ไม่เห็นชอบครับ
ท่านประธานครับ ผม อนนต์ สิริแสงทักษิณ สมาชิกหมายเลข ๒๓๐ ครับ เมื่อสักครู่นี้ครับสมาชิกได้อภิปรายซึ่งไม่ได้เข้าในหัวข้อของ เรื่องที่เรากำลังอภิปรายกันอยู่นะครับ ผมคิดว่าไม่อยากให้ออกนอกกรอบของหัวข้อที่เรา อภิปรายครับ ขอบพระคุณครับ
ท่านประธานครับ ผม อนนต์ สิริแสงทักษิณ สมาชิกหมายเลข ๒๓๐ ครับ เมื่อสักครู่นี้ครับสมาชิกได้อภิปรายซึ่งไม่ได้เข้าในหัวข้อของ เรื่องที่เรากำลังอภิปรายกันอยู่นะครับ ผมคิดว่าไม่อยากให้ออกนอกกรอบของหัวข้อที่เรา อภิปรายครับ ขอบพระคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม อนนต์ สิริแสงทักษิณ สมาชิกหมายเลข ๒๓๐ จะขออภิปรายสนับสนุนข้อเสนอของทาง คณะกรรมาธิการเสียงข้างมากนะครับ ผมจะขออนุญาตให้ข้อมูลเพิ่มเติม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความเข้าใจที่ถูกต้องนะครับว่าระบบสัมปทานหรือว่าระบบแบ่งปันผลผลิตนั้นมีสาระสำคัญ อย่างไร ผมคิดว่าทั้ง ๒ ระบบนี้เราต้องเข้าใจเสียก่อนนะครับว่าเราออกแบบมาเพื่อ บริหารจัดการทรัพยากรปิโตรเลียม เพราะฉะนั้นวัตถุประสงค์ทั่วโลกจะเหมือนกันหมดก็คือ เพื่อส่งเสริมการลงทุนแล้วก็เพื่อแบ่งปันผลประโยชน์ให้เป็นธรรม แล้วก็มีการพัฒนา ปิโตรเลียมเพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศ และที่สำคัญที่สุดระบบที่เราออกแบบนั้นจะต้อง สามารถแข่งขันได้ เพราะฉะนั้นระบบของโลกจึงมีแค่ ๒ ระบบเท่านั้นเอง คือสัมปทานกับ แบ่งปันผลผลิต เราพูดคุยกันเหลือเกินนะครับว่าทรัพยากรใต้ดินอันนั้น ใครเป็นกรรมสิทธิ์กันแน่ ผมคิดว่าในเรื่องกรรมสิทธิ์นั้นมันมีความชัดเจนนะครับว่าเราเอง ถ้าเราดูระบบสัมปทานเราดูที่การเอากำไรมาเป็นรูปของตัวเงินไม่ได้เอามาเป็นของ ระบบผลผลิตนั้นเขาเอามาเป็นของ เพราะฉะนั้นกรรมสิทธิ์มีทั้งคู่ในทรัพยากรนั้น โดยกำไรนั้น จะแบ่งในรูปของอะไรเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้นอันนี้ก็คือไม่แตกต่างกัน สำหรับในเรื่องของ ระบบทั้ง ๒ ระบบนี้ทั่วโลกมีการใช้พอ ๆ กัน แล้วก็มีการพิจารณาปรับเปลี่ยนกัน แล้วแต่เงื่อนไขภาวะโอกาสต่าง ๆ และศักยภาพ ผมยังมีความเชื่อมั่นกับระบบสัมปทาน ซึ่งมันมีวิวัฒนาการมาตั้งแต่ไทยแลนด์วัน วันนี้เป็นไทยแลนด์ทรีพลัส ซึ่งผมคิดว่าใช้เวลา ยาวนานมันไม่ได้หยุดนิ่งอยู่กับที่ แล้วก็มีวิวัฒนาการต่อเนื่องจนกระทั่งสามารถปรับใช้กับ ศักยภาพทั้งขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ได้ มีระบบแบ่งปันผลประโยชน์ในรูปพิเศษซึ่งสามารถที่จะ จัดแบ่งกำไรให้กับรัฐมากหรือน้อยแล้วแต่ศักยภาพของแหล่ง เพราะฉะนั้นในช่วงเวลา ที่ผ่านมานั้นเราคิดว่าเราสามารถที่จะเข้าใจ แล้วก็เห็นว่าระบบสัมปทานที่เรากำลังนำมาใช้อยู่นั้น มีความน่าเชื่อถือเพียงพอ เพราะฉะนั้นผมคิดว่าเราไม่ควรที่จะมาพิจารณาลองของใหม่ ผมคิดว่าสิ่งที่เราค้นคว้าวิจัยมามันเป็นเรื่องของการนำมาเทียบเคียงของประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งระบบของเขาเองนั้นต้องดูเงื่อนไข โดยเฉพาะอย่างยิ่งศักยภาพนั้นมันไม่เหมือนกับบ้านเรา สิ่งที่เราพูดคุยกันมากนะครับว่าแล้วปิโตรเลียมในบ้านเรานั้นมันอยู่ในจุดวิกฤติหรือไม่ อย่างไร ผมอยากจะให้ข้อมูลนะครับว่าเมื่อเปรียบเทียบแล้วในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถ้าเปรียบเทียบศักยภาพของแหล่งปิโตรเลียมในไทยนั้นของเราต่ำที่สุด มีการพัฒนามาแล้ว แล้วก็ใช้ประโยชน์ไปแล้วถึง ๙๐ เปอร์เซ็นต์ เพราะฉะนั้นที่เหลืออีกไม่ถึง ๑๐ เปอร์เซ็นต์ เป็นเรื่องที่เรากำลังค้นหากัน เพราะฉะนั้นมันเป็นแหล่งที่มาร์จินอล (Marginal) มากนะครับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม อนนต์ สิริแสงทักษิณ สมาชิกหมายเลข ๒๓๐ จะขออภิปรายสนับสนุนข้อเสนอของทาง คณะกรรมาธิการเสียงข้างมากนะครับ ผมจะขออนุญาตให้ข้อมูลเพิ่มเติม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความเข้าใจที่ถูกต้องนะครับว่าระบบสัมปทานหรือว่าระบบแบ่งปันผลผลิตนั้นมีสาระสำคัญ อย่างไร ผมคิดว่าทั้ง ๒ ระบบนี้เราต้องเข้าใจเสียก่อนนะครับว่าเราออกแบบมาเพื่อ บริหารจัดการทรัพยากรปิโตรเลียม เพราะฉะนั้นวัตถุประสงค์ทั่วโลกจะเหมือนกันหมดก็คือ เพื่อส่งเสริมการลงทุนแล้วก็เพื่อแบ่งปันผลประโยชน์ให้เป็นธรรม แล้วก็มีการพัฒนา ปิโตรเลียมเพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศ และที่สำคัญที่สุดระบบที่เราออกแบบนั้นจะต้อง สามารถแข่งขันได้ เพราะฉะนั้นระบบของโลกจึงมีแค่ ๒ ระบบเท่านั้นเอง คือสัมปทานกับ แบ่งปันผลผลิต เราพูดคุยกันเหลือเกินนะครับว่าทรัพยากรใต้ดินอันนั้น ใครเป็นกรรมสิทธิ์กันแน่ ผมคิดว่าในเรื่องกรรมสิทธิ์นั้นมันมีความชัดเจนนะครับว่าเราเอง ถ้าเราดูระบบสัมปทานเราดูที่การเอากำไรมาเป็นรูปของตัวเงินไม่ได้เอามาเป็นของ ระบบผลผลิตนั้นเขาเอามาเป็นของ เพราะฉะนั้นกรรมสิทธิ์มีทั้งคู่ในทรัพยากรนั้น โดยกำไรนั้น จะแบ่งในรูปของอะไรเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้นอันนี้ก็คือไม่แตกต่างกัน สำหรับในเรื่องของ ระบบทั้ง ๒ ระบบนี้ทั่วโลกมีการใช้พอ ๆ กัน แล้วก็มีการพิจารณาปรับเปลี่ยนกัน แล้วแต่เงื่อนไขภาวะโอกาสต่าง ๆ และศักยภาพ ผมยังมีความเชื่อมั่นกับระบบสัมปทาน ซึ่งมันมีวิวัฒนาการมาตั้งแต่ไทยแลนด์วัน วันนี้เป็นไทยแลนด์ทรีพลัส ซึ่งผมคิดว่าใช้เวลา ยาวนานมันไม่ได้หยุดนิ่งอยู่กับที่ แล้วก็มีวิวัฒนาการต่อเนื่องจนกระทั่งสามารถปรับใช้กับ ศักยภาพทั้งขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ได้ มีระบบแบ่งปันผลประโยชน์ในรูปพิเศษซึ่งสามารถที่จะ จัดแบ่งกำไรให้กับรัฐมากหรือน้อยแล้วแต่ศักยภาพของแหล่ง เพราะฉะนั้นในช่วงเวลา ที่ผ่านมานั้นเราคิดว่าเราสามารถที่จะเข้าใจ แล้วก็เห็นว่าระบบสัมปทานที่เรากำลังนำมาใช้อยู่นั้น มีความน่าเชื่อถือเพียงพอ เพราะฉะนั้นผมคิดว่าเราไม่ควรที่จะมาพิจารณาลองของใหม่ ผมคิดว่าสิ่งที่เราค้นคว้าวิจัยมามันเป็นเรื่องของการนำมาเทียบเคียงของประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งระบบของเขาเองนั้นต้องดูเงื่อนไข โดยเฉพาะอย่างยิ่งศักยภาพนั้นมันไม่เหมือนกับบ้านเรา สิ่งที่เราพูดคุยกันมากนะครับว่าแล้วปิโตรเลียมในบ้านเรานั้นมันอยู่ในจุดวิกฤติหรือไม่ อย่างไร ผมอยากจะให้ข้อมูลนะครับว่าเมื่อเปรียบเทียบแล้วในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถ้าเปรียบเทียบศักยภาพของแหล่งปิโตรเลียมในไทยนั้นของเราต่ำที่สุด มีการพัฒนามาแล้ว แล้วก็ใช้ประโยชน์ไปแล้วถึง ๙๐ เปอร์เซ็นต์ เพราะฉะนั้นที่เหลืออีกไม่ถึง ๑๐ เปอร์เซ็นต์ เป็นเรื่องที่เรากำลังค้นหากัน เพราะฉะนั้นมันเป็นแหล่งที่มาร์จินอล (Marginal) มากนะครับ
สำหรับตัวเลขวิกฤติหรือไม่ อย่างไร เรานั้นเพิ่มปริมาณสำรองน้อยกว่า ที่เราใช้ไป แต่ละปีเราเพิ่มได้แค่ ๒๐ เปอร์เซ็นต์ แต่เราใช้ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ เพราะฉะนั้น แน่นอนปริมาณสำรองของเรานั้นอยู่ภาวะถดถอย ไม่ต้องประมาณการก็ได้ว่าอีก ๑๐ ปี ข้างหน้าเราคงจะเห็นภาพนะครับว่าสำรองของเรานั้นอยู่ในช่วงวิกฤติหรือไม่ อย่างไร ผมอยากจะถือโอกาสนี้ให้ความเห็นต่อข้อกังวลของนักวิชาการแล้วก็ภาคประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งมองในเรื่องของกรรมสิทธิ์ว่าจะตกเป็นของผู้รับสัมปทานข้างเดียว ซึ่งผมได้เรียนแล้วว่ามันเป็นเรื่องของการรับรู้กำไรในรูปของเงินหรือว่าในรูปของของ ส่วนที่เราบอกว่าถ้าเป็นแบ่งปันผลผลิตนั้นเราสามารถเอาของมาขายได้เอง ซึ่งจริง ๆ แล้ว เรามีตัวอย่างนะครับ ไม่ว่าจะเป็นสหภาพเมียนมาร์เอง หรือว่าพื้นที่ร่วมไทย-มาเลเซีย ซึ่งเป็นระบบแบ่งปันผลผลิตนะครับ ของที่ได้จากการผลิตร่วมกันนั้นก็ออกมาจำหน่าย ในราคาตลาดเช่นกัน แล้วก็ประชาชนเขาก็ซื้อของเหล่านี้ในราคาตลาดเช่นกัน ไม่มีความแตกต่างนะครับ ไม่ว่าจะเป็นระบบสัมปทานหรือระบบแบ่งปันผลผลิต
สำหรับตัวเลขวิกฤติหรือไม่ อย่างไร เรานั้นเพิ่มปริมาณสำรองน้อยกว่า ที่เราใช้ไป แต่ละปีเราเพิ่มได้แค่ ๒๐ เปอร์เซ็นต์ แต่เราใช้ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ เพราะฉะนั้น แน่นอนปริมาณสำรองของเรานั้นอยู่ภาวะถดถอย ไม่ต้องประมาณการก็ได้ว่าอีก ๑๐ ปี ข้างหน้าเราคงจะเห็นภาพนะครับว่าสำรองของเรานั้นอยู่ในช่วงวิกฤติหรือไม่ อย่างไร ผมอยากจะถือโอกาสนี้ให้ความเห็นต่อข้อกังวลของนักวิชาการแล้วก็ภาคประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งมองในเรื่องของกรรมสิทธิ์ว่าจะตกเป็นของผู้รับสัมปทานข้างเดียว ซึ่งผมได้เรียนแล้วว่ามันเป็นเรื่องของการรับรู้กำไรในรูปของเงินหรือว่าในรูปของของ ส่วนที่เราบอกว่าถ้าเป็นแบ่งปันผลผลิตนั้นเราสามารถเอาของมาขายได้เอง ซึ่งจริง ๆ แล้ว เรามีตัวอย่างนะครับ ไม่ว่าจะเป็นสหภาพเมียนมาร์เอง หรือว่าพื้นที่ร่วมไทย-มาเลเซีย ซึ่งเป็นระบบแบ่งปันผลผลิตนะครับ ของที่ได้จากการผลิตร่วมกันนั้นก็ออกมาจำหน่าย ในราคาตลาดเช่นกัน แล้วก็ประชาชนเขาก็ซื้อของเหล่านี้ในราคาตลาดเช่นกัน ไม่มีความแตกต่างนะครับ ไม่ว่าจะเป็นระบบสัมปทานหรือระบบแบ่งปันผลผลิต
ประเด็นในเรื่องข้อผูกพัน ๓๙ ปี ก็ไม่จริงนะครับ เพราะว่ามันแบ่งเป็น ช่วง ๆ นะครับ โดยปกติระยะเวลาสำรวจเราจะแบ่งอยู่ในช่วง ๕-๗ ปี ระยะแรก เป็นเรื่องของการสำรวจที่เราเรียกว่าสำรวจโดยใช้คลื่นสั่นสะเทือน หรือว่าไซสมิก (Seismic) ระยะที่ ๒ เป็นเรื่องการเจาะหลุมสำรวจ ระยะที่ ๓ เป็นการเจาะหลุมประเมิน ทั้งหมดจะใช้ ระยะเวลา ๗ ปีก่อนที่เราจะพิสูจน์ว่ามันพร้อมที่จะพัฒนาในเชิงพาณิชย์หรือไม่ เพราะฉะนั้น อันนี้เองบอกว่าถ้าเราให้สัมปทานครั้งนี้มันจะต้องผูกพันยาว ๓๙ ปีนั้นไม่จริงนะครับ แต่ช่วงสำรวจที่เราคุย ๆ กันนั้นว่าจะใช้เงินแค่ล้านหนึ่งนี่ ถ้าใน ๗ ปี ถึงการเจาะหลุม ประเมิน ผมว่าจะใช้เงินไม่ต่ำกว่า ๕๐ ล้านเหรียญสหรัฐ เพราะฉะนั้นอันนี้ต้องคิดให้ดีว่า ประเทศไทยพร้อมที่จะเข้ามาเสี่ยงในเรื่องของการดำเนินการสำรวจอันนี้หรือไม่ อย่างไร ในเรื่องของการกำหนดบทบาทรัฐเข้ามามีส่วนควบคุมอย่างใกล้ชิดในระบบแบ่งปัน ผลผลิตอันนี้ อันนี้ผมว่ากำลังจะกลับทางกับที่เราคุยกันในเรื่องของบทบาทของรัฐ ในร่างรัฐธรรมนูญใหม่ เราคิดว่าอยากจะให้รัฐลงไปดำเนินการในเรื่องของการปฏิบัติการ ในเรื่องการพัฒนาแหล่งผลิตนี้อย่างใกล้ชิดหรือไม่ เพราะว่าเป็นการสวนทางกับระบบที่เรา กำลังหารือกันนะครับ
ประเด็นในเรื่องข้อผูกพัน ๓๙ ปี ก็ไม่จริงนะครับ เพราะว่ามันแบ่งเป็น ช่วง ๆ นะครับ โดยปกติระยะเวลาสำรวจเราจะแบ่งอยู่ในช่วง ๕-๗ ปี ระยะแรก เป็นเรื่องของการสำรวจที่เราเรียกว่าสำรวจโดยใช้คลื่นสั่นสะเทือน หรือว่าไซสมิก (Seismic) ระยะที่ ๒ เป็นเรื่องการเจาะหลุมสำรวจ ระยะที่ ๓ เป็นการเจาะหลุมประเมิน ทั้งหมดจะใช้ ระยะเวลา ๗ ปีก่อนที่เราจะพิสูจน์ว่ามันพร้อมที่จะพัฒนาในเชิงพาณิชย์หรือไม่ เพราะฉะนั้น อันนี้เองบอกว่าถ้าเราให้สัมปทานครั้งนี้มันจะต้องผูกพันยาว ๓๙ ปีนั้นไม่จริงนะครับ แต่ช่วงสำรวจที่เราคุย ๆ กันนั้นว่าจะใช้เงินแค่ล้านหนึ่งนี่ ถ้าใน ๗ ปี ถึงการเจาะหลุม ประเมิน ผมว่าจะใช้เงินไม่ต่ำกว่า ๕๐ ล้านเหรียญสหรัฐ เพราะฉะนั้นอันนี้ต้องคิดให้ดีว่า ประเทศไทยพร้อมที่จะเข้ามาเสี่ยงในเรื่องของการดำเนินการสำรวจอันนี้หรือไม่ อย่างไร ในเรื่องของการกำหนดบทบาทรัฐเข้ามามีส่วนควบคุมอย่างใกล้ชิดในระบบแบ่งปัน ผลผลิตอันนี้ อันนี้ผมว่ากำลังจะกลับทางกับที่เราคุยกันในเรื่องของบทบาทของรัฐ ในร่างรัฐธรรมนูญใหม่ เราคิดว่าอยากจะให้รัฐลงไปดำเนินการในเรื่องของการปฏิบัติการ ในเรื่องการพัฒนาแหล่งผลิตนี้อย่างใกล้ชิดหรือไม่ เพราะว่าเป็นการสวนทางกับระบบที่เรา กำลังหารือกันนะครับ
เรื่องสุดท้าย เป็นเรื่องอำนาจต่อรองที่เราพูดถึงว่าเราไม่มีข้อมูล เพราะฉะนั้น รัฐจะต้องไปสำรวจก่อนเพื่อหาข้อมูลมาจะได้มีอำนาจต่อรองเจรจา ซึ่งผมคิดว่าวันนี้ ฐานข้อมูลของทางกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงานเขามีการสำรวจมาแล้ว เปิดไปถึงรอบที่ ๒๐ เพราะฉะนั้นฐานข้อมูลเรามีเพียงพอทั้งหมด โดยสรุปแล้วนะครับ ด้วยเหตุผลข้างต้นนี่ผมยังมีความเชื่อมั่นว่าระบบสัมปทานมีการพัฒนาต่อเนื่อง มาเป็นระยะเวลากว่า ๔๐ ปี เพราะฉะนั้นมันน่าที่จะเป็นระบบที่เราเชื่อถือได้นะครับ แล้วก็ไม่อยากจะให้ไปเสี่ยงกับระบบใหม่ ผมได้ประเมินแล้วว่าถ้าเราหยุดชะงัก แล้วรอให้มีการพัฒนาระบบใหม่ขึ้นมา ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจะต้องมีการนำแก๊สแอลเอ็นจี เข้ามามูลค่าไม่ต่ำกว่า ๕๐๐,๐๐๐ ล้านบาท อันนี้ก็คือผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ไม่ใช่เป็นเรื่องของ การเขียนเสือให้วัวกลัวนะครับ มันเป็นเรื่องของการที่ถ้าเราไม่เห็นโลงเราไม่หลั่งน้ำตา ขอบพระคุณครับ
เรื่องสุดท้าย เป็นเรื่องอำนาจต่อรองที่เราพูดถึงว่าเราไม่มีข้อมูล เพราะฉะนั้น รัฐจะต้องไปสำรวจก่อนเพื่อหาข้อมูลมาจะได้มีอำนาจต่อรองเจรจา ซึ่งผมคิดว่าวันนี้ ฐานข้อมูลของทางกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงานเขามีการสำรวจมาแล้ว เปิดไปถึงรอบที่ ๒๐ เพราะฉะนั้นฐานข้อมูลเรามีเพียงพอทั้งหมด โดยสรุปแล้วนะครับ ด้วยเหตุผลข้างต้นนี่ผมยังมีความเชื่อมั่นว่าระบบสัมปทานมีการพัฒนาต่อเนื่อง มาเป็นระยะเวลากว่า ๔๐ ปี เพราะฉะนั้นมันน่าที่จะเป็นระบบที่เราเชื่อถือได้นะครับ แล้วก็ไม่อยากจะให้ไปเสี่ยงกับระบบใหม่ ผมได้ประเมินแล้วว่าถ้าเราหยุดชะงัก แล้วรอให้มีการพัฒนาระบบใหม่ขึ้นมา ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจะต้องมีการนำแก๊สแอลเอ็นจี เข้ามามูลค่าไม่ต่ำกว่า ๕๐๐,๐๐๐ ล้านบาท อันนี้ก็คือผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ไม่ใช่เป็นเรื่องของ การเขียนเสือให้วัวกลัวนะครับ มันเป็นเรื่องของการที่ถ้าเราไม่เห็นโลงเราไม่หลั่งน้ำตา ขอบพระคุณครับ