กราบเรียนท่านประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ผม นายธวัชชัย ยงกิตติกุล สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ หมายเลข ๑๐๐ นะครับ ผมได้สดับตรับฟังประเด็นอภิปรายตั้งแต่เช้านะครับ แต่ว่าไม่ได้อยู่ตลอดก็เข้า ๆ ออก ๆ ต้องขอเรียนสารภาพว่าผมเป็นผู้ที่ไม่มีความรู้ในเรื่องปิโตรเลียมเลย เพราะฉะนั้นจึงพยายาม จะฟังถึงผลดีผลเสียของการอภิปรายทั้ง ๒ ข้างนะครับ ผมสรุปได้อย่างนี้นะครับว่า ประเด็นสำคัญที่มีการอภิปรายแล้วเราต้องตัดสินใจกันก็คือว่า เราพยายามจะเปรียบเทียบว่า ระบบสัมปทานกับระบบการแบ่งปันผลผลิตระบบไหนจะให้ประโยชน์แก่ประเทศชาติได้ มากกว่ากัน แล้วก็ดูเหมือนจะมีแนวโน้มแบ่งออกเป็นว่าฝ่ายหนึ่งเห็นว่าสัมปทานดีกว่า เพราะฉะนั้นก็ควรจะเปิดสัมปทานรอบที่ ๒๑ ได้ทันที ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งก็เห็นว่าระบบ การแบ่งปันผลผลิตน่าจะดีกว่า เพราะฉะนั้นก็ควรจะเลื่อนการเปิดรอบ ๒๑ ต่อไปนะครับ แต่ผมเห็นว่าประเด็นที่อภิปรายถึงข้อดีข้อเสียของทั้ง ๒ ระบบยังมีความสับสนอยู่ ผมเองผมมีความเข้าใจนะครับว่าทั้ง ๒ ระบบนี้เราคงจะไม่สามารถจะพูดได้ว่าระบบไหน ดีกว่าอะไร เพราะแต่ละระบบมันก็มีเงื่อนไขพิเศษของมัน ซึ่งขึ้นอยู่กับการเจรจา ผมคิดว่า ในที่สุดแล้วไม่ว่าจะใช้ระบบใดก็ตามก็ขึ้นอยู่กับความสามารถในการจะเจรจาเงื่อนไข ที่จะเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติได้มากที่สุด แต่ว่าข้อแตกต่างที่สำคัญก็คือว่าถ้าเป็น ระบบสัมปทานเอกชนเป็นผู้สำรวจ เพราะฉะนั้นเอกชนเป็นผู้รับความเสี่ยงไปนะครับ และเมื่อพบแล้วก็มาทำเงื่อนไขสัมปทานกับรัฐบาล ส่วนระบบการแบ่งปันผลผลิตนั้น รัฐบาลรับภาระในการสำรวจ แล้วเมื่อได้ผลแล้วก็เชิญเอกชนเข้ามาลงทุนนะครับ แต่ผลดี ของระบบการแบ่งปันผลผลิตเท่าที่ผมฟังดูซึ่งคำตอบของกรรมาธิการก็ยังไม่ชัดเจนก็คือ เรื่องของกรรมสิทธิ์และการควบคุมของรัฐนะครับ ประเด็นนี้ผมคิดว่าจะมีความสำคัญ มากน้อยแค่ไหนท่านกรรมาธิการก็ควรจะชี้แจงด้วย นอกนั้นแล้วผมก็ยังเห็นว่า ความได้เปรียบ เสียเปรียบของแต่ละระบบขึ้นอยู่กับเงื่อนไขในการเจรจา อันนี้ผมเอง ผมคิดว่าสิ่งที่อภิปรายมาตั้งแต่เช้าได้มีการนำประเด็นซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการเปรียบเทียบเลยว่า สัมปทานดีกว่าหรือว่าการแบ่งปันผลผลิตดีกว่า เรื่องแรกที่มีการพูดก็คือเรื่องเอา พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ขึ้นมาพูด ก็มีหลายประเด็นซึ่งผมคิดว่า มันก็มีทั้งประเด็นที่น่าจะนำมาคิดนะครับ แล้วก็ประเด็นที่เข้าใจผิดกัน
กราบเรียนท่านประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ผม นายธวัชชัย ยงกิตติกุล สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ หมายเลข ๑๐๐ นะครับ ผมได้สดับตรับฟังประเด็นอภิปรายตั้งแต่เช้านะครับ แต่ว่าไม่ได้อยู่ตลอดก็เข้า ๆ ออก ๆ ต้องขอเรียนสารภาพว่าผมเป็นผู้ที่ไม่มีความรู้ในเรื่องปิโตรเลียมเลย เพราะฉะนั้นจึงพยายาม จะฟังถึงผลดีผลเสียของการอภิปรายทั้ง ๒ ข้างนะครับ ผมสรุปได้อย่างนี้นะครับว่า ประเด็นสำคัญที่มีการอภิปรายแล้วเราต้องตัดสินใจกันก็คือว่า เราพยายามจะเปรียบเทียบว่า ระบบสัมปทานกับระบบการแบ่งปันผลผลิตระบบไหนจะให้ประโยชน์แก่ประเทศชาติได้ มากกว่ากัน แล้วก็ดูเหมือนจะมีแนวโน้มแบ่งออกเป็นว่าฝ่ายหนึ่งเห็นว่าสัมปทานดีกว่า เพราะฉะนั้นก็ควรจะเปิดสัมปทานรอบที่ ๒๑ ได้ทันที ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งก็เห็นว่าระบบ การแบ่งปันผลผลิตน่าจะดีกว่า เพราะฉะนั้นก็ควรจะเลื่อนการเปิดรอบ ๒๑ ต่อไปนะครับ แต่ผมเห็นว่าประเด็นที่อภิปรายถึงข้อดีข้อเสียของทั้ง ๒ ระบบยังมีความสับสนอยู่ ผมเองผมมีความเข้าใจนะครับว่าทั้ง ๒ ระบบนี้เราคงจะไม่สามารถจะพูดได้ว่าระบบไหน ดีกว่าอะไร เพราะแต่ละระบบมันก็มีเงื่อนไขพิเศษของมัน ซึ่งขึ้นอยู่กับการเจรจา ผมคิดว่า ในที่สุดแล้วไม่ว่าจะใช้ระบบใดก็ตามก็ขึ้นอยู่กับความสามารถในการจะเจรจาเงื่อนไข ที่จะเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติได้มากที่สุด แต่ว่าข้อแตกต่างที่สำคัญก็คือว่าถ้าเป็น ระบบสัมปทานเอกชนเป็นผู้สำรวจ เพราะฉะนั้นเอกชนเป็นผู้รับความเสี่ยงไปนะครับ และเมื่อพบแล้วก็มาทำเงื่อนไขสัมปทานกับรัฐบาล ส่วนระบบการแบ่งปันผลผลิตนั้น รัฐบาลรับภาระในการสำรวจ แล้วเมื่อได้ผลแล้วก็เชิญเอกชนเข้ามาลงทุนนะครับ แต่ผลดี ของระบบการแบ่งปันผลผลิตเท่าที่ผมฟังดูซึ่งคำตอบของกรรมาธิการก็ยังไม่ชัดเจนก็คือ เรื่องของกรรมสิทธิ์และการควบคุมของรัฐนะครับ ประเด็นนี้ผมคิดว่าจะมีความสำคัญ มากน้อยแค่ไหนท่านกรรมาธิการก็ควรจะชี้แจงด้วย นอกนั้นแล้วผมก็ยังเห็นว่า ความได้เปรียบ เสียเปรียบของแต่ละระบบขึ้นอยู่กับเงื่อนไขในการเจรจา อันนี้ผมเอง ผมคิดว่าสิ่งที่อภิปรายมาตั้งแต่เช้าได้มีการนำประเด็นซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการเปรียบเทียบเลยว่า สัมปทานดีกว่าหรือว่าการแบ่งปันผลผลิตดีกว่า เรื่องแรกที่มีการพูดก็คือเรื่องเอา พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ขึ้นมาพูด ก็มีหลายประเด็นซึ่งผมคิดว่า มันก็มีทั้งประเด็นที่น่าจะนำมาคิดนะครับ แล้วก็ประเด็นที่เข้าใจผิดกัน
เรื่องที่ ๑ ก็คือเรื่องการยกเว้นภาษีเงินปันผล เงินปันผลในหลายประเทศ เขาเห็นว่าเป็นภาษีซ้ำซ้อน เพราะบริษัทที่ทำธุรกิจเมื่อได้กำไรเขาเสียภาษีธุรกิจไปแล้ว เสียภาษีบริษัทไปแล้ว พอจะมาปันผลเงินก้อนเดียวกันทำไมต้องมาเสียภาษีอีกครั้งหนึ่ง เพราะฉะนั้นหลายประเทศเขายกเลิกอันนี้ไป คนที่มาทำสัมปทานกับเราเขาก็ขอให้ยกเว้น อันนี้ให้เหมือนกับต่างประเทศเสีย เพื่อให้การไปลงทุนในต่างประเทศของเขามีสิทธิเท่าเทียมกัน แต่อันนี้ก็ไม่เกี่ยวข้องกับว่าสัมปทานหรือว่าการแบ่งปันผลผลิตอันไหนจะดีกว่ากันนะครับ อีก ๒ ประเด็นเช่นเดียวกันนะครับ คือว่าเอาค่าใช้จ่ายต่างประเทศมารวมเพื่อทำให้ภาษี เสียได้น้อยลงนะครับ อันนี้ก็เช่นเดียวกันผมคิดว่าระบบสัมปทานทำได้ ระบบการแบ่งปันผลผลิต ก็ทำได้เช่นเดียวกันนะครับ แล้วเรื่องของการเอาค่าใช้จ่ายในการสำรวจแปลงใหม่ มารวมกับค่าใช้จ่ายในปัจจุบันซึ่งผมคิดว่าอันนี้ไม่น่าจะยอมได้นะครับ มันเป็นคนละแปลงกัน คนละรอบกันนะครับ ถ้าอันนี้เป็นความจริงก็เป็นเรื่องที่จะต้องแก้ไข เพราะฉะนั้นเรื่องภาษี ผมคิดว่าไม่เกี่ยวกันในการที่จะนำมาเปรียบเทียบ
เรื่องที่ ๑ ก็คือเรื่องการยกเว้นภาษีเงินปันผล เงินปันผลในหลายประเทศ เขาเห็นว่าเป็นภาษีซ้ำซ้อน เพราะบริษัทที่ทำธุรกิจเมื่อได้กำไรเขาเสียภาษีธุรกิจไปแล้ว เสียภาษีบริษัทไปแล้ว พอจะมาปันผลเงินก้อนเดียวกันทำไมต้องมาเสียภาษีอีกครั้งหนึ่ง เพราะฉะนั้นหลายประเทศเขายกเลิกอันนี้ไป คนที่มาทำสัมปทานกับเราเขาก็ขอให้ยกเว้น อันนี้ให้เหมือนกับต่างประเทศเสีย เพื่อให้การไปลงทุนในต่างประเทศของเขามีสิทธิเท่าเทียมกัน แต่อันนี้ก็ไม่เกี่ยวข้องกับว่าสัมปทานหรือว่าการแบ่งปันผลผลิตอันไหนจะดีกว่ากันนะครับ อีก ๒ ประเด็นเช่นเดียวกันนะครับ คือว่าเอาค่าใช้จ่ายต่างประเทศมารวมเพื่อทำให้ภาษี เสียได้น้อยลงนะครับ อันนี้ก็เช่นเดียวกันผมคิดว่าระบบสัมปทานทำได้ ระบบการแบ่งปันผลผลิต ก็ทำได้เช่นเดียวกันนะครับ แล้วเรื่องของการเอาค่าใช้จ่ายในการสำรวจแปลงใหม่ มารวมกับค่าใช้จ่ายในปัจจุบันซึ่งผมคิดว่าอันนี้ไม่น่าจะยอมได้นะครับ มันเป็นคนละแปลงกัน คนละรอบกันนะครับ ถ้าอันนี้เป็นความจริงก็เป็นเรื่องที่จะต้องแก้ไข เพราะฉะนั้นเรื่องภาษี ผมคิดว่าไม่เกี่ยวกันในการที่จะนำมาเปรียบเทียบ
ส่วนเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและผลกระทบต่อสิทธิชุมชน ผมคิดว่า เหมือนกันครับ ก็คือไม่ว่าจะเป็นสัมปทานก็ดี ไม่ว่าจะเป็นระบบการแบ่งปันผลผลิตก็ดี เป็นประเด็นที่ท่านต้องให้ความสำคัญและพยายามหาทางแก้ไขนะครับ ทรัพยากรค้นพบ ที่ไหนชุมชนที่นั่นควรจะได้รับประโยชน์ด้วย ไม่ใช่ส่วนกลางเอามาหมด เพราะฉะนั้น ถึงแม้จะเป็นระบบสัมปทานก็ดีนะครับ ผมคิดว่าท่านจะต้องนำผลกระทบเหล่านี้มาคำนึงถึง อย่างรอบคอบ แล้วทำให้ชุมชนเขารับได้
ส่วนเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและผลกระทบต่อสิทธิชุมชน ผมคิดว่า เหมือนกันครับ ก็คือไม่ว่าจะเป็นสัมปทานก็ดี ไม่ว่าจะเป็นระบบการแบ่งปันผลผลิตก็ดี เป็นประเด็นที่ท่านต้องให้ความสำคัญและพยายามหาทางแก้ไขนะครับ ทรัพยากรค้นพบ ที่ไหนชุมชนที่นั่นควรจะได้รับประโยชน์ด้วย ไม่ใช่ส่วนกลางเอามาหมด เพราะฉะนั้น ถึงแม้จะเป็นระบบสัมปทานก็ดีนะครับ ผมคิดว่าท่านจะต้องนำผลกระทบเหล่านี้มาคำนึงถึง อย่างรอบคอบ แล้วทำให้ชุมชนเขารับได้
สรุปแล้วคือผมคิดว่าการที่จะเลื่อนหรือไม่เลื่อนมันไม่ใช่ประเด็นครับ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขในการเจรจาซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของรัฐบาลที่จะไปเจรจากับ ผู้ที่ได้รับสัมปทาน เพราะฉะนั้นผมเองผมคิดว่าข้อเสนอข้อที่ ๓ ของท่าน ก็คือให้สัมปทานไปเลย คือเปิดรอบ ๒๑ ไปเลย ขณะเดียวกันก็ศึกษาแนวทางในอนาคตว่าจะใช้ระบบแบ่งปันผลผลิต อย่างไร ซึ่งอันนี้ผมคิดว่าสำคัญมาก เพราะในอนาคตจะมีการแบ่งผลประโยชน์ระหว่างไทย กับประเทศเพื่อนบ้านซึ่งจะใช้ระบบสัมปทานไม่ได้นะครับ ขอบคุณมากครับ
สรุปแล้วคือผมคิดว่าการที่จะเลื่อนหรือไม่เลื่อนมันไม่ใช่ประเด็นครับ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขในการเจรจาซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของรัฐบาลที่จะไปเจรจากับ ผู้ที่ได้รับสัมปทาน เพราะฉะนั้นผมเองผมคิดว่าข้อเสนอข้อที่ ๓ ของท่าน ก็คือให้สัมปทานไปเลย คือเปิดรอบ ๒๑ ไปเลย ขณะเดียวกันก็ศึกษาแนวทางในอนาคตว่าจะใช้ระบบแบ่งปันผลผลิต อย่างไร ซึ่งอันนี้ผมคิดว่าสำคัญมาก เพราะในอนาคตจะมีการแบ่งผลประโยชน์ระหว่างไทย กับประเทศเพื่อนบ้านซึ่งจะใช้ระบบสัมปทานไม่ได้นะครับ ขอบคุณมากครับ