นายมนู เลียวไพโรจน์

  • ท่านประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติที่เคารพ ผม มนู เลียวไพโรจน์ หมายเลข ๑๖๗ นะครับ ผมอยากจะขอเรียนเท้าความถึงที่ท่านสมาชิก ได้เอ่ยถึงเรื่องของสัมปทานและการแบ่งปันผลผลิตนะครับ ซึ่งช่วงเช้าได้มีการพูดถึงเรื่องของ ประเทศบราซิล ซึ่งผมอยากจะขอเรียนถึงประเด็นนี้ก่อนนะครับว่า สิ่งที่เป็นข้อเท็จจริง อันหนึ่งก็คือว่าในประเทศบราซิลนั้นมี ๒ ระบบด้วยกันคือ ทั้งระบบสัมปทานและ ระบบแบ่งปันผลผลิต แต่ว่าข้อเท็จจริงที่จริงกว่านั้นและลึกกว่านั้นก็คือว่า ระบบแบ่งปัน ผลผลิตที่มีอยู่ในประเทศบราซิลนั้นกับระบบสัมปทานเป็นอย่างไร ปรากฏว่า ณ ปัจจุบัน ในบราซิลมีระบบที่ใช้แบบสัมปทานทั้งสิ้น ๗๘ ราย และขณะนี้ดำเนินการอยู่ ๕๓ บริษัท อยู่ใน ๕๓ แหล่งทั้งในบนบกและทะเล แล้วก็มีบริษัทที่อยู่ภายใต้ระบบแบ่งปันผลผลิต มีบริษัทเดียวครับ เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ชัดเจนนะครับว่าทั้ง ๒ แห่งนี้แตกต่างกัน ค่อนข้างมากทีเดียว รายที่เป็นรายของการแบ่งปันผลผลิตนั้นนี่นะครับ ปรากฏว่าอยู่ใน แอ่งลิบราของซานโตส เบซิน ซึ่งเป็นแหล่งออฟชอร์ ในทะเลนะครับ แล้วก็อยู่ทางตอนใต้ ของริโอเดจาเนโร ของประเทศบราซิลซึ่งมีเพียงแห่งเดียวเท่านั้น ในขณะที่อีก ๗๘ บริษัท ดำเนินการภายใต้ระบบสัมปทาน และมองลงไปกว่านั้นนี่นะครับ จะเห็นได้ชัดว่าแหล่งที่เป็น ระบบสัมปทานนั้นเป็นแหล่งที่มีศักยภาพพอสมควรไม่มากนักนะครับ ส่วนแหล่งที่ใช้ระบบ แบ่งปันผลผลิตเป็นแหล่งใหญ่ เมื่อพิจารณาถึงลักษณะนี้แล้วจะเห็นได้ว่าในประเทศไทยเรา ก็เป็นลักษณะที่มีแหล่งเล็ก ๆ น้อย ๆ กระจายอยู่ทั่วไป เพราะฉะนั้นความเหมาะสมที่จะใช้ ระหว่างแบ่งปันผลผลิตกับสัมปทานจะเห็นได้ชัดเจนนะครับว่า ระบบสัมปทานน่าจะ เหมาะสมกว่าในประเทศไทย ณ ปัจจุบันนะครับ ในสถานการณ์ปัจจุบัน เพราะฉะนั้น ผมขอกราบเรียนว่า สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ไม่ได้หมายความว่าระบบแบ่งปันผลผลิตจะไม่ดีนะครับ แต่ว่าในขณะเดียวกันเราต้องคำนึงถึงว่าขณะนี้เป็นเวลาที่เราจะต้องตัดสินว่าควรจะต้อง นำเอาระบบไหนมา เพราะเวลาไม่เป็นของที่จะต้องมารอกันได้ ในที่สุดแล้วผมก็ขอเสนอว่า เราคงจะต้องพิจารณาเลือกทางเลือกที่ ๓ ซึ่งท่านกรรมาธิการเสียงข้างมากได้พิจารณา เสนอแล้วก็คือ ให้ดำเนินการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ ๒๑ ด้วยระบบสัมปทาน ไทยแลนด์ทรีพลัสนะครับ แล้วก็ขอให้ดำเนินการศึกษาและเตรียมการในเรื่องของการใช้ ระบบแบ่งปันผลผลิตในอนาคตถ้าหากว่าสถานการณ์เอื้ออำนวย ผมก็ขออนุญาตกราบเรียน เพียงแค่นี้ครับ ขอบพระคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติที่เคารพ ผม มนู เลียวไพโรจน์ หมายเลข ๑๖๗ นะครับ ผมอยากจะขอเรียนเท้าความถึงที่ท่านสมาชิก ได้เอ่ยถึงเรื่องของสัมปทานและการแบ่งปันผลผลิตนะครับ ซึ่งช่วงเช้าได้มีการพูดถึงเรื่องของ ประเทศบราซิล ซึ่งผมอยากจะขอเรียนถึงประเด็นนี้ก่อนนะครับว่า สิ่งที่เป็นข้อเท็จจริง อันหนึ่งก็คือว่าในประเทศบราซิลนั้นมี ๒ ระบบด้วยกันคือ ทั้งระบบสัมปทานและ ระบบแบ่งปันผลผลิต แต่ว่าข้อเท็จจริงที่จริงกว่านั้นและลึกกว่านั้นก็คือว่า ระบบแบ่งปัน ผลผลิตที่มีอยู่ในประเทศบราซิลนั้นกับระบบสัมปทานเป็นอย่างไร ปรากฏว่า ณ ปัจจุบัน ในบราซิลมีระบบที่ใช้แบบสัมปทานทั้งสิ้น ๗๘ ราย และขณะนี้ดำเนินการอยู่ ๕๓ บริษัท อยู่ใน ๕๓ แหล่งทั้งในบนบกและทะเล แล้วก็มีบริษัทที่อยู่ภายใต้ระบบแบ่งปันผลผลิต มีบริษัทเดียวครับ เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ชัดเจนนะครับว่าทั้ง ๒ แห่งนี้แตกต่างกัน ค่อนข้างมากทีเดียว รายที่เป็นรายของการแบ่งปันผลผลิตนั้นนี่นะครับ ปรากฏว่าอยู่ใน แอ่งลิบราของซานโตส เบซิน ซึ่งเป็นแหล่งออฟชอร์ ในทะเลนะครับ แล้วก็อยู่ทางตอนใต้ ของริโอเดจาเนโร ของประเทศบราซิลซึ่งมีเพียงแห่งเดียวเท่านั้น ในขณะที่อีก ๗๘ บริษัท ดำเนินการภายใต้ระบบสัมปทาน และมองลงไปกว่านั้นนี่นะครับ จะเห็นได้ชัดว่าแหล่งที่เป็น ระบบสัมปทานนั้นเป็นแหล่งที่มีศักยภาพพอสมควรไม่มากนักนะครับ ส่วนแหล่งที่ใช้ระบบ แบ่งปันผลผลิตเป็นแหล่งใหญ่ เมื่อพิจารณาถึงลักษณะนี้แล้วจะเห็นได้ว่าในประเทศไทยเรา ก็เป็นลักษณะที่มีแหล่งเล็ก ๆ น้อย ๆ กระจายอยู่ทั่วไป เพราะฉะนั้นความเหมาะสมที่จะใช้ ระหว่างแบ่งปันผลผลิตกับสัมปทานจะเห็นได้ชัดเจนนะครับว่า ระบบสัมปทานน่าจะ เหมาะสมกว่าในประเทศไทย ณ ปัจจุบันนะครับ ในสถานการณ์ปัจจุบัน เพราะฉะนั้น ผมขอกราบเรียนว่า สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ไม่ได้หมายความว่าระบบแบ่งปันผลผลิตจะไม่ดีนะครับ แต่ว่าในขณะเดียวกันเราต้องคำนึงถึงว่าขณะนี้เป็นเวลาที่เราจะต้องตัดสินว่าควรจะต้อง นำเอาระบบไหนมา เพราะเวลาไม่เป็นของที่จะต้องมารอกันได้ ในที่สุดแล้วผมก็ขอเสนอว่า เราคงจะต้องพิจารณาเลือกทางเลือกที่ ๓ ซึ่งท่านกรรมาธิการเสียงข้างมากได้พิจารณา เสนอแล้วก็คือ ให้ดำเนินการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ ๒๑ ด้วยระบบสัมปทาน ไทยแลนด์ทรีพลัสนะครับ แล้วก็ขอให้ดำเนินการศึกษาและเตรียมการในเรื่องของการใช้ ระบบแบ่งปันผลผลิตในอนาคตถ้าหากว่าสถานการณ์เอื้ออำนวย ผมก็ขออนุญาตกราบเรียน เพียงแค่นี้ครับ ขอบพระคุณครับ

    อ่านในการประชุม