลดรับ รายได้ค่าบริหารจัดการ กองทุน เงินปันผล และรายได้อื่น ๆ กอช. มีค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้นอยู่ที่ ๑๘๕.๕๔ ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี ๒๕๖๔ จำนวน ๒๕.๒๑ ล้านบาท ประกอบด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสมาชิก ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบุคลากร ค่าธรรมเนียมบริหารจัดการกองทุน ค่าใช้จ่ายการลงทุนอื่น ๆ ค่าเสื่อมราคา ค่าจัดจำหน่าย และค่าใช้จ่ายอื่น กอช. มีสมาชิกสะสม ณ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๕ จำนวน ๒,๕๑๖,๔๖๒ คน โดยมีการนำส่งเงินออมต่อเนื่องของสมาชิกอยู่ที่ ๑,๒๔๓ ล้านบาทเศษ เงินสมทบรัฐบาลอยู่ที่ ๓๘๔ ล้านบาทเศษ ขณะเดียวกันในปีนี้ มีสมาชิกสะสมอยู่ที่ ๒,๕๔๐,๙๒๕ คน ในปี ๒๕๖๕ กอช. ได้เดินหน้าขับเคลื่อนผลักดัน ให้มีการแก้กฎกระทรวงกำหนดอัตราจ่ายเงินสมทบสะสม ซึ่งสอดคล้องกับข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้ทรงเกียรติทั้งหลายที่ให้คำแนะนำ ต่าง ๆ ในปีที่แล้ว ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจให้กับสมาชิกที่มีการออมเพิ่มขึ้น รวมถึงได้รับเงินสมทบรัฐบาลเพิ่มขึ้น ท้ายที่สุดแล้วผู้รับผลประโยชน์ก็คือตัวสมาชิก และกลุ่มเป้าหมายของ กอช. ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ นับเป็นการสร้าง บำนาญให้กับตนเองเมื่อเข้าสู่วัยเกษียณได้เป็นอย่างดี เนื่องจากปัจจุบันรูปแบบครัวเรือนไทย มีขนาดเล็กลงเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น ต่างจากอดีตที่เป็นครอบครัวใหญ่มีลูกหลานดูแล ปัจจุบันกฎกระทรวงดังกล่าวได้มีการประกาศใช้แล้ว โดยมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๖ เป็นต้นไป กำหนดให้สมาชิกสามารถส่งเงินได้ขั้นต่ำคือครั้งละ ๕๐ บาทขึ้นไปไม่เกิน ๓๐,๐๐๐ บาท ซึ่งเดิมกำหนดไว้แค่ ๑๓,๒๐๐ บาท ขณะเดียวกันเงินสมทบรัฐบาลกำหนด ตามช่วงอายุ โดยที่ผ่านมาได้ปรับขึ้นเป็น ๑,๑๐๐ บาททุกช่วงอายุ ซึ่งเปอร์เซ็นต์ในการเติม ยังเหมือนเดิม อย่างไรก็ตามยังมีข้อกฎหมายอีกหลายประเด็นที่มีการผลักดันให้สอดคล้องกับ สถานการณ์ปัจจุบัน รวมถึงสอดคล้องกับความต้องการของสมาชิก อาทิ มีการเสนอขยาย อายุสมาชิกจากเดิม ๑๕-๖๐ ปี เป็น ๑๕-๖๕ ปี แล้วก็เร่งร่วมมือบูรณาการทำงานร่วมกับ สังคม เปิดโอกาสให้สมาชิกได้เข้ามาเป็นสมาชิก กอช. ด้วย รวมถึงการที่ให้สมาชิกขอรับ เงินคืนเมื่อเกษียณอายุในกรณีมีเหตุจำเป็น และมีทางเลือกให้กับสมาชิกที่จะขอรับบำนาญ บางส่วน โดยที่บำนาญจะต้องมีบำนาญตลอดชีพด้วย

    อ่านในการประชุม

  • ด้านการขับเคลื่อนในการดำเนินงาน นอกจากกระทรวงมหาดไทยแล้ว เรายังมีขยายภารกิจร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ อาทิ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการอุดมศึกษา โดยให้นักเรียน นักศึกษาเข้าใจเรื่องว่า การบริหารการเงินสำคัญอย่างไร สร้างวินัยการออมตั้งแต่เด็กให้กับกลุ่มนักเรียน นักศึกษา ให้เล็งเห็นถึงความสำคัญ เข้าใจถึงการออมเงินเพื่ออนาคต เมื่อมีการวางแผนกันตั้งแต่ อายุน้อยแล้ว ในวัยเกษียณก็สามารถที่จะดูแลตัวเองได้ นอกจากนี้ได้ขยายการดำเนินงาน ไปยังกรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม ด้วยการจัดกิจกรรมส่งเสริมการออมให้กับผู้ต้องขัง ชั้นดี เพื่อจะให้เขารู้จักว่าออกมาแล้วเขาจะได้มีเงินสำหรับเลี้ยงชีพในอนาคตด้วย รวมถึง ร่วมมือกับกระทรวง พม. โดยที่มีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ๗ สมาคม ก็มีความร่วมมือร่วมกันเพื่อจะให้คนพิการทั้ง ๗ สมาคมเป็นสมาชิก กอช. ได้

    อ่านในการประชุม

  • ด้านระบบสนับสนุนสมาชิก ได้มีการพัฒนาระบบศักยภาพเพิ่มบริการ LINE Official Account ซึ่งร่วมกันทำงานกับ NECTEC สวทช. เพื่อให้สมาชิกหรือตัวแทนสมาชิก ได้สามารถเข้าไปดูการลงทุนของเขาได้หรือการเงินของเขาได้ ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนา Digital ที่กำหนดให้ประเทศไทยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน Digital ที่ทันสมัย รวมถึงเรามี การเพิ่มให้สมาชิกสามารถส่งเงินผ่านเป๋าตังไปได้แล้วผ่านธนาคารกรุงไทย ที่สามารถให้ สมาชิกคุ้นชินในการส่งเงินได้ง่ายขึ้น รวมถึงการที่จะให้ทาง บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT ร่วมมือกับเราในการแจก Sim Card เพื่อให้คนในพื้นที่สามารถ มี Internet ใช้อย่างทั่วถึง

    อ่านในการประชุม

  • ด้านการลงทุน เนื่องจากว่าภาวะการลงทุนเมื่อปี ๒๕๖๕ มีความผันผวน อย่างมาก กอช. เราเห็นในปัจจัยลบดังกล่าว ก็พยายามที่จะลดปรับกลยุทธ์ในการลงทุน เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์โลกในปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามเราก็ยังลงทุนในตราสารหนี้ เป็นหลักทรัพย์ส่วนใหญ่ แล้วก็มีแรงกดดันจากการขึ้นอัตราเงินเฟ้อแล้วก็ดอกเบี้ยต่าง ๆ แต่อย่างไรก็ตาม กอช. ก็ยังสามารถสร้างผลตอบแทนให้กับสมาชิกเป็นบวกได้ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ในปีนี้ภาวะเศรษฐกิจส่งผลกระทบต่อสมาชิกและกลุ่มเป้าหมาย กอช. ยังมุ่งเดินหน้า ขับเคลื่อนส่งเสริมวินัยการออม ควบคู่กับการเผยแพร่ความรู้ทางด้านการเงินอย่างต่อเนื่อง โดยได้มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ระยะ ๕ ปี ปี ๒๕๖๖-๒๕๗๐ ซึ่งเป็นปฏิบัติการเชิงรุก ระยะยาวขององค์กรที่ครอบคลุมการขับเคลื่อนภารกิจการดำเนินงานทุกมิติ กอช. เพื่อให้ ประชาชนสามารถเข้าถึงระบบบำนาญภาครัฐจัดสรรให้อย่างทั่วถึง มีเงินใช้ยามเกษียณ แบบยั่งยืนและสามารถใช้เมื่อเกษียณอายุได้อย่างมีความสุข ขอบพระคุณค่ะ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร แล้วก็ท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร วันนี้ดิฉันต้องบอกว่ามีความรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่ง ส่วนใหญ่ท่านผู้อภิปรายจะให้ข้อคิดเห็น ที่ผ่านมาดิฉันเข้ามารายงานที่นี่ก็จะมีข้อคิดเห็นต่าง ๆ ซึ่งเป็นประโยชน์การพัฒนาประเทศ พัฒนากองทุนของเรา ต้องอธิบายอย่างนี้ว่ากองทุนการออมแห่งชาติ กอช. อย่างที่ท่าน สส. อภิปรายไปแล้วคือว่าเราแล้วมีการจัดตั้ง จริง ๆ พ.ร.บ. ออก ๙ พฤษภาคม ๒๕๕๔ แล้วก็มา ทำงานเป็นตัวรับสมาชิกวันแรก ๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๘ หลักการคือว่าถ้าสมาชิกมาออมกับเรา กฎหมายเขียนว่าขั้นต่ำ ๕๐ บาท และวันนี้ ๑ มกราคมที่ผ่านมามีปรับจาก ๑๓,๐๐๐ บาท เป็น ๓๐,๐๐๐ บาท คือถ้าสมมุติเขาอายุ ๑๕-๓๐ ปี ส่งเงิน ๑๐๐ บาทวันนี้ รัฐบาลบอกว่า จะให้ ๕๐ เปอร์เซ็นต์ของเงินออม แต่ไม่เกิน ๑,๘๐๐ บาท หมายความว่าถ้าน้องใส่ ๑๐๐ บาท ได้ ๕๐ บาท ถ้าอีกคนหนึ่งใส่ ๑๐,๐๐๐ บาท อายุ ๑๕ ปีเหมือนกัน จะได้แค่ ๑,๘๐๐ บาท ถึงจะ ๕๐ เปอร์เซ็นต์ ก็ได้แค่ ๑,๘๐๐ บาท คราวนี้พอช่วงอายุที่ ๒ อายุ ๓๐-๕๐ ปี กฎหมายเราบอกว่าจะให้สมทบ ๘๐ เปอร์เซ็นต์ของเงินออม แต่ไม่เกิน ๑,๘๐๐ บาท หมายความว่าอายุ ๓๐ ปี ใส่ ๑๐๐ บาท ได้ ๘๐ บาท ใส่ ๑๐,๐๐๐ บาท ก็ได้ ๑,๘๐๐ บาทเหมือนกัน ถ้าอายุ ๕๐ ปี ทางกฎหมายบอกว่าจะสมทบให้ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์เลย ใส่ ๑๐๐ ได้ ๑๐๐ แต่ก็ไม่เกิน ๑,๘๐๐ บาท เพราะฉะนั้นถ้าเขาใส่ ๑๐,๐๐๐ บาท ก็ได้ ๑,๘๐๐ บาท อันนี้คือหลักการที่ กอช. ดำเนินงานอยู่ เพราะฉะนั้น อย่างที่ท่าน สส. อภิปรายว่าเงินอย่างไร เรามีการแยกส่วนเงินกัน กอช. เป็นกองทุนที่เป็น บัญชีรายบุคคล จะไม่ปนกับใคร จะเป็นของใครของคนนั้น ของสมาชิกแต่ละท่าน จริง ๆ แล้วถ้าสมมุติเขาเอาเงินมา ๑๐๐ บาท เราสมทบไป ๕๐ บาท ก็จะเป็นเงินคนละ ๕๐ บาท ๑๕๐ บาทนี้เอาไปไหน ทางเราก็จะมีคณะอนุกรรมการกำกับการลงทุนพิจารณา กองทุน เราทำเองอยู่ เรายังมีนโยบายในปีนี้และปีหน้านี้ด้วยซ้ำว่าจะมีการให้ทางมืออาชีพ เข้ามาช่วยบริหารบางส่วน อย่างที่ท่านสมาชิกท่านได้พูดแนะนำไปแล้ว เรากำลังปรับปรุง การทำงานกันอยู่ เอาไปลงทุนให้ เมื่ออายุครบ ๖๐ ปี เราจะต้องกลับมาดูว่าเงินคนนั้น มีเท่าไร ถ้าสมมุติเขาออมจากกฎกระทรวงใหม่ของเรา ถ้าออมตั้งแต่อายุ ๑๕-๖๐ ปีวันนี้ ปีละ ๓๐,๐๐๐ บาท สมทบปีละ ๑,๘๐๐ บาท และมีผลตอบแทนโดยเฉลี่ยปีละ ๒.๕ เปอร์เซ็นต์ต่อปี จะออกมาประมาณ ๑-๒ ล้านกว่าบาท จะได้บำนาญเดือนละ ๑๒,๐๐๐ บาท ซึ่งอาจจะพอในอนาคต แต่เรารณรงค์ให้นักเรียน นักศึกษาเข้าใจเรื่อง การบริหารทางการเงิน ที่ผ่านมาเราก็มีการทำความร่วมมือกับธนาคารแห่งประเทศไทย ตลาดทรัพย์ก็ดี ก.ล.ต. ก็ดี เพื่อให้นักเรียน นักศึกษาได้เข้าใจว่าการจัดการเงินสำคัญคือเวลา ในการออม เวลาในการลงทุน อันที่ ๒ คือจำนวนเงินในการออมและการเก็บเงิน อันที่ ๓ คือผลตอบแทนจากออมและการลงทุน อันนี้เป็นหลักใหญ่ ๆ ซึ่งเราพยายามผลักดัน ปีนี้เอง เราก็มีการร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการ กับท่านผู้ว่าราชจังหวัด กระทรวงมหาดไทย เชิญนักเรียน กรรมการนักเรียนของแต่ละโรงเรียนขนาดใหญ่ มัธยมศึกษาขึ้นไป ๕๐๐ คนขึ้นไป มาประชุมกับคุณครูและ ผอ. โรงเรียน สพม. เขต ศึกษาธิการจังหวัด มาประชุมรับนโยบายเอาไปผลักดันในโรงเรียน ซึ่งเราทำมาแล้วประมาณ ๑๐ กว่าจังหวัด ปีที่แล้วลงพื้นที่ค่อนข้างเยอะ ที่ผ่านมามีท่าน สส. อภิปรายว่าตอนปี ๒๕๖๔ กับ ๒๕๖๕ ทำไมตัวเลขสูงจังในเรื่องการลงพื้นที่ เนื่องจากว่าปี ๒๕๖๓ และปี ๒๕๖๔ เกิดภาวะโควิด ปี ๒๕๖๔ ลงพื้นที่แค่ ๑-๒ จังหวัดเองไม่ได้ไปไหนเลย แต่เราใช้วิธีการ Online ทำสื่อ Social ออกมา อย่างที่บอกว่าที่ท่านแนะนำว่าจะมีการปรับปรุง เราจะปรับปรุง Platform ใหม่ เพราะว่าจริง ๆ แล้ว Social มีประโยชน์มากกับสมาชิก แล้วพยายามจะปรับสื่อให้เป็น ภาษาถิ่นในพื้นบ้านต่าง ๆ เราก็พยายามจะปรับปรุงให้ทั่วถึงทุกหมู่บ้าน เรามีการให้ ความร่วมมือกับกองทุนหมู่บ้านอยู่แล้ว กับ พอช. อยู่แล้วด้วย กระทรวง พม. ก็พยายาม ผลักดัน แต่ข้อยากของ กอช. คือมันเป็นภาคสมัครใจ พูดไปวันนี้แล้วเขาไม่ล้วงเงินออกมา เราก็ให้เป็นสมาชิกไม่ได้ เพราะหลักการ กอช. คือจะต้องนำเงินมาฝากเราวันแรก รัฐบาลจะ เติมสตางค์ในวันถัดไปเลย อันนี้คือหลักการของเรา เพราะฉะนั้นเราต้องพยายามทำอย่างไร ให้เขาเข้าใจและเข้าถึง พยายามอธิบายให้เข้าใจว่าหลักการการออมเพื่อการเกษียณนี่สำคัญ อันนี้เป็นสิ่งที่ทางกองทุนเองก็พยายามทำงานอย่างเต็มที่ สำหรับตัวข้อมูลแรงงานนอกระบบ ที่ผ่านมาประมาณ ๓๗ ล้านคน ที่ท่านอภิปรายไปแล้ว สมัยก่อนเขาจะมีในระบบก็คือ ประกันสังคม มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๙ และ กบข. ก็มีอยู่ส่วนหนึ่ง คราวนี้เมื่อปี ๒๕๖๔ จะมี นอกระบบ ๒๐ ล้านคนก็จริง แต่เมื่อปี ๒๕๖๔ ทางประกันสังคมได้มีการทางรัฐบาล อนุมัติเงินช่วยเหลือว่าถ้าสมัครประกันสังคม มาตรา ๔๐ แรงงานนอกระบบจะได้ เงินช่วยเหลือประมาณ ๑๐,๐๐๐ บาท ณ วันนั้น ทำให้สมาชิกของประกันสังคม มาตรา ๔๐ ทั้งหมดทั้ง ๓ มาตรา มีถึง ๑๐ กว่าล้านคน จะทำให้คนที่เหลือปัจจุบันที่เรามีตัวเลข ในประเทศไทยเหลือแค่ ๘ ล้านคนที่ไม่มีอะไรเลย ไม่มีทั้ง กอช. และประกันสังคม มาตรา ๔๐ (๑) (๒) (๓) ตอนนี้เราค่อนข้างทำตัวเลขจะเจาะไปตามอำเภอด้วยซ้ำว่าอยู่ ที่ไหนกัน เพราะเราเห็นตัวเลขที่มากสุดตอนนี้ที่เหลืออยู่ในตัวจังหวัดก็คือตัวอุบลราชธานี นครราชสีมาเองก็ตาม เราพยายามทำ Database ตัวนี้เพื่อจะเจาะรายจังหวัด และรายอำเภอให้ถึงให้ได้ แล้วก็จริง ๆ แล้วเรามีการให้ทางกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน มาพบปะแล้ว ตั้งแต่ปี ๒๕๖๒ เพื่อจะนำนโยบายนี้ลงสู่พื้นที่แต่ละท่าน แล้วก็พยายามที่จะสร้างตัวแทน จริง ๆ เป้าหมายเราทุกหมู่บ้าน แต่ด้วยความที่ต้องดูแลเรื่องการใช้จ่ายงบประมาณเราก็ พยายามทำให้ได้สักครึ่งหนึ่งก่อนคือประมาณ ๓๐,๐๐๐ กว่าคน ก็พยายามทำอยู่ ส่วนใหญ่ ที่ลองทำใน Online จะไม่ค่อยได้ผล ต้องไปเจอกับเขาแล้วก็คุยกับเขาในแต่ละพื้นที่ ซึ่งเราทำอย่างต่อเนื่อง

    อ่านในการประชุม

  • อีกอันหนึ่ง แล้วก็ตัวเงินสะสมสมาชิกตั้งแต่ปี ๒๕๕๘ จนถึงปี ๒๕๖๕ เป็นเงิน ของชาวบ้านที่มาออมกับเราคือประมาณ ๗,๓๐๐ กว่าล้านบาท เงินที่รัฐบาลสมทบให้กับ สมาชิกรวมอยู่ประมาณ ๒,๕๐๐ ล้านบาท อันนี้เป็นสิ่งที่เราได้ใช้งบประมาณทั้งหมด ที่ออกมา เกี่ยวกับเรื่องงบการเงินที่ทำไมขาดทุนทุกปี เนื่องจากว่าการที่บันทึกบัญชี หลักการ บันทึกบัญชีจะบอกว่าเงินงบประมาณแผ่นดินที่รับมาจะต้องบันทึกเป็นทุน ทำให้ทุกอย่าง ที่จ่าย แม้กระทั่งสมทบสมาชิกหรือเงินใช้จ่ายสำนักงานดึงมาเป็นค่าใช้จ่ายหมด ทำให้ ขาดทุนทางบัญชีเฉย ๆ แต่จริง ๆ แล้วเรามีทุกปี จะมีการที่บันทึกราคาตลาด เนื่องจากเรา เป็นกองทุนรวมประเภทหนึ่ง เราทำตามมาตรฐานกองทุนรวมทั่วไปจะต้องมีการบันทึกบัญชี สุดท้ายแล้วเขาก็กลับมาได้รับผลตอบแทนเหมือนเดิมนะคะ

    อ่านในการประชุม

  • อีกข้อดีข้อหนึ่งของ กอช. ก็คือว่าใน พ.ร.บ. บอกเลยว่าถ้าเขาอายุ ๖๐ ปี ถ้าสมมุติกองทุนเอาไปลงทุนแล้วขาดทุนต่ำกว่าเงินฝากประจำ ๑ ปี รัฐบาลจะสมทบให้ อย่างน้อยเงินฝากประจำ ๑ ปี อันนี้เป็นสิ่งที่ดีมากสำหรับชาวบ้าน เพียงแต่ว่าตรงนี้ เป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงต่ำมากนะคะ

    อ่านในการประชุม

  • อีกข้อหนึ่งก็คือว่าตัวการจัดการสื่อสาร Online เราก็พยายามจะปรับปรุงใหม่ โดยจะพึ่งพาในการทำกับหน่วยงานต่าง ๆ เรามีภาคีเครือข่ายในทุก ๆ กระทรวง โดยเฉพาะ ทางกรมประชาสัมพันธ์ก็ดี หรือกับทางตัว DOPA Channel หรือของกระทรวงมหาดไทยก็ดี เราพยายามทำเสียงตามสาย ซึ่งเคยทำไปแล้วรอบหนึ่ง แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ เราก็พยายามทำอีกรอบหนึ่งเพื่อให้ได้ผลยิ่งขึ้น

    อ่านในการประชุม

  • สำหรับข้อคิดเห็นของท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เราก็จะไปปรับปรุง ทุกอย่างที่ท่านพูดมาต้องบอกว่าดีทั้งนั้นค่ะ ดิฉันรู้สึกชื่นใจที่ท่านให้ความสำคัญกับกองทุนนี้ เพราะกองทุนนี้เป็นกองทุนของชาวบ้านจริง ๆ อยากให้ชาวบ้านทุกคนมีบำนาญถ้วนหน้า ขอบพระคุณค่ะ

    อ่านในการประชุม

  • ขอบคุณท่านจิตติพจน์นะคะ ก็ต้องบอกอย่างนี้ว่าจริง ๆ แล้ว ปีที่ผ่านมาการลงทุนของเราอยู่ในพันธบัตรรัฐบาลเสียส่วนใหญ่กับความเสี่ยงต่ำประมาณ ๘๐ เปอร์เซ็นต์ ที่โดนหนัก ๆ คือ Mark to Market ของตราสารหนี้ที่เราลงทุนเพราะเรา ถือ Band ระยะยาวที่ติดลบ ๑๐๐ กว่าล้านบาท แต่เรามีการทำกำไรในการขายหลักทรัพย์ บางส่วนเป็นกำไรเงินสดขึ้นมา เพราะฉะนั้นบางปีจะเห็นว่าติดลบ บางปีก็จะบวกเยอะ อันนี้แล้วแต่การลงทุน แต่อย่างที่ท่านพูดก็เป็นข้อเสนอแนะที่ดี เราจะพยายามทำให้เห็นว่า จริง ๆ แล้วมันขาดทุนอย่างไร บวกลบอย่างไร แล้วอย่างที่บอกว่าเงินตรงนี้ของประชาชน จะไม่กระทบเลยเพราะว่าเป็นเงินกองทุนจริง ๆ ซึ่งรายบุคคลของใครของมันอยู่แล้ว เพราะสุดท้ายแล้วเวลาคืนสมาชิกเราต้องคืนตามที่เขาออมมา แล้วสมทบที่รัฐบาลให้ และดอกผลที่เกิดขึ้นจริงในแต่ละบัญชี ขอบพระคุณค่ะ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานค่ะ เรียนท่านสมาชิก ขอบพระคุณมากที่ท่านเป็น สมาชิก กอช. ต้องบอกอย่างนี้ค่ะ ตอนปี ๒๕๕๘ ตอนเปิดกองทุนเราเป็นบทเฉพาะกาลที่ให้ ใครก็ได้ อายุเท่าไรก็ได้ ๕๑ ปีขึ้นไปออมได้ ๑๐ ปีออม เพราะฉะนั้นท่านน่าจะเป็นสมาชิก รุ่นแรกของเรา จะสามารถออมได้ถึงปี ๒๕๖๘ ก็คือ ๑๐ ปีออม ณ วันนี้ ปีนี้ท่านสามารถ ออมได้ปีละ ๓๐,๐๐๐ บาทแล้ว เพราะปีที่แล้วคือ ๑๓,๒๐๐ บาท คราวนี้ตอนคืนสตางค์ ปี ๒๕๖๘ จะต้องดูว่าท่านมีเงินกับเราเท่าไร เราเอาหลักการคือว่าขั้นต่ำในการให้บำนาญ ของเราคือ ๖๐๐ บาทต่อเดือน แต่ถ้าสมมุติเก็บได้ ๒๐๐,๐๐๐-๓๐๐,๐๐๐ บาท ก็เอาคร่าว ๆ คือเอา ๒๐ ปี หรือ ๒๔๐ เดือน หารออกมาจากเงินของท่าน แล้วคืนเป็นรายเดือนให้จนกว่าอายุ ๘๐ ปี แต่กรณีที่ท่านอยู่ เกิน ๘๐ ปี ก็ยังได้เหมือนเดิม สมมุติว่าท่านได้เดือนละ ๑,๐๐๐ บาท ก็รับ ๑,๐๐๐ บาท ไปถึง ๑๐๐ ปีเลย แต่ทางกลับกลับถ้าเสียชีวิตก่อน ๘๐ ปี เงินที่เหลือจากบัญชีของท่าน จะคืนส่วนนี้ให้เป็นเงินก้อน อันนี้เป็นหลักการของ กอช. ขอบพระคุณค่ะ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่เคารพทุกท่าน ดิฉัน นางสาวจารุลักษณ์ เรืองสุวรรณ เลขาธิการคณะกรรมการกองทุน การออมแห่งชาติ ขอสรุปเสนอรายงานประจำปี ๒๕๕๘ และรายงานประจำปี ๒๕๕๙ ดังต่อไปนี้

    อ่านในการประชุม

  • สาระสำคัญของรายงานประจำปี ๒๕๕๘ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ได้มีการตรวจสอบงบการเงิน ประกอบไปด้วยงบแสดงฐานะทางการเงิน ณ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๘ และงบรายได้ค่าใช้จ่าย งบแสดงการเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์สุทธิสำหรับ สิ้นสุดวันเดียวกัน รวมถึงหมายเหตุประกอบงบ สรุปนโยบายการบัญชีที่สำคัญและหมายเหตุอื่น ๆ โดยมีสรุปสาระสำคัญ ดังนี้

    อ่านในการประชุม

  • กอช. มีสินทรัพย์รวมจำนวน ๑,๑๘๓ ล้านบาท หนี้สินรวม ๗.๐๘ ล้านบาท มีสินทรัพย์สุทธิอยู่ที่ ๑,๑๗๖ ล้านบาท ซึ่งสินทรัพย์ส่วนใหญ่ประเภทเงินฝากธนาคาร จำนวน ๙๖๔ ล้านบาท ในปี ๒๕๕๘ กอช. มีสมาชิกสะสมในปีแรกอยู่ที่ ๓๙๐,๐๐๐ กว่าคน โดยมีการนำส่งเงินสะสมของสมาชิกรายบุคคล และผลประโยชน์จำนวน ๗๓๔ ล้านบาท กอช. มีรายได้รวมทั้งหมด ๑๔.๔๙ ล้านบาท เป็นรายได้จากดอกเบี้ยและการลงทุน กอช. มีค่าใช้จ่ายรวมจำนวน ๕๔ ล้านบาท ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบุคลากร งานทะเบียนที่สำคัญในตอนจัดตั้งกองทุน ระยะเริ่มแรกของการจัดตั้ง กอช. ได้ให้ ความสำคัญยุทธศาสตร์ ๓ ด้าน ได้แก่

    อ่านในการประชุม

  • ยุทธศาสตร์ที่ ๑ คือยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาองค์กร เพื่อวางโครงสร้างพื้นฐาน อันประกอบไปด้วยด้านระบบบัญชี ด้านทรัพยากรบุคคล ด้านจัดหาพื้นที่สำนักงาน อุปกรณ์ สำนักงาน

    อ่านในการประชุม

  • ยุทธศาสตร์ที่ ๒ คือยุทธศาสตร์ด้านการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการออม เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมด้านระบบงานในการรองรับสมาชิก ประชาสัมพันธ์ในช่วง เปิดตัวด้วยการสร้างเครือข่ายในการรับสมัครสมาชิก

    อ่านในการประชุม

  • ยุทธศาสตร์ที่ ๓ คือยุทธศาสตร์ด้านการลงทุน เพื่อให้เงินที่นำไปลงทุน ในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคง ในระยะแรก กอช. ได้รับอนุมัติโครงสร้างองค์กร จำนวน ๖๐ อัตรา ได้รับจัดสรรงบประมาณเพื่อใช้บริหารจัดการกองทุนในปีงบประมาณ ปี ๒๕๖๕ จำนวน ๗๒๕ ล้านบาท ในวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๘ กอช. ได้มีการรับสมัครสมาชิกในวันแรก มีสมาชิกมาสมัคร ๑๕๐,๐๐๐ กว่าคน เป็นเงินรวมที่ประชาชนส่งมาอยู่ที่ ๑๓๗ ล้านบาท ณ สิ้นปี ๒๕๕๘ มีสมาชิกทั้งสิ้นคือ ๓๙๑,๐๐๐ กว่าคน มีเงินสะสม จำนวน ๔๘๕ ล้านบาท ในทิศทางการหา สมาชิก กอช. ได้เน้นการลงพื้นที่พบปะประชาชน โดยกลุ่มเป้าหมายโดยตรงเปิดโอกาส ให้มีการสื่อสาร ๒ ทาง เนื่องจาก กอช. เป็นหน่วยงานใหม่ เป็นเรื่องใหม่ที่จะต้องใช้ ความเข้าใจในการพูดคุยกับสมาชิก พึ่งพาการแลกเปลี่ยน อาศัยกลไกเครือข่ายในพื้นที่ เพื่อจะต่อยอดและสร้างการรับรู้ให้กับประชาชน ในระยะ ๔ เดือนแรกจึงเน้นการประชาสัมพันธ์ ผ่านช่องทางต่าง ๆ เพื่อเป็นการสื่อสารในวงกว้าง ด้านระบบทะเบียนสมาชิกได้มีการพัฒนา ระบบทะเบียนสมาชิกเพื่อสามารถรองรับในการบริการประชาชนในกลุ่มเป้าหมายอย่างมี ประสิทธิภาพ ด้านการลงทุนได้ดำเนินการตามกรอบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้กำหนดลงทุน หลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ ณ สิ้นปีธันวาคม ๒๕๕๘ มีเงินลงทุน จำนวน ๑,๑๕๔ ล้านบาท ส่วนใหญ่ลงทุนในเงินฝากธนาคาร

    อ่านในการประชุม

  • สาระสำคัญในรายงานประจำปี ๒๕๕๙ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ได้ตรวจสอบงบการเงิน ประกอบด้วยงบแสดงฐานะทางการเงิน ณ สิ้นปีวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๙ เป็นงบรายได้ค่าใช้จ่าย งบแสดงการเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์สุทธิ งบกระแสเงินสด และประกอบรายละเอียดเงินลงทุนสำหรับสิ้นสุดในวันเดียวกัน รวมถึงหมายเหตุสรุป นโยบายการบัญชีที่สำคัญ โดยสรุปสาระสำคัญดังต่อไปนี้

    อ่านในการประชุม

  • กอช. มีสินทรัพย์รวมจำนวน ๓,๒๙๒ ล้านบาท หนี้สินรวม ๑๘.๒๐ ล้านบาท มีสินทรัพย์สุทธิรวมอยู่ที่ ๓,๒๘๙ ล้านบาท ซึ่งสินทรัพย์ส่วนใหญ่เป็นประเภทเงินฝากประจำ และพันธบัตรรัฐบาล จำนวน ๓,๑๖๐ ล้านบาท ในปี ๒๕๕๙ มีสมาชิกจำนวนสะสมอยู่ที่ ๕๒๔,๐๐๐ กว่าคน เพิ่มขึ้นจาก ปี ๒๕๕๘ จำนวน ๑๓๐,๐๐๐ กว่าคน โดยที่มีการนำส่งเงิน สะสมของสมาชิกรายบุคคลอยู่ที่จำนวน ๑,๑๐๙ ล้านบาท

    อ่านในการประชุม

  • กอช. มีรายได้รวมอยู่ที่ ๔๐.๑๕ ล้านบาท เพิ่มขึ้นในปี ๒๕๕๘ จำนวน ๒๕ ล้านบาท ซึ่งในส่วนใหญ่จะเกิดจากรายได้ จากดอกเบี้ย และการลงทุน

    อ่านในการประชุม

  • กอช. มีค่าใช้จ่ายรวมจำนวน ๗๓ ล้านบาท ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่าย กับบุคลากร ค่าใช้จ่ายกับสมาชิก ซึ่งประกอบไปด้วยค่าใช้จ่ายจากการออม ประชาสัมพันธ์ และค่าสมาชิกเป็นสำคัญ โดยมีผลขาดทุนสุทธิจากการวัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไร ขาดทุน หรือ Mark to Market หลักทรัพย์ซึ่งไม่เกิดขึ้นจริง จำนวน ๑๒ ล้านบาทเศษ

    อ่านในการประชุม

  • กอช. ได้มีการจัดทำยุทธศาสตร์ ในปี ๒๕๖๐ ถึงปี ๒๕๖๔ ประกอบ ยุทธศาสตร์หลัก ๔ ด้าน ได้แก่

    อ่านในการประชุม

  • อันที่ ๑ ผลักดันและสร้างสมาชิกการออมอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มสมาชิกและให้เกิด การออมอย่างต่อเนื่องด้วย

    อ่านในการประชุม

  • อันที่ ๒ การบริหารเงินลงทุนที่มีผลประโยชน์อย่างมั่นคง เพื่อการบริหารเงินลงทุน ให้ผลตอบแทนเป็นไปตามนโยบายที่กำหนด

    อ่านในการประชุม

  • ข้อที่ ๓ พัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ พัฒนาองค์กรให้มีการจัดการที่มีความทันสมัย ระบบเครือข่ายเชื่อมโยงให้มีประสิทธิภาพและรวดเร็ว

    อ่านในการประชุม

  • ข้อที่ ๔ ส่งเสริมการธรรมาภิบาลในองค์กร พัฒนาองค์กรให้มีการบริหาร จัดการตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีความทันสมัย สะดวก โปร่งใส และตรวจสอบได้

    อ่านในการประชุม

  • ด้านสมาชิกในปี ๒๕๕๙ มีสมาชิกทั้งสิ้น ๕๒๔,๐๐๐ กว่าคน เพิ่มขึ้นจาก ปี ๒๕๕๘ อยู่ที่ ๑๓๐,๐๐๐ กว่าคน เงินสะสมจากสมาชิกอยู่ที่ ๑,๓๐๐ ล้านบาทเศษ ด้านปัญหาสมาชิกเน้นขอความร่วมมือสำหรับชุมชน แล้วก็มีธนาคารของรัฐ ๓ แห่ง ที่ช่วยดูแล กอช. คือ ธ.ก.ส. ออมสิน และธนาคารอาคารสงเคราะห์

    อ่านในการประชุม

  • ทั้งนี้ ข้าพเจ้าเองก็มาทำหน้าที่เลขาธิการ กอช. เมื่อเดือนมกราคม ๒๕๖๑ แล้วก็ได้มีการนำเสนอรายงานประจำปีอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ขอบพระคุณท่านค่ะ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธาน แล้วก็กราบเรียนท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่เคารพทุกท่าน ดิฉันต้องบอกว่าขอประทานโทษจริง ๆ ว่าทำไมปี ๒๕๕๘ ปี ๒๕๕๙ เพิ่งมารายงาน อาจจะเป็นเพราะว่าช่วงนั้นเป็นช่วงที่เพิ่งตั้งกองทุน แล้วก็ต้องทำระบบ โครงสร้างต่าง ๆ แล้วก็เป็นกองทุนเพิ่งตั้งมาใหม่ แล้วก็ลงทุนในพื้นที่เยอะ ดิฉันเองมา รับหน้าที่นี้ตอนปี ๒๕๖๑ ทุกปีรายงานครบถ้วนค่ะ ปี ๒๕๖๕ เดี๋ยวคงเจอท่านอีกรอบหนึ่ง เรียนเป็นแนวทางเดียวกัน ต้องบอกว่า พ.ร.บ. กอช. ออกมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๔ อย่างที่ ท่านอนุชาเรียนไปแล้วว่ามาดำเนินการเมื่อเดือนสิงหาคม ๒๕๕๘ ในการรับสมาชิก เราเป็นกองทุนที่จะปิดช่องว่างสำหรับแรงงานนอกระบบ ณ วันนั้นอาจจะมีแรงงาน นอกระบบประมาณ ๒๐ กว่าล้านคน แต่ ณ วันนี้จะเหลือแค่ ๘ ล้านคน เพราะว่าปีที่ผ่านมา ทางประกันสังคม มาตรา ๔๐ (๑) (๒) (๓) รณรงค์ให้มีการสมัครเป็นสมาชิกถึง ๑๐ กว่าล้านคน ทำให้ตรงนี้เหลือแค่ ๘ ล้านคน ที่ประชาชนที่ไม่มีอะไรดูแลเกี่ยวกับเรื่องบำเหน็จบำนาญเลย หนี้สินที่เราได้ตัวเลขมาใหม่ ต้องบอกว่า กอช. เองเป็นกฎหมายที่ไว้สำหรับประชาชนที่อายุ ๑๕ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ถึง ๖๐ ปีบริบูรณ์สามารถออมกับเราได้ ขั้นต่ำในการส่งเงินคือครั้งละ ๕๐ บาท ขั้นสูงสุดวันนี้เพิ่งปรับกฎกระทรวงใหม่เมื่อต้นปีที่ผ่านมา คือออมสูงสุดได้ปีละ ๓๐,๐๐๐ บาท เขาจะส่งเท่าไรก็ได้ในปีนี้นั้น แต่รัฐบาลกำหนดการสมทบเป็นช่วงอายุ ก็คือถ้าอายุ ๑๕-๓๐ ปี จะได้ครึ่งหนึ่งของเงินออม แต่ไม่เกิน ๑,๘๐๐ บาท หมายความว่า ถ้าน้องใส่วันนี้ ๑๐๐ บาท เดือนหน้าได้ ๕๐ บาท ใส่ ๑๐,๐๐๐ บาท ได้ ๑,๘๐๐ บาท แต่ถ้าอายุ ๓๐-๕๐ ปี รัฐบาลจะสมทบ ๘๐ เปอร์เซ็นต์ของเงินออม ก็ไม่เกิน ๑,๘๐๐ บาท เช่นเดียวกัน ถ้าอายุ ๓๐ ปี ใส่ ๑๐๐ บาท ก็ได้ ๘๐ บาท ถ้าใส่ ๑๐,๐๐๐ บาท จะได้ ๑,๘๐๐ บาท อายุ ๕๐-๖๐ ปี รัฐบาลให้ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ของเงินออม แต่ก็ไม่เกิน ๑,๘๐๐ บาท ใส่ ๑๐๐ บาท ได้ ๑๐๐ บาท ใส่ ๑,๘๐๐ บาท ได้ ๑,๘๐๐ บาท อันนี้คือหลักการของ กอช. คราวนี้การดำเนินงานของเราต้องบอกว่าเราตระหนักเรื่องนี้เป็นสิ่งที่ประชาชนคนไทย จะต้องรู้จักออมก่อนใช้ อันนี้ต้องบอกว่าที่ท่านอภิปรายมาว่าตอนต้นปีอาจจะไม่มีเรื่อง รายงานนี้ แต่ที่ปีหลัง ๆ มาเรามีการลงพื้นที่ให้ความรู้กับชาวบ้าน เรามีการบูรณาการทำงาน ค่อนข้างแน่นแฟ้นกับกระทรวงมหาดไทย ลงไปสู่ผู้ใหญ่บ้าน สร้างตัวแทนในหมู่บ้าน ลงถึงตำบล ผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วก็ลงถึง พอช. ก็ลงด้วย แล้วก็ธนาคารของรัฐในปี ๒๕๕๘ ปี ๒๕๕๙ ที่ช่วยเราจะมีธนาคารออมสิน ธ.ก.ส. ธนาคารกรุงไทย แต่ปัจจุบันนี้เราขยาย เครือข่ายค่อนข้างเยอะมากนะคะ ก็เพิ่มมาที่ล่าสุดก็คือธนาคารอิสลามแบงก์ แล้วก็ยังมี ตัว Counter Service มี Application มี LINE Ads มีทุกอย่างที่จะสอดคล้องกับภาวะ ปัจจุบัน อันนี้เป็นสิ่งที่เราดำเนินการมาถึงปีปัจจุบัน ต้องบอกว่า ปี ๒๕๕๘ ปี ๒๕๕๙ อาจจะดูยังน้อยอยู่ เพราะว่าเป็นปีเริ่มต้นในการสร้างหน่วยงาน

    อ่านในการประชุม

  • อีกอันหนึ่ง คือการลงทุนของ กอช. จะมีกฎหมายพิเศษว่า ถ้ากองทุนบริหาร ขาดทุน เมื่อ ๖๐ ปีต่ำกว่าเงินฝากประจำ ๑ ปี ทางกองทุนต้องชดเชยเงินให้ อันนี้เป็นสิ่งที่ เราไม่สามารถจะลงทุนอะไรเสี่ยง ๆ ได้ ปัจจุบันนโยบายการลงทุนตอน ปี ๒๕๕๘ ปี ๒๕๕๙ กำหนดไว้ว่าจะต้องลงทุนในความเสี่ยงต่ำ ร้อยละ ๘๐ ส่วนใหญ่ในปีแรกจะเห็นว่าอยู่ใน เงินฝากเท่านั้นนะคะ แล้วถัด ๆ มาก็จะลงทุนในหุ้นกู้บ้าง พันธบัตรรัฐบาลบ้าง แต่ปัจจุบัน เรามีการปรับในการลงทุนในหุ้น หรือตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงต่ำประมาณร้อยละ ๗๐-๘๐ แต่ว่าจะมีหุ้นกู้ประชาชนเข้ามารวมด้วย ซึ่งก็มี Rating A ขึ้นไปที่เราลงทุน อีกทั้งกองทุน อสังหาริมทรัพย์ก็ลงในนั้นประมาณ ๗-๘ เปอร์เซ็นต์ ทำให้ผลตอบแทนโดยเฉลี่ยในระยะยาว อยู่ที่ประมาณร้อยละ ๒-๓ เปอร์เซ็นต์ต่อปี ที่เราทำอยู่ค่ะ

    อ่านในการประชุม

  • ส่วนเรื่องที่บอกว่าทำไมทำขาดทุน การรับงบประมาณแผ่นดินของเราต้องมี การทำ Procession ล่วงหน้า ๓ ปี บางทีรายงานประจำปีจะเป็นพันล้านบาท แต่จริง ๆ เราได้รับมาแค่หลักไม่กี่ร้อยล้านบาทเองนะคะ อันนี้เป็นการประมาณการรายงานประจำปี แต่จริง ๆ แล้วต้องรายงานให้กับทางรัฐมนตรีทุกเดือนด้วยซ้ำ ที่ผ่านมาเราก็มีการ Monitor อย่างใกล้ชิด คณะกรรมการเองอย่างที่ท่านเรียนไปแล้วว่าจะเป็นตัวแทน ถึงจะเป็นโดยตำแหน่ง แต่ท่านปลัดก็ส่งตัวแทนมา เนื่องจากว่ามันเป็นกองทุนที่เราต้องช่วยกันดูแล

    อ่านในการประชุม

  • อีกข้อหนึ่งที่ถามว่าทำไมเรามีค่าใช้จ่ายบุคลากรเยอะ ต้องบอกว่าเราไม่มีสาขา เราต้องพึ่งพิงเครือข่ายค่ะ เพราะเรามองว่าการมีสาขาเป็นการซ้ำซ้อนกับหน่วยงานต่าง ๆ สิ่งที่เรากำลังดำเนินงานคือว่าเราพยายามที่จะสร้างเครือข่ายให้อย่างแน่นแฟ้นจากธนาคาร ของรัฐทั้งหมด ๕ สถาบันด้วยกัน ก็พยายามอบรมให้ความรู้ เนื่องจาก กอช. เป็นงานฝาก บางธนาคารอาจจะไม่ให้ความร่วมมือ หรือว่าบางสาขาอาจจะไม่ค่อยรู้เรื่องเรา เราก็พยายาม ประชาสัมพันธ์ลงพื้นที่เพื่อให้ความรู้ อันนี้เป็นสิ่งที่เราทำอยู่

    อ่านในการประชุม

  • อีกเรื่องหนึ่งคือการที่ท่าน สส. อภิปรายว่า กอช. เองจะมีการปรับปรุง เราก็มีการประชุม ทุก ๆ ๕ ปี กอช. จะต้องมีการดูว่าเงินสะสมสมทบเหมาะกับสถานการณ์ไหน ตอนตั้งกองทุนปี ๒๕๕๘ ครั้งแรกเรามีการออมได้เต็มเพดานแค่ ๑๓,๒๐๐ บาท แล้วก็สมทบ เป็น ๖๐๐ บาท ๘๐๐ บาท ๑,๒๐๐ บาท ที่ท่านอภิปรายไปแล้ว ปัจจุบันเราก็ปรับ แล้วอีก ๕ ปีข้างหน้าคณะกรรมการต้องกลับมาทบทวนเพื่อเสนอให้กับคณะรัฐมนตรีอนุมัติถัดไป เพื่อเป็นการดูแลพี่น้องประชาชนว่าในอนาคตคุณต้องมีอย่างน้อยบำนาญกับ กอช. ไว้ใช้ เป็นรายเดือน

    อ่านในการประชุม

  • อีกเรื่องหนึ่งคือว่า กอช. เองถ้าสมาชิกเสียชีวิตระหว่างทางก็ตาม มันจะเป็น มรดกตกทอดกับทายาทเขา การบริหารจัดการของ กอช. เป็นบัญชีรายบุคคล ออมน้อย ได้น้อย ออมมากได้มาก ไม่ใช่จะแก่ก่อนได้ก่อน ความมั่นคง สถานะของกองทุนดิฉันคิดว่า มีความมั่นคงสูงเพราะว่าเราทำระบบงานกองทุนแบบสากล ก็ต้องบอกว่าเหมือน กบข. เหมือนสมาชิกที่เป็นบัญชีรายบุคคลแล้วมีการดูแลกันอย่างใกล้ชิด แล้วก็มีระบบงานที่เรามี การลงทุนเราก็ทำเอง ยังไม่ได้จ้างใคร เพราะเนื่องจากสินทรัพย์เราแค่ ๑๐,๐๐๐ กว่าล้านบาท ซึ่งท่านรองเลขาธิการก็มาด้วย มีอนุกรรมการลงทุนตามกฎหมาย จะต้องกำกับดูแล การลงทุนอยู่ในกรอบที่เราวางนโยบายไว้ โดยมีท่าน Board กำกับอีกทีหนึ่ง เพราะฉะนั้น เราต้องระมัดระวังการดำเนินการที่เกี่ยวกับการลงทุน

    อ่านในการประชุม

  • สำหรับข้อเสนอแนะต่าง ๆ ดิฉันขอรับไว้ว่าสิ่งที่ท่าน สส. อภิปรายในวันนี้ ต้องบอกว่าเป็นประโยชน์ต่อกองทุนมาก เรามองว่ากองทุนนี้ต้องช่วยกันเพื่อจะทำงาน เราเองก็มองเห็นเรื่องประกันสังคมเหมือนกันว่าควรจะต้องมารวมกัน เพราะมองว่าเป็นสิ่งที่ สอดรับกัน ซึ่งประกันสังคมเขาดูเรื่องสวัสดิการชดเชยแรงงานเวลาเขาป่วย หรือฌาปนกิจสงเคราะห์ แต่ กอช. นี่ชัดเจนคือบำนาญภาคประชาชน ซึ่งตอนนี้เราก็มีการเสนอแก้กฎหมายอย่างที่ ท่านเสนอมาแล้วว่ายังไม่ถึงไหน จริง ๆ ต้องบอกว่ากระบวนการการแก้กฎหมายของเรา เราก็เสนอผ่าน Board ไปแล้วตอนนี้อยู่ที่กระทรวงการคลัง เราจะขอปรับไปประมาณ ๔-๕ ข้อ ข้อแรกคือขยายอายุสมาชิกปัจจุบันเป็น ๖๕ ปี จากเดิม ๖๐ ปี อันที่ ๒ คือ ความร่วมมือบูรณาการให้มาตรา ๔๐ ทั้งหมดสามารถสมัครคู่กับ กอช. ได้ อันที่ ๓ ก็คือ อาจจะกันบำเหน็จให้กับสมาชิกบางส่วน บำนาญบางส่วน เพราะส่วนมากสมาชิกจะบอกว่า อยากได้เงินก้อน ซึ่งจริง ๆ แล้วหลักการเราคืออยากมีเงินเดือนให้ใช้ตลอดชีพ อันที่ ๔ ก็คือว่า ถ้าเขามีความจำเป็นก็สามารถที่จะขอคืนเงินได้ในกรณีที่เขาจะใกล้เสียชีวิต อะไรประมาณนี้ค่ะ ซึ่งเราเสนอเข้าไป ซึ่งอยู่ในการทำพิจารณา ถ้าเสร็จแล้วก็คงจะเข้ามาที่รัฐสภาแห่งนี้ อีกครั้งหนึ่งค่ะ อย่างไรก็ตามระบบงานต่าง ๆ เรามองว่าสิ่งที่เราตั้งใจ ทีมงานเองก็ดี ที่เรามารับผิดชอบตรงนี้ต้องบอกว่ามุ่งมั่นตั้งใจ เราลงพื้นที่ค่อนข้างต้องบอกว่าเกือบทุกเดือน ลงไปตอนที่เราทำตอนนี้ปัจจุบันคือมุ่งสู่นักเรียนน้อง ๆ มัธยม เพื่อให้เข้าใจว่าออมก่อนใช้ เป็นอย่างไร ออมวันละ ๑๐ บาทได้อะไร เพราะ กอช. ขั้นต่ำคือ ๕๐ บาท รัฐบาลออมให้ ๒๕ บาท เพราะฉะนั้นน้องอาจจะต้องสนใจ ตอนนี้เราลงนักเรียนเป็นหลักแล้วค่ะ เพราะอย่างที่บอกว่าส่วนที่เหลืออีก ๘ ล้านคน น่าจะเป็นน้อง ๆ นักเรียนอีก ๔ ล้านคน ที่เราทำ อันที่ ๒ คือเราร่วมมือกับมหาวิทยาลัย พยายามจะให้มีการเรียนรู้เรื่องการบริหาร จัดการการเงินส่วนบุคคล เราก็มีการทำ มองกับธนาคารแห่งประเทศไทยด้วย จะให้อย่างไร เข้าสู่หลักสูตรให้กับนักเรียนน้อง ๆ เยาวชนทุกคนได้เรียนรู้การบริหารจัดการเงินของเขา ในอนาคตด้วยค่ะ

    อ่านในการประชุม

  • สำหรับเรื่องอื่น ๆ ก็ขออนุญาตรับไปปรับปรุงงานบริการต่าง ๆ ที่ท่าน เสนอแนะมา ด้านประชาสัมพันธ์ก็ดี การบริการสมาชิกก็ดี เราหวังอย่างยิ่งว่ากองทุนนี้ จะอยู่คู่ชาวไทย ให้เขามาเลือกใช้บริการกองทุนของเรา เพราะกองทุนของเรามีความยากคือ ด้วยความสมัครใจค่ะ แล้วแต่เขาจะมาออม แล้วถ้าออมเราก็จะสมทบให้ แต่ถ้าไม่ออมเราก็ จะต้องบอกว่าเชิญชวนให้เขามาออมทุกปี ซึ่งเราก็มีการเตือนสมาชิกทุกปี สมาชิกเดิมต้องมาออม ต่อเนื่อง เพราะว่าเราก็มีการที่จะให้เขาเข้าใจว่าเราเป็นหน่วยงานของรัฐประเภทหนึ่ง แต่เป็นกองทุนที่เราไม่มีสาขา เราต้องพึ่งพาตัวสำนักงานธนาคารของรัฐทั้งหมด แต่เราเอง ก็พยายามพัฒนา Application ให้เข้าถึงเตือน แล้วก็มี LINE Ads เพื่อให้เขาเข้าถึง เพราะคนไทย ส่วนมากใช้ LINE ค่ะ ก็จะขออนุญาตตอบโดยรวมค่ะ ถ้าท่าน สส. จะมีข้อแนะนำอะไร ทาง กอช. ยินดี รายงานประจำปีของเราคงพบกันในปี ๒๕๖๕ ในเร็ว ๆ นี้ได้ทำเสร็จแล้วค่ะ ขอบพระคุณมากค่ะ

    อ่านในการประชุม