เรียนท่านประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ผม สุวัฒน์ วิริยพงษ์สุกิจ ครับ เพื่อใช้เวลาให้มีคุณค่ามากที่สุด ผมคงไม่อภิปรายในประเด็นที่ ซ้ำซ้อนนะครับ
เรียนท่านประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ผม สุวัฒน์ วิริยพงษ์สุกิจ ครับ เพื่อใช้เวลาให้มีคุณค่ามากที่สุด ผมคงไม่อภิปรายในประเด็นที่ ซ้ำซ้อนนะครับ
ประเด็นแรกครับ ก็พยายามเข้าใจนะครับแล้วก็เห็นใจส่วนพวกเราที่เป็น สมาชิกทั้งหมด รวมถึงกรรมาธิการ ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงาน แล้วก็อนุกรรมาธิการรับฟังการมีส่วนร่วม ผมคิดว่าเราช่วยกันนะครับ ช่วยกันเติมเต็ม ต้องเรียนว่ากรรมาธิการปฏิรูปพลังงาน ก็พยายามเชิญเอาบุคคลหลายภาคส่วนได้เข้ามาให้ความเห็น ประสบการณ์ต่าง ๆ นะครับ และกรรมาธิการวิสามัญการมีส่วนร่วมก็ไปจัดเวทีภาคประชาชน ภาควิชาการ ผมได้รับ เอกสารจากกรรมาธิการช่วงประมาณเที่ยงคืน ๒๔ นาที เมื่อคืนนี้ก็เลยต้องอ่านอีกประมาณ ๒ ชั่วโมง อ่านทุกหน้า ผมก็พยายามพับนะครับ เดี๋ยวถ้ามีเวลาก็ค่อยไปคุยเป็นการส่วนตัว แต่โดยรวมอย่างนี้ครับ ผมคิดว่าข้อมูลค่อนข้างที่จะครบถ้วน ในเอกสารที่ท่านให้มา ๒ ปึ๊ง ปึ๊งใหญ่นี่ครับ ท่านรวบรวมเอาทุกองคาพยพแน่ ๆ แต่ที่น่ากังวลใจครับ คือการที่จะมา สังเคราะห์ เอกสาร ๑๔ หน้าที่มาสังเคราะห์นี่ผมคิดว่าเทน้ำหนักมาข้างใดข้างหนึ่งมากไป ภาคส่วนที่เป็นภาคประชาชน ภาควิชาการ ซึ่งมีอยู่แล้วในเอกสารภาคผนวก ผมขอยกตัวอย่างง่าย ๆ นะครับ ในเอกสารหน้า ๘ ของกรรมาธิการการมีส่วนร่วม ซึ่งได้เปรียบเทียบข้อแตกต่างระหว่างระบบสัมปทานของไทยกับระบบแบ่งปันผลผลิตของ มาเลเซีย ซึ่งอันนี้ก็เป็นหัวใจสำคัญนะครับ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกรรมสิทธิ์ การควบคุมของรัฐ การมีส่วนร่วมของรัฐต่าง ๆ ปรากฏว่ากรรมาธิการมาสรุปว่าดูเหมือนสาระสำคัญไม่ต่างกัน แต่ผมอ่านนี่ผมคิดว่าต่าง แล้วต่างอย่างมีนัยด้วยนะครับ ทีนี้จะว่าเวทีภาคประชาชนนี่ เขาจัดโดยไม่ครอบคลุมหรือเปล่า ก็มาดูเอกสารครับ ผมมาดูเอกสารซึ่งขออนุญาตเอ่ยนาม ท่านรสนาได้กรุณาแจกให้ที่ประชุมเมื่อเช้านี้นะครับ ซึ่งเป็นเอกสารของกระทรวงพลังงาน ที่ได้เชื้อเชิญให้เข้ามาทำสัมปทาน ก็มีตารางเปรียบเทียบ เนื้อหาสาระไม่ต่างครับ แต่ปรากฏว่า เอกสารชิ้นนี้กลับไม่ปรากฏ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญกลับไม่ปรากฏอยู่ในสาระสำคัญครับ ที่เป็น เอ็กเซกคูตีฟ ซัมมารี (Executive summary) ผมขออนุญาตใช้คำนี้ก็แล้วกัน อันนี้เป็นข้อกังวลใจของผม ทีนี้ประเด็นเหล่านี้เป็นประเด็นที่มีความอ่อนไหว ประเด็นที่ เซนซิตีฟ (Sensitive) เพราะฉะนั้นในเอกสารได้สรุปชัดเจนครับ เรื่องกรรมสิทธิ์ มีความแตกต่างกัน ผมขอยกตัวอย่างเรื่องกรรมสิทธิ์เท่านั้นเอง ระบบสัมปทานนี่กรรมสิทธิ์ เป็นของเอกชน บริษัท แต่พีเอสซีเป็นของรัฐ หลายท่านได้อภิปรายกรณีนี้แล้ว ผมคิดว่า ประเด็นเหล่านี้ยิ่งจำเป็นที่จะต้องรัฐในฐานะที่ดูแลประชาชน และประชาชนต้องเป็นเจ้าของ ทรัพยากรธรรมชาติ ต้องเข้าไปดูแล สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ครับผมคิดว่าต้องปรากฏอยู่ในเนื้อหา สาระสำคัญของเอกสาร ความเป็นเจ้าของนี่เป็นเรื่องใหญ่ของทรัพยากรธรรมชาติ อย่างที่หลายท่านได้กรุณาให้ความเห็นนะครับ ผมมีตัวอย่างเล็ก ๆ ผมสมมุติแล้วกันครับ ขออนุญาตได้เป็นตัวอย่าง ที่บ้านผมสมมุติว่ามีมะม่วงต้นใหญ่มาก ปลูกมาเป็นพันปีแล้วครับ เผอิญมะม่วงต้นนี้อายุยืนนาน แล้วลูกดกบ้าง ไม่ดกบ้าง ลูกเล็กบ้าง ลูกใหญ่บ้างครับ ๔๐ ปี ที่ผ่านมานี่เผอิญผมมีลูกชาย ๒ คน เป็นลูกชายฝาแฝดครับ ลูกชายคนที่ ๑ ก็บอกว่าพ่อ เอาเลยครับ เดี๋ยวก็จะมีบริษัทมาจัดการเก็บต้นมะม่วงให้เรา เอารถเครนมาด้วย หักค่าเครน หักค่าคนขึ้นอะไรทั้งหมด แล้วเราเอาส่วนกำไร ไม่รู้ว่าตกลงค่าใช้จ่ายอะไร เท่าไร เป็นอย่างไร แต่ลูกคนที่ ๒ ของผมเขาบอกว่า พ่อ มะม่วงนี้ถูกคนอื่นขึ้นมา ๔๐ ปีแล้ว ผมอยากมีส่วนร่วมบ้าง ผมอยากขับรถเครนเป็นบ้าง ไม่อย่างนั้นผมต้องปีนต้นมะม่วง ทุกครั้งเลย ผมคิดว่าความเป็นเจ้าของนี่มันจะทำให้จิตวิญญาณในการที่จะมีส่วนร่วม และการแบ่งปันผลประโยชน์ ผมขอยกตัวอย่างอย่างนี้นะครับเพื่อที่จะทำให้เห็นภาพว่า มันถึงเวลาแล้วหรือยังครับที่สภาปฏิรูปแห่งชาติต้องคิดกรอบของการปฏิรูป ถ้าเราคิดว่า เราต้องฟันธงที่จะเดินหน้าเรื่องการปฏิรูปนี่ผมคิดว่าทำได้ ในสภาแห่งนี้มีผู้เชี่ยวชาญ เยอะแยะเลย การปฏิรูปพลังงานไม่ได้ทำเฉพาะกรรมาธิการพลังงาน หลายท่านพูดถึง สิ่งแวดล้อม หลายท่านพูดถึงการปฏิรูปวิทยาศาสตร์ หลายท่านพูดถึงเรื่องการปฏิรูป การศึกษา มันต้องไปด้วยกันครับ ถ้าเราตั้งใจเดินหน้า ผมคิดว่า ๖ เดือน ๑ ปี แก้กฎหมาย อะไรต่าง ๆ มันเป็นเรื่องควรทำทั้งหมดครับ ขอบพระคุณครับ
ประเด็นแรกครับ ก็พยายามเข้าใจนะครับแล้วก็เห็นใจส่วนพวกเราที่เป็น สมาชิกทั้งหมด รวมถึงกรรมาธิการ ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงาน แล้วก็อนุกรรมาธิการรับฟังการมีส่วนร่วม ผมคิดว่าเราช่วยกันนะครับ ช่วยกันเติมเต็ม ต้องเรียนว่ากรรมาธิการปฏิรูปพลังงาน ก็พยายามเชิญเอาบุคคลหลายภาคส่วนได้เข้ามาให้ความเห็น ประสบการณ์ต่าง ๆ นะครับ และกรรมาธิการวิสามัญการมีส่วนร่วมก็ไปจัดเวทีภาคประชาชน ภาควิชาการ ผมได้รับ เอกสารจากกรรมาธิการช่วงประมาณเที่ยงคืน ๒๔ นาที เมื่อคืนนี้ก็เลยต้องอ่านอีกประมาณ ๒ ชั่วโมง อ่านทุกหน้า ผมก็พยายามพับนะครับ เดี๋ยวถ้ามีเวลาก็ค่อยไปคุยเป็นการส่วนตัว แต่โดยรวมอย่างนี้ครับ ผมคิดว่าข้อมูลค่อนข้างที่จะครบถ้วน ในเอกสารที่ท่านให้มา ๒ ปึ๊ง ปึ๊งใหญ่นี่ครับ ท่านรวบรวมเอาทุกองคาพยพแน่ ๆ แต่ที่น่ากังวลใจครับ คือการที่จะมา สังเคราะห์ เอกสาร ๑๔ หน้าที่มาสังเคราะห์นี่ผมคิดว่าเทน้ำหนักมาข้างใดข้างหนึ่งมากไป ภาคส่วนที่เป็นภาคประชาชน ภาควิชาการ ซึ่งมีอยู่แล้วในเอกสารภาคผนวก ผมขอยกตัวอย่างง่าย ๆ นะครับ ในเอกสารหน้า ๘ ของกรรมาธิการการมีส่วนร่วม ซึ่งได้เปรียบเทียบข้อแตกต่างระหว่างระบบสัมปทานของไทยกับระบบแบ่งปันผลผลิตของ มาเลเซีย ซึ่งอันนี้ก็เป็นหัวใจสำคัญนะครับ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกรรมสิทธิ์ การควบคุมของรัฐ การมีส่วนร่วมของรัฐต่าง ๆ ปรากฏว่ากรรมาธิการมาสรุปว่าดูเหมือนสาระสำคัญไม่ต่างกัน แต่ผมอ่านนี่ผมคิดว่าต่าง แล้วต่างอย่างมีนัยด้วยนะครับ ทีนี้จะว่าเวทีภาคประชาชนนี่ เขาจัดโดยไม่ครอบคลุมหรือเปล่า ก็มาดูเอกสารครับ ผมมาดูเอกสารซึ่งขออนุญาตเอ่ยนาม ท่านรสนาได้กรุณาแจกให้ที่ประชุมเมื่อเช้านี้นะครับ ซึ่งเป็นเอกสารของกระทรวงพลังงาน ที่ได้เชื้อเชิญให้เข้ามาทำสัมปทาน ก็มีตารางเปรียบเทียบ เนื้อหาสาระไม่ต่างครับ แต่ปรากฏว่า เอกสารชิ้นนี้กลับไม่ปรากฏ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญกลับไม่ปรากฏอยู่ในสาระสำคัญครับ ที่เป็น เอ็กเซกคูตีฟ ซัมมารี (Executive summary) ผมขออนุญาตใช้คำนี้ก็แล้วกัน อันนี้เป็นข้อกังวลใจของผม ทีนี้ประเด็นเหล่านี้เป็นประเด็นที่มีความอ่อนไหว ประเด็นที่ เซนซิตีฟ (Sensitive) เพราะฉะนั้นในเอกสารได้สรุปชัดเจนครับ เรื่องกรรมสิทธิ์ มีความแตกต่างกัน ผมขอยกตัวอย่างเรื่องกรรมสิทธิ์เท่านั้นเอง ระบบสัมปทานนี่กรรมสิทธิ์ เป็นของเอกชน บริษัท แต่พีเอสซีเป็นของรัฐ หลายท่านได้อภิปรายกรณีนี้แล้ว ผมคิดว่า ประเด็นเหล่านี้ยิ่งจำเป็นที่จะต้องรัฐในฐานะที่ดูแลประชาชน และประชาชนต้องเป็นเจ้าของ ทรัพยากรธรรมชาติ ต้องเข้าไปดูแล สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ครับผมคิดว่าต้องปรากฏอยู่ในเนื้อหา สาระสำคัญของเอกสาร ความเป็นเจ้าของนี่เป็นเรื่องใหญ่ของทรัพยากรธรรมชาติ อย่างที่หลายท่านได้กรุณาให้ความเห็นนะครับ ผมมีตัวอย่างเล็ก ๆ ผมสมมุติแล้วกันครับ ขออนุญาตได้เป็นตัวอย่าง ที่บ้านผมสมมุติว่ามีมะม่วงต้นใหญ่มาก ปลูกมาเป็นพันปีแล้วครับ เผอิญมะม่วงต้นนี้อายุยืนนาน แล้วลูกดกบ้าง ไม่ดกบ้าง ลูกเล็กบ้าง ลูกใหญ่บ้างครับ ๔๐ ปี ที่ผ่านมานี่เผอิญผมมีลูกชาย ๒ คน เป็นลูกชายฝาแฝดครับ ลูกชายคนที่ ๑ ก็บอกว่าพ่อ เอาเลยครับ เดี๋ยวก็จะมีบริษัทมาจัดการเก็บต้นมะม่วงให้เรา เอารถเครนมาด้วย หักค่าเครน หักค่าคนขึ้นอะไรทั้งหมด แล้วเราเอาส่วนกำไร ไม่รู้ว่าตกลงค่าใช้จ่ายอะไร เท่าไร เป็นอย่างไร แต่ลูกคนที่ ๒ ของผมเขาบอกว่า พ่อ มะม่วงนี้ถูกคนอื่นขึ้นมา ๔๐ ปีแล้ว ผมอยากมีส่วนร่วมบ้าง ผมอยากขับรถเครนเป็นบ้าง ไม่อย่างนั้นผมต้องปีนต้นมะม่วง ทุกครั้งเลย ผมคิดว่าความเป็นเจ้าของนี่มันจะทำให้จิตวิญญาณในการที่จะมีส่วนร่วม และการแบ่งปันผลประโยชน์ ผมขอยกตัวอย่างอย่างนี้นะครับเพื่อที่จะทำให้เห็นภาพว่า มันถึงเวลาแล้วหรือยังครับที่สภาปฏิรูปแห่งชาติต้องคิดกรอบของการปฏิรูป ถ้าเราคิดว่า เราต้องฟันธงที่จะเดินหน้าเรื่องการปฏิรูปนี่ผมคิดว่าทำได้ ในสภาแห่งนี้มีผู้เชี่ยวชาญ เยอะแยะเลย การปฏิรูปพลังงานไม่ได้ทำเฉพาะกรรมาธิการพลังงาน หลายท่านพูดถึง สิ่งแวดล้อม หลายท่านพูดถึงการปฏิรูปวิทยาศาสตร์ หลายท่านพูดถึงเรื่องการปฏิรูป การศึกษา มันต้องไปด้วยกันครับ ถ้าเราตั้งใจเดินหน้า ผมคิดว่า ๖ เดือน ๑ ปี แก้กฎหมาย อะไรต่าง ๆ มันเป็นเรื่องควรทำทั้งหมดครับ ขอบพระคุณครับ