นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ

  • เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ และท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติทุกท่านครับ ผม สุรพงษ์ ปิยะโชติ ในฐานะที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบที่เกี่ยวกับทางราง ก็ดีใจแทนพี่น้อง ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครที่มีผู้แทนราษฎรที่เป็นตัวแทน เป็นปากเป็นเสียงเรื่องของ ความเดือดร้อน จริง ๆ แล้วตัวกระผมเองเดินทางเข้ากระทรวงหรือไปไหนมาไหน จริง ๆ ก็ได้รับผลกระทบ ก็เดือดร้อน พอเห็นกระทู้ถามของท่านสมาชิกก็พยายามศึกษา ส่วนหนึ่ง ก็ถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่ทางกระทรวงจะต้องมีมาตรการที่ดีกว่านี้ในการที่จะให้พี่น้อง ประชาชนที่สัญจรเดือดร้อนน้อยที่สุด แล้วก็ให้การก่อสร้างใช้พื้นที่ผิวจราจรเฉพาะพื้นที่ ที่จำเป็น ถ้าสายสีม่วง อันนี้เป็นรายงานนะครับ แต่หลังจากนี้ผมจะต้องลงไปดูพื้นที่จริง รายงานว่าใช้พื้นที่ผิวจราจรประมาณ ๓๐ เปอร์เซ็นต์ในการก่อสร้าง แล้วก็จะมีระเบียบ การจัดการในช่วงที่การสัญจรแออัด แล้วก็ช่วงที่ไม่มีการสัญจรก็จะขยายพื้นที่ อันนี้เป็นที่ ได้รับรายงานมา แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นผมจะต้องลงไปตรวจพื้นที่ วันนี้รับปากเบื้องต้นเลยครับว่า จะต้องได้รับการแก้ไขให้ดีขึ้นกว่าที่เห็น กว่าที่เป็นอยู่ทุกวันนี้อย่างแน่นอนครับ ก็ยืนยัน กับสภาครับ วันนี้ถือว่ามารับปัญหา ซึ่งมันเป็นปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ผิวจราจรของกรุงเทพฯ แล้วถ้าลงพื้นที่ผมเรียนเชิญ ทางท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติร่วมกับผมด้วย เดี๋ยวกระผมจะให้ทางฝ่ายเจ้าหน้าที่ประสาน ผมก็อยากเห็นข้อเท็จจริงจริง ๆ ว่าเป็นอย่างไร และทำไมถึงปล่อยให้เรื้อรังขนาดนี้ ผมรับปากเลยว่าจะลงพื้นที่เร็วที่สุดและจะแก้ไขให้ดีกว่าเดิมแน่นอน แต่ดีเท่าไรเดี๋ยวไปดู หน้างานด้วยกัน ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนประธานสภาที่เคารพ แล้วก็ท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติครับ สำหรับคำถามประเด็นนี้ อันนี้เป็นรายงานก่อนนะครับ รายงานจากผู้เกี่ยวข้องที่ผมพยายามรวบรวม คือการเวนคืน ทางสารตั้งต้นก็มาจากของกรมธนารักษ์ เป็นอันดับที่ ๑ อันดับที่ ๒ ก็จะไปสอบถาม จากราคาซื้อขายทั่วไปจากกรมที่ดินที่ยื่นเสียภาษี อันที่ ๓ ก็เป็นราคาซื้อขายปกติ ในท้องตลาด ซึ่งที่ผ่านมาทางราคาประเมินของ รฟม. ก็เอาพื้นฐานของทางกรมธนารักษ์ คูณด้วย ๓ เท่า รฟม. จะจ่ายสูงกว่าราคาประเมินของกรมธนารักษ์ประมาณ ๓ เท่า อันนี้คือ หลักเกณฑ์ที่ผมได้มาจากรายงาน ส่วนถ้าไม่พอผมแนะนำว่าให้เข้าช่องทางในการอุทธรณ์ ในการอุทธรณ์น่าจะเรื่องของผลกระทบ เรื่องของความคุ้มค่า ลองไปเข้าทางช่องทางอุทธรณ์ ผมคิดว่าเป็นไปได้ อันนี้เข้าใจและเห็นใจ เพราะว่าจริง ๆ การที่เราสร้างทางรถไฟขึ้นมาเราก็ หวังที่จะสร้างเศรษฐกิจ สร้างความเจริญ แต่ผลกระทบระหว่างทางมันก็สูญเสียทางเศรษฐกิจ พี่น้องประชาชนเดือดร้อนระหว่างการก่อสร้าง อันนี้ก็เหมือนกัน ข้อเมื่อสักครู่นี้ก็เหมือนกัน ข้อที่ถามกระทู้ถามแรก ถ้าเขตไหน ตรงไหนเดือดร้อนแจ้งเข้ามานะครับ ผมยินดีที่จะ เคียงข้างลงเข้าไปช่วยแก้ปัญหา ประเด็นนี้ก็เหมือนกัน เรื่องของความเดือดร้อน ในเรื่องของ ราคาเวนคืน วันนี้เบื้องต้นผมแนะนำให้ใช้ช่องทางของการอุทธรณ์ในการแก้ปัญหา ส่วนเรื่อง สัญญาหรือ TOR พอดีทางรัฐบาลชุดนี้มาทีหลัง เดี๋ยวรับปากจะไปศึกษาดูช่องทางช่องว่างว่า ทำอะไรได้บ้าง ส่วนต่อไปความเดือดร้อนพวกนี้ หลาย ๆ กระทู้ถามพวกนี้จะถูกบรรจุ และจะถูกระมัดระวังในการทำสัญญาและในการทำ TOR ที่จะจัดซื้อจัดจ้างต่อไป ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียน ท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติ แล้วก็ท่านผู้เข้ารับฟังคำชี้แจง ผม นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ วันนี้มาตอบกระทู้ถามในฐานะที่ได้รับการมอบหมายงานที่ให้ดู ในส่วนตรงนี้ ก็ดีใจที่ได้มีตัวแทนของพี่น้องประชาชนจะมาเป็นตัวแทนเอาความเดือดร้อน มาสู่สภา เอาข้อเท็จจริงออกมาดูนะครับ เพราะพี่น้องประชาชนไม่ได้มีโอกาสมาตรงนี้ ที่ผ่านมาก็มีแต่อยู่ข้างล่างถามเหมือนกัน วันนี้ก็จะตอบนะครับ แล้วก็ดีใจแทนท่านพี่น้อง ด้วยที่ได้มีตัวแทนเป็นปากเป็นเสียงแทน คือประเด็นนี้หลังจากได้เห็นกระทู้ถามก็พยายาม ศึกษาที่มาที่ไปอย่างคร่าว ๆ ยังไม่มีโอกาสได้ลงไปดูพื้นที่ เมื่อก่อนทางการรถไฟได้มอบ ถนนนี้ให้กับกรุงเทพมหานคร กทม. นะครับ แล้วก็ได้ขอคืนมาเพื่อก่อสร้างรถไฟ ตรงนั้น ก็จะเป็นสายสีแดง พอก่อสร้างเสร็จช่วงนี้อยู่ระหว่างการประสานงานกับ กทม. ที่จะส่งมอบ พื้นที่คืน แล้ว กทม. ก็จะมาเป็นเจ้าของพื้นที่ แล้วก็จะปรับปรุงผิวจราจร แต่วันนี้ติดเงื่อนไขว่า ทางการรถไฟต้องปรับปรุงผิวถนนให้ใกล้เคียงเดิมก่อน แล้ว กทม. จะรับช่วงต่อไป รายละเอียด ที่ปรากฏอยู่บนจอเรื่องของ พ.ศ. เรื่องของขั้นตอนตั้งแต่เอาคืน ตั้งแต่ก่อสร้าง หรือตั้งแต่ ต่าง ๆ ครับ

    อ่านในการประชุม

  • ทีนี้ขอดู หน้า Timeline ครับ Timeline ที่ผมให้ทางการรถไฟกำหนด Timeline ที่จะคืนพื้นผิว จราจรให้กับ กทม. หน้า ๖ Timeline ก็ปรากฏอยู่บนจอนะครับ ประมาณเดือนเมษายน คือทุกอย่างจะคืนให้ กทม. แต่ระหว่างนี้ทางการรถไฟก็ได้มีการประชุมกับทาง กทม. ก็ได้มี มติบางส่วนที่ให้ปรับปรุงผิวแล้ว กทม. พร้อมที่จะรับไปดูแล ปัญหาส่วนหนึ่งที่ท่านสมาชิก ได้ชี้สาเหตุเมื่อสักครู่ มันเป็น Local Road แล้วก็รถบรรทุกเกินน้ำหนักไปลงเรื่องจริง อันนี้ ผมก็ต้องรับไป ระหว่างที่อยู่ในการดูแลของการรถไฟเดี๋ยวก็ต้องรับประเด็นนี้ไปว่าบรรทุก เกินน้ำหนัก ก็ต้องประสานไปอีก Party หนึ่งที่ควบคุมเรื่องของน้ำหนัก ก็คือกรมการขนส่ง ทางบกกับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เป็นผู้บังคับใช้กฎหมาย ก็ต้องมีการเอามาตรการทาง กฎหมายมาป้องกัน ก็เรียนท่านประธานว่าไม่ได้มีที่นี่ที่เดียวที่บรรทุกเกินน้ำหนัก มันเป็น ปัญหาลูกโซ่มีทั่วประเทศ อันนี้ก็เป็นส่วนหนึ่ง จริง ๆ แล้วก็รู้สึกไม่สบายใจที่มีผู้ประสบ อุบัติเหตุแล้วก็เสียชีวิต วันนี้ผมรับหน้าที่มา แล้ววันนี้ขอรับเรื่อง รับงานเพื่อจะไปจัดการ ปรับปรุงแก้ไขให้เรียบร้อย อันนี้ก็คือ Timeline ที่แจ้งให้กับทางท่านประธานผ่านไปยัง ท่านสมาชิกได้รับทราบว่าเรามี Timeline ค่อนข้างชัดเจน เรามีการตกลงกับทาง กทม. แต่ที่เหลือที่ผ่านมามันเป็นช่วงหนึ่ง เราเสียเวลาไป ๓-๔ เดือนก็เป็นสุญญากาศ ก็เสียโอกาส ในการทำงานไป แต่วันนี้หลังจากได้รับทราบว่ามีกระทู้ถามตรงนี้ ผมก็ได้ให้หน่วยงานทุกคน มา Brief ให้ฟังแล้วก็มี Timeline ตรงนี้ออกมา ก็เรียนท่านประธานครับ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียน ท่านประธานผ่านไปยังท่านสมาชิกนะครับ ปัญหาท่านสมาชิกก็ทราบแล้วว่าจริง ๆ แล้ว มันผิดฝาผิดฝั่ง สายถูกตัดไม่ใช่เฉพาะสายไฟนะครับ จากที่ผมประชุมเมื่อวานเพื่อจะเตรียม มาตอบ มาชี้แจงเรื่องนี้ สายของการเดินรถซึ่งมีมูลค่ามหาศาลก็ถูกตัด คืออันนี้ ด้วยอะไร ด้วยผมคิดว่าทางออกที่ดีที่สุดการรถไฟ เดี๋ยวผมรับหน้าที่จะไปทำงานทั้งถนน ทั้งระบบ ให้จบให้เร็วที่สุด เสร็จแล้วต้องคืนให้กับ กทม. ซึ่งสามารถที่จะมีศักยภาพและดูแลได้ และมี งบประมาณที่จะบำรุง ซ่อมแซมนะครับ การรถไฟไม่ได้มีอำนาจหน้าที่ที่จะไปทำ อย่างนั้นตลอด เพราะฉะนั้นความผิดพลาดตรงนี้ก็คือไม่รีบส่งคืนหน่วยงานที่รับผิดชอบ โดยตรง อันนี้ก็ขอรับฟังปัญหาและรับฟังความเดือดร้อน เพราะมันเป็นข้อเท็จจริงนะครับ ชีวิต ทรัพย์สินของพี่น้องประชาชนต้องถูกดูแล เพราะฉะนั้นการรถไฟทราบสาเหตุ ไปในขณะเดียวกันว่าถูกตัด ถูกขโมยไป ปัญหาตรงนี้ Party ต่าง ๆ ก็คือเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือระบบการดูแลของการรถไฟเองถือว่าหละหลวม ไม่ดี วันนี้เราไม่แก้ตัวเลยนะครับ เรามารับปัญหา สิ่งนี้มันเกิดขึ้น แล้วเราก็จะร่วมกันแก้ปัญหา Party ของฝ่ายเจ้าหน้าที่ ตำรวจ Party ของ กทม. Party ของการรถไฟ อันนี้เป็นสิ่งที่เราจะต้องร่วมมือกันแก้ไข ปัญหาให้พี่น้องประชาชน เดี๋ยวตรงนี้ผมขออนุญาตเรื่องของแสงสว่าง ขออนุญาตจะทำให้ ไวที่สุด เพราะทราบว่าได้ว่าจ้างกับทางการไฟฟ้าไปแล้ว เดี๋ยวจะเร่งรัด เพราะว่าเป็น ความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน ก็จะให้เร็วกว่านี้ครับ ผมจะให้จบ น่าจะทันปี ๒๕๖๖ วันนี้ถือว่าเห็นใจนะครับ มารับฟังปัญหา เห็นใจและเข้าใจ เพราะผมมาจากท้องถิ่น แล้วผมเข้าใจกลไกในวิธีการใช้งบประมาณนะครับ แล้วการรถไฟไม่ใช่มืออาชีพด้านนี้ ต้อง กทม. เพราะฉะนั้นการรถไฟมีอย่างเดียวทำให้จบแล้วส่งมอบ กทม. แล้ว กทม. จะไป ดูแลให้ชัดเจน ก็กราบเรียนท่านประธานครับ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่าน ประธานสภาที่เคารพ ท่านสมาชิกสภาผู้ทรงเกียรติทุกท่านครับ กระผม นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในฐานะที่รับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับด้านนี้ ก็ขอเรียนว่าทาง รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการปรับปรุงและพัฒนาระบบรางโดยเฉพาะรถไฟรางคู่ ซึ่งจากการที่เราได้ตามข่าวเราก็จะเห็นแล้วว่าตรงนี้เราได้เน้น ไม่ได้เฉพาะภาคใต้ หรือภาคอีสาน เราเน้นทุกภาคที่จะเชื่อมโยงเครือข่ายของรางคู่ วัตถุประสงค์ก็คือจะเอา ของหนักขึ้นรางเอาของเบาลงถนน ส่วนคำถามที่ท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติได้ถามก็จะขอ อนุญาตตอบเป็นขั้นตอน รถไฟรางคู่สายใต้มีทั้งหมด ๒ ระยะ

    อ่านในการประชุม

  • รถไฟรางคู่สายใต้ มีทั้งหมด ๒ ระยะ โครงข่ายของรถไฟปัจจุบันของเราอยู่ ๔,๐๔๔ กิโลเมตร ครอบคลุม ทั้งหมดทั้งประเทศ ๔๗ จังหวัด เรามาโฟกัสที่ทางใต้ ทางใต้ระยะที่ ๑ มีอยู่ ๓ โครงการ โครงการหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง ๘๔ กิโลเมตร อันนี้ก่อสร้างแล้วเสร็จสมบูรณ์ ส่วนที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างก็คือนครปฐม-หัวหิน ๑๖๙ กิโลเมตร ส่วนที่ ๓ ก็คือประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ๑๖๗ กิโลเมตร อันนี้แล้วเสร็จทั้งหมด ๙๐ กว่าเปอร์เซ็นต์ แล้วนะครับ สัญญาของ ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพรแล้วเสร็จไปแล้ว ๙๓.๘ เปอร์เซ็นต์ บางสะพาน-ชุมพร ก็ ๙๗.๑๔ เปอร์เซ็นต์ ระยะที่ ๑ นี้คาดว่าจะเสร็จและเปิดทำการใช้ ประมาณ วันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ ระยะที่ ๒ ส่วนใต้ไปสิ้นสุดที่ปาดังเบซาร์ก็มีอยู่ ๓ ส่วน ส่วนที่ ๑ ก็คือชุมพร-สุราษฎร์ธานี ๑๖๘ กิโลเมตร ส่วนที่ ๒ สุราษฎร์ธานี-ชุมทางหาดใหญ่ สงขลา ส่วนที่ ๓ ชุมทางหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ๔๕ กิโลเมตร อันนี้จะใช้งบประมาณ ของปี ๒๕๖๗ และปี ๒๕๖๘ ที่จะนำเสนอเข้าสู่ ครม. และคาดว่าส่วนที่ ๒ จะแล้วเสร็จ ประมาณปี ๒๕๗๒-๒๕๗๓ โดยใช้งบประมาณปี ๒๕๖๗ และปี ๒๕๖๘ ในการก่อสร้าง ซึ่งปัจจุบันการสำรวจออกแบบเรียบร้อยผ่านประชาคมเรียบร้อยทุกอย่าง วันนี้พร้อมเสนอ ครม. อย่างเดียว ก็จะสำเร็จไปตามที่ผมได้เรียนแจ้งให้ท่านสมาชิกสภาทราบ เบื้องต้น ก็ตามนี้ครับ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • ขอบคุณครับ เรียนท่านประธานสภาที่เคารพและท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติทุกท่านครับ กระผม นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมนะครับ สำหรับคำถามของท่านสมาชิกในเรื่อง ของการเยียวยา คือระหว่างทางรถไฟเราต้องแบ่งพี่น้องประชาชนออกเป็น ๒ กลุ่มนะครับ ๑. คือกลุ่มผู้บุกรุก ๒. คือกลุ่มผู้มีสัญญาเช่าอย่างถูกต้อง ผู้ได้รับผลกระทบที่มีสัญญาเช่า อย่างถูกต้องเราก็จะดำเนินการย้ายแล้วก็มีค่าเยียวยาแล้วก็ให้ทำสัญญาเช่าที่ของ การรถไฟแห่งประเทศไทยในพื้นที่ใหม่ที่ไม่ถูกผลกระทบในการสร้างรางคู่นะครับ

    อ่านในการประชุม

  • ส่วนที่ ๒ ที่เป็นผู้บุกรุกก็แบ่งเป็น ๒ กลุ่มนะครับ กลุ่มที่จะเข้าสู่กระบวนการเราก็ จะจัดหาที่อยู่อาศัยและที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยผ่านคณะกรรมการจังหวัดนะครับ ซึ่งตั้งขึ้นมาโดยท่านผู้ว่าราชการจังหวัดไป ส่วนผู้ที่บุกรุกแล้วไม่เข้าสู่กระบวนการจะขอ เราก็มีค่าเยียวยาเรื่องของการรื้อถอนให้กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่นะครับ ก็เรียนให้ทราบ เบื้องต้น ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ท่านสมาชิกสภาผู้ทรงเกียรติ ผม นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ซึ่งได้รับมอบหมายจากท่านรัฐมนตรีว่าการให้มาตอบ คำถามในฐานะที่ดูแลเกี่ยวกับกรมราง ก็ต้องยอมรับเรื่องของการล่าช้าอย่างที่ท่านสมาชิก ได้พูดว่ามีอยู่ ๒ ส่วน

    อ่านในการประชุม

  • ส่วนแรกก็คือมีการปรับแบบสะพานเพราะเนื่องจากตรวจพบทุ่นระเบิด ในแม่น้ำ ทำให้ต้องปรับสะพานไปเป็นสะพานแขวนก็ทำให้เสียเวลา

    อ่านในการประชุม

  • ส่วนที่ ๒ ก็คือช่วงระหว่างการก่อสร้างมีเรื่องของโควิดมาเกี่ยวข้อง ซึ่งทำให้ ล่าช้าไปประมาณ ๖๐๐-๗๐๐ วัน ประมาณ ๒ ปี ผมได้ศึกษาจากเอกสารกับทางเจ้าหน้าที่ ทั้งหมดนี้ช่วงที่ท่านถามจะได้เปิดใช้ประมาณเดือนเมษายน ปี ๒๕๖๗ ทุกอย่างจะแล้วเสร็จ ในสัญญาที่ ๑ เป็นช่วงของนครปฐมกับคูบัว เดือนเมษายน ๒๕๖๗ จะแล้วเสร็จ ส่วนตั้งแต่ คูบัวจนถึงสถานีหนองปลาไหล เพชรบุรี เดือนมกราคม ปี ๒๕๖๗ ก็จะสามารถเดินรถได้ ส่วนต่อไปก็คือหัวหิน ประจวบคีรีขันธ์ ตอนนี้ก็ถือว่าแล้วเสร็จ เดินรถแล้ว โดยใช้ สัญญาณเดิมของการรถไฟ อันนี้ก็คือการ Update เบื้องต้นนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • ส่วนเรื่องปัญหาที่ท่านได้นำเสนอหลาย ๆ ประเด็นซึ่งไม่ได้อยู่ในคำถามนี้ เดี๋ยวหลังจากปิดสภาแล้วจะขออนุญาตเรียนเชิญท่านสมาชิกสภา ท่าน สส. ที่มี ส่วนเกี่ยวข้อง เรียนเชิญลงพื้นที่ไปดูปัญหาแล้วก็ไปรับฟังปัญหาความเดือดร้อนของ พี่น้องประชาชนด้วยกัน เดี๋ยวผมจะให้ทีมงานนัดหมายลงไปดูด้วยตาแล้วก็ร่วมกัน หาแนวทางแก้ไขปัญหา และรับปากท่านประธานสภาแห่งนี้ว่าจะพยายามเร่งรัดและผลักดัน ให้แล้วเสร็จให้เร็วที่สุด แต่อย่างช้าที่สุดไม่เกินที่ผมได้เรียนให้ท่านสมาชิกผ่านไปทาง ท่านประธานสภาเมื่อสักครู่ว่าจะแล้วเสร็จประมาณมกราคมกับเมษายน ๒๕๖๗ ทุกช่วงก็จะเดินได้ และปัจจุบันนี้เราก็ได้เดินทางคู่เป็นบางช่วงไปแล้ว บางส่วนบางตอน ที่เดินแล้วปลอดภัยโดยใช้สัญญาณเดิมของการรถไฟในการทำงาน ก็เรียนให้ทราบเบื้องต้น ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียน ประธานสภาที่เคารพและท่านสมาชิกสภาผู้ทรงเกียรติ กระผม นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในฐานะที่กำกับดูแลกรมขนส่งทางบก ในฐานะที่เป็น Regulator คนคุมกฎนะครับ เรื่อง ขสมก. ประวัติค่อนข้างจะยาวนะครับ จะขออนุญาต ท่านประธานสภา เอาสไลด์ขึ้นนิดหน่อยเล่าอดีตให้ฟังว่าเป็นมาอย่างไร

    อ่านในการประชุม

  • ก็คือ เริ่มจากเมื่อปี ๒๕๕๘ ได้มีการศึกษาสภาพปัญหาของ ขสมก. ซึ่งมีการให้บริการ แล้วก็มี การขาดทุนสะสม แล้วก็การบริการเสื่อมถอย ก็ได้มีการตั้งการศึกษาดำเนินการก่อนปฏิรูป ขึ้นมาโดยใช้หน่วยงานของ สจร. เป็นผู้ศึกษา โดยนโยบายของคณะกรรมการนโยบาย รัฐวิสาหกิจ คนร. ผลการศึกษาออกมา ปี ๒๕๕๙ มีมติให้ยกเลิกมติ ครม. ที่ให้ ขสมก. เป็น Monopoly เป็นเจ้าเดียวที่มีสิทธิในการเดินรถ ปี ๒๕๖๐ มติ ครม. รับทราบแผนปฏิรูปครับ Pain Point ในหลักการก็คือที่บอกเมื่อสักครู่นี้นะครับ การไม่คล่องตัวของ ขสมก. ซึ่งมา สู่ผลของการปฏิรูปนะครับ ผลของการปฏิรูปก็ได้มีการกำหนดเส้นทางขึ้นมาใหม่ จากเดิม โดยเงื่อนไขก่อนนะครับ ก็ให้ ขสมก. กับรถร่วมเลือกเส้นทางวิ่งก่อน ที่เหลือก็ให้รายใหม่ เข้ามาดำเนินการ รายละเอียดปรากฏตามสไลด์ที่ฉายนะครับ อันนี้คือเป็น Chart ของวิธีการ ดำเนินการที่ผ่านมา คือต้องเรียนท่านประธานสภาผ่านไปยังท่านสมาชิกนะครับ คืออันนี้เป็น สิ่งที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๘ จนถึงปัจจุบัน ปี ๒๕๖๖ ก็จะเห็นอดีตจนถึงปัจจุบัน ปัจจุบันก็ คือวันนี้ ขสมก. ไม่ได้เป็น Monopoly แล้ว แล้วก็มีรถร่วมที่เป็นเอกชนเข้ามาร่วม แล้วก็ที่ เราเห็นก็คือเป็นรถ EV เป็นส่วนใหญ่ ปัจจุบันคำถามที่ท่านสมาชิกถามว่า เส้นทาง การเดินรถ อันนี้เป็นเส้นทางทั้งหมด เส้นทางเดิม ๒๐๒ เส้นทาง โครงข่ายเส้นทางใหม่ ๒๖๙ เส้นทาง เปลี่ยนไปจากเดิมก็ประมาณ ๘๐ เปอร์เซ็นต์หรือมากกว่า ๘๐ เปอร์เซ็นต์ เพราะเนื่องจากการขยายตัวของเมือง แล้วก็รูปแบบต่าง ๆ ที่ตามผลการศึกษานะครับ ที่มาของเลขเส้นทางที่มีขีด จากที่ผม ได้สอบถามและผลการศึกษานี้ การแบ่งเป็น Zone สีน้ำเงิน สีเขียว สีเหลือง ก็ ๑ ๒ ๓ ๔ คณะศึกษาได้ให้เหตุผลนะครับว่า แต่ละ Zone หมายเลข ๑ สีน้ำเงิน ถ้าวิ่งไปไหนสุดท้าย ขากลับจะกลับมาอยู่ที่สีน้ำเงิน ก็คือกลัวพี่น้องประชาชนที่โดยสารหลงทาง แล้วอย่างไรก็ให้ จำว่าเลข ๑ คือสีน้ำเงิน Zone นี้จะต้องกลับมาบริเวณนี้ เลข ๒ ก็กลับมาสีเขียวเหมือนเดิม เลข ๓ ก็กลับมาสีแดงเหมือนเดิม เลข ๔ ก็กลับมาเหมือนเดิม อันนี้ที่มาของเลขหลักของ เส้นทางวิธีคิดของคณะที่ศึกษา และที่ให้ขนส่งนำมาปฏิบัติก็คือหลักการคิดเป็นแบบนี้นะ ครับ ส่วนความไม่เข้าใจ ปัจจุบันนี้ต่อ ๑ วันผู้ใช้บริการรถเมล์ ของ ขสมก. ก็ประมาณ ๑ ล้านคนต่อวัน นี่คิดตัวเลขของปี ๒๕๖๖ ก็แบ่งตามจำนวนรายละเอียดตามเส้นทางของ ผู้ประกอบการ รายละเอียดตามที่ปรากฏอยู่ในสไลด์ครับ

    อ่านในการประชุม

  • ส่วนคำถามของท่านสมาชิกเรื่องของความงงหรือความไม่เข้าใจของพี่น้อง ประชาชนในตัวเลขรหัสในการเดินรถ อันนี้ทางรัฐบาลเองเราก็เข้ามาทีหลัง แต่ก็พยายามจะศึกษา และหาแนวทางแก้ไข ซึ่งวันนี้ถ้าเสียงสะท้อนส่วนใหญ่ออกมาต้องการรูปแบบเป็นอย่างไร เดี๋ยวคงมีคณะกรรมการขนส่งกลาง จริง ๆ ผมได้มอบหมายไปได้ประมาณ ๑-๒ อาทิตย์แล้ว ว่าลองไปดูความเป็นมาเป็นไป ตามสไลด์ที่เห็นว่าที่มาที่ไปของการเริ่มต้น หลักการและวิธีคิด แล้วผลสะท้อนจากที่พี่น้องประชาชนได้สะท้อนกลับมา วันนี้ก็ได้นำมาตอบสมาชิกจนมาหยุด อยู่ตรงที่ว่าจะเปลี่ยนไหม วันนี้ผมยังไม่แน่ใจว่าการเปลี่ยนกลับไปกลับมาจะเป็นผลดี หรือเปล่า หรือแบบเดิมแล้วพยายามทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชน PR ประชาสัมพันธ์ ให้เข้าใจในหลักการ ผมเรียนว่าหลักในการคิดในการแบ่ง Zone ๑ Zone ๒ Zone ๓ Zone ๔ เป็นสี ก็คือให้ความมั่นใจว่าวิ่งไปนอกเส้นทางขนาดไหนสุดท้ายก็กลับมาที่เดิม ในกรณีที่วิ่งนอกเส้นทาง อันนี้เป็นหลักการคิดของคณะศึกษา พอออกสู่ภาคปฏิบัติจริง ผมก็ ยังไม่แน่ใจว่าที่ผ่านมาการ PR ประชาสัมพันธ์ของ Operator ของผู้ประกอบการเพียงพอ หรือเปล่าที่จะให้พี่น้องประชาชนเข้าใจ อันนี้ก็ต้องรับปัญหาจากท่านสมาชิกเอาไปศึกษาอีก สักพักหนึ่งว่าวิธีการที่เหมาะสมจะเดินต่อหรือจะเปลี่ยน ถ้าเราขาดเรื่อง PR ประชาสัมพันธ์ ให้เข้าใจเราก็จะเดินหน้าต่อ แล้วก็เติมเต็มตรงนั้นเข้าไปให้พี่น้องประชาชนเข้าใจ แล้วจะมีการออกแบบสอบถาม มี Questionnaire ไปว่าเข้าใจหรือยัง แล้วก็คงมีทีมลงไป ศึกษารายละเอียดอีกครั้งหนึ่ง คาดว่าไม่เกิน ๙๐ วัน คงได้คำตอบที่ชัดเจนว่าวันนี้เรา PR ประชาสัมพันธ์พอหรือยัง ความที่พี่น้องประชาชนไม่เข้าใจมีกี่เปอร์เซ็นต์ และเราจะสามารถ ทำให้เข้าใจได้โดยวิธีการเปลี่ยนหรือวิธีการทำความเข้าใจ ก็เรียนท่านประธานสภาผ่านไปยัง ท่านสมาชิกที่ถามคำถามครับ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพนะครับ ท่านสมาชิกสภาผู้ทรงเกียรตินะครับ จริง ๆ รัฐบาลไม่ได้ นิ่งนอนใจนะครับ โดยเฉพาะนโยบายของทางท่านนายกรัฐมนตรีไม่ได้นิ่งนอนใจนะครับ โดยเฉพาะนโยบายของท่านนายกรัฐมนตรี ท่านรัฐมนตรีว่าการนะครับ เราได้ให้ความสำคัญ ทั้งระบบแบบบูรณาการ รถเมล์ต่อไปจะเป็นพระเอกในกรุงเทพมหานครที่เป็น EV นะครับ ในการจัด Route การวิ่ง วันนี้อาจจะยังไม่เห็นภาพชัดเจน วันนี้ระบบล้อ ระบบรางจะ สัมพันธ์กันนะครับ ระบบรางที่เป็นไฟฟ้าก็จะเป็นขนส่งแบบ Green ในกรุงเทพมหานคร รถเมล์ EV ก็จะเป็น Feeder ซึ่งกันและกัน ก็จะเป็น Green ในกรุงเทพมหานคร รถ บขส. ก็จะถูกออกนอกเมืองสำหรับวิ่งสายไกล ถ้ารถไฟทางคู่ของเราเสร็จนะครับ ปัจจุบันเรามี ระบบรางทั้งประเทศอยู่ประมาณ ๔,๐๔๔ กิโลเมตร วิ่งผ่าน ๔๑ จังหวัด แต่ถ้าระบบทางคู่ เสร็จ ระบบความเร็วสูงเสร็จ เราจะมีรถไฟวิ่งผ่านอยู่ ๖๑ จังหวัด ซึ่งจะทำให้การบูรณาการ ร่วมกัน เพราะฉะนั้นในกรุงเทพมหานคร จะมีรถหายไปจากท้องถนนก็คือรถ บขส. หลายพัน คัน รถเมล์ก็จะมี Bus Lane ที่ชัดเจนที่จะขนส่งผู้โดยสาร ส่วน Route การวิ่งเราก็ต้อง ปรับปรุงแล้วก็ปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์นะครับ วันนี้รัฐบาลเข้ามาทำงานได้ประมาณ ครึ่งปี วันนี้เราก็พยายามที่จะวางแผนบูรณาการเอาปัญหาเก่า ๆ มาปัดและเอามาเชื่อมต่อ เชื่อมโยงทำให้บูรณาการร่วมกัน เดี๋ยวท่านจะเห็นการเปลี่ยนแปลงของระบบขนส่งของ ประเทศไทย โดยเฉพาะขนส่งสาธารณะ ขนส่งมวลชน แล้วคำถามที่ท่านสมาชิกถามเรื่อง จังหวัดไหนที่จะดันให้มีขนส่งสาธารณะ ถ้าท่านทราบ ถ้าท่านติดตามข่าว ที่ผ่านมาเมื่อต้น เดือนมกราคม ทางขนส่งได้แก้ไขกฎกระทรวงฉบับหนึ่งให้ท้องถิ่นสามารถดูแลพี่น้อง ประชาชน เราได้กระจายอำนาจไปให้ท้องถิ่นสามารถเป็นผู้ประกอบการรายหนึ่งเพื่อบริการ พี่น้องประชาชนร่วมกับ บขส. ร่วมกับ ขสมก. ได้ ขึ้นอยู่กับรูปแบบของท้องถิ่นนั้น ๆ เพราะฉะนั้นอันนี้คือเจตนาดีของรัฐบาลที่ส่งเสริมให้พี่น้องประชาชนเข้าถึงบริการสาธารณะ ก็เรียนให้ท่านสมาชิกผ่านไปยังท่านประธานสภาให้ทราบเบื้องต้นว่ารัฐบาลให้ความสำคัญ และให้ความสนใจกับบริการสาธารณะเหล่านี้เท่าเทียมกันนะครับ แต่วันนี้การเชื่อมโยงแบบ บูรณาการอย่างที่ผมได้เรียนให้ทราบเบื้องต้นเริ่มที่จะเป็นรูปเป็นร่างเป็นรูปธรรม แต่จะ สำเร็จมันก็ต้องสัมพันธ์กับระบบรางตามมา มันต้องอาศัยซึ่งกันและกัน แต่วันนี้จะเห็นว่าการ เปลี่ยนแปลงในกรุงเทพมหานคร แล้วก็ปริมณฑลได้เริ่มต้นขึ้นแล้วในหลาย ๆ ส่วน โดยเฉพาะในส่วนของ บขส. ซึ่งต่อไป บขส. บทบาทจะลดลง เพราะถ้าทางคู่เสร็จและ ความเร็วสูงเสร็จ บทบาท บขส. จะลดลง ก็จะเป็น Feeder ระดับจังหวัด แล้วก็ บขส. จะต้องออกกองทัพออกไปหากินหรือไปทำธุรกิจในต่างประเทศที่ระบบรางยังไม่แข็งแรง วันนี้เราได้ Monitor อยู่ตลอด เราได้ Check สุขภาพของแต่ละองค์กรรัฐวิสาหกิจภายใต้ กระผมแล้วก็กระทรวงคมนาคมและรัฐบาลได้กำกับดูแลนะครับ เราได้เอกซเรย์ได้วางแผน ระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว ไว้ตลอด เพราะวันนี้รูปธรรมต่าง ๆ เริ่มจะเห็นผลแล้ว ก็เรียนให้ทราบนะครับ ส่วนหมายเลข วันนี้ไม่ได้นิ่งนอนใจ แล้วก็ไม่ได้ยืนยันว่าเราทำถูกหรือ ทำผิด อย่างที่ผมเรียนนะครับ เราพร้อมที่จะรับฟังความคิดเห็นทุก ๆ ด้าน อันไหนที่เป็น ประโยชน์สูงสุดสำหรับพี่น้องประชาชนเราก็จะนำไปปฏิบัติและทำ ก็ขอบคุณท่านสมาชิกสภาผู้ทรงเกียรติที่เป็นห่วงเป็นใยพี่น้องประชาชนนะครับ ซึ่งก็ไม่ได้ แตกต่างจากรัฐบาล เราคำนึงถึงพี่น้องประชาชนเสมอนะครับ แล้วก็ใช้ผลประโยชน์ของ พี่น้องประชาชนเป็นที่ตั้งในการดำเนินการทั้งหมดนะครับ เพราะฉะนั้นทั้งระบบล้อ ระบบราง ระบบทางน้ำ ระบบทางอากาศ ทุกอย่างมันเชื่อมโยงกันแบบบูรณาการอยู่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายของรัฐบาลที่จะดึงนักท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศไทย ระบบ การคมนาคมขนส่งก็เป็นหัวใจหลักในการที่จะเคลื่อนย้ายจากผู้โดยสารทั้งคน ทั้งสินค้า อันนี้ก็ฝากเรียนไว้เบื้องต้นเท่านี้ครับ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพครับ ท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติครับ ขอบคุณที่โอนเวลาให้นะครับ จะได้มีเวลา จะได้ตอบนะครับ พ.ร.บ. ตั๋วร่วมก็จะเข้าสู่สภาในเร็ววันนี้ จะเข้า ครม. น่าจะเป็นภายในเดือนนี้ครับ แล้วจะทำร่างแล้วก็เข้าสู่การพิจารณาของสภา พ.ร.บ. ตั๋วร่วม รายละเอียดก็ต้องไปดูกันที่ชั้นของกรรมาธิการว่าจะให้หน้าตาออกมาเป็นอย่างไร ดูแต่ละ ร่างประกบกันนะครับ ส่วนการบูรณาการร่วมของระบบขนส่งก็อย่างที่เรียนวันนี้เราให้ ความสำคัญนะครับ จริง ๆ แล้วกรมขนส่งเก็บภาษีล้อเลื่อนทุกบาททุกสตางค์ที่กรมขนส่ง เก็บให้นะครับ เราได้ส่งกลับไปที่จังหวัดนั้น ๆ ทั่วประเทศทุกบาททุกสตางค์นะครับ เพราะฉะนั้นงบประมาณก็อยู่ที่ท้องถิ่นอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นก็ฝากตรงนี้ไปถึงทาง ท่านนายกและองค์กรที่กำกับองค์กรท้องถิ่นว่าเงินภาษีล้อเลื่อนทั้งหมดที่ทางกรมการขนส่งเก็บ ให้ท่านก็ควรจะนำไปลงทุน แล้วก็บริการพี่น้องประชาชนด้วยระบบขนส่งสาธารณะครับ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียน ท่านประธานสภาที่เคารพ ท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติทุกท่านครับ จากคำถามเรื่องเกี่ยวกับ ที่ดินรถไฟ จริง ๆ แล้วมันเป็นปัญหาที่เรื้อรังหมักหมมมานานแล้ว ผมคลุกคลีกับปัญหานี้ มาตั้งแต่สมัย ปี ๒๕๕๔ ตั้งแต่สมัยผมเป็น สส. ครั้งแรก ก็เรื้อรังมาจนถึงปัจจุบันก็ไม่ได้มี การพัฒนาก้าวหน้าไปเท่าไร ขอเรียนให้ทางท่านประธานผ่านไปยังท่านสมาชิกนะครับ ปัจจุบันการรถไฟแห่งประเทศไทยได้แบ่งธุรกิจที่เป็นธุรกิจเกี่ยวกับการเดินรถ Core Business กับที่เป็น Non-Core ได้ตั้งบริษัทลูกขึ้นมาก็คือ SRT Asset หรือ SRTA เอาไว้ บริหารที่ดินที่ไม่ใช่เป็นเกี่ยวกับการเดินรถ เบื้องต้นภาพใหญ่จะเป็นอย่างนี้นะครับ ส่วนคำถามของท่านสมาชิกเกี่ยวกับเรื่องชุมชนที่อยู่กับรถไฟก็จะแบ่งเป็น ๒ ส่วน ส่วนที่ เป็นพื้นที่ดินที่เป็น Non-Core กับในส่วนของพื้นที่ดินที่ติดกับรางรถไฟ คือ Core Business ปัจจุบันสัดส่วนของรถไฟ มีทั้งหมดซึ่งผมได้ประชุมไปเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา เมื่อวันที่ ๒๐ ได้เข้าไปนั่งฟังแล้วก็พยายามรับทราบปัญหา แบบเจาะลึกแบบเข้าใจ จริง ๆ เรามีอยู่ทั้งหมดประมาณ ๓๐๐ ชุมชน ของรถไฟ ซึ่งกระบวนการต่าง ๆ ได้มีการมาขอ ต่อสัญญา ขอเช่า ปัญหาลึก ๆ จริง ๆ พี่น้องประชาชนที่อาศัยอยู่จริง ๆ แล้วเดือดร้อน แล้วเป็นตัวจริง เรายินดีที่จะสนับสนุนอยู่แล้ว ก็มีบางกลุ่มที่อาศัยว่าสวมสิทธิ สวมชื่อเข้ามา แล้วก็เอาไปปล่อยเช่าต่อ ซึ่งผิดวัตถุประสงค์ อันนี้เราก็ได้มีการกลั่นกรอง ในส่วนของ ที่ท่านสมาชิกได้ให้เกียรติถามมามีอยู่ ๒ ชุมชนที่เกี่ยวข้อง เอาภาพรวมก่อนทั้งหมด ๓๐๐ ชุมชนที่มีปัญหามา เราได้ทำการตรวจสิทธิยืนยันตัวตนในความเป็นปัจจุบัน เสร็จไปแล้ว ๗๕ ชุมชน แล้วหลังจากพิสูจน์สิทธิแล้วเสร็จไปแล้ว ๗๕ ชุมชน เราก็ดำเนินการต่อคือการ ได้ร่วมมือกับ พอช. พอช. ของกรมพัฒนาองค์กรชุมชน ซึ่งมีคณะรัฐมนตรี วราวุธ ดำเนินการ อยู่ในการทำเป็นที่อยู่อาศัยให้ แล้วก็ชุมชนต่าง ๆก็จะทยอยมาในการพิสูจน์สิทธิ ที่ถูกต้อง นี่คือการรักษาผลประโยชน์ให้กับพี่น้องประชาชน ส่วนที่ท่านถามมาตรงนี้ มีเกี่ยวข้องอยู่ ๒ ชุมชน อันนี้ยังไม่เกี่ยวกับการท่าเรือนะครับ คือชุมชนมาชิมกับชุมชน เฉลิมอนุสรณ์ ชุมชนมาชิมมีประมาณ ๑๙๖ ครัวเรือน ชุมชนเฉลิมอนุสรณ์มีประมาณ ๘๕ ครัวเรือน ซึ่งอยู่ระหว่างการพิสูจน์สิทธิ แล้วก็จะดำเนินการร่วมมือกับ พอช. ต่อไป พอช. สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ภายใต้กำกับของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์ เสร็จแล้วหลังจากนั้นก็จะสร้างที่อยู่อาศัย แล้วก็ให้มีการเช่าอย่างถูกต้อง ที่ดินส่วนที่เหลือก็จะเป็นโอนกรรมสิทธิ์ไปที่ SRTA ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๖๓ เพราะฉะนั้นวันนี้ถ้าท่านสมาชิก สังเกตเห็นรถไฟมี Action ในเรื่องของ SRTA ก็คือ ที่เป็น Non-Core ออกมาพัฒนาในเชิงธุรกิจเพื่อหารายได้ให้กับรถไฟไทย ในการที่จะฟื้นฟูสภาพ ส่วนของการท่าเรือ จากที่ได้สอบถามปัญหาของการท่าเรือนี้ก็เป็นลักษณะคล้าย ๆ กับของ รถไฟ ของการท่าเรือนี้มีทั้งหมด ๗ ชุมชน ประมาณ ๓,๒๐๐ ครัวเรือน ซึ่งก็ใช้ระบบเดียวกันว่ามีการสำรวจพิสูจน์สิทธิว่าเป็นตัวตนที่แท้จริงที่อาศัยอยู่ก็จะมี แนวทางให้อยู่ ก็คือเข้าสู่กระบวนการของ พอช. ตามความสมัครใจนะครับ ทางเลือกที่ ๒ ถ้ายังอยากอยู่ในพื้นที่ราบ ทางท่าเรือก็ได้จัดสรรที่ดินไว้ที่เขตมีนบุรี เขตหนองจอก ในการ จัดสรรให้อยู่อาศัยนะครับ ทางเลือกที่ ๓ ที่ทางการท่าเรือได้เตรียมการไว้ก็คือว่า จ่ายชดเชยค่ารื้อถอนคือ Cash Out เอาออกไป ก็คือมีเป็นค่าเยียวยา ค่ารื้อถอน อันนี้เป็น แนวทางคร่าว ๆ ที่ทางเราได้วางแผนไว้ แต่อันนี้ก็ต้องยอมรับว่าปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหา ที่เกิดขึ้นมายาวนาน แล้วก็มีการละเลย วันนี้เราก็เริ่มกระชับพื้นที่จัดหมวดหมู่ให้เกิด ความชัดเจน ใช้ประโยชน์จากพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของ ประเทศชาติและพี่น้องประชาชนเป็นหลักในการดำเนินการควบคู่กันนะครับ ก็ตอบคำถาม ไว้เบื้องต้นครับ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียน ท่านประธานสภาที่เคารพครับ ท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติ เดี๋ยวผมจะขออนุญาตตอบแบบรวม จะให้เห็นภาพบูรณาการของระบบรางทั้งประเทศ แล้วมันจะตอบคำถามเรื่องของการ ใช้พื้นที่ มันจะตอบคำถามเรื่องของการขนส่งตู้สินค้า มันจะตอบคำถามเรื่องของการขนส่ง มวลชนทั้งหมด แล้วปัญหาคำถามเหล่านี้ก็จะถูกตอบด้วยตัวของมันเอง ขออนุญาตเปิดสไลด์ ไม่นานครับ

    อ่านในการประชุม

  • จากสไลด์ ที่ดูนะครับ วันนี้รัฐบาลได้วางแผนให้ระบบรางเป็น Bone ของประเทศเป็นกระดูกสันหลัง ในการขนย้าย ทั้งการโดยสารของมวลชน ทั้งขนส่งของสินค้าไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งจากที่เห็นด้วยมันจะตอบโจทย์ว่าการที่ท่าเรือยังจะเป็นที่ Load สินค้าไหม จากที่เห็น มันก็จะมีรถไฟที่เป็นทางคู่ ซึ่งก็จะบรรทุกมาตั้งแต่แหลมฉบังลงไปทางใต้ก็ไปเชื่อมโยงที่ ประเทศมาเลเซีย ไปข้างบนก็ไปที่อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ ไปที่จังหวัดหนองคาย ไปที่ จังหวัดอุดรธานี ซึ่งด้วยโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้จะเสร็จภายในปี ๒๐๓๐ เพราะฉะนั้น การขนส่งโดยสารลักษณะของการคมนาคมของประเทศจะเปลี่ยนรูปแบบ ซึ่งคำถามที่ท่าน ถามเรื่องว่าจะจัดการอย่างไรกับการท่าเรือ เพราะฉะนั้นอันนี้จะตอบอันหนึ่งว่าการโหลดสินค้า Container ก็คงจะไม่ใช่ใช้ที่นั่นเป็นหลัก อยู่แล้ว ที่นั่นคงพัฒนาเป็นอย่างอื่นด้วยบริษัทลูกของการรถไฟคือ SRTA ส่วนกรรมสิทธิ์ ของผู้เช่า วันนี้นโยบายของการรถไฟก็ค่อนข้างชัดเจนอยู่แล้วว่าเราจะเอาขึ้นมาสู่บนโต๊ะ ให้หมดเอามาเป็นระบบ มีสิทธิเช่าระหว่างการรถไฟกับผู้เช่าโดยตรง เราไม่อยากให้มี การเช่าช่วง เพราะฉะนั้นขั้นตอนที่เราทำมาอยู่ ๗๐ ชุมชนถือว่าละเอียด แล้วถูกตัวถูกตน ไม่มีการเอาเปรียบพี่น้องประชาชนจากคนกลาง เพราะฉะนั้นระบบที่ท่านเห็นทั้งหมด เริ่มจะมีการแล้วเสร็จทั้งหมดภายในปี ๒๐๓๐ วันนี้ตัวอย่างที่จะโชว์ให้เห็นก็คือ กรุงเทพมหานคร-หัวหิน ทางคู่เสร็จแล้ว จากสถานีกรุงเทพอภิวัฒน์ไปเวลาไม่ถึง ๓ ชั่วโมง จากกรุงเทพมหานครไปจังหวัดชุมพรก็ไม่เกิน ๖ ชั่วโมงด้วยระบบรถไฟทางคู่ วันนี้การรถไฟ ยังไม่มีหัวรถจักรกับตู้โดยสารที่เพียงพอ แล้วก็ทันสมัยกับระบบทางคู่ การทำเวลาจึงทำ ได้น้อย ในทางคู่ก็ยังมีรถไฟความเร็วสูงจากกรุงเทพมหานคร-หนองคาย ความกว้างที่ ๑.๔๓ เมตร ซึ่งความเร็ว ๒๕๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งก็จะใช้เป็นระบบขนส่งได้ทั้งคน ได้ทั้งสินค้าที่มีราคาแพง ส่วนทางคู่เป็นรางระบบ ๑ เมตรก็อยู่ไปด้วยกัน ก็จะใช้สำหรับ ขนส่งสินค้าที่เป็น Container ก็จะโหลดจากท่าเรือแหลมฉบัง จาก EEC จากมาบตาพุด เพราะฉะนั้นส่วนของคลองเตยเดี๋ยวผมจะลงไปดูพื้นที่ เดี๋ยวผมจะเรียนเชิญท่านด้วย เรามาช่วยกันหาแนวทางพัฒนาว่ามันจะเหมาะสมกับพื้นที่จริง ๆ อย่างไร ถ้าสังเกตเห็น ระบบรางรถไฟเป็นระบบความเร็วสูงทางคู่และระบบขนส่งมวลชนไฟฟ้าในกรุงเทพมหานคร ต่อไปความหมายก็คือสิ่งที่จะเกิดขึ้นมันก็จะเชื่อมโยงไปถึง บขส. ขสมก. แล้วก็รถบรรทุก ต่อไปของหนักจะถูกขึ้นราง รถบรรทุกจะหายไปจากท้องถนน ความหมายมาถึงใน กรุงเทพมหานครอีก ในกรุงเทพมหานครต่อไปก็จะมีรถ EV ที่เป็นของ ขสมก. จะมีรถแท็กซี่ ที่เป็นไฟฟ้า จะมีรถสามล้อที่เป็นไฟฟ้าที่เป็นบริการขนส่งสาธารณะ รถ บขส. ก็จะไปอยู่ตาม สถานีรถไฟที่ขยาย อย่างเช่น ที่จะเข้า ครม. เร็ว ๆ นี้ ก็มีส่วนต่อขยายของรถไฟฟ้าสายสีแดง สถานีสุดท้ายอยู่ที่มหาวิทยาลัยรังสิต ส่วนอีกอันหนึ่งก็คือตลิ่งชัน-ศาลายา อีกอันหนึ่งก็คือ อยู่ตรงโรงพยาบาลศิริราช เพราะฉะนั้นการขนส่งมวลชนจากต่างจังหวัดมาก็จะมาหยุด อยู่ตรงนั้น รถใหญ่ที่เป็น บขส. หลายพันคันก็จะหายไปจากถนนกรุงเทพมหานคร เพราะฉะนั้นความหมายก็คือปัญหาการจราจร การคับคั่งจะหายไป ปัญหาของ PM2.5 ก็จะหายไป เพราะ ๖๑ เปอร์เซ็นต์ของ PM2.5 ในกรุงเทพมหานครเกิดจากการสันดาป ของเครื่องยนต์ อันนี้เป็นตัวเลขทางวิชาการของกรมควบคุมมลพิษ เราก็ได้ติดตาม Monitor ตลอด เพราะฉะนั้นวิธีการแก้ปัญหาแบบบูรณาการและเชื่อมโยง ทั้งภาคประชาชน ทั้งภาคอุตสาหกรรมการขนส่ง ทั้งภาคของสุขภาพอนามัยของพี่น้องประชาชน ตรงนี้ละครับตอบ โจทย์ประเทศไทยทั้งหมด อันนี้คือสิ่งที่จะเกิดขึ้นและแล้วเสร็จในปี ๒๐๓๐ มันก็จะเป็น การตอบคำถามของหลาย ๆ ท่านที่เคยถามทิ้งไว้ แล้วก็ที่เคยสงสัยว่าลักษณะการขนส่งของ ประเทศไทยต่อไปจะเป็นอย่างไร แล้วเราจะอยู่ตรงไหนของสังคมส่วนนี้ ต่อไปกรุงเทพมหานคร ในฐานะที่เป็นเจ้าของพื้นที่

    อ่านในการประชุม

  • ตั้งแต่หน้า ๑๐๕-๑๑๔ ถ้าระบบการขนส่งมวลชนทางรางที่เป็นไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครสมบูรณ์ ทางรางและ ทางไกลสมบูรณ์ทุกอย่างสมบูรณ์ กฎระเบียบต่าง ๆ บางตัวเราก็สามารถนำมาบังคับใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด อย่างเช่น รถที่มีอายุเท่านี้ก็ไม่ควรเข้าชั้นใน รถที่สันดาปดีเซล ก็ไม่ควรจะเข้าหรือ ๑ บ้าน ควรมีรถกี่คัน อันนี้ก็เป็นคร่าว ๆ นะครับ แต่มันเป็นอำนาจของ ทาง กทม. เพราะเป็นเขตปกครองพิเศษ อันนี้เป็นตัวอย่างคร่าว ๆ ที่ผมนำเรียนท่านประธาน ผ่านไปยังท่านสมาชิกนะครับว่า ปัญหาที่ท่านถามเป็นปัญหาอยู่ ๑ จุด แต่ถ้าภาพรวม ทั้งประเทศต่อไป สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือสิ่งนี้ เพราะฉะนั้นสิ่งที่มันไม่ใช่เป็น Core Business ของการรถไฟเราจะพัฒนา และยินดีที่จะให้ท่านสมาชิกในพื้นที่มีส่วนร่วม เดี๋ยวผมจะลงไป เยี่ยมรับปากจะลงไปเยี่ยม แล้วก็จะมาช่วยกันแสดงความคิดเห็นออกแบบ แล้วก็ให้พี่น้อง ประชาชนเข้าถึงสิทธิที่แท้จริง เช่าให้ถูกต้องหรือมีสิทธิทางเลือกที่คิดว่าตัวเองเหมาะสม คือเราจะเอาผ้าเป็นม้วนไปให้ เราจะไม่โยนเสื้อผ้าสำเร็จรูปไปให้ เราไปช่วยกันออกแบบ ให้กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ ตัวกระทรวงคมนาคมและท่านว่าการ ท่านนายกรัฐมนตรีและ ตัวกระผมเอง ยินดีที่จะไปลงพื้นที่แล้วก็เคียงข้างกับท่านสมาชิกนะครับ เพราะท่านมาจาก การเลือกตั้ง เราไปช่วยกันออกแบบ Design เพื่อพี่น้องประชาชนให้เหมาะสม เบื้องต้น ขอบพระคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียน ท่านประธานที่เคารพและท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติครับ ผม สุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงคมนาคม วันนี้ได้รับมอบหมายจากท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมให้มา ตอบคำถาม และในฐานะที่กำกับดูแลการรถไฟแห่งประเทศไทย ก็อย่างที่ท่านสมาชิกได้กล่าว HIA นี้ก็คือเป็นครั้งแรกของประเทศไทย และเป็นฉบับแรก และเป็นสถานที่แรกที่ทำนะครับ ข้อดีก็คือมันเป็นการสะท้อนการอนุรักษ์ของการหวงแหนมรดกโลก ซึ่งส่วนตัวแล้วเห็นด้วยนะครับ แล้วก็ควรจะเอาตรงนี้เป็น Case Study เป็นตัวอย่าง ในการที่ทุกส่วนที่จะเป็นการก่อสร้าง อันนี้ก็ขอชื่นชมในมิติที่ช่วยกันอนุรักษ์ โดยข้อเท็จจริงแล้วพยายามไปศึกษา เพราะเรื่องนี้ เกิดขึ้นมาเป็นมหากาพย์หลายปี ก็พยายามไปศึกษาหาแนวทางแก้ไข แล้วมันมี Defect อย่างไร มันเกี่ยวข้องอย่างไร ก็มีประชุมกันประมาณ ๓ ครั้ง จริง ๆ แล้ววันนี้ทางรถไฟ

    อ่านในการประชุม

  • ข้อที่ ๑ กระบวนการจัดทำ HIA นี้ จัดทำเกือบแล้วเสร็จแล้ว EIA ผ่าน เรียบร้อยแล้ว ส่วนการนำเสนอเนื่องจากว่าด้วยประสบการณ์ ด้วยเป็นครั้งแรกก็อาจจะมี ติดขัด เดี๋ยวผมจะอธิบายเรื่อง HIA ต่อนะครับ แต่วันนี้จะอธิบายให้ท่านประธานผ่านไปยัง ท่านสมาชิก วันนี้เส้นทางการก่อสร้างรถไฟห่างจากเขตแนวของเมืองมรดกโลก ซึ่งมีประมาณ ๑,๘๐๐ กว่าตารางกิโลเมตร ห่างจากเมือง ๑.๕ กิโลเมตร แล้วก็มีแม่น้ำป่าสักกั้นอยู่ แล้วเส้นทางที่ทำทั้งหมดนี้เป็นเส้นทางของแนวรถไฟเดิม ไม่มีการเวนคืน ไม่มีการขยาย วันนี้ที่ท่านสมาชิกได้พูดถึงก็คือมีความกังวลเรื่องของ Station เรื่องของสถานี ไม่รู้ว่าผมเข้าใจ ถูกหรือเปล่า ผมฟังทางประเด็นท่าน Point ไปลงเรื่องของ Station สถานีที่จะไปเปลี่ยนแปลง หรือจะไปบดบัง หรือจะไปทำให้เมืองเก่าอยุธยานี้ผิดกฎของ UN ของมรดกโลก ซึ่งอันนี้ ข้อแรกอยู่ที่เดิมไม่มีการเวนคืน สร้างบนทางเดิมทั้งหมด

    อ่านในการประชุม

  • ข้อที่ ๒ สถานีอันนี้อยู่ระหว่างที่ให้ HIA นะครับ EIA ผ่านแล้ว ซึ่งก็มี ๔-๕ เส้นทาง ที่ EIA ได้ศึกษา ส่วน HIA ทางรถไฟกับทางกรมการขนส่งทางราง ก็ได้ส่ง บางส่วนที่มันสอดคล้องกับ EIA ให้ ส่วน HIA จะเรียกเอกสารเพิ่มเติมน่าจะอยู่ขั้นตอน การเรียกเพิ่มเติมนิดหน่อย ซึ่งผมก็ได้ให้ไปประชุมหาทางออกร่วมกันว่าจะเป็นอย่างไร

    อ่านในการประชุม

  • วันนี้สิ่งที่ท่านสมาชิกกังวลก็คือเรื่องของการผิดกฎของมรดกโลก การที่จะถูก ถอดถอนออกจากทะเบียนของมรดกโลก ซึ่งอันนี้ผมเห็นด้วยนะครับ แล้วผมก็เป็นคนไทยคนหนึ่ง ที่รู้สึกหวงแหน รู้สึกต้องปกป้อง แต่ขณะเดียวกันเราก็ต้องพัฒนาเรื่องของการเดินทาง การคมนาคมรถไฟความเร็วสูงถือเป็นอันหนึ่งในการขนส่งผู้โดยสารหรือนักท่องเที่ยวเข้าไป ทำให้จุดมรดกโลกได้รับนักท่องเที่ยว เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้เข้าชม อยุธยาไม่มีสนามบิน ไปได้ทางรถไฟกับทางรถยนต์และทางน้ำ ๓ ทาง เพราะฉะนั้นรถไฟผมถือว่าเป็นเส้นเลือดหลัก ที่จะนำนักท่องเที่ยวจากสนามบินทั้งไปทั้งกลับ แล้วอีกอันหนึ่งก็คือการเดินทางระหว่างเมือง ความเร็วสูงถ้าเสร็จจากกรุงเทพอภิวัฒน์-เชียงใหม่ ใช้เวลาประมาณ ๓ ชั่วโมง ๑๐ นาที เพราะฉะนั้นมันจะเป็นเส้นทางการเดินทางที่สำคัญ แล้วตรง Station วันนี้ทั้งเส้น กรุงเทพฯ กับโคราชมันก็จะมีอยู่ ๒ Station ที่เรายังค้างไว้อยู่ ผมมานี่ผมพยายามจะแก้ปัญหา อันที่ ๑ เพื่อรักษามรดกโลกให้คงอยู่ให้ได้ ให้ถูกกฎของ HIA วันนี้อยู่ในขั้นตอน ผมว่าเกือบจบแล้วนะครับ อันที่ ๒ ผมก็อยากให้มี Station ของรถไฟความเร็วสูงที่ไม่ผิดกฎของ HIA อยู่ตรงบริเวณใกล้กับ มรดกโลก แต่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ของบริเวณ ๑,๘๐๐ ตารางกิโลเมตร แล้วบริเวณรอบ ๆ ของ Station จะไม่มีการพัฒนาเป็นเมือง คือถ้าใครได้ติดตามข่าว ผมที่รับผิดชอบขนส่งทางบกนี้ วันนี้ผมได้ออกกฎกระทรวง แก้กฎกระทรวงอันหนึ่งกระจายอำนาจให้กับจังหวัด ให้กับท้องถิ่น เพื่อพัฒนาตัวเอง ผันตัวเองเป็น Feeder เอาคนจากระบบรางเข้าไปสู่ส่วนของเมือง ส่วนของมรดกโลกได้อย่างถูกกฎกติกา แล้วก็ให้มีสิทธิ มีเสียงโดยคณะกรรมการจังหวัด โดยมีท่านผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน แล้วก็จะมีพี่น้องประชาชน คณะกรรมการในจังหวัด เป็นผู้ตัดสินว่าเราควรจะเป็น Feeder ซึ่งกันและกันอย่างไร รถไฟความเร็วสูงมีหน้าที่ลำเลียง ผู้โดยสาร ลำเลียงนักท่องเที่ยวที่มาจาก Airport มาจากทางไหนก็ดี จากกรุงเทพฯ จากส่วนกลาง เข้าไปตรงนั้น หลังจากตรงนั้นที่การพัฒนาก็ขึ้นอยู่กับจังหวัดว่า จังหวัดจะออกแบบในการขนส่ง สาธารณะระหว่างสถานีไปที่ในจังหวัดอย่างไร ก็ตอบให้เบื้องต้นนะครับ แล้วก็มีตัวอย่าง ต่างประเทศที่เป็นของ HIA เหมือนกัน อย่างที่ญี่ปุ่น แต่ว่าเขาขึ้นก่อน รถไฟมาสร้างทีหลัง ก็อยู่ด้วยกันได้ ก็ห่างกันประมาณนี้ อยู่ที่ Cologne ก็มีตัวอย่างมหาวิหารกับระบบ HIA เหมือนกันกับรถไฟ ซึ่งระยะก็ห่าง ๑ กิโลเมตร ก็อยู่ด้วยกันได้ แต่ว่าเขาก็ขึ้นทะเบียนก่อน รถไฟมาทีหลัง แต่ของเราถ้าเป็นรถไฟจริง ๆ ธรรมดาอยุธยาเกิดก่อน แต่มรดกโลกเราขึ้นทีหลัง แต่หากรถไฟเราสร้างก่อน แต่วันนี้ด้วยปัญหาที่มันเกิดขึ้น ผมก็พยายามจะประนีประนอมทุก ฝ่าย แต่ First Priority ก็หวงแหนมรดกโลกนะครับ ก็คืออยุธยา แต่อันนี้ก็ต้องพยายามจะต้อง ให้มีการขนส่งที่สะดวกเกิดขึ้น และวันนี้ทั้งสายเหลืออยู่ ๒ สถานี คือผมไม่อยากให้แค่รถไฟ ความเร็วสูงวิ่งผ่านแล้วไม่มี Station นะครับ ผมก็พยายามจะให้ทางการรถไฟออกแบบ Station ที่กระทบต่อสายตา กระทบต่อกฎของ UN ให้น้อยที่สุด แล้วผมก็อยากให้มี Station ตรงนั้น บางมิติเราช่วยกันแก้ปัญหานี้ แล้วผลประโยชน์ทางอ้อมมิติอื่น ๆ ทั้งทางตรง ทางอ้อม มันจะทำให้การเจริญกระจายตัวสู่จังหวัด

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานผ่านไปยังท่านสมาชิกนะครับ ถ้ามีข้อคิดเห็นหรือมี คำแนะนำ ทางผมยินดีที่จะรับฟังแล้วก็ช่วยกันนะครับ ผมมีหน้าที่กำกับให้รถไฟผ่านตรงนั้น แล้วก็ Station ผมพยายามสร้างให้ไปลด Size ให้ดีที่สุด กระทบกับทัศนวิสัยวิวระดับสายตา ให้น้อยที่สุด และคงความเป็นเหมือนเดิมให้มากที่สุดที่มีอยู่ แต่สามารถส่งผู้โดยสารได้ ส่วนความกังวลในคำถามที่ว่าการพัฒนาตรงนั้นจะเป็นอย่างไร วันนี้ผมได้บอกแล้วว่า ผมได้กระจายอำนาจไปให้ท้องถิ่นแล้ว ท้องถิ่นก็ไปช่วยกันออกแบบในการที่จะพัฒนา ด้านการขนส่งจากสถานีรถไฟเข้าเมือง ก็ได้ตอบไปหลาย ๆ จังหวัด ก็เป็นลักษณะอย่างนี้ ขอเรียนเบื้องต้นเท่านี้ครับ ขอบพระคุณท่านประธานครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียน ท่านประธานที่เคารพ ท่านสมาชิกครับ เอาข้อ ๓ ก่อนเรื่องทัวร์ศูนย์เหรียญหรือเรื่องของทุนจีน วันนี้ทัวร์ศูนย์เหรียญไม่มีนะครับ ถ้าจะมีก็มีมาก่อนแล้วนะครับ ไม่ได้มี Project รถไฟความเร็วสูงหรอกครับ แล้วก็มีหน่วยงานที่รับผิดชอบอยู่แล้ว ส่วนเรื่องของทุนจีนวันนี้ การก่อสร้างทั้งหมด ๙๙ เปอร์เซ็นต์ ก็ใช้วัสดุ ใช้แรงงาน ใช้อะไรของคนไทยทั้งหมด มีบางตัว นิดหน่อยเท่านั้นเองที่เป็นเทคโนโลยีที่เราต้องอาศัยจีน อันนี้ก็ต้องบอกนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • ส่วนเรื่องของการเยียวยาเราไม่ได้มีการเวนคืนแม้แต่ตารางนิ้วเดียว เพราะฉะนั้นเรื่องของการชดเชยค่าเวนคืนเรื่องของอันนี้มันก็ไม่มีอยู่แล้ว เพราะเราไม่ได้ เวนคืน ส่วนเรื่องของการเยียวยาระบบขนส่งสาธารณะที่อยู่รอบ ๆ ผมก็บอกแล้ว ผมได้กระจาย อำนาจไปให้กับจังหวัดแล้ว โดยวันนี้ อบจ. มีหน้าที่ที่จะเป็น Operator แล้วก็หารถร่วมมาวิ่ง สามารถเข้าไปบริหารจัดการได้ คือวันนี้ท่านจัดการตัวท่านเองได้เลย ไม่ต้องรอจากส่วนกลาง แล้วภาษีล้อเลื่อนที่ ขบ. ขนส่งทางบกเก็บทั้งหมดทุกบาททุกสตางค์ ก็นำส่งกลับไปที่ อบจ. หมดแล้ว เพราะฉะนั้นอันนี้ท่านสามารถใช้งบประมาณก้อนนี้ได้ แล้วท้องถิ่นแต่ละท้องถิ่น สามารถใช้เงินอุดหนุนของตัวเอง เงินอุดหนุนทั่วไปสามารถมาใช้พัฒนาระบบขนส่งได้ ท้องที่ไหนที่อยู่ในเขตอุทยานที่ใช้ประโยชน์จากตรงนั้น ก็สามารถที่จะอุดหนุนภาษี อุดหนุน เรื่องของระบบขนส่งได้ หรือถ้าไม่มีท่านก็สามารถใช้อำนาจหน้าที่ตัวนั้นไปหารถร่วมบริการ แล้วก็ Profit Sharing กับผู้ร่วมบริการ แล้วก็ให้นักท่องเที่ยวให้จังหวัดได้ประโยชน์สูงสุดได้ ผมว่าปัญหาพวกนี้ ๒-๓ ข้อนี้ ไม่มีประเด็นเลยนะครับ แต่ประเด็นที่หนัก ๆ ก็คือวันนี้เรามา แก้ปัญหาของ UN แต่ถ้าวันนี้จะประกาศ เรามาเอาศิลปากรมาเกี่ยวอีก Shot หนึ่ง ว่าจะประกาศเพิ่ม ซึ่งยังไม่ได้ประกาศ วันนี้ผมยืนยันว่ามันอยู่ร่วมกันได้ เพราะเรา จะไม่ได้ขยายสถานี ไม่ได้ขยายให้มันมีผลกระทบ ทั้งของกรมศิลปากร จริง ๆ ของ UN นี้ กรมศิลปากรต้องประกาศก่อนแล้วถึงไปขึ้นกับ UN ได้ แต่วันนี้เรามาคุยประเด็นของ UN ว่าจะผิด HIA แต่วันนี้อย่าเพิ่งขยายไปกรมศิลปากรครับ กรมศิลปากรประกาศก็ประกาศได้ แต่ทำอย่างไรให้อยู่ร่วมกันได้ ต้องยอมให้ความเจริญเข้าครับ ฝากท่านประธานไปยังท่านสมาชิก วันนี้ต้องมองหลายมิติ ทั้งการอนุรักษ์และการพัฒนาที่อยู่ร่วมกันได้แบบยั่งยืน ขอบคุณ ท่านประธานครับ

    อ่านในการประชุม