ไม่เห็นชอบครับ
เรียนท่านประธาน ท่านสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่เคารพครับ ผม กษิดิ์เดชธนทัต เสกขุนทด ๐๐๑ นครราชสีมาครับ ผมมีข้อคิดเห็นอยู่ ๒ ประการครับ
เรียนท่านประธาน ท่านสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่เคารพครับ ผม กษิดิ์เดชธนทัต เสกขุนทด ๐๐๑ นครราชสีมาครับ ผมมีข้อคิดเห็นอยู่ ๒ ประการครับ
ประการแรก ผมเองได้มีโอกาสศึกษาแล้วก็ติดตามเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่อง เพราะเหตุผลว่าผมเองได้ทำงานกับภาคประชาชนในเขตพื้นที่ภาคอีสานใน ๒๐ จังหวัด ในขณะเดียวกันเองในช่วง ๒ เดือนที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสได้เรียนรู้เพิ่มมากขึ้นในฐานะ กรรมาธิการด้านพลังงาน ต้องยอมรับข้อเท็จจริงนะครับว่า ที่ผ่านมา ๒ เดือนเองผมรู้บ้าง ไม่รู้บ้าง เนื่องจากผมไม่ได้มีความถนัดเรื่องพลังงาน แต่ว่าผมมีความถนัดด้านสังคม แต่เหตุที่ผมเลือกไปเป็นกรรมาธิการด้านพลังงาน เนื่องจากว่าการตัดสินใจปฏิรูป อะไรแต่ละเรื่องมันต้องมีองค์ประกอบที่ครบทุกด้าน ไม่จำเป็นจะต้องคนที่ถนัดด้านนั้น เท่านั้นที่จะต้องไปอยู่ในกรรมาธิการเฉพาะ เพราะสิ่งที่ผ่านมาใน ๒ เดือนนี้ผมเองได้เรียนรู้ แล้วก็รู้บ้าง ไม่รู้บ้างในความหมายตรงนี้ก็คือว่า สิ่งที่ได้พูดคุยกัน สิ่งที่ได้ศึกษากัน มันเป็นศัพท์เทคนิคที่ผมมีความเชื่อว่าคนจำนวนมากของทั้งประเทศตามไม่ทันหรอกครับ แล้วก็ไม่เข้าใจครับ พอตามไม่ทัน ไม่เข้าใจปุ๊บ มันก็เลยมามีข้อสรุปว่า มันต้องสัมปทาน อันที่ ๑ อันที่ ๒ แบ่งปัน หรืออันที่ ๓ ต้องผสมผสาน คือมันจำเป็นต้องเลือก ๓ อย่างนี้ทันทีทันใด แต่ด้วยเหตุผลตรง ๓ อย่างตรงนี้เองผมกลับคิดว่าในฐานะที่ทำงานด้านสังคมมาตลอด ผมมีความรู้สึกว่าด้านสังคมนี้ได้ถูกพูดน้อยมากเลย พูดถึงเรื่องของความมั่นคงพลังงาน แต่ว่าเราศึกษาว่าสัมปทานนี้ดีอย่างนี้ ศึกษาว่าแบ่งปันแล้วดีอย่างนี้ แต่ไม่ได้ศึกษาในข้อมูลว่า เอ๊ะ แล้วสังคมนี่มันเป็นอย่างไร เพราะฉะนั้นผมเองในฐานะกรรมาธิการตรงนั้น ผมก็ได้ให้ ข้อคิดเห็นในชุดกรรมาธิการนะครับว่าอย่างไรก็แล้วแต่ จะสัมปทาน จะแบ่งปัน หรือผสมผสาน มันต้องคำนึงถึงด้านสังคมด้วย เพราะว่าอย่างไรก็แล้วแต่มันกระทบต่อสังคม แน่นอนในแง่บวกและแง่ลบ ผมเองได้มีโอกาสติดตามเรื่องนี้มาตลอด ก็ได้มีการพูดคุยกับ พี่น้องประชาชนอย่างน้อยใน ๒๐ จังหวัด แต่ว่าเฉพาะเจาะจง ๑๖ จังหวัดที่ผมได้ทำงานด้วย ในภาคอีสาน ประชาชนหลายคนก็มีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ผมแบ่งออกเป็น ๓ กลุ่มนะครับ
ประการแรก ผมเองได้มีโอกาสศึกษาแล้วก็ติดตามเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่อง เพราะเหตุผลว่าผมเองได้ทำงานกับภาคประชาชนในเขตพื้นที่ภาคอีสานใน ๒๐ จังหวัด ในขณะเดียวกันเองในช่วง ๒ เดือนที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสได้เรียนรู้เพิ่มมากขึ้นในฐานะ กรรมาธิการด้านพลังงาน ต้องยอมรับข้อเท็จจริงนะครับว่า ที่ผ่านมา ๒ เดือนเองผมรู้บ้าง ไม่รู้บ้าง เนื่องจากผมไม่ได้มีความถนัดเรื่องพลังงาน แต่ว่าผมมีความถนัดด้านสังคม แต่เหตุที่ผมเลือกไปเป็นกรรมาธิการด้านพลังงาน เนื่องจากว่าการตัดสินใจปฏิรูป อะไรแต่ละเรื่องมันต้องมีองค์ประกอบที่ครบทุกด้าน ไม่จำเป็นจะต้องคนที่ถนัดด้านนั้น เท่านั้นที่จะต้องไปอยู่ในกรรมาธิการเฉพาะ เพราะสิ่งที่ผ่านมาใน ๒ เดือนนี้ผมเองได้เรียนรู้ แล้วก็รู้บ้าง ไม่รู้บ้างในความหมายตรงนี้ก็คือว่า สิ่งที่ได้พูดคุยกัน สิ่งที่ได้ศึกษากัน มันเป็นศัพท์เทคนิคที่ผมมีความเชื่อว่าคนจำนวนมากของทั้งประเทศตามไม่ทันหรอกครับ แล้วก็ไม่เข้าใจครับ พอตามไม่ทัน ไม่เข้าใจปุ๊บ มันก็เลยมามีข้อสรุปว่า มันต้องสัมปทาน อันที่ ๑ อันที่ ๒ แบ่งปัน หรืออันที่ ๓ ต้องผสมผสาน คือมันจำเป็นต้องเลือก ๓ อย่างนี้ทันทีทันใด แต่ด้วยเหตุผลตรง ๓ อย่างตรงนี้เองผมกลับคิดว่าในฐานะที่ทำงานด้านสังคมมาตลอด ผมมีความรู้สึกว่าด้านสังคมนี้ได้ถูกพูดน้อยมากเลย พูดถึงเรื่องของความมั่นคงพลังงาน แต่ว่าเราศึกษาว่าสัมปทานนี้ดีอย่างนี้ ศึกษาว่าแบ่งปันแล้วดีอย่างนี้ แต่ไม่ได้ศึกษาในข้อมูลว่า เอ๊ะ แล้วสังคมนี่มันเป็นอย่างไร เพราะฉะนั้นผมเองในฐานะกรรมาธิการตรงนั้น ผมก็ได้ให้ ข้อคิดเห็นในชุดกรรมาธิการนะครับว่าอย่างไรก็แล้วแต่ จะสัมปทาน จะแบ่งปัน หรือผสมผสาน มันต้องคำนึงถึงด้านสังคมด้วย เพราะว่าอย่างไรก็แล้วแต่มันกระทบต่อสังคม แน่นอนในแง่บวกและแง่ลบ ผมเองได้มีโอกาสติดตามเรื่องนี้มาตลอด ก็ได้มีการพูดคุยกับ พี่น้องประชาชนอย่างน้อยใน ๒๐ จังหวัด แต่ว่าเฉพาะเจาะจง ๑๖ จังหวัดที่ผมได้ทำงานด้วย ในภาคอีสาน ประชาชนหลายคนก็มีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ผมแบ่งออกเป็น ๓ กลุ่มนะครับ
กลุ่มที่ ๑ คือกลุ่มที่พยายามเรียนรู้เข้าอกเข้าใจกับการเห็นด้วยกับ การสัมปทาน ก็เป็นกลุ่มจำนวนหนึ่ง กับอีกจำนวนหนึ่งก็เป็นกลุ่มที่มีความรู้สึกว่าไม่เห็นด้วยกับ ระบบสัมปทาน เป็นกลุ่มที่คัดค้าน ทั้ง ๒ กลุ่มนี้ไม่เท่ากับกลุ่มที่ไม่รู้เรื่องนะครับ กลุ่มที่ไม่รู้เรื่องจำนวนมากในสังคมไทยเป็นกลุ่มที่อะไรก็ได้ แต่ขอให้ทำงานพัฒนาให้ดีขึ้น ที่ไม่รู้เรื่องเพราะว่าหลายเรื่องที่เป็นเรื่องพลังงานมันมีความสลับซับซ้อนมากมาย ในศัพท์เทคนิค สิ่งที่ผมจะพูดตรงนี้
กลุ่มที่ ๑ คือกลุ่มที่พยายามเรียนรู้เข้าอกเข้าใจกับการเห็นด้วยกับ การสัมปทาน ก็เป็นกลุ่มจำนวนหนึ่ง กับอีกจำนวนหนึ่งก็เป็นกลุ่มที่มีความรู้สึกว่าไม่เห็นด้วยกับ ระบบสัมปทาน เป็นกลุ่มที่คัดค้าน ทั้ง ๒ กลุ่มนี้ไม่เท่ากับกลุ่มที่ไม่รู้เรื่องนะครับ กลุ่มที่ไม่รู้เรื่องจำนวนมากในสังคมไทยเป็นกลุ่มที่อะไรก็ได้ แต่ขอให้ทำงานพัฒนาให้ดีขึ้น ที่ไม่รู้เรื่องเพราะว่าหลายเรื่องที่เป็นเรื่องพลังงานมันมีความสลับซับซ้อนมากมาย ในศัพท์เทคนิค สิ่งที่ผมจะพูดตรงนี้
ในประการที่ ๒ ก็คือว่าในกรรมาธิการที่ได้มีการพูดคุยกันและในสภาแห่งนี้ ได้พูดคุยกันสิ่งที่ถกกันมาตลอดเวลาก็คือว่า เราต้องการความมั่นคงทางด้านพลังงาน แต่สิ่งที่ ผมอยากจะเสนอตรงนี้ก็คือว่าจะสัมปทาน จะแบ่งปันอย่างไรก็แล้วแต่ให้คำนึงถึงว่า แล้วความมั่นคงทางด้านอื่น ๆ มันจะหายไปหรือเปล่า ผมยกรูปธรรมก็คือว่าใน ๒๙ แปลง ในทะเล ๖ บก ๒๓ เหนือ กลาง ๖ แล้วก็อีสาน ๑๗ อย่าลืมว่าในอีสาน ๑๗ ครอบคลุม ๔๙ ตารางกิโลเมตร ในพื้นที่บนบกนี่มันแปลว่ามันมีทรัพยากร มันมีการผลิต ที่สำคัญ ผมอยากเฉพาะเจาะจงไปที่ทุ่งกุลาร้องไห้ครับ การวางระเบิดในเขตพื้นที่มหาสารคาม ยโสธร กาฬสินธุ์ หรือบุรีรัมย์ พื้นที่แห่งนั้นมันเป็นพื้นที่ข้าว ที่สำคัญมันคือข้าวหอมมะลิ ตรงนั้น มันแปลว่าคือความมั่นคงทางด้านอาหาร คำถามของพี่น้องประชาชนถามว่า ถ้าเรากำลังศึกษาความมั่นคงทางด้านพลังงานก็คือ น้ำมันปิโตรเลียม เราจะกินน้ำมันหรือเราจะกินข้าว ผมนิดหนึ่งนะครับ คำถามก็คือว่าตอนนี้ มันมีความมั่นคงทางด้านอาหารอยู่แล้ว เรากำลังคิดจะไปสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงาน แล้วก็ดันอาหารออกไป อีกปีต่อไปเราต้องมาสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารอีกหรือ อันนี้คือประเด็นที่พี่น้องได้พยายามฝากว่าจะทำอย่างไร ที่กระบวนการสร้างความมั่นคง ทางด้านพลังงานต้องคำนึงถึงความมั่นคงทางด้านอื่น ๆ ตามไปด้วย วันนี้หลายพื้นที่บนบก มันมีการผลิตข้าว ผลิตอ้อย ผลิตมันสำปะหลัง ถ้าเราจะศึกษาใต้ดินมันแปลว่ามันกระทบ สิ่งเหล่านี้จะทำอย่างไร จะตัดสินใจอะไรก็แล้วแต่ผมว่าต้องดูที่แต่ละแปลงว่ามันไปกระทบ สิ่งเหล่านี้อย่างไรครับ ขอบคุณครับ
ในประการที่ ๒ ก็คือว่าในกรรมาธิการที่ได้มีการพูดคุยกันและในสภาแห่งนี้ ได้พูดคุยกันสิ่งที่ถกกันมาตลอดเวลาก็คือว่า เราต้องการความมั่นคงทางด้านพลังงาน แต่สิ่งที่ ผมอยากจะเสนอตรงนี้ก็คือว่าจะสัมปทาน จะแบ่งปันอย่างไรก็แล้วแต่ให้คำนึงถึงว่า แล้วความมั่นคงทางด้านอื่น ๆ มันจะหายไปหรือเปล่า ผมยกรูปธรรมก็คือว่าใน ๒๙ แปลง ในทะเล ๖ บก ๒๓ เหนือ กลาง ๖ แล้วก็อีสาน ๑๗ อย่าลืมว่าในอีสาน ๑๗ ครอบคลุม ๔๙ ตารางกิโลเมตร ในพื้นที่บนบกนี่มันแปลว่ามันมีทรัพยากร มันมีการผลิต ที่สำคัญ ผมอยากเฉพาะเจาะจงไปที่ทุ่งกุลาร้องไห้ครับ การวางระเบิดในเขตพื้นที่มหาสารคาม ยโสธร กาฬสินธุ์ หรือบุรีรัมย์ พื้นที่แห่งนั้นมันเป็นพื้นที่ข้าว ที่สำคัญมันคือข้าวหอมมะลิ ตรงนั้น มันแปลว่าคือความมั่นคงทางด้านอาหาร คำถามของพี่น้องประชาชนถามว่า ถ้าเรากำลังศึกษาความมั่นคงทางด้านพลังงานก็คือ น้ำมันปิโตรเลียม เราจะกินน้ำมันหรือเราจะกินข้าว ผมนิดหนึ่งนะครับ คำถามก็คือว่าตอนนี้ มันมีความมั่นคงทางด้านอาหารอยู่แล้ว เรากำลังคิดจะไปสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงาน แล้วก็ดันอาหารออกไป อีกปีต่อไปเราต้องมาสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารอีกหรือ อันนี้คือประเด็นที่พี่น้องได้พยายามฝากว่าจะทำอย่างไร ที่กระบวนการสร้างความมั่นคง ทางด้านพลังงานต้องคำนึงถึงความมั่นคงทางด้านอื่น ๆ ตามไปด้วย วันนี้หลายพื้นที่บนบก มันมีการผลิตข้าว ผลิตอ้อย ผลิตมันสำปะหลัง ถ้าเราจะศึกษาใต้ดินมันแปลว่ามันกระทบ สิ่งเหล่านี้จะทำอย่างไร จะตัดสินใจอะไรก็แล้วแต่ผมว่าต้องดูที่แต่ละแปลงว่ามันไปกระทบ สิ่งเหล่านี้อย่างไรครับ ขอบคุณครับ