ไม่เห็นชอบครับ
ขอบคุณครับ ท่านประธานครับ ผม มนูญ ศิริวรรณ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ในนามของคณะกรรมาธิการนะครับ ก่อนอื่น ต้องขออภัยท่านสมาชิกที่ขัดจังหวะในการอภิปรายนะครับ ทั้งนี้เพราะว่ากระผม มีความจำเป็นจะต้องไปประชุมคณะกรรมาธิการวิสัยทัศน์ตอน ๔ โมงครึ่งเกรงว่าจะกลับมาไม่ทัน ก่อนอื่นผมกราบเรียนว่ารายงานผลการศึกษาของคณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงาน ที่นำเสนอต่อที่ประชุมในวันนี้ เราไม่ได้มีเจตนาที่จะบอกว่าระบบใดดีกว่าระบบใดนะครับ เราไม่ได้บอกเลยว่าสัมปทานดีกว่าพีเอสซีคือระบบแบ่งปันผลผลิต หรือระบบแบ่งปันผลผลิต ดีกว่าระบบสัมปทาน การนำเสนอในวันนี้เรามีเจตนาแต่เพียงบอกว่า เราควรที่จะเดินหน้า การสำรวจสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ ๒๑ หรือเปล่านะครับ และถ้าเรามีความจำเป็น ที่จะต้องเดินหน้าระบบการเปิดสัมปทานรอบที่ ๒๑ นั้น ควรจะบริหารจัดการ การเปิดสัมปทานรอบที่ ๒๑ อย่างไร จึงจะได้ประโยชน์ให้กับประเทศชาติมากที่สุดนะครับ มีเพียงแค่ ๒ ประการเท่านั้น เราไม่ได้คิดว่าระบบสัมปทานนั้นดีกว่าระบบแบ่งปันผลผลิต แต่จากการอภิปรายของท่านกรรมาธิการเสียงข้างน้อยบางท่าน หรือจากการอภิปรายของ สมาชิก สปช. บางท่านดูเหมือนจะได้ปักใจไปแล้วว่าระบบแบ่งปันผลผลิตนั้นดีกว่า ระบบสัมปทาน สมาชิกบางท่านได้อภิปรายว่าทำไมเราได้ดำเนินการสำรวจปิโตรเลียมมาเป็น เวลาถึง ๔๐ ปี เราไม่ทราบหรือว่าระบบแบ่งปันผลผลิตนั้นเป็นอย่างไร ผมขอเรียนว่าเราทราบครับ เพราะถ้าเราไม่ทราบเราคงไม่สามารถมายืนอยู่จุดนี้ได้ ในการศึกษาของคณะกรรมาธิการ ปฏิรูปพลังงานนั้นเราได้เชิญผู้เชี่ยวชาญทุกสาขานะครับ ทั้งฝ่ายราชการ ทั้งนักวิชาการ ทั้งฝ่ายที่คัดค้าน ทั้งฝ่ายที่สนับสนุนมาให้ความเห็นกับทางคณะกรรมาธิการอย่างรอบด้าน เพราะฉะนั้นเรามีความรู้เกี่ยวกับเรื่องของระบบแบ่งปันผลผลิตดีพอสมควรนะครับ แต่เนื่องจากเราเห็นว่าการที่จะเปลี่ยนระบบจากสัมปทานไปใช้ระบบแบ่งปันผลผลิตนั้น มันมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการปรับโครงสร้างพื้นฐานให้มันพร้อมต่อการที่จะเปลี่ยน ระบบนะครับ ขั้นแรกก็ต้องมีการแก้ไขกฎหมาย หลังจากแก้ไขกฎหมายก็ต้องมีการตั้งองค์กร ขึ้นมารองรับ แล้วไม่ใช่เพียงแค่นั้นนะครับ มันจะต้องมีระเบียบ วิธีการในการปฏิบัติ อีกมากมายครับ เพราะว่าระบบแบ่งปันผลผลิตนั้นมันมีรายละเอียดในการทำงานร่วมกับ ผู้ประกอบการมากมาย ไม่ใช่เหมือนระบบสัมปทานที่สามารถจะดำเนินการได้เลย แล้วเราได้ ดำเนินการมาแล้วเป็นเวลาร่วม ๔๐ ปี เพราะฉะนั้นในเมื่อคณะกรรมาธิการมีความเห็นว่า เราควรจะเดินหน้าสัมปทานรอบที่ ๒๑ ต่อไปด้วยมีความจำเป็นเรื่องความมั่นคงด้านพลังงาน เราจึงมีความเห็นว่าระบบสัมปทานนั้นน่าจะเป็นระบบที่สามารถที่จะดำเนินการได้ โดยมีความเสี่ยงน้อยที่สุด และมีข้อจำกัดในเรื่องระยะเวลาน้อยที่สุด เพราะฉะนั้นการที่ คณะกรรมาธิการเสนอให้เดินหน้าต่อไปด้วยระบบสัมปทานนั้นไม่ได้ด้วยความที่ว่าเราเห็นว่า ระบบสัมปทานดีกว่าระบบแบ่งปันผลผลิตนะครับ เพราะฉะนั้นการจะศึกษาว่าระบบไหน ดีกว่าระบบไหน มันไม่ใช่เรื่องที่เราจะมาตัดสินกันได้ด้วยในระยะเวลาเพียงแค่เดือน หรือ ๒ เดือน หรือในระยะเวลาเพียงแค่ ๑ วันหรือ ๒ วัน หรือ ๑ สัปดาห์หรือ ๒ สัปดาห์ ทำไม่ได้ครับ เพราะฉะนั้นเราเกรงว่าถ้าเราอยากจะตัดสินกันในเรื่องนี้เราต้องไปศึกษาอีก แต่ไม่ได้ศึกษาว่าระบบไหนเป็นอย่างไรนะครับ เพราะระบบไหนเป็นอย่างไรรู้อยู่แล้ว แต่เราต้องไปศึกษาว่ามันเหมาะสมกับประเทศไทยจริงหรือเปล่า เพราะขณะนี้ก็มีเสียง กล่าวอ้างเพียงว่าต้องเป็นระบบนี้เท่านั้นถึงจะดีกับประเทศไทยมันจะให้ประโยชน์อย่างนั้น อย่างนี้นะครับ ฝ่ายผู้ประกอบการ ฝ่ายราชการก็บอกว่าเราได้อยู่ในระบบนี้สัมปทาน มันดีอยู่แล้ว ได้มีการปรับปรุงมาโดยตลอด ผลประโยชน์ก็ได้มีการเก็บเข้าสู่รัฐบาลเพิ่มขึ้นมา โดยตลอด เพราะฉะนั้นมันจะต้องมีการศึกษาว่าระบบไหนมันถึงจะดีกับประเทศไทยมากกว่ากัน ซึ่งการศึกษานี้มันต้องการเวลาครับ เราไม่สามารถที่จะมาบอกได้ภายในระยะเวลาอันสั้น นั่นคือเหตุผลที่ว่าในวันนี้คณะกรรมาธิการจึงได้เสนอแนะว่าเราเดินหน้าสัมปทานรอบที่ ๒๑ โดยใช้ระบบสัมปทานไปก่อน ในขณะเดียวกันให้ศึกษาและเตรียมความพร้อมที่จะใช้ระบบ พีเอสซีหรือระบบแบ่งปันผลผลิตได้ทันทีถ้ารัฐบาลหรือผู้มีอำนาจในการตัดสินใจ เห็นว่าสมควรจะใช้ เราจะได้ไม่มีข้อโต้แย้งกันอีกในอนาคตว่าเอาละ ถ้าอยากจะใช้ แล้วมันไม่พร้อมนะครับ นี่คือข้อเสนอของคณะกรรมาธิการเสียงข้างมากที่เราเห็นว่า เราเสียเวลากันมาพอแล้ว เพราะฉะนั้นในอนาคตเราไม่อยากจะเสียเวลาอีกต่อไป เพราะฉะนั้นเราก็ไม่ต้องการที่จะเสียเวลาในการที่จะสำรวจสัมปทานรอบที่ ๒๑ เพราะว่า ยิ่งเสียเวลาไปนานเท่าไร ๒ ปี หรือ ๓ ปี หรือ ๔ ปี หรือ ๕ ปีก็ตาม ล้วนแต่ทำความเสียหาย ให้แก่ประเทศชาติทั้งสิ้น ความเสียหายนั้นแต่ละท่านอาจจะมองต่างกัน บางท่านอาจจะบอก ไม่เสียหายหรอก รอได้ แต่บางท่านที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบเขาก็อาจจะบอกว่าเสียหายมาก ซึ่งบางท่านประเมินไว้ถึง ๕๐๐,๐๐๐ ล้านบาท เราไม่รู้หรอกครับว่ามันจะเสียหายมากน้อย แค่ไหน เพราะมันเป็นความเสียหายในอนาคต แต่ในฐานะที่เราเป็นสมาชิกสภาปฏิรูป แห่งชาติ เราก็มีส่วนในความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่มันจะเกิดขึ้นในอนาคต ถ้าเราตัดสินใจผิด เพราะฉะนั้นผมคิดว่าหน้าที่ของเราทุกคนก็คือ เราพยายามหาทางออกที่ มันดีที่สุดสำหรับอนาคตของประเทศชาติ อันนั้นคือข้อแรกที่ผมอยากจะเรียนชี้แจง
ขอบคุณครับ ท่านประธานครับ ผม มนูญ ศิริวรรณ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ในนามของคณะกรรมาธิการนะครับ ก่อนอื่น ต้องขออภัยท่านสมาชิกที่ขัดจังหวะในการอภิปรายนะครับ ทั้งนี้เพราะว่ากระผม มีความจำเป็นจะต้องไปประชุมคณะกรรมาธิการวิสัยทัศน์ตอน ๔ โมงครึ่งเกรงว่าจะกลับมาไม่ทัน ก่อนอื่นผมกราบเรียนว่ารายงานผลการศึกษาของคณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงาน ที่นำเสนอต่อที่ประชุมในวันนี้ เราไม่ได้มีเจตนาที่จะบอกว่าระบบใดดีกว่าระบบใดนะครับ เราไม่ได้บอกเลยว่าสัมปทานดีกว่าพีเอสซีคือระบบแบ่งปันผลผลิต หรือระบบแบ่งปันผลผลิต ดีกว่าระบบสัมปทาน การนำเสนอในวันนี้เรามีเจตนาแต่เพียงบอกว่า เราควรที่จะเดินหน้า การสำรวจสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ ๒๑ หรือเปล่านะครับ และถ้าเรามีความจำเป็น ที่จะต้องเดินหน้าระบบการเปิดสัมปทานรอบที่ ๒๑ นั้น ควรจะบริหารจัดการ การเปิดสัมปทานรอบที่ ๒๑ อย่างไร จึงจะได้ประโยชน์ให้กับประเทศชาติมากที่สุดนะครับ มีเพียงแค่ ๒ ประการเท่านั้น เราไม่ได้คิดว่าระบบสัมปทานนั้นดีกว่าระบบแบ่งปันผลผลิต แต่จากการอภิปรายของท่านกรรมาธิการเสียงข้างน้อยบางท่าน หรือจากการอภิปรายของ สมาชิก สปช. บางท่านดูเหมือนจะได้ปักใจไปแล้วว่าระบบแบ่งปันผลผลิตนั้นดีกว่า ระบบสัมปทาน สมาชิกบางท่านได้อภิปรายว่าทำไมเราได้ดำเนินการสำรวจปิโตรเลียมมาเป็น เวลาถึง ๔๐ ปี เราไม่ทราบหรือว่าระบบแบ่งปันผลผลิตนั้นเป็นอย่างไร ผมขอเรียนว่าเราทราบครับ เพราะถ้าเราไม่ทราบเราคงไม่สามารถมายืนอยู่จุดนี้ได้ ในการศึกษาของคณะกรรมาธิการ ปฏิรูปพลังงานนั้นเราได้เชิญผู้เชี่ยวชาญทุกสาขานะครับ ทั้งฝ่ายราชการ ทั้งนักวิชาการ ทั้งฝ่ายที่คัดค้าน ทั้งฝ่ายที่สนับสนุนมาให้ความเห็นกับทางคณะกรรมาธิการอย่างรอบด้าน เพราะฉะนั้นเรามีความรู้เกี่ยวกับเรื่องของระบบแบ่งปันผลผลิตดีพอสมควรนะครับ แต่เนื่องจากเราเห็นว่าการที่จะเปลี่ยนระบบจากสัมปทานไปใช้ระบบแบ่งปันผลผลิตนั้น มันมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการปรับโครงสร้างพื้นฐานให้มันพร้อมต่อการที่จะเปลี่ยน ระบบนะครับ ขั้นแรกก็ต้องมีการแก้ไขกฎหมาย หลังจากแก้ไขกฎหมายก็ต้องมีการตั้งองค์กร ขึ้นมารองรับ แล้วไม่ใช่เพียงแค่นั้นนะครับ มันจะต้องมีระเบียบ วิธีการในการปฏิบัติ อีกมากมายครับ เพราะว่าระบบแบ่งปันผลผลิตนั้นมันมีรายละเอียดในการทำงานร่วมกับ ผู้ประกอบการมากมาย ไม่ใช่เหมือนระบบสัมปทานที่สามารถจะดำเนินการได้เลย แล้วเราได้ ดำเนินการมาแล้วเป็นเวลาร่วม ๔๐ ปี เพราะฉะนั้นในเมื่อคณะกรรมาธิการมีความเห็นว่า เราควรจะเดินหน้าสัมปทานรอบที่ ๒๑ ต่อไปด้วยมีความจำเป็นเรื่องความมั่นคงด้านพลังงาน เราจึงมีความเห็นว่าระบบสัมปทานนั้นน่าจะเป็นระบบที่สามารถที่จะดำเนินการได้ โดยมีความเสี่ยงน้อยที่สุด และมีข้อจำกัดในเรื่องระยะเวลาน้อยที่สุด เพราะฉะนั้นการที่ คณะกรรมาธิการเสนอให้เดินหน้าต่อไปด้วยระบบสัมปทานนั้นไม่ได้ด้วยความที่ว่าเราเห็นว่า ระบบสัมปทานดีกว่าระบบแบ่งปันผลผลิตนะครับ เพราะฉะนั้นการจะศึกษาว่าระบบไหน ดีกว่าระบบไหน มันไม่ใช่เรื่องที่เราจะมาตัดสินกันได้ด้วยในระยะเวลาเพียงแค่เดือน หรือ ๒ เดือน หรือในระยะเวลาเพียงแค่ ๑ วันหรือ ๒ วัน หรือ ๑ สัปดาห์หรือ ๒ สัปดาห์ ทำไม่ได้ครับ เพราะฉะนั้นเราเกรงว่าถ้าเราอยากจะตัดสินกันในเรื่องนี้เราต้องไปศึกษาอีก แต่ไม่ได้ศึกษาว่าระบบไหนเป็นอย่างไรนะครับ เพราะระบบไหนเป็นอย่างไรรู้อยู่แล้ว แต่เราต้องไปศึกษาว่ามันเหมาะสมกับประเทศไทยจริงหรือเปล่า เพราะขณะนี้ก็มีเสียง กล่าวอ้างเพียงว่าต้องเป็นระบบนี้เท่านั้นถึงจะดีกับประเทศไทยมันจะให้ประโยชน์อย่างนั้น อย่างนี้นะครับ ฝ่ายผู้ประกอบการ ฝ่ายราชการก็บอกว่าเราได้อยู่ในระบบนี้สัมปทาน มันดีอยู่แล้ว ได้มีการปรับปรุงมาโดยตลอด ผลประโยชน์ก็ได้มีการเก็บเข้าสู่รัฐบาลเพิ่มขึ้นมา โดยตลอด เพราะฉะนั้นมันจะต้องมีการศึกษาว่าระบบไหนมันถึงจะดีกับประเทศไทยมากกว่ากัน ซึ่งการศึกษานี้มันต้องการเวลาครับ เราไม่สามารถที่จะมาบอกได้ภายในระยะเวลาอันสั้น นั่นคือเหตุผลที่ว่าในวันนี้คณะกรรมาธิการจึงได้เสนอแนะว่าเราเดินหน้าสัมปทานรอบที่ ๒๑ โดยใช้ระบบสัมปทานไปก่อน ในขณะเดียวกันให้ศึกษาและเตรียมความพร้อมที่จะใช้ระบบ พีเอสซีหรือระบบแบ่งปันผลผลิตได้ทันทีถ้ารัฐบาลหรือผู้มีอำนาจในการตัดสินใจ เห็นว่าสมควรจะใช้ เราจะได้ไม่มีข้อโต้แย้งกันอีกในอนาคตว่าเอาละ ถ้าอยากจะใช้ แล้วมันไม่พร้อมนะครับ นี่คือข้อเสนอของคณะกรรมาธิการเสียงข้างมากที่เราเห็นว่า เราเสียเวลากันมาพอแล้ว เพราะฉะนั้นในอนาคตเราไม่อยากจะเสียเวลาอีกต่อไป เพราะฉะนั้นเราก็ไม่ต้องการที่จะเสียเวลาในการที่จะสำรวจสัมปทานรอบที่ ๒๑ เพราะว่า ยิ่งเสียเวลาไปนานเท่าไร ๒ ปี หรือ ๓ ปี หรือ ๔ ปี หรือ ๕ ปีก็ตาม ล้วนแต่ทำความเสียหาย ให้แก่ประเทศชาติทั้งสิ้น ความเสียหายนั้นแต่ละท่านอาจจะมองต่างกัน บางท่านอาจจะบอก ไม่เสียหายหรอก รอได้ แต่บางท่านที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบเขาก็อาจจะบอกว่าเสียหายมาก ซึ่งบางท่านประเมินไว้ถึง ๕๐๐,๐๐๐ ล้านบาท เราไม่รู้หรอกครับว่ามันจะเสียหายมากน้อย แค่ไหน เพราะมันเป็นความเสียหายในอนาคต แต่ในฐานะที่เราเป็นสมาชิกสภาปฏิรูป แห่งชาติ เราก็มีส่วนในความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่มันจะเกิดขึ้นในอนาคต ถ้าเราตัดสินใจผิด เพราะฉะนั้นผมคิดว่าหน้าที่ของเราทุกคนก็คือ เราพยายามหาทางออกที่ มันดีที่สุดสำหรับอนาคตของประเทศชาติ อันนั้นคือข้อแรกที่ผมอยากจะเรียนชี้แจง
ข้อที่ ๒ มันมีความเข้าใจผิดมากว่าปิโตรเลียมที่เราค้นพบในประเทศ เมื่อค้นพบแล้วก็ไม่ได้เป็นของประเทศ มีการส่งออก มีการขายในราคาตลาดโลก คนไทยนั้น ก็ไม่ได้ใช้ในราคาที่มันเป็นประโยชน์สำหรับคนไทย อันนี้ผมอยากจะเรียนนะครับว่า มันเป็นความจริงเพียงแค่ครึ่งเดียว ทั้งนี้เพราะว่าปิโตรเลียมที่เราค้นพบเราได้นำมาใช้ ในประเทศทั้งหมดครับ อาจจะมีน้ำมันดิบจำนวนหนึ่งซึ่งน้อยมากที่ส่งออกไปขายยัง ต่างประเทศ เพราะมีคุณสมบัติไม่เหมาะสมกับการกลั่นในประเทศ แต่ถึงวันนี้ ท่านนายกรัฐมนตรีก็ได้ขอไม่ให้มีการส่งออกแล้ว เพราะฉะนั้นน้ำมันดิบทุกหยด ก๊าซธรรมชาติกลั่นทุกหยดได้ใช้ในประเทศทั้งสิ้น ไม่มีการใช้ นอกประเทศ ส่วนราคานั้นอาจจะจริงว่าสำหรับน้ำมันดิบนั้นเป็นการขายในราคาตลาดโลก แต่ก๊าซธรรมชาติไม่ใช่นะครับ ก๊าซธรรมชาตินั้นเป็นการขายในราคาที่สูตรที่ตกลงกัน ภายในประเทศ ระหว่างผู้ประกอบการซึ่งเป็นผู้ได้รับสัมปทานกับทางราชการซึ่งได้กำหนด ราคาขายกัน ตกลงกันตามสูตรราคาในประเทศ ซึ่งไม่ได้อ้างอิงราคาในตลาดโลก และก๊าซธรรมชาติไม่มีราคาตลาดโลกนะครับ ก๊าซธรรมชาติจะเป็นราคาในแต่ละภูมิภาค สหรัฐอเมริกาก็ราคาหนึ่ง ยุโรปก็ราคาหนึ่ง เอเชียก็ราคาหนึ่งครับ แล้วแน่นอนที่สุดก็คือว่า ราคาที่เราซื้อขายกันในประเทศนั้นราคาถูกกว่าที่เรานำเข้าครับ ทุกวันนี้ราคาก๊าซธรรมชาติ ในอ่าวไทยนั้นถูกกว่าราคาก๊าซนำเข้าจากพม่า ถูกกว่าราคาก๊าซแอลเอ็นจีที่เรานำเข้าจาก ตลาดโลก เพราะฉะนั้นถ้าเราสูญเสียโอกาสในการนำเอาก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยขึ้นมาใช้ แน่นอนเราก็ต้องไปนำเข้าจากต่างประเทศเข้ามาใช้ในราคาแพง ซึ่งราคาแพงกว่า เกือบเท่าตัวนะครับ ก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยนั้นราคาประมาณ ๙ เหรียญสหรัฐต่อล้านบีทียู แต่ถ้าเรานำเข้าเป็นแอลเอ็นจีเข้ามา ราคาประมาณ ๑๕ เหรียญต่อล้านบีทียู ตรงนี้มันเห็น เป็นผลเสียหายที่มันชัดเจน ท่านจะบอกว่าไม่เสียหายเท่าไร ก็ไม่เป็นไรครับ แต่อันนี้คือ ความเสียหายที่มันเห็นชัดเจนนะครับ
ข้อที่ ๒ มันมีความเข้าใจผิดมากว่าปิโตรเลียมที่เราค้นพบในประเทศ เมื่อค้นพบแล้วก็ไม่ได้เป็นของประเทศ มีการส่งออก มีการขายในราคาตลาดโลก คนไทยนั้น ก็ไม่ได้ใช้ในราคาที่มันเป็นประโยชน์สำหรับคนไทย อันนี้ผมอยากจะเรียนนะครับว่า มันเป็นความจริงเพียงแค่ครึ่งเดียว ทั้งนี้เพราะว่าปิโตรเลียมที่เราค้นพบเราได้นำมาใช้ ในประเทศทั้งหมดครับ อาจจะมีน้ำมันดิบจำนวนหนึ่งซึ่งน้อยมากที่ส่งออกไปขายยัง ต่างประเทศ เพราะมีคุณสมบัติไม่เหมาะสมกับการกลั่นในประเทศ แต่ถึงวันนี้ ท่านนายกรัฐมนตรีก็ได้ขอไม่ให้มีการส่งออกแล้ว เพราะฉะนั้นน้ำมันดิบทุกหยด ก๊าซธรรมชาติกลั่นทุกหยดได้ใช้ในประเทศทั้งสิ้น ไม่มีการใช้ นอกประเทศ ส่วนราคานั้นอาจจะจริงว่าสำหรับน้ำมันดิบนั้นเป็นการขายในราคาตลาดโลก แต่ก๊าซธรรมชาติไม่ใช่นะครับ ก๊าซธรรมชาตินั้นเป็นการขายในราคาที่สูตรที่ตกลงกัน ภายในประเทศ ระหว่างผู้ประกอบการซึ่งเป็นผู้ได้รับสัมปทานกับทางราชการซึ่งได้กำหนด ราคาขายกัน ตกลงกันตามสูตรราคาในประเทศ ซึ่งไม่ได้อ้างอิงราคาในตลาดโลก และก๊าซธรรมชาติไม่มีราคาตลาดโลกนะครับ ก๊าซธรรมชาติจะเป็นราคาในแต่ละภูมิภาค สหรัฐอเมริกาก็ราคาหนึ่ง ยุโรปก็ราคาหนึ่ง เอเชียก็ราคาหนึ่งครับ แล้วแน่นอนที่สุดก็คือว่า ราคาที่เราซื้อขายกันในประเทศนั้นราคาถูกกว่าที่เรานำเข้าครับ ทุกวันนี้ราคาก๊าซธรรมชาติ ในอ่าวไทยนั้นถูกกว่าราคาก๊าซนำเข้าจากพม่า ถูกกว่าราคาก๊าซแอลเอ็นจีที่เรานำเข้าจาก ตลาดโลก เพราะฉะนั้นถ้าเราสูญเสียโอกาสในการนำเอาก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยขึ้นมาใช้ แน่นอนเราก็ต้องไปนำเข้าจากต่างประเทศเข้ามาใช้ในราคาแพง ซึ่งราคาแพงกว่า เกือบเท่าตัวนะครับ ก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยนั้นราคาประมาณ ๙ เหรียญสหรัฐต่อล้านบีทียู แต่ถ้าเรานำเข้าเป็นแอลเอ็นจีเข้ามา ราคาประมาณ ๑๕ เหรียญต่อล้านบีทียู ตรงนี้มันเห็น เป็นผลเสียหายที่มันชัดเจน ท่านจะบอกว่าไม่เสียหายเท่าไร ก็ไม่เป็นไรครับ แต่อันนี้คือ ความเสียหายที่มันเห็นชัดเจนนะครับ
อันที่ ๒ ที่ผมอยากจะเรียนก็คือเรื่องของการปรับค่าใช้จ่าย หลายท่านบอกว่า ถ้าเป็นพีเอสซีเราจะได้แบ่งปันผลผลิตเต็มที่จาก ๕๐ เปอร์เซ็นต์ของรายได้เลย อันนี้มันเป็น ความเข้าใจผิดนะครับ ไม่ว่าจะเป็นระบบพีเอสซี หรือไม่ว่าจะเป็นระบบแบบสัมปทาน ก็แล้วแต่ เราต้องหักค่าใช้จ่ายก่อน ก่อนที่จะนำมาแบ่งปันกัน สัมปทานเราอนุญาตให้ ผู้ประกอบการหักค่าใช้จ่ายได้ แต่ว่าตัวค่าภาคหลวงไม่ได้หักค่าใช้จ่ายนะครับ ค่าภาคหลวง หักจากรายได้ แล้วถึงจะไม่หักค่าใช้จ่าย แล้วถึงจะมาเสียภาษีจากกำไร ๕๐ เปอร์เซ็นต์ แล้วถึงจะมีกำไรจากส่วนแบ่งที่เป็นภาษีที่ประเมินพิเศษอีกตามที่เราเรียกว่าวินด์ฟอล แทกซ์ (Windfall taxes) แต่ตัวแบ่งปันผลผลิตนั้นเราก็ต้องหักค่าใช้จ่ายให้เขาเหมือนกัน ไม่ได้หมายความว่า เขาผลิตน้ำมันได้เท่าไร แล้วเราก็เก็บเขา ๕๐ เปอร์เซ็นต์ของส่วนแบ่ง ผลผลิตเลย ไม่ใช่ครับ เราก็ต้องให้เขาหักคอสท์ ออยล์ไปนะครับ แล้วที่เหลือถึงจะมาแบ่งกัน ๕๐ ๕๐ เพราะฉะนั้นไม่ว่าระบบไหนก็ตาม ก็จำเป็นต้องมีการหักรายจ่ายของผู้ประกอบการ ทั้งสิ้น ไม่อย่างนั้นแล้วก็ไม่มีผู้ใดที่อยากจะเข้ามาลงทุนทำธุรกิจกับเรา เพราะว่าเราไม่ยอมให้ เขาหักค่าใช้จ่ายนะครับ
อันที่ ๒ ที่ผมอยากจะเรียนก็คือเรื่องของการปรับค่าใช้จ่าย หลายท่านบอกว่า ถ้าเป็นพีเอสซีเราจะได้แบ่งปันผลผลิตเต็มที่จาก ๕๐ เปอร์เซ็นต์ของรายได้เลย อันนี้มันเป็น ความเข้าใจผิดนะครับ ไม่ว่าจะเป็นระบบพีเอสซี หรือไม่ว่าจะเป็นระบบแบบสัมปทาน ก็แล้วแต่ เราต้องหักค่าใช้จ่ายก่อน ก่อนที่จะนำมาแบ่งปันกัน สัมปทานเราอนุญาตให้ ผู้ประกอบการหักค่าใช้จ่ายได้ แต่ว่าตัวค่าภาคหลวงไม่ได้หักค่าใช้จ่ายนะครับ ค่าภาคหลวง หักจากรายได้ แล้วถึงจะไม่หักค่าใช้จ่าย แล้วถึงจะมาเสียภาษีจากกำไร ๕๐ เปอร์เซ็นต์ แล้วถึงจะมีกำไรจากส่วนแบ่งที่เป็นภาษีที่ประเมินพิเศษอีกตามที่เราเรียกว่าวินด์ฟอล แทกซ์ (Windfall taxes) แต่ตัวแบ่งปันผลผลิตนั้นเราก็ต้องหักค่าใช้จ่ายให้เขาเหมือนกัน ไม่ได้หมายความว่า เขาผลิตน้ำมันได้เท่าไร แล้วเราก็เก็บเขา ๕๐ เปอร์เซ็นต์ของส่วนแบ่ง ผลผลิตเลย ไม่ใช่ครับ เราก็ต้องให้เขาหักคอสท์ ออยล์ไปนะครับ แล้วที่เหลือถึงจะมาแบ่งกัน ๕๐ ๕๐ เพราะฉะนั้นไม่ว่าระบบไหนก็ตาม ก็จำเป็นต้องมีการหักรายจ่ายของผู้ประกอบการ ทั้งสิ้น ไม่อย่างนั้นแล้วก็ไม่มีผู้ใดที่อยากจะเข้ามาลงทุนทำธุรกิจกับเรา เพราะว่าเราไม่ยอมให้ เขาหักค่าใช้จ่ายนะครับ
อันที่ ๓ เรื่องของผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการสำรวจและขุดเจาะปิโตรเลียม ซึ่งมันกระทบกับชีวิตของประชาชน อันนั้นอาจจะเป็นเรื่องจริงนะครับ แต่ว่าเรื่องเหล่านี้ มันเป็นเรื่องที่ภาครัฐและผู้ประกอบการนั้นต้องประกอบการให้ถูกต้องตามกฎระเบียบ แบบแผนของทางราชการ และต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน แล้วถ้าเกิด ก็ต้องเยียวยาประชาชนนะครับ แต่มันไม่ใช่เป็นเหตุผลที่เราจะมาบอกว่าไม่สมควรให้ สัมปทานรอบที่ ๒๑ แล้วก็มันก็ไม่เกี่ยวกับระบบนะครับ เพราะว่าผลกระทบที่มันเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นระบบสัมปทาน หรือไม่ว่าจะเป็นระบบพีเอสซี ถ้ามันดูแลไม่ดี มันควบคุมไม่ดี มันเกิดขึ้นได้ทั้งนั้นนะครับ เพราะฉะนั้นผมคิดว่าก็เป็นหน้าที่ของราชการ ของรัฐบาล และของผู้ประกอบการ และรวมทั้งภาคประชาชนที่จะต้องช่วยกันดูแลไม่ให้มันเกิด ผลกระทบนี้นะครับ
อันที่ ๓ เรื่องของผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการสำรวจและขุดเจาะปิโตรเลียม ซึ่งมันกระทบกับชีวิตของประชาชน อันนั้นอาจจะเป็นเรื่องจริงนะครับ แต่ว่าเรื่องเหล่านี้ มันเป็นเรื่องที่ภาครัฐและผู้ประกอบการนั้นต้องประกอบการให้ถูกต้องตามกฎระเบียบ แบบแผนของทางราชการ และต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน แล้วถ้าเกิด ก็ต้องเยียวยาประชาชนนะครับ แต่มันไม่ใช่เป็นเหตุผลที่เราจะมาบอกว่าไม่สมควรให้ สัมปทานรอบที่ ๒๑ แล้วก็มันก็ไม่เกี่ยวกับระบบนะครับ เพราะว่าผลกระทบที่มันเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นระบบสัมปทาน หรือไม่ว่าจะเป็นระบบพีเอสซี ถ้ามันดูแลไม่ดี มันควบคุมไม่ดี มันเกิดขึ้นได้ทั้งนั้นนะครับ เพราะฉะนั้นผมคิดว่าก็เป็นหน้าที่ของราชการ ของรัฐบาล และของผู้ประกอบการ และรวมทั้งภาคประชาชนที่จะต้องช่วยกันดูแลไม่ให้มันเกิด ผลกระทบนี้นะครับ
ส่วนประการสุดท้าย ผมอยากจะเรียนว่ารายงานของคณะกรรมาธิการ วิสามัญการมีส่วนร่วมและการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเป็นรายงานที่ดีแล้วก็มี ประโยชน์อย่างยิ่งนะครับ แต่ในที่นี้ผมอยากจะเรียนว่าถ้าเผื่อจะให้เป็นการรายงาน หรือการรับฟังความคิดเห็นที่รอบด้านอย่างแท้จริงนี่นะครับ ในประเด็นที่มันเป็นประเด็นที่ อ่อนไหวอย่างนี้ ในโอกาสต่อไปผมใคร่ขอเสนอแนะว่าควรจะเป็นการจัดร่วมกันระหว่าง คณะกรรมาธิการวิสามัญการมีส่วนร่วมและการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและ คณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงานครับ เพื่อที่เราจะได้ความคิดเห็นที่รอบด้านจริง ๆ ครับ ขอบพระคุณครับ
ส่วนประการสุดท้าย ผมอยากจะเรียนว่ารายงานของคณะกรรมาธิการ วิสามัญการมีส่วนร่วมและการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเป็นรายงานที่ดีแล้วก็มี ประโยชน์อย่างยิ่งนะครับ แต่ในที่นี้ผมอยากจะเรียนว่าถ้าเผื่อจะให้เป็นการรายงาน หรือการรับฟังความคิดเห็นที่รอบด้านอย่างแท้จริงนี่นะครับ ในประเด็นที่มันเป็นประเด็นที่ อ่อนไหวอย่างนี้ ในโอกาสต่อไปผมใคร่ขอเสนอแนะว่าควรจะเป็นการจัดร่วมกันระหว่าง คณะกรรมาธิการวิสามัญการมีส่วนร่วมและการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและ คณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงานครับ เพื่อที่เราจะได้ความคิดเห็นที่รอบด้านจริง ๆ ครับ ขอบพระคุณครับ